ทำไมชาวชีอะห์จึงไม่ “นมาซตะรอเวี๊ยะห์รวมกันเป็นญะมาอะห์” เหมือนกับชาวซุนนะห์…?

ทำไมชาวชีอะห์จึงไม่ “นมาซตะรอเวี๊ยะห์รวมกันเป็นญะมาอะห์” เหมือนกับชาวซุนนะห์…?


โดย เอกภาพ

 

[ซุนนี่ห์ถาม]

ทำไมชาวชีอะห์จึงไม่ นมาซกิยามุลลัยน์(นาฟิละฮ์/ตะรอเวี้ยะฮ์)รวมกันเป็นญะมาอะห์ เหมือนกับชาวซุนนะห์ในช่วงค่ำคืนต่างๆของเดือนรอมฎอน …?

[ชีอะห์ตอบ]

ถึงมาตรแม้นว่า จะมีฮะดิษมากมายจากบรรดาอิมามแห่งอะฮ์ลุลบัยต์นบี ให้ชีอะห์และมุฮิบบีนของท่าน ได้ทำนมาซซุนนะห์ในยามค่ำคืนของรอมฎอนอันจำเริญ(กิยามุลลัยน์) แต่ก็มีคำสั่งห้ามอย่างเด็ดขาดที่จะให้ทำนมาซเหล่านั้นในรูปญะมาอะฮ์(มีอิหม่าม มีมะฮ์มูม) และมีระบุไว้อย่างชัดเจนในริวายะฮ์จากอะห์ลุลบัยต์นบี ว่า การนมาซตะรอเวี้ยะฮ์รวมกันเป็นญะมาอะห์ ให้ถูกนับว่าเป็นหนึ่งใน บิดอะฮ์ ที่ชัดแจ้งที่สุด ดั่งมีปรากฏอยู่ในวจนะของท่านศาสดามุฮัมมัด ศ. ว่า

«أَیُّهَا النَّاسُ إِنَّ الصَّلاهَ بِاللَّیْلِ فِی شَهْرِ رَمَضَانَ مِنَ النَّافِلَهِ فِی جَمَاعَه بِدْعَهٌ»
وسائل الشیعة، ج 8، باب 10، ابواب نافلة شهر رمضان، ص 46، ح 4

โอ้ประชาชาติเอ๋ย แท้จริงนมาซยามค่ำคืนในเดือนรอมฎอนที่มาจากนมาซนาฟิละฮ์(นมาซที่เป็นภาคซุนนะห์ /ตะรอเวียะฮ์)หากทำในรูปญะมาอะฮ์(เป็นหมู่คณะ)ถือเป็น บิดอะห์

และได้มีการบันทึกไว้ว่า อีกหนึ่งท่านที่ต่อต้านเรื่องการนมาซ ตะรอเวี๊ยะห์รวมกันเป็นญะมาอะห์ คือ ท่านอิมามอะลี อ. ผู้ที่ท่านศาสดามุฮัมมัด ศ. รับรองสถานะไว้ว่า “เป็นผู้ที่รู้มีความรู้ในซุนนะห์ของท่านศาสดา มากที่สุด”

أعلم اُمّتی بالسنّة والقضاء بعدی علیّ بن أبی طالب»؛

บุคคลที่มีความรู้ที่สุดในประชาชาติของฉันภายหลังจากฉันในซุนนะห์(ของฉัน) และการตัดสิน คือ อะลี บตรแห่งอบูฏอลิบ

ท่านนบี ศ.กล่าวไว้อีกว่า

انّه أعلم الناس بالسنّة؛

แท้จริงเขา(อะลี)คือผู้ที่มีความรู้ที่สุดในซุนนะห์(นบี)

มีการบันทึกไว้ว่า เมื่อท่านอิมามอะลี อ. ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งคอลิฟะฮ์ ต่อจากท่านอุษมาน ท่านได้ออกมาปราศัยต่อหน้าฝูงชน โดยมีใจความว่า

ผู้ปกครองก่อนหน้าฉันได้ทำบางอย่างที่ขัดต่อ(แบบฉบับ)ของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ และเป็นการกระทำที่เกิดจากการจงใจ พวกเขา(คอลิฟะฮ์ทั้งสาม)ได้ทำลายพันธะสัญญาที่เคยให้ไว้กับร่อซูล พวกเขาได้เปลี่ยนแปลงซุนนะห์มากมาย
และหากฉันจะปลุกประชาชนให้หันหลังให้กับพวกเขา(และสิ่งบิดอะห์ที่พวกเขาทำไว้) และนำประชาชนกลับคืนสู่แบบฉบับเดิมของร่อซูล ก็จะพบว่ากำลังพลที่รายล้อมฉันอยู่ ณ ตอนนี้ก็จะแตกเป็นเสี่ยงๆ และท้ายที่สุดก็จะผละไปจากฉัน และจะเหลือเพียงฉันหรือแค่ผู้ติดตามฉันแค่หยิบมือเดียวที่ศรัทธาว่าฉันคือผู้นำที่มาจากคำสั่งแห่งคำภีร์และซุนนะห์ร่อซูล และท่านอิมามอะลี อ. จึงเริ่มนับซุนนะห์นบี ศ. ที่ถูกบิดเบือนไปโดยน้ำมือของผู้ปกครองก่อนหน้าท่านทีละข้อ จนมาถึง บิดอะฮ์ ที่ถูกริเริ่มโดยท่าน อุมัร บิน ค็อตต็อบ นั่นคือ การนมาซนาฟิละฮ์(ตะรอเวี้ยะฮ์)รวมกันเป็นญะมาอะฮ์

وَ اللَّهِ لَقَدْ اَمَرْتُ النَّاسَ اَنْ لَا یَجْتَمِعُوا فِی شَهْرِ رَمَضَانَ اِلَّا فِی فَرِیضَةٍ وَ اَعْلَمْتُهُمْ اَنَّ اجْتِمَاعَهُمْ فِی النَّوَافِلِ بِدْعَةٌ

ขอสาบานต่ออัลลอฮ์ ฉันจะออกคำสั่งแก่ประชาชนว่า “อย่ารวมตัวกันในเดือนรอมฎอนเพื่อนมาซนาฟีละฮ์(ตะรอเวี้ยะฮ์)เว้นแต่นมาซที่เป็นภาคบังคับเท่านั้น(นมาซประจำวัน ที่ให้ออกกันมาทำเป็นหมู่คณะ) และจงแจ้งแก่ประชาชนทั้งหลายให้รับทราบโดยทั่วหน้ากันว่า ” การนมาซนะวาฟิล(นมาซซุนนะห์/ตะรอเวี้ยะฮ์)เป็นรูปญะมาอะฮ์(หมู่คณะ)คือบิดอะฮ์ “

และดูเหมือนว่า สิ่งนี้ยังคงสอดคล้องกับคำรับสารภาพของท่านอุมัร บิน ค็อตต็อบ ที่ตัวของเขายืนยันว่า “การนมาซตะรอเวี้ยะเป็นรูปญะมาอะฮ์” คือ บิดอะฮ์ที่งดงามของเขา

จากคำให้การของบุคอรีฮ์ ท่านอุมัร บิน ค๊อตต็อบ เป็นผู้สารภาพด้วยตัวของเขาเองว่า “การนมาซตะร่อเวี้ยะฮ์ที่ทำเป็นญะมะอะฮ์ เขาคือผู้ริเริ่มมันขึ้นมา และบรรจุเข้าไปในศาสนา ด้วยประโยคที่ว่า …..نِعْمَ الْبِدْعَةُ هذه ….“นี่เป็นอุตริกรรม (บิดอะฮ์) ที่ดี

มุฮัมมัด บิน อิสมาอีล อัลบุคอรีอ์ ได้บันทึกไว้ในศ่อเอี้ยะของเขาไว้อีกบทหนึ่งว่า :

وَعَنْ بن شِهَابٍ عن عُرْوَةَ بن الزُّبَيْرِ عن عبد الرحمن بن عَبْدٍ القارىء أَنَّه قال خَرَجْتُ مع عُمَرَ بن الْخَطَّابِ رضي الله عنه لَيْلَةً في رَمَضَانَ إلى الْمَسْجِدِ فإذا الناس أَوْزَاعٌ مُتَفَرِّقُونَ يُصَلِّي الرَّجُلُ لِنَفْسِهِ وَيُصَلِّي الرَّجُلُ فَيُصَلِّي بِصَلَاتِهِ الرَّهْطُ فقال عُمَرُ إني أَرَى لو جَمَعْتُ هَؤُلَاءِ على قَارِئٍ وَاحِدٍ لَكَانَ أَمْثَلَ ثُمَّ عَزَمَ فَجَمَعَهُمْ على أُبَيِّ بن كَعْبٍ ثُمَّ خَرَجْتُ معه لَيْلَةً أُخْرَى وَالنَّاسُ يُصَلُّونَ بِصَلَاةِ قَارِئِهِمْ قال عُمَرُ نِعْمَ الْبِدْعَةُ هذه والَّتِي يَنَامُونَ عنها أَفْضَلُ من التي يَقُومُونَ يُرِيدُ آخِرَ اللَّيْلِ وكان الناس يَقُومُونَ أَوَّلَهُ.
صحيح البخاري، ج2، ص707، كِتَاب صَلَاةِ التَّرَاوِيحِ، بَاب فَضْلِ من قام رَمَضَانَ، البخاري

ความว่า
จากอับดุรเราะห์มาน บุตร อับดุลกอรี เขากล่าวว่า ฉันได้ออกไปมัสยิดนะบะวี พร้อมกับท่านอุมัร บุตร ค็อตต็อบ ในเดือนรอมาฏอน ได้พบว่าประชาชนได้แยกกันเป็นกลุ่ม ๆ คนหนึ่งนมาซคนเดียวตามลำพัง มุมหนึ่งมีคนนมาซพร้อมกันเป็นกลุ่ม ท่านอุมัรได้กล่าวขึ้นว่า
ฉันเห็นว่าถ้าหากพวกเขารวมกันนมาซตามคนเดียวก็จะเป็นการดียิ่งกว่า ต่อมาอุมัรก็ได้รวมผู้คนให้นมาซตามหลังอุบัยย์ บุตร กะอ์บิ
คืนต่อมาฉันได้ออกไปพร้อมกับเขาอีก คืนนัั้น ประชาชนกำลังนมาซตามหลังอิมามของเขา
ท่านอุมัรจึงกล่าวขึ้นว่า “นี่เป็นอุตริ (บิดอะฮ์) ที่ดี
…..نِعْمَ الْبِدْعَةُ هذه ….

 คำว่า อัลบิดอะห์ الْبِدْعَةُ คือ นวัตกรรม หรือ อุตริกรรม อันหมายถึง การประดิษฐ์ หรือการสร้างหรือการเพิ่มเนื้อหาเข้าไปในศาสนา ซึ่งสิ่งนั้นมิได้มีบัญญัติอยู่ในคัมภีร์อัลกุรอาน หรือจากคำสอนของท่านศาสดามูฮัมมัด ศ. อันเป็นส่วนหนึ่งของศาสนาอิสลาม

ฉะนั้น นี้คือเหตุผลหนึ่งที่ชีอะห์ไม่ยึดถือว่า “นมาซตะรอเวี้ยะฮ์ที่ได้ทำในรูปญะมาอะฮ์” เป็นซุนนะห์ของท่านศาสดามุฮัมมัด ศ. และไม่มีนมาซที่มีชื่อว่า “ตะร่อเวี้ยะฮ์” ในสังคมชีอะห์
แต่ใช่ว่าไม่มีตะรอเวี้ยะฮ์แล้ว พวกเขาจะไม่มีนมาซ กิยามุลลัยน์ หรือนมาซนะวาฟิล ในค่ำคืนต่างๆของเดือนรอมฎอน ก็หาใช่ แต่ในทางกลับกัน มีระบุจากคำสอนอะห์ลุลบัยต์นบี ว่า ให้ทำนมาซนะวาฟิลให้ได้ 1,000 ร่อกะอัตในช่วง 30 คืนแห่งรอมฎอน แต่ห้ามทำในรูปญะมาอะฮ์ อย่างเด็ดขาด

یصلی طول شهر رمضان ألف رکعة زائداً علی النوافل المرتبة فی سائر الشهور، عشرین لیلة فی کل لیلة عشرین رکعة ثمان بین العشائین و اثنا عشرة بعد العشاء الاخرة و فی العشر الاخر کل لیلة ثلاثین رکعة وفی ثلاث لیال و هی تسعة عشره و لیلة إحدی و عشرین و لیلة و ثلاثة عشرین کل لیلة مائة رکعة

นี้คือความแตกต่างระหว่าง ชีอะห์ และ ซุนนะห์ ในเรื่องนมาซซุนนะห์ยามค่ำคืนในช่วงรอมฎอนอันจำเริญ