เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

วิเคราะห์เรื่องราวของอิมามมะฮ์ดี ตอน 33

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5


วิเคราะห์เรื่องราวของอิมามมะฮ์ดี ตอน 33


ศึกษาเรื่องตัวแทนของอิม่าม
การจัดระเบียบที่อิมามฮาซันอัสกะรี(อิมามที่11)นำมาใช้เพื่อการเข้าสู่ยุคฆ็อยบัตของอิมามมะฮ์ดี(อิมามที่12)คือ การสนับสนุนส่งเสริมให้มีตัวแทน(วะกีล)
تعريف الوكالة (الوكيل)
1. นิยามความหมายคำว่า ตัวแทน
วิกาละฮ์ (وكَالَة) #ในทางภาษาศาสตร์หมายถึง
الوكالة أن يعهد الي غيره أن يعمل له عملا  
ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่แทนผู้อื่น จะต้องปฏิบัติหน้าที่นั้นๆแทนผู้มอบหมาย และเขาเป็นผู้มีอำนาจเต็มในการทำหน้าที่นั้นๆ
وسمي الوكيل لأنه يوكل إليه الأمر
ที่เขาถูกเรียกว่า “วะกีล” เพราะเขาได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่แทน นั่นเอง
วิกาละฮ์ (وكَالَة) ในทางฟิกฮ์(นิติศาสตร์อิสลาม) หมายถึง
الوكالة هي تولية الغير في إمضاء أمراً واستنابته في التصرف في ما كان له ذَلِكَ
การมอบหมายให้ผู้อื่นทำหน้าที่แทนตน ในการรับรองกิจการงานใดๆ และดำเนินการบริหารหน้าที่การงานของผู้มอบหมาย
อัลวิกาละฮ์ คือ การรับมอบอำนาจ และเป็นไปตามหลักการศาสนาในฐานะเป็นตัวแทนโดยเฉพาะ อัลวิกาละฮ์คือ การมอบอำนาจเต็มในกิจการใดๆก็ตามให้แก่บุคคลอื่น เพื่อให้เขาทำหน้าที่นั้นแทนในช่วงเวลาที่เขามีชีวิตอยู่ หรือนำเอากิจการนั้นๆกลับมาดำเนินการด้วยตนเอง ในช่วงเวลานั้น
เมื่อพิจารณาความหมายทางด้านภาษาและทางด้านศาสนาของคำว่าวิกาละฮ์แล้ว จึงทำให้เข้าใจความหมายด้านในที่ซ่อนอยู่ นั่นคือ
ความหมายของอำนาจเต็มในการประกอบกิจการนั้นโดยตรง อันนี้หมายความว่า
ผู้มอบอำนาจจะต้องประกาศบุคคลผู้ที่จะเป็นตัวแทนอย่างชัดเจนในขณะที่ตนไม่สามารถจะปฎิบัติกิจการงานได้ด้วยสาเหตุต่างๆ และถึงแม้ว่าจะสามารถปฏิบัติกิจการนั้นได้ก็ตาม
อย่างไรก็ตาม มิอาจละเว้นการประกาศแต่งตั้งผู้เป็นวะกีลได้ ในนิยามทางฟิกฮ์ จึงได้ให้ความหมายคำว่า วิกาละฮ์(ตัวแทน)ไว้เช่นนี้
ด้วยเหตุนี้เองแสดงให้เห็นว่า
การที่บรรดาอิมามแห่งอะฮ์ลุลบัยต์นบี(อ)ได้แต่งตั้งวะกีลทำหน้าที่แทน ก็เป็นเพราะเหตุว่า
มีอุปสรรคในการที่จะติดต่อกับบรรดาชีอะฮ์อยู่ในหัวเมืองต่างๆทั่วทุกมุมโลกได้โดยตรง
ความหมายนี้รวมไปถึงตัวแทนของบรรดาอิมามในสมัยที่พวกเขายังมีชีวิตอยู่
และในสมัยฆ็อยบัตซุฆรอในช่วงเวลาเล็กน้อยด้วย องค์กรตัวแทนของอิมาม จึงมีลักษณะคล้ายกับการบริหารภารกิจของอิมามโดยคณะบุคคลที่มีระบบระเบียบและการประสานงานด้วยกัน
หลักเกณฑ์ในการจัดตั้งองค์กรนี้มีขึ้นตั้งแต่สมัยอิมามญะอ์ฟัร (อิมามที่6)โดยอิม่ามได้แต่งตั้งตัวแทนของเขา เพื่อให้บรรดาวะกีลไปดำเนินภารกิจที่สำคัญต่างๆในการติดต่อกับบรรดาชีอะฮ์
ต่อมา องค์กรนี้ก็ได้พัฒนามากขึ้น และแพร่หลายมากขึ้นในสมัยของอิมามมูซากาซิม(อิมามที่7)...อิมามอะลีริฎอ(อิม่ามที่8)...อิมามมุฮัมมัดญะวาด(อิมามที่9)
สภาพการณ์เป็นอย่างนี้เรื่อยมาจนมาถึงยุคของอิมามอะลีฮาดี(อิมามที่10)และอิมามฮาซันอัสกะรี(อิมามที่11)
อิม่ามที่ 11 ได้พยายามปูพื้นฐานอย่างสมบูรณ์แบบและจำกัดหนทางแก่บรรดาชีอะฮ์ในการติดต่อกับอิมามโดยตรง  
และองค์กรนี้ก็ได้ดำเนินต่อไปจนกระทั่งสิ้นสุดเวลาการฆ็อยบัต ซุฆรอของอิมามมะฮ์ดี(อิมามที่12)
บรรดาวะกีลของอิมามมะฮ์ดีนั้น ล้วนแต่เป็นผู้มีบุคลิกลักษณะพิเศษ ที่อำนวยประโยชน์ให้พวกเขาสามารถปฏิบัติภารกิจต่างๆที่อยู่ในความรับผิดชอบได้อย่างเหมาะสม
ทำให้สามารถหักล้างกับพวกโกหก ที่ได้แอบอ้างตนว่าเขาเป็นตัวแทนของอิมามมะฮ์ดี(อิมามที่12)
อิมามมะฮ์ดีได้หักล้างความเท็จอย่างมากมายของพวกโกหกเหล่านั้น
เรื่องราวเหล่านี้ ถือเป็นหน้าที่ต้องศึกษาอย่างจริงจัง เพื่อจะได้เข้าใจอย่างชัดเจน

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม