เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

วิเคราะห์เรื่องราวของอิมามมะฮ์ดี ตอน 35

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5


วิเคราะห์เรื่องราวของอิมามมะฮ์ดี ตอน 35


علة إنشاء السفير والوكيل
2. เหตุผลที่ต้องแต่งตั้งสะฟีรหรือวะกีลและดำรงคงไว้ซึ่งหน้าที่นี้จนสิ้นสุดยุคฆ็อยบัตของอิมามมะฮ์ดี(อิม่ามที่12)
สาเหตุที่ 2
การกดขี่จากพวกอับบาซียะฮ์ และความจำเป็นในการปกป้องชีอะฮ์และผู้มีความรักต่ออะฮ์ลุลบัยต์นบี
ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ท่ามกลางบรรยากาศที่พวกกาหลิบวงศ์อับบาซียะฮ์ได้กดขี่ต่อบรรดาอิม่ามแห่งอะฮ์ลุลบัยต์นบี ที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้น อิม่ามไม่อาจจะดำเนินการจัดตั้ง ตัวแทนของอิม่ามได้
แต่เราสามารถสรุปได้ว่า ท่ามกลางบรรยากาศการกดขี่นั้นเอง เป็นปัจจัยทำให้มีการเคลื่อนไหวองค์กรตัวแทนของบรรดาอิมามจนประสบความสำเร็จและแพร่หลายไปตามสถานที่ต่างๆ
ด้วยเหตุนี้ ตัวแทนของอิม่ามได้บรรลุสู่จุดสุงสุดในสมัยของอิมามมูซากาซิม(อิม่ามที่7)และอิมามอะลีฮาดี(อิมามที่10)
สาเหตุที่ 3
การเตรียมความพร้อมของชีอะฮ์เพื่อเข้าสู่ยุคฆ็อยบะฮ์
ประเด็นหนึ่งที่บรรดาอิมามให้ความสำคัญต่อองค์กรตัวแทนเหล่านี้คือ
การเตรียมความพร้อมของบรรดาชีอะฮ์ ในการแบกรับสถานการณ์ใหม่ที่จะเกิดขึ้นนั่นคือ
การเข้าสู่ยุคฆ็อยบัต(อิม่ามมะฮ์ดีไม่ปรากฏตัว)ซึ่งการติดต่อระหว่างชีอะฮ์กับอิมามจะถูกจำกัดลงแค่การได้ติดต่อกับวะกีล(ตัวแทนของอิม่าม)
เมื่อเราพิจารณาตามความเป็นจริงจะเห็นได้ว่า
เมื่อบรรดาชีอะฮ์ใกล้จะเข้าสู่สมัยฆ็อยบัต หนทางติดต่อกับอิมามโดยตรงก็ยิ่งแคบลงเรื่อยๆ
บทบาทตัวแทน(วะกีล)ก็จะชัดเจนมากขึ้น โดยเฉพาะในสมัยของอิมามอะลีฮาดี(อิม่ามที่10)และอิมามฮาซันอัสกะรี(อิม่ามที่11)
การติดต่อระหว่างประชาชนกับอิมาม ถูกจำกัดลงแค่วิธีเขียนจดหมายสอบถาม และติดต่อกับตัวแทนของอิมามเท่านั้น
ไม่ว่าจะมีภารกิจใดก็ตาม อิมามที่ 10 และอิม่ามที่ 11 จะสนับสนุนบรรดาตัวแทนให้ไปดำเนินการ
เพื่อแสดงให้เห็นถึงบทบาทใหม่ ในฐานะเป็นองค์กรของบรรดาชีอะฮ์ ในการก้าวสู่ขั้นตอนใหม่ นั่นคือ การเข้าสู่ยุคฆ็อยบัตของอิมามมะฮ์ดี(อิม่ามที่12)นั่นเอง

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม