ครอบครัวในอิสลามและจิตวิทยา


ครอบครัวในอิสลามและจิตวิทยา


ในกรณีที่กฎหมายมีคำสั่งโดยรวม กรณีนี้จะมีผลทำให้เกิดหน้าที่โดยรวมที่ครอบคลุมบางกรณีเท่านั้น  กรณีต่าง ๆ ที่คำสั่งมีผลครอบคลุมถึง  จะเกิดผลบังคับทางจริยธรรมรูปแบบหนึ่งขึ้นตามมา ตัวอย่างเช่น ในกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ของบางประเทศ ระบุว่า สามีและภรรยามีหน้าที่ปฏิบัติดีต่อกันและต้องให้ความร่วมมือกันในการเลี้ยงดูบุตร และตามมาตราที่ 1177  บุตรจะต้องเชื่อฟังพ่อแม่ไม่ว่าพ่อแม่จะอายุเท่าใดก็ตาม แต่มีคำถามว่า หน้าที่ของภรรยาในการดูแลสามีที่ป่วย หรือการที่สามีต้องไปส่งลูกที่โรงเรียนสามารถถือเป็นสิทธิทางกฏหมายได้หรือไม่ ? คำตอบคือ การปฏิบัติสิ่งเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของความจำเป็นในการต้องปฏิบัติดีต่อกันและเป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือกันระหว่างสามีและภรรยาในการเลี้ยงดูบุตรตามที่ตัวบทกฎหมายกล่าวถึง ความจำเป็นอันนี้ไม่สามารถนำมาเป็นข้อกฎหมายฟ้องในศาลได้ และกฏหมายก็มิได้กำหนดบทลงโทษเกี่ยวกับกรณีย่อยต่าง ๆ เหล่านี้ไว้ด้วย กรณีเหล่านี้ เป็นกรณีที่จริยธรรมมีผลเหนือกฎหมาย ดังนั้นในครอบครัวจะไม่สามารถแยกกฎหมายออกจากจริยธรรมได้ และไม่สามารถขีดเส้นแบ่งระหว่างสองสิ่งนี้ได้ด้วย (คอตูซียอน 1377)
ดังนั้นตามพื้นฐานข้างต้น การแบ่งสิทธิออกเป็น สิทธิที่เป็นข้อบังคับและสิทธิที่ไม่เป็นข้อบังคับ จะสามารถแบ่งสิทธิของสมาชิกแต่ละคนในครอบครัวได้ดังนี้
1.สิทธิของภรรยาและหน้าที่จำเป็นของสามี
2.สิทธิของสามีและหน้าที่จำเป็นของภรรยา
3.สิทธิของภรรยาและหน้าที่ที่ไม่จำเป็นของสามี
4.สิทธิของสามีและหน้าที่ที่ไม่จำเป็นของภรรยา
5.สิทธิของลูกและหน้าที่ที่จำเป็นของพ่อ
6.สิทธิของลูกและหน้าที่ที่จำเป็นของแม่
7.สิทธิของลูกและหน้าที่ที่ไม่จำเป็นของพ่อ
8.สิทธิของลูกและหน้าที่ที่ไม่จำเป็นของแม่
9.สิทธิของพ่อแม่และหน้าที่จำเป็นของลูก
10.สิทธิของพ่อแม่และหน้าที่ที่ไม่จำเป็นของลูก


ขอขอบคุณ สถาบันศึกษาศาสนา อัล-มะฮฺดียะห์