เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

ความสำคัญของการนมาซวันศุกร์ในอิสลาม

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

ความสำคัญของการนมาซวันศุกร์ในอิสลาม

 

หากจะกล่าวถึงหลักฐานความสำคัญของการนมาซวันศุกร์ ก็คงหลีกไม่พ้นพระดำรัสขององค์อัลลอฮ์ ซ.บ. ที่ทรงตรัสไว้ในอายะฮ์ต่างๆของซูเราะห์ญุมอะฮ์ เช่นพระองค์ทรงบัญชาแก่ผู้ศรัทธาว่า “เมื่อพวกเจ้าได้ยินเสียงเรียกร้องสู่การนมาซวันศุกร์ให้ละทิ้งทุกอย่างที่เกียวกับทางโลกเพื่อรีบเร่งไปสู่การเรียกร้องนั้น

یا أَیُّهَا الَّذِینَ آمَنُوا إِذا نُودِیَ لِلصَّلاةِ مِنْ یَوْمِ الْجُمُعَةِ فَاسْعَوْا إِلی ذِکْرِ اللّهِ وَ ذَرُوا الْبَیْعَ ذلِکُمْ خَیْرٌ لَکُمْ إِنْ کُنْتُمْ تَعْلَمُونَ فَإِذا قُضِیَتِ الصَّلاةُ فَانْتَشِرُوا فِی الاْ َرْضِ وَ ابْتَغُوا مِنْ فَضْلِ اللّهِ وَ اذْکُرُوا اللّهَ کَثِیراً لَعَلَّکُمْ تُفْلِحُونَ

[62:9]โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย เมื่อพวกเจ้าได้รับการเรียกร้องสู่การนมาซวันศุกร์ ก็จงเร่งรีบสู่การรำลึกถึงอัลลอฮ์ และปล่อยการค้าขาย(ไว้ก่อน)นั้นเป็นเรื่องที่ดียิ่งสำหรับพวกเจ้า หากพวกเจ้ารู้

ในส่วนของฮะดิษก็มีบันทึกไว้มากมายถึงความสำคัญของการเข้าร่วมนมาซวันศุกร์ ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ ศ. กล่าวไว้ว่า

إِنَّ اللّهَ تَبارَکَ وَ تَعالى فَرَضَ عَلَیْکُمُ الْجُمُعَةَ فَمَنْ تَرَکَها فِی حَیاتِی أَوْ بَعْدَ مَوْتِی اسْتِخْفافاً بِها أَوْ جُحُوداً لَها فَلا جَمَعَ اللّهُ شَمْلَهُ، وَ لا بارَکَ لَهُ فِی أَمْرِهِ، أَلا وَ لا صَلاةَ لَهُ، أَلا وَ لا زَکاةَ لَهُ، أَلا وَ لا حَجَّ لَهُ، أَلا وَ لا صَوْمَ لَهُ، أَلا وَ لا بِرَّ لَهُ حَتَّى یَتُوبَ ؛
وسائل الشیعه، جلد 5، صفحه 7، باب «وجوب صلوة الجمعه»، حدیث 28

อันแท้ที่จริงอัลลอฮ์ผู้ทรงยิ่งใหญ่ ผู้ทรงสูงส่งได้ทรงกำหนดให้การนมาซวันศุกร์เป็นภาคบังคับสำหรับพวกเจ้า ฉะนั้นผู้ใดได้ละทิ้งมันในยุคสมัยที่ฉัน(นบี)ยังมีชีวิตอยู่ หรือหลังจากฉันได้เสียชีวิตไปแล้วด้วยกับความเฉยเมย หรือ(ละทิ้งนมาซวันศุกร์)เพราะปฎิเสธ อัลลอฮ์จะไม่ทรงทำให้กิจการงานของเขาเกิดความเป็นศิริมงคลในชีวิต(บะร่อกัต)และเช่นกันนมาซของเขาก็จะไม่ถูกตอบรับ ,ซะกาต ,ฮัจญ์ ,ศีลอด และการทำความดีของเขาทั้งหมดก็จะไม่ถูกตอบรับจากพระองค์เว้นแต่เขาจะเตาบะฮ์ตัวเสียใหม่(กลับเนื้อกลับตัว)


นมาซวันศุกร์มัสยิดดารุซซะรอ อ. จังหวัดพัทลุง
ในฮะดิษอีกบทจากท่านอิมามบาเก็ร อ. กล่าวว่า

صَلاةُ الْجُمُعَةِ فَرِیضَةٌ، وَالاِْجْتِماعُ إِلَیْها فَرِیضَةٌ مَعَ الاِْمامِ، فَإِنْ تَرَکَ رَجُلٌ مِنْ غَیْرِ عِلَّة ثَلاثَ جُمَع فَقَدْ تَرَکَ ثَلاثَ فَرائِضَ، وَلایَدَعُ ثَلاثُ فَرائِضَ مِنْ غَیْرِ عِلَّة إِلاّ مُنافِقٌ»؛

นมาซวันศุกร์คือ(อิบาดะฮ์ที่อยู่ใน)ภาคบังคับหนึ่ง และการรวมตัวกันเพื่อนมาซวันศุกร์ในยุคสมัยของอิมาม(มะฮ์ซูม)เป็นวายิบ(อัยนีย์) ดังนั้นบุคคลใดได้ละทิ้งนมาซวันศุกร์สามครั้งโดยไม่มีเหตุจำเป็น ก็เท่ากับได้ละทิ้งข้อบังคับไป 3 ประการโดยไม่มีสาเหตุ (และไม่มีใครทำเช่นนี้)เว้นแต่เขาผู้นั้นคือ ผู้กลับกลอก(มุนาฟิก)-(จากหนังสือวะศ่ออิลุลชีอะห์ เล่ม 5 หน้า 10)

อีกบทหนึ่งรายงานจากท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ ศ. ว่า

«مَنْ أَتَى الْجُمُعَةَ إِیماناً وَاحْتِساباً اسْتَأْنَفَ الْعَمَلَ»؛

บุคคลใดได้เข้าร่วมนมาซวันศุกร์ด้วยกับความศรัทธา และเพื่ออัลลอฮ์ บาปต่างๆของเขาจะถูกให้อภัย เสมือนว่าเขาได้เริ่มต้นใหม่อีกครั้ง(เป็นผู้บริสุทธิ์จากบาป)-(จากหนังสือจากหนังสือวะศ่ออิลุลชีอะห์ เล่ม 5 ฮะดิษที่ 17)

มีอาหรับคนหนึ่งมาหาท่านนบีมุฮัมมัด ศ. แล้วกล่าวว่า “โอ้ท่านศาสนทูตแห่งพระเจ้า หลายต่อหลายครั้งที่ตัวฉันเตรียมพร้อมที่จะไปฮัจญ์ แต่สุดท้ายก็ไม่ได้รับเตาฟีกนั้น ฉันควรทำเช่นไรครับ” ? ท่านนบี ศ. ตอบว่า :

عَلَیْکَ بِالْجُمُعَةِ فَإِنَّها حَجُّ الْمَساکِینَ»؛
สำหรับเจ้าแล้วคือการนมาซวันศุกร์ เพราะมันคือฮัจญ์ของผู้ขัดสน

ใช่แล้วครับ การนมาซวันศุกร์มีมรรคผลเท่ากับการไปทำฮัจญ์ และสิ่งนี้อัลลอฮ์ทรงมอบเป็นของขวัญให้แก่ผู้ที่ไม่มีกำลังพอ และไม่ได้รับโอกาศให้ได้ไปประกอบพิธีฮัจญ์


ข้อควรรู้ การนมาซวันศุกร์ในยุคที่อิมามมะฮ์ซูม อ. ยังไม่ปรากฏกายให้ถือว่า เป็นวาญิบ(ภาคบังคับ)ประเภท ตักยีรีย์ นั่นคือ ให้เลือกระหว่างนมาซวันศุกร์และนมาซซุฮ์ริย์ ถืงแม้ว่าการนมาซวันศุกร์ที่มีเงื่อนไขพร้อมจะ อัฟฎอล(ประเสริฐกว่า) และเมื่อนมาซวันศุกร์แล้วก็สามารถทดแทนนมาซซุฮ์ริ(ท่านอยาตุลลอฮ์ มะการิม ชีรอซีย์)
บทความโดย เชคอันซอร เหล็มปาน

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม