เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

ชีอะห์หรือซุนนี่ห์ที่เชื่อว่าอัลกุรอานถูกเปลี่ยนแปลงแล้ว?

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

ชีอะห์หรือซุนนี่ห์ที่เชื่อว่าอัลกุรอานถูกเปลี่ยนแปลงแล้ว?


ชีอะห์เชื่อว่าอัล-กุรอานได้ถูกเปลี่ยนแปลง..จริงหรือ?

ชาวชีอะห์เชื่อว่า อัล-กุรอานยังคงสภาพเหมือนเดิมทุกประการมิได้มีสิ่งใดเปลี่ยนแปลง หรือไม่ได้เพิ่มให้มากหรือลดน้อยลงไป ท่านศาสดามุฮัมมัด ศ. ได้ถ่ายทอดอัล-กุรอานทั้งหมด 114 ซูเราะฮ์แก่ประชาชาติ โดยมีท่านอิมามอะลี อ. เป็นผู้จดบันทึกตั้งแต่วันแรกจนถึงวันสุดท้ายแห่งการประทานวะฮฺยู แม้ว่าระยะเวลาจะผ่านไปถึง 14 ศตวรรษแล้ว แต่ไม่ปรากฏว่ามีสิ่งใดเพิ่มหรือลดไปจากอัล-กุรอานแม้แต่นิดเดียว นั่นแสดงว่าอัล-กุรอานไม่ได้ถูกเปลี่ยนแปลง สาเหตุที่เป็นเช่นนี้สามารถกล่าวได้วา อัลลอฮ์ ซ.บ. ทรงเป็นผู้ปกป้องความบริสุทธิ์ของอัล-กุรอานพระองค์เอง เมื่อเป็นเช่นนี้จะถูกเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร อัล-กุรอานกล่าวว่า

إِنَّا نَحْنُ نَزَّلْنَا الذِّكْرَ وَإِنَّا لَهُ لَحَافِظُونَ

“แท้จริงเราได้ให้ข้อตักเตือน (อัลกุรอาน) นี้ลงมา และแท้จริงเราเป็นผู้พิทักษ์อย่างแน่นอน”

เจ้าของหนังสือ “อะกออิด อิมามียะฮฺ” ท่านเชคมุศ็อฟฟัร ได้กล่าวไว้ว่า

“نعتقد أنّ القرآن هو الوحي الإلهي المنزّل من الله تعالى على لسان نبيه الأكرم، فيه تبيان كلّ شيء، وهو معجزته الخالدة التي أعجزتْ البشر عن مجاراتها في البلاغة والفصاحة، وفيما احتوى من حقائق ومعارف عالية، لا يعتريه التبديل والتغيير والتحريف، وهذا الذي بين أيدينا نتلوه هو نفس القرآن المنزّل على النبي، ومن ادعى فيه غير ذلك فهو مخترق أو مغالط أو مشتبه، وكلّهم على غير هدى فإنّه كلام اللّه الذي لا يأتيه الباطل من بين يديه ولا من خلفه

“เราเชื่อมั่นว่าอัล-กุรอานคือวะฮฺยูของพระผู้เป็นเจ้าที่ถูกประทานมาจากอัลลอฮ์ ซ.บ. บนปลายลิ้นของท่านนบี ศ. ผู้ทรงเกียรติ ซึ่งในนั้นมีเรื่องราวเกี่ยวกับทุกสิ่งทุกอย่างอธิบายไว้ มันคือสิ่งมหัศจรรย์ที่ทรงไว้ซึ่งความอมตะนิรันดร์กาล โดยที่ปุถุชนธรรมดาสุดวิสัยจากการที่จะแข่งขันในแง่ของความลึกซึ้งและคมคาย อีกทั้งในแง่ของเรื่องราวที่ประกอบด้วยสัจธรรมทั้งปวง และวิชาความรู้อันสูงส่ง จึงไม่สามารถที่จะนำหลักเกณฑ์ในการเปลี่ยนแปลงดัดแปลง และการตะฮฺรีฟเข้าไปเกี่ยวข้องได้ นี่คือคัมภีร์ที่อยู่เบื้องหน้าเราซึ่งเราได้อ่านมันอยู่เสมอ

มันคืออัล-กุรอานเล่มเดียวกันกับที่ถูกประทานให้แก่ท่านนบี ศ. ส่วนผู้ใดก็ตามที่อ้างถึงอัล-กุรอานในลักษณะอื่นที่นอกเหนือจากนี้ เขาก็คือคนพิสดาร หรือคนที่มีความคิดผิดพลาด หรือไม่ก็จะต้องเป็นคนที่มีแต่ความสงสัยเท่านั้น และเขาเหล่านั้นทั้งหมดจะไม่ได้อยู่กับทางนำ ดังนั้นอัล-กุรอานคือพจนารถของอัลลอฮ์ ซ.บ. ที่ไม่อาจจะมีความผิดพลาดกล้ำกลายเข้าไปเกี่ยวข้องได้เลย ไม่ว่าจากทางด้านหน้าและจากทางด้านหลังก็ตาม”(จากหนังสืออะก่ออิดุลชีอะห์ หน้า 62)

 

แล้วใครพยายามยัดเยียดเรื่องราวที่เป็นเท็จนี้ให้กับชีอะห์

ถ้าเราสามารถนำประเทศมุสลิมทั้งหลายมารวมกันได้ทั้งประเทศในทางตะวันออก ตะวันตก ทรงตอนเหนือ และทางตอนใต้ ในทุกๆ ส่วนของโลกนี้ เราก็จะพบว่ามีอัล-กุรอานเล่มเดียวกัน โดยไม่มีการต่อเติมและไม่มีความบกพร่องใดๆ ถึงแม้บรรดามุสลิมจะขัดแย้งกัน เป็นมัซฮับและกลุ่มต่างๆ เป็นนิกายต่างๆ กันก็ตาม

อัล-กุรอานเป็นเสาหลักประการเดียวเท่านั้นที่รวบรวมพวกเขาไว้ได้ ซึ่งในเรื่องนี้บรรดาประชาชาติอิสลามมิได้ขัดแย้งแบ่งแยกออกจากกันเป็นสองฝักสองฝ่าย นอกจากกรณีที่เกี่ยวกับการอธิบายหรือการตีความเท่านั้น

เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว แสดงว่าทุกประเทศที่มีชีอะฮ์อันเป็นที่รู้จักกันอยู่แล้ว และถ้าหากว่าพวกเขายังมีอัล-กุรอานอยู่อีกเล่มหนึ่งนอกเหนือจากเล่มที่เรามีอยู่ แน่นอนที่สุดคนทั้งหลายย่อมรู้ และต้องถูกเปิดเผยไปนานแล้ว ฉะนั้น นี่คือความพยายามที่จะยัดเยียดเรื่องราวที่เป็นเท็จประการหนึ่งเพื่อให้ประชาชนทั้งหลายหลีกห่างเสียจาก ชีอะฮ์ และก็ยังมีคนที่พยายามจะลบหลู่และตั้งข้อกล่าวหาแก่ชีอะฮ์ก็ยังมีให้เห็นอยู่เรื่อยมา และเครื่องมือที่พวกเขาใช้อ้างเพื่อสร้างความชอบธรรมในเรื่องนี้ ก็คือ ยกตำรา หรือฮะดิษที่ไม่น่าเชื่อถือของชีอะห์มาอ้าง แล้วสรุปเอาว่า “นี้แหละสิ่งที่ชีอะห์เชื่อ” แบบนี้ไม่ใช่เป็นการอธรรมต่อชีอะห์ส่วนใหญ่หรอกหรือ..?

มีอีกตั้งเท่าไหร่สำหรับหนังสือที่ถูกเขียนขึ้นมาในลักษณะที่ให้เหตุผลไม่ตรงกับความเป็นจริง นอกจากเป็นเพียงทัศนะของผู้เขียนและผู้รวบรวมเท่านั้น ซึ่งในหนังสือนั้นๆ อาจจะมีการต่อเติมเสริมแต่ง อาจจะมีทั้งความจริงและความเท็จ อาจจะมีทั้งเรื่องที่ถูกต้องและเรื่องที่ผิดพลาด ซึ่งในลักษณะเช่นนี้เราสามารถจะพบได้จากทุกๆ นิกายของอิสลาม ไม่เฉพาะกับชีอะฮฺฝ่ายเดียวเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงเรื่องแบบนี้ค่อนข้างที่จะเกิดขึ้นกับอะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮ์มากกว่าที่เกิดขึ้นกับชีอะฮ์เสียด้วยซ้ำ

“สำหรับในส่วนที่ว่าชาวชีอะห์ เชื่อถือว่ามีความบกพร่องอยู่ในอัล-กุรอาน จะต้องขอกล่าวว่า “อะฮุซุบิลละฮฺ” (ไม่เป็นความจริง) เพียงแต่มันเป็นรายงานบอกเล่าจำนวนหนึ่งที่ถูกบอกเล่ากันมาในตำราของพวกเขา เช่นเดียวกันกับที่ถูกรายงานมาในตำราของซุนนะห์ในลักษณะที่เหมือน ๆ กัน แต่นักวิชาการผู้คงแก่เรียนของทั้งสองฝ่ายต่างปฏิเสธเรื่องเหล่านี้โดยสิ้นเชิง และถือว่าสิ่งเหล่านี้เป็นความผิดพลาด และไม่ใช่เป็นเรื่องที่อยู่ในความเชื่อของชีอะฮฺอิมามิยะฮ์แต่ประการใดเลย เช่นเดียวกันกับที่ไม่มีความเชื่ออย่างนี้อยู่ในซุนนะฮ์ด้วย”

เพื่อเป็นที่อธิบายให้ชัดแจ้งแก่ท่านผู้อ่านว่า ข้อกล่าวหาเหล่านี้ (เชื่อว่า อัล-กุรอานมีความบกพร่องและมีการต่อเติมที่มีอยู่ในบางเล่มจากตำราชีอะห์)แต่ในความเป็นจริงแล้วสิ่งนี้ที่ปรากฏในตำราของชาวซุนนะห์ค่อนข้างที่จะมากว่าชีอะฮ์ จนบางทีทำให้เราอดคิดไม่ได้ว่าชาวอะฮฺลิซซุนนะฮ์นั้นได้ใส่ร้ายคนอื่นในสิ่งที่พวกเขาเองก็มีอยู่

หวังว่าท่านผู้อ่านก็มีความปรารถนาเช่นกันที่จะรู้จักหลักฐานจากตำราอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ซึ่งสามารถทำให้ท่านยอมรับได้ว่า พวกเขานั่นเองแหละที่พูดถึงเรื่องการ ตะฮฺ์รีฟอัล-กุอาน ว่ามีทั้งบกพร่อง และมีทั้งต่อเติม ขอให้ท่านได้โปรดพิจารณาดู

รายงานโดยท่านฏ็อบรอนี และบัยฮะกี : แท้จริงในอัล-กุร อานมีอยู่ 2 ซูเราะฮฺ
أخرج الطبراني والبيهقي : إنّ من القرآن سورتين إحداهما هي

بسم اللّه الرحمن الرحيم، إنّا نستعينك ونستغفرك ونُثني عليك الخير كلّه ولا نكفُركَ ونَخلعُ ونتركُ من يفجرك

والسورة الثانية هي

بسم اللّه الرحمن الرحيم، اللّهم إياك نعبدُ ولك نُصلّي ونسجد، وإليك نسعى ونحفد، نرجو رحمتك، ونخشى عذابك الجدّ، إنّ عذابك بالكافرين ملحقُ

وهاتان السورتان سمّاهما الراغب في المحاضرات سورتي القنوت، وهما مّما كان يقنتُ بهما سيّدنا عمر بن الخطّاب، وهما موجودتان في مصحف ابن عبّاس، ومصحف زيد بن ثابت
السنن الكبرى للبيهقي 2: 210، كتاب الدعاء للطبراني: 238، المصنّف لابن أبي شيبة 3: 121 ح4997، الدر المنثور 6: 421، والمحاضرات للراغب الأصفهاني 2: 443. مبدأ القرآن ونزوله

จากรายงานโดยท่านฏ็อบรอนี และบัยฮะกี : แท้จริงในอัล-กุร อานมีอยู่ 2 ซูเราะฮฺ

ดังซูเราะฮฺที่ 1 คือ

“ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺ ผู้ทรงกรุณาปรานี ผู้ทรงเมตตาเสมอ แท้จริงเราขอความช่วยเหลือต่อพระองค์ และขอการอภัยโทษต่อพระองค์ และเราสดุดีต่อพระองค์ด้วยความดีงามทุกประการ และเราจะไม่ทรยศต่อพระองค์ และเราจะถอนตัวออกจาก และละทิ้งผู้ที่ฉ้อฉลพระองค์”

และซูเราะฮฺที่ 2 คือ

“ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงปรานี ผู้ทรงเมตตาเสมอ ข้าแต่อัลลอฮฺ เฉพาะพระองค์เท่านั้นที่เราเคารพภักดี และเฉพาะพระองค์เท่านั้นที่เรานมาซ และเราซุญูด เราแสวงหายังพระองค์ เราหวังความเมตตาของพระองค์ เราเกรงกลัวการลงโทษของพระองค์ แท้จริงการลงโทษของพระองค์ที่มีต่อคนกาฟิรทั้งหลายนั้น คือสิ่งติดตามมา”

ทั้งสองซูเราะฮฺนี้มีผู้รายงานว่าเป็นซูเราะฮฺกุนูต และทั้งสองบทนี้คือข้อความที่ท่านซัยยิดินาอุมัร บินค็อฏฏอบเคยนำมาอ่าน และทั้งสองบทนี้มีอยู่ในบันทึกของอิบนุอับบาซ และบันทึกของเซด บินซาบิต(อัซซุนัน กุบรอฮ์ ของท่านบัยฮากีย์ เล่ม 2 หน้า 210/หนังสือมุศอนนัฟ ของท่านอบีชัยบะฮ์ เล่ม 3 หน้า 121)

บุคอรีย์ ได้รายงานไว้ในศ่อฮิห์ของท่าน เล่ม 4 หน้า 215
บุคอรีได้รายงานไว้ในหนังสือศ่อฮีฮ์ของท่านในบท “มานากิบอัมมาร” และฮุซัยฟะฮ์(ร.ฎ.) จาก “อุล-เกาะมะฮฺ” ได้กล่าวว่า : ข้าพเจ้าได้เข้าเมืองซีเรีย แล้วได้นมาซสองร็อกอะฮฺ หลังจากนั้นก็ได้กล่าวว่า

“ข้าแต่อัลลอฮฺ โปรดทำให้ข้าพเจ้าได้สะดวกในการได้นั่งร่วมกับผู้มีคุณธรรม”

ดังนั้น จึงมีคนกลุ่มหนึ่งเข้ามาแล้วข้าพเจ้าก็เข้าไปนั่งร่วมกับพวกเขา ครั้นเมื่อมีผู้อาวุโสคนหนึ่งเข้ามานั่งข้างข้าพเจ้า

ข้าพเจ้ากล่าวขึ้นว่า “ท่านนี้ คือใคร ?”

พวกเขาตอบว่า “ท่านอะบูดัรดาอฺ”

ข้าพเจ้ากล่าวว่า “แท้จริงข้าพเจ้าได้ขอต่ออัลลอฮ์ ซ.บ. ว่าให้มีโอกาสได้นั่งร่วมกับคนที่มีคุณธรรม ดังนั้น พระองค์ก็ประทานให้ข้าพเจ้ามีโอกาสนั่งกับท่าน”

เขาถามว่า “ท่านมาจากไหน ?”

ข้าพเจ้าตอบว่า “มาจากเมืองกูฟะฮฺ”

เขากล่าวว่า “ที่เมืองของพวกท่านมีบุคคลสำคัญอยู่มิใช่หรือ ในหมู่พวกท่านมีคนที่อัลลอฮ์ ซ.บ. ป้องกันมิให้ชัยฏอนเข้าใกล้ ตามคำพูดของท่านนบี ศ. ในหมู่พวกท่านมีคนที่รู้ความลับของท่านนบี ศ. ที่ไม่มีใครรู้ได้ นอกจากเขาคนเดียว”

หลังจากนั้น เขากล่าวว่า

ثم قال: كيف يقرأ عبداللّه: وَاللَيْلِ إِذَا يَغْشَى

“ท่านอับดุลลอฮฺ อ่าน “วัลลัยลิ อิซายัฆชา” อย่างไร ?”

ข้าพเจ้าอ่านให้เขาฟังว่า

(والليل إذا يغشى والنهار إذا تجلّى والذكر والأُنثى)

“วัลลัยลิ อิซา ยัฆชา วันนะฮา ริอิซา ตะญัลลา วัซ ซะกะ รอ วัล อุนษา”

ท่านกล่าวว่า

قال: واللّه لقد أقرأنيها رسول اللّه (صلى الله عليه وآله وسلم) من فيه إلى فىَّ

“ขอสาบานต่ออัลลอฮ์ ซ.บ. แน่นอนที่สุด ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺ ศ. สอนอ่านให้แก่ฉันอย่างนี้แหละ ชนิดปากต่อปาก”

ในอีกริวายะฮฺหนึ่ง เขาได้เสริมไปอีกว่า : พวกเขาใช้ความพยายามตลอดเวลาที่จะให้ข้าพเจ้าสลัดทิ้งสิ่งหนึ่งที่ฉันเคยได้ยินมาจากท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ ศ. (บุคอรีย์ เล่ม 4 หน้า 215)

ในรายงานเหล่านี้ทั้งหมดให้ความหมายว่า อัล-กุรอานที่เรามีอยู่กันในปัจจุบันนี้ เพิ่มคำว่า “วะมา เคาะละกอ” [وَمَا خَلَقَ]เข้าไป

 

ศ่อฮิห์บุคอรีย์ ว่าด้วยอายะฮ์ “รัจญ์-آية الرجم (บทลงโทษด้วยกับการปาก้อนหินจนตายสำหรับคนผิดประเวณี)
ท่านบุคอรี ได้รายงานในศ่อฮีฮ์ของท่าน โดยรายงานจากท่านอุมัร บิน ค็อตต็อบ ว่า

عن ابن عباس أنّ عمر بن الخطاب قال: إِنَّ اللَّهَ بَعَثَ مُحَمَّدًا صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ بِالْحَقِّ ، وَأَنْزَلَ عَلَيْهِ الْكِتَابَ ، فَكَانَ مِمَّا أَنْزَلَ اللَّهُ آيَةُ الرَّجْمِ ، فَقَرَأْنَاهَا ، وَعَقَلْنَاهَا ، وَوَعَيْنَاهَا ، رَجَمَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ وَرَجَمْنَا بَعْدَهُ ، فَأَخْشَى إِنْ طَالَ بِالنَّاسِ زَمَانٌ أَنْ يَقُولَ قَائِلٌ : وَاللَّهِ مَا نَجِدُ آيَةَ الرَّجْمِ فِي كِتَابِ اللَّهِ ، فَيَضِلُّوا بِتَرْكِ فَرِيضَةٍ أَنْزَلَهَا اللَّهُ ، وَالرَّجْمُ فِي كِتَابِ اللَّهِ حَقٌّ عَلَى مَنْ زَنَى إِذَا أُحْصِنَ مِنْ الرِّجَالِ وَالنِّسَاءِ ، إِذَا قَامَتْ الْبَيِّنَةُ ، أَوْ كَانَ الْحَبَلُ ، أَوْ الِاعْتِرَافُ، ثمّ إنّا كنّا نقرأ فيما نقرأ من كتاب اللّه: أَنْ لا تَرْغَبُوا عَنْ آبائِكُمْ ، فَإِنّهُ كُفْرٌ بِكُمْ أَنْ تَرْغَبُوا عَنْ آبَائِكُم ، أو إنّ كُفْرًا بِكُمْ أنْ تَرْغَبُوا عَنْ آبَائِكُمْ
الراوي : عمر بن الخطاب | المحدث : البغوي | المصدر : صحيح البخاري | الصفحة أو الرقم : 6829 | خلاصة حكم المحدث : صحيح

“แท้จริงอัลลอฮ์ ซ.บ. ได้ทรงแต่งตั้งมุฮัมมัดมาแล้วด้วยสัจธรรม ดังนั้น พระองค์ก็ได้ประทานคัมภีร์มาให้แก่พวกเขา ส่วนหนึ่งจากคัมภีร์ที่อัลลอฮ์ ซ.บ. ประทานมานั้น มีโองการว่าด้วยเรื่อง “รัจญ์”(การสำเร็จโทษด้วยกับการขว้างก้อนหินแก่ผู้ผิดประเวณีทางเพศ)เราเคยได้อ่านโองการนี้ และได้จำจดกัน และได้นำมาปฏิบัติ ด้วยโองการนี้แหละที่ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ ศ. ได้สำเร็จโทษด้วยกับวิธี “รัจญ์” และเราก็ได้สำเร็จโทษด้วยกับการกว้างหิน(รัจญ์)หลังจากสมัยท่าน ฉันหวั่นใจว่า ประชาชนในสมัยที่เนิ่นนานวันต่อไป จะกล่าวว่า : ขอสาบานต่ออัลลอฮฺเราไม่ได้พบโองการ “รัจญ์” ในคัมภีร์ของอัลลอฮ์ ซ.บ. เลย แล้วพวกเขาจะหลงผิด เพราะละเลยบทบัญญัติหนึ่งที่อัลลอฮ์ ซ.บ. ประทานลงมา การขว้างหินตามคัมภีร์ของอัลลอฮ์ ซ.บ. ถือเป็นบทลงโทษสำหรับคนล่วงประเวณีที่มีคู่ครองแล้ว ทั้งชายหญิง ถ้าหากมีหลักฐานอันชัดแจ้งหรือถูกจับได้หรือรับสารภาพ หลังจากนั้น เราก็อ่านกันจากคัมภีร์ของอัลลอฮ์ ซ.บ. ซึ่งมีโองการว่า

أَنْ لا تَرْغَبُوا عَنْ آبائِكُمْ ، فَإِنّهُ كُفْرٌ بِكُمْ أَنْ تَرْغَبُوا عَنْ آبَائِكُم

“พวกสูเจ้าอย่าได้ชิงชังบรรพบุรุษของสูเจ้า กล่าวคือ การชิงชังที่พวกสูเจ้ามีต่อบรรพบุรุษสูเจ้านั้น เป็นการปฏิเสธสำหรับพวกสูเจ้า”

หรือ…

إنّ كُفْرًا بِكُمْ أنْ تَرْغَبُوا عَنْ آبَائِكُمْ

“แท้จริงการเป็นผู้ปฏิเสธสำหรับพวกสูเจ้า คือกรณีที่สูเจ้าชิงชังต่อบรรพบุรุษของพวกสูเจ้าเอง”(ศ่อฮีฮฺบุคอรี” เล่ม 8 หน้า 26(การขว้างคนทำซินา ถ้ามีคู่ครองแล้ว)

 

 

ศ่อฮิห์มุสลิม บทว่าด้วย หากลูกหลานของอาดัมมีขุมทรัพย์สองหลุมแล้ว ก็ยังอยากได้แห่งที่สาม
มุสลิม ได้รายงานในหนังสือศ่อฮีห์ของท่าน เล่ม 3 หน้า 100 บทว่าด้วย (หากลูกหลานของอาดัมมีขุมทรัพย์สองหลุมแล้ว ก็ยังอยากได้แห่งที่สาม)

بَعَثَ أَبُو مُوسَى الأشْعَرِيُّ إلى قُرَّاءِ أَهْلِ البَصْرَةِ، فَدَخَلَ عليه ثَلَاثُ مِائَةِ رَجُلٍ قدْ قَرَؤُوا القُرْآنَ، فَقالَ: أَنْتُمْ خِيَارُ أَهْلِ البَصْرَةِ وَقُرَّاؤُهُمْ، فَاتْلُوهُ، وَلَا يَطُولَنَّ عَلَيْكُمُ الأمَدُ فَتَقْسُوَ قُلُوبُكُمْ، كما قَسَتْ قُلُوبُ مَن كانَ قَبْلَكُمْ، وإنَّا كُنَّا نَقْرَأُ سُورَةً كُنَّا نُشَبِّهُهَا في الطُّولِ وَالشِّدَّةِ ببَرَاءَةَ، فَأُنْسِيتُهَا، غيرَ أَنِّي قدْ حَفِظْتُ منها: لوْ كانَ لاِبْنِ آدَمَ وَادِيَانِ مِن مَالٍ، لَابْتَغَى وَادِيًا ثَالِثًا، وَلَا يَمْلأُ جَوْفَ ابْنِ آدَمَ إلَّا التُّرَابُ، وَكُنَّا نَقْرَأُ سُورَةً كُنَّا نُشَبِّهُهَا بإحْدَى المُسَبِّحَاتِ، فَأُنْسِيتُهَا، غيرَ أَنِّي حَفِظْتُ منها: يا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا لِمَ تَقُولونَ ما لا تَفْعَلُونَ، فَتُكْتَبُ شَهَادَةً في أَعْنَاقِكُمْ، فَتُسْأَلُونَ عَنْهَا يَومَ القِيَامَةِ.
الراوي : أبو موسى الأشعري | المحدث : مسلم | المصدر : صحيح مسلم | الصفحة أو الرقم : 1050 | خلاصة حكم المحدث : صحيح
อะบู มูซา อัล-อัซอะรี ได้ถูกส่งตัวไปสอนอัล-กุรอานให้แก่ชาวบัศเราะฮฺ ได้มีคนจำนวน 300 คน เข้ามาหาท่านซึ่งคนเหล่านั้นได้อ่านอัล-กุรอาน
เขาได้กล่าวว่า “พวกท่านเป็นชาวบัศเราะฮฺที่มีการอ่านคัมภีร์ดีที่สุด แต่อีกไม่นาน หัวใจของพวกท่านจะแข็งกระด้าง เหมือนกับหัวใจของคนอื่นก่อน ที่เคยแข็งกระด้างมาแล้ว เพราะแท้จริง เราเคยได้อ่านข้อความในซูเราะฮฺหนึ่งที่ดูคลับคล้ายคลับคลาว่ามีความยาวและแข็งกร้าวคล้ายซูเราะฮฺอัล-บะรออะฮฺ ซึ่งมันได้ถูกลืมเลือนไปเสียแล้ว อย่างไรก็ดีฉันเองยังจำได้อยู่บ้างที่ว่า
لوْ كانَ لاِبْنِ آدَمَ وَادِيَانِ مِن مَالٍ، لَابْتَغَى وَادِيًا ثَالِثًا، وَلَا يَمْلأُ جَوْفَ ابْنِ آدَمَ إلَّا التُّرَابُ
ถึงแม้ว่า จะมีขุมทรัพย์สองขุม เป็นของลูกหลานอาดัมแล้วก็ตาม แน่นอนเขายังจะต้องแสวงหาขุมที่สามต่อไป และท้องของลูกหลานอาดัม นั้นจะไม่มีอะไรทำให้เต็มได้ นอกจากดิน”

เราเคยได้อ่านข้อความหนึ่งที่ดูคล้ายว่า เป็นซูเราะฮฺประเภทที่เริ่มต้นด้วยการสดุดี แต่มันก็ถูกลืมไปแล้ว อย่างไรก็ตามฉันยังจำได้อยู่บ้างคือ

يا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا لِمَ تَقُولونَ ما لا تَفْعَلُونَ، فَتُكْتَبُ شَهَادَةً في أَعْنَاقِكُمْ، فَتُسْأَلُونَ عَنْهَا يَومَ القِيَامَةِ
“โอ้ บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย ทำไมพวกสูเจ้าพูดในสิ่งที่สูเจ้าไม่กระทำ กล่าวคือ สูเจ้าถูกกำหนดมาเป็นสักขีพยานแก่ตัวของพวกสูเจ้าเองแล้วพวกสูเจ้าจะต้องถูกสอบถามในเรื่องนั้น เมื่อถึงวันฟื้นคืนชีพ”

สองซูเราะฮฺนี้ ตามที่ถูกอ้างขึ้นมาว่า ท่านอะบูมูซา อัช-อารี ลืมไปแล้วว่าหนึ่งนั้นคล้ายกับซูเราะฮฺบะรออะฮฺ หมายความว่า มี 129 โองการ สองนั้นคล้ายกับซูเราะฮ์ที่เริ่มต้นด้วย “ซับบะฮะลิลลาฮฺ” หมายความว่า มี 20 โองการ ทั้งสองซูเราะฮฺไม่มีปรากฏ นอกจากในจิตสำนึกของท่านมูซา

ท่านผู้อ่านที่รัก ข้าพเจ้าจะขอฝากข้อคิดในครั้งนี้ให้แก่ท่านจากตัวอย่างทั้งหลายริวายะฮ์ต่างๆ นี้ซึ่งมีอยู่เต็มไปหมดในหนังสือของอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ วัล-ญะมาอะฮ์ แต่พวกเขาลืมคำนึงถึง แล้วก่นด่าบริภาษชีอะฮ์ซึ่งในหนังสือของคนเหล่านี้ไม่ได้มีมากมายเช่นนั้นเลย

ดังนั้น ถ้าหากตำราของอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ วัล-ญะมาอะฮ์ และมุซนัดของพวกเขาก็ดี ศ่อฮีฮฺของพวกเขาก็ดี มีความแปลกปลอมริวายะฮ์อย่างนี้ซึ่งเท่ากับอ้างว่า อัล-กุรอานมีการบกพร่องในบางแห่ง และว่ามีการเพิ่มในบางแห่ง แล้วทำไมการดูหมิ่นดูแคลนอย่างนี้จึงตกแก่ฝ่ายชีอะฮฺที่ร่วมกันกล่าวว่าข้ออ้างเหล่านี้ ล้วนเป็นความผิดพลาดทั้งสิ้น

จุดสำคัญที่สุดในทุกประการเหล่านี้ก็คือว่า นักปราชญ์ซุนนะฮฺ และนักปราชญ์ชีอะฮฺ ที่เป็นนักวิเคราะห์และได้ศึกษารายงานเหล่านี้แล้ว ต้องเชื่อถือว่า มันเป็นเรื่องบังเอิญอย่างหนึ่ง และพวกเขาต้องยอมรับว่า อัล-กุรอานที่เรามีอยู่นี้แหละ คือ อัล-กุรอานเล่มเดียวกับอัล-กุรอานที่ถูกประทานมาแด่ท่านศาสดามุฮัมมัด ศ. ของเราซึ่งไม่มีอะไรต่อเติม และบกพร่องในนั้น ไม่มีการเปลี่ยนแปลง และดัดแปลงใดๆ เลย

ดังนั้น อะฮ์ลิซซุนนะฮ์จะก่นด่าชีอะฮฺอยู่อีกทำไม กับเพราะรายงานต่างๆ ที่เป็นโมฆะในทัศนะของชีอะฮฺและพวกเขาเองก็ปฏิเสธโดยสิ้นเชิงด้วย ขณะเดียวกันกับที่ตำราศ่อฮีฮฺของซุนนะฮ์เองนั้น กลับยืนยันว่ารายงานเหล่านี้มีความถูกต้องศ่อฮีฮ์
บทความโดย เชคอันซอร เหล็มปาน

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม