ประวัติโดยสังเขปของท่านหญิงฟาติมะฮ์ อัซซะฮ์รอ(อ)

ประวัติโดยสังเขปของท่านหญิงฟาติมะฮ์ อัซซะฮ์รอ(อ)


  1. การถือกำเนิด
นักประวัติศาสตร์อิสลลามได้บันทึกไว้ว่า วันหนึ่งมุฮัมมัดศาสนทูตแห่งพระองค์นั่งอยู่บนผืนดิน ญิบรออีลได้ลงมาแล้วกล่าวว่าโอ้มุฮัมมัด อัลลอฮ์ได้ฝากสลามมายังท่านและมีบัญชาให้ท่านออกห่างจากคอดียะฮ์เป็นเวลา40วันและจงมุ่งมั่นในการทำอิบาดะฮ์ ท่านศาสดาก็ปฏิบัติตามคำสั่งโดยการออกห่างจากท่านหญิงคอดียะฮ์เป็นเวลา 40 วัน
ในช่วงเวลาดังกล่าวท่านมุ่งมั่นในการทำอิบาดะฮ์โดยการนมาซ และถือศิลอดในตอนกลางวัน เมื่อครบ 40 วัน  ญิบรออีลได้ลงมาหาท่านศาสดาอีกครั้งพร้อมได้นำอาหารลงมาจากสวรรค์แล้วกล่าวว่าโอ้   มุฮัมมัด อัลลอฮ์ผู้ทรงเกรียงไกรได้ฝากสลามายังท่านและสั่งให้ท่านรับประทานอาหารสวรรค์นี้ ท่านศาสดาก็ได้ละศีลอดด้วยอาหารแห่งจิตวิญาณจากสรวงสวรรค์นั้นในขณะที่ท่านจะลุกไปทำการนมาซ ญิบรออีลก็ได้ลงมาอีก แล้วกล่าวว่า โอ้ศาสนทูตแห่งพระเจ้า ในค่ำคืนนี้ท่านไม่จำเป็นต้องทำอิบาดะฮ์ที่เป็นมุสตะฮับหรอก  แต่ให้เจ้าจงมุ่งไปที่บ้านของคอดียะฮ์ เพราะว่าในค่ำคืนนี้พระองค์ทรงประสงค์ที่จะประทานบุตรที่สะอาดและบริสุทธิ์ผ่านไขสันหลังของท่าน
 จากค่ำคืนนั้นรัศมีของฟาติมะฮ์อัซซะรอฮ์ ผ่านจากไขสันหลังบิดาของท่านไปสู่ครรภ์มารดา และร่องรอยของการตั้งครรภ์ก็ได้ปรากฏขึ้น และท่านหญิงคอดียะฮ์ก็ได้หลุดพ้นจากความโดดเดี่ยว และทุกข์โศกที่ต้องอยู่เพียงลำพัง ในบ่อยครั้งที่ท่านศาสนทูตแห่งพระเจ้าเดินผ่านท่านหญิงคอดียะฮ์ในขณะที่นางตั้งครรภ์อยู่  และสังเกตุเห็นนางกำลังคุยอยู่กับใครบางคน เมื่อท่านถามนางได้รับคำตอบว่า กำลังคุยอยู่กับลูกน้อยที่อยู่ในครรภ์  ใช่แล้ว ฟาติมะฮ์คือผู้ที่ทำให้มารดาได้หลุดพ้นจากความโดดเดี่ยว และทุกข์โศกที่ต้องอยู่เพียงลำพัง
2. สถานภาพที่สูงส่งของท่านหญิงฟาติมะฮ์(อ)
วันหนึ่ง ท่านอาอิชะฮ์ได้ถามท่านศาสดา(ศ็อลฯ)ว่า เพราะเหตุใดท่านศาสดา (ศ็อลฯ) จึงมีความรักต่อท่านหญิงฟาฏิมะฮ์มากเช่นนี้ท่านศาสดามุฮัมมัดจึงได้กล่าวตอบอาอิชะฮ์ว่า
 فاطمة بضعة مني ، فمن أغضبها فقد أغضبني   ….
صحيح البخاري 3/1144
“โอ้ อาอิชะฮ์ แน่นอนที่สุดถ้าหากเธอได้รู้ในสิ่งที่ฉันรู้เธอก็จะต้องรักนางเหมือนกับที่ฉันรักฟาฏิมะฮ์นั้นเป็นเลือดเนื้อก้อนหนึ่งของฉัน ผู้ใดที่ทำให้นางโกรธ แน่นอนเท่ากับเขาทำให้ฉันโกรธ และผู้ใดทำให้นางมีความพึงพอใจก็เท่ากับเขาได้ทำให้ฉันพอใจ”
บรรดามุสลิมต่างเคยได้ยินได้ฟังท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กล่าวไว้ว่า “การที่ฟาฏิมะฮ์ได้ถูกขนานนามว่า “ฟาฏิมะฮ์” ก็เพราะเนื่องจากอัลลอฮ์ผู้ทรงเกริกเกียรติผู้ทรงเกียงไกร จะทรงปกป้องคุ้มกันบุคคลที่ให้ความรักแก่นาง รอดพ้นจากไฟนรก”
ฟาฏิมะฮ์ อัซซะฮ์รออ์ มีลักษณะคล้ายคลึงกับศาสดา(ศ็อลฯ)ทั้งในด้านบุคลิกและจริยธรรม อุมมุซะลามะฮ์ ภรรยาของท่านศาสดาได้กล่าวไว้ว่า “ฟาฏิมะฮ์ เป็นผู้ที่คล้ายคลึงกับท่านศาสดา (ศ็อลฯ) มากที่สุด” อาอิชะอ์ ก็ได้กล่าวเช่นกันว่า “ แท้จริง ฟาฏิมะฮ์ เป็นผู้ที่คล้ายกับท่านศาสดามากที่สุด ทั้งในด้านการใช้คำพูดและการเจรจาพาที ”
3. การสมรสของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์
เมื่อฟาฏิมะฮ์ได้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ และถึงเวลาที่ท่านจะได้ออกเรือนมีสามี ก็ได้มีสาวกของท่านศาสดาเป็นจำนวนมากแวะเวียนมาสู่ขอในจำนวนบุคคลเหล่านั้น ได้แก่อบูบักรและอุมัร ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้ตอบปฏิเสธผู้มาสู่ขอทั้งสองว่า “ฉันเองก็กำลังรอคอยพระบัญชาเกี่ยวกับเรื่องของนางจากอัล วะฮ์ยู อยู่”
ญิบรออีลได้ลงมาบอกข่าวแก่ท่านว่า อัลลอฮ์ทรงจัดการสมรสให้นางกับอาลีแล้ว ด้วยเหตุนี้ เมื่ออาลีได้เดินเข้ามาหา ทั้งๆที่มีความละอายเพื่อจะมาสู่ขอท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ) ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) จึงเข้าไปถามท่านหญิงฟาฏิมะฮ์เพื่อขอทราบความเห็นของนาง โดยกล่าวกับนางว่า “โอ้ฟาฏิมะฮ์ แท้จริงอาลี อิบนิ อบีฏอลิบ ซึ่งเธอก็รู้จักเขาดีในฐานะเครือญาติ อีกทั้งในความเป็นผู้มีเกียรติ และการนับถืออิสลามของเขา แท้จริงพ่อได้วิงวอนขอต่อพระผู้อภิบาลว่า ให้พระองค์จัดการสมรสเธอกับผู้ที่ดีที่สุดสักคนหนึ่ง ที่มีความรักในพระองค์มากกว่าผู้คนทั้งหลาย บัดนี้อาลีได้สู่ขอเธอแล้ว เธอจะมีความคิดเห็นอย่างไร? ฟาฏิมะฮ์นิ่งเงียบ ก้มหน้ามองพื้นด้วยความอาย ท่านศาสดา(ศ็อลฯ)จึงกล่าวว่า “อัลลอฮ์ผู้ทรงเกรียงไกรการนิ่งเงียบของนางย่อมหมายถึงความพึงพอใจของนางนั่นเอง”
4. พิธีสมรส
ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้จับมือท่านอาลี(อ) แล้วกล่าวว่า “ลุกขึ้นเถิด ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮ์ และจงกล่าวเถิดว่า โดยบารมีแห่งอัลลอฮ์โดยประสงค์ของอัลลอฮ์ ไม่มีพลังอำนาจใดๆนอกจากโดยการอนุมัติของอัลลอฮ์ ข้าขอมอบกายถวายตนแด่อัลลอฮ์” หลังจากนั้นท่านก็ได้นำอาลี (อ) เข้าไปนั่งเคียงข้างกับท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ แล้วกล่าวว่า
اللهم هذه ابنتي وأحب الخلق إلي، اللهم وهذا أخي وأحب الخلق إلي، اللهم اجعله لك وليا و....
“โอ้พระเจ้า นี้คือบุตรีของข้า และนี้คือพี่น้องของข้า เขาทั้งสองเป็นบุคคลที่ข้ารักยิ่งที่สุดในหมู่สิ่งถูกสร้างทั้งหลาย โปรดทำให้เขา(อาลี)เป็น “วะลี” และโปรดบันดาลให้รากฐานแห่งความรักของบุคคลทั้งสองเป็นสิ่งมั่นคงด้วยเถิด และโปรดประทานและความจำเริญให้แก่เชื้อสายวงศ์วานของเขาทั้งสอง และทรงบันดาลให้เขาทั้งสองได้รับการปกป้องจากพระองค์ด้วยเถิด แท้จริง ข้าพระองค์ขอความคุ้มครองให้เขาทั้งสองและเชื้อสายของเขาทั้งสองรอดพ้นจากมารร้ายที่ถูกสาปแช่ง” หลังจากนั้น ท่านก็ได้จูบทั้งสองเพื่อแสดงความยินดี แล้วกล่าวว่า “โอ้อาลี ภรรยาที่ประเสริฐที่สุดนั้น คือภรรยาของเจ้า” และได้กล่าวแก่ฟาฏิมะฮ์ว่า “โอ้ฟาฏิมะฮ์ สามีที่ประเสริฐสุดนั้น ได้แก่สามีของเจ้า”  ท่ามกลางความยินดีของบรรดาสตรีชาวมุฮาญิรีน ชาวอันศอร และตระกูลบนีฮาชิม ครอบครัวตัวอย่างอันบริสุทธิ์ก็ได้เกิดขึ้นในหน้าประวัติศาสาตร์จนเป็นแหล่งกำเนิด “อะห์ลุลบัยต์” ซึ่งอัลลอฮ์ทรงประสงค์ที่จะขจัดมลทินให้พ้นจากพวกเขา และทรงชำระขัดเกลาพวกเขาให้สะอาดบริสุทธิ์
พิธีสมรสอันเรียบง่าย ตามหลักการอันสูงส่งของอิสลามก็ได้ผ่านพ้นไปอย่างสมบูรณ์ ทั้งๆที่อาลีไม่มีทรัพย์สินอื่นใดๆ อยู่ในครอบครองเลย นอกจากดาบและเสื้อเกราะเพียงตัวเดียว เขาต้องการที่จะขายดาบแต่ท่านศาสดาได้ห้ามไว้ เพราะอิสลามอยู่ในภาวะที่จำเป็นต้องอาศัยดาบของอาลี แต่ท่านตกลงให้เขาขายเสื้อเกราะ ดังนั้นท่านอาลี (อ) จึงนำไปขายแล้วเอาเงินจำนวนนั้นมามอบให้แก่ท่านศาสดา (ศ็อลฯ)
ท่านศาสดา(ศ็อลฯ) ได้สั่งให้ซื้อสิ่งของที่ดีแต่เรียบง่าย มาใช้ตามความจำเป็นของครอบครัวใหม่ เรือนหอของอาลีก็นับเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ถูกปลูกสร้างขึ้นมาอย่างง่ายๆโดยได้สร้างห้องขึ้นหนึ่งห้อง เชื่อมติดกับผนังของมัสยิดนบี (ศ็อลฯ) อัลลอฮ์องค์เดียวเท่านั้น ที่ทรงรู้ซึ้งถึงระดับของความรักที่ผูกพันในหัวใจของผู้บริสุทธิ์ทั้งสอง นั่นคือหัวใจของอาลี(อ)กับหัวใจของฟาฏิมะฮ์ (อ)ทั้งนี้ก็เพราะความรักของคนทั้งสองมีเพื่ออัลลอฮ์และอยู่ในหนทางของอัลลอฮ์ ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์นั้นมีความตระหนักดีถึงงานเสียสละและการต่อสู้ของอาลีที่มีเพื่ออิสลาม และคำสอนของบิดาผู้ยิ่งใหญ่ของท่านเอง
5. ผลิตผลแห่งความรัก
ในปีที่สามของฮิจเราะฮ์ศักราช ฟาติมะฮ์ก็ได้กำเนินบุตรชายคนแรกของท่าน ท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ็อลฯ)ตั้งชื่อให้เขาว่า “ฮะซัน” ต่อจากนั้นอีกหนึ่งปี “ฮุเซน” ก็ได้กำเนินอีกคนหนึ่งอัลลอฮ์ทรงประสงค์ให้เชื้อสายของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ)ถือกำเนิดมาจากฟาฏิมะฮ์ ซะฮ์รออ์บุตรสาวของท่านคนเดียวอันเป็นเชื้อสายที่เป็นของกันและกันและอัลลอฮ์ทรงได้ยินทรงรอบรู้ยิ่ง ท่านศาสนทูตจะอุ้มหลานสองคนของท่านเสมอและเอาใจใส่ในการเลี้ยงดูคนทั้งสองอย่างยิ่ง ท่านเคยกล่าวว่า “เขาทั้งสองเป็นกลิ่นหอมที่สุดสำหรับท่านในโลกนี้ ท่านจะอุ้มหลานทั้งสองออกไปพร้อมกับท่านหรือให้นั่งในตักอันอบอุ่นของท่านเสมอ”
วันหนึ่ง ท่านศาสดาได้ไปเยี่ยมบ้านของฟาฏิมะฮ์ ตรงกับช่วงที่ฮาซันร้องไห้ด้วยความหิวอยู่พอดี ในขณะนั้นฟาฏิมะฮ์กำลังนอนหลับอยู่ท่านจึงจัดการนำภาชนะมาใส่นมและป้อนด้วยมือของท่านเอง ท่านได้เดินผ่านหน้าบ้านของฟาฏิมะฮ์อีกในวันหนึ่ง แล้วได้ยินเสียงร้องไห้ของฮูเซน ท่านได้กล่าวด้วยความสะเทือนใจว่า “พวกเธอไม่รู้ดอกหรือว่า เสียงร้องไห้ของเขาทำให้ฉันเจ็บปวดยิ่งนัก”
เวลาผ่านไปอีกหนึ่งปี “ซัยหนับ” ก็ได้ถือกำเนิดมาในโลก ต่อจากนั้น “อุมมุกุลซูม” ก็ถือกำเนิดตามมาอีกคนหนึ่ง บางทีท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์อาจจะนึกถึงบุตรสาวสองคนของท่านที่ชื่อซัยนับ และอุมมุกุลซูมก็ได้ จึงตั้งชื่อหลานสาวสองคนด้วยชื่อของทั้งสอง
6. ฟาติมะฮ์(อ)หลังการเสียชีวิตของบิดา            
เมื่อท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ็อลฯ) เดินทางกลับจากการบำเพ็ญฮัจญ์ครั้งสุดท้าย ท่านได้ล้มป่วยลงและอาการทวีความรุนแรงขึ้นจนหมดสติ ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ อัซ ซะรออ์ได้เฝ้าดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อบรรเทาอาการป่วยของบิดา ท่านต้องหลั่งน้ำตาด้วยความเศร้าโศก ด้วยความปรารถนาที่จะตายแทนบิดาเสียเอง ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้ลืมตามขึ้นมา ด้วยการตั้งความหวังอยู่กับบุตรสาวคนเดียวของท่าน ท่านได้ขอร้องนางให้อ่านอัล กุรอานด้วยเสียงที่สำรวม โดยมีบิดาผู้ยิ่งใหญ่อ่านคลอด้วยความนอบน้อมที่มีต่อพจนารถแห่งอัลลอฮ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ปกคลุมบริเวณบ้านหลังนี้อยู่แล้ว ท่านศาสดาต้องการที่จะให้โอกาสสุดท้ายของชีวิตอันจำเริญที่เหลืออยู่เพียงน้อยนิดของท่าน หมดสิ้นไปพร้อมกับการอ่านอัล กุรอานคลอตามเสียงของบุตรสาวของท่าน ซึ่งได้ดูแลเอาใจใส่ท่านแต่เล็กแต่น้อยและยืนหยัดเคียงข้างท่านตลอดมากระทั่งเติบใหญ่
ในที่สุดท่านศาสดาก็ได้กลับไปสู่พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงสูงสุด การจากไปของท่านก็เป็นความโศกเศร้าอาดูรออย่างใหญ่หลวงสำหรับบุตรสาวผู้บริสุทธิ์ของท่านซึ่งหัวใจของท่านมิอาจจะรับความทุกข์โศกเหล่า นั้นได้ท่านจึงร้องไห้ตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน
โศกนาฏกรรมอันขมขื่นหลังการเสียชีวิตของศาสดา (ศ็อลฯ)
6.1 การช่วงชิงสวนฟะดักไปจากฟาติมะฮ์(อ)
หลังจากนั้นสถานการณ์ทางด้านการเมืองและกลุ่มผู้ลุ่มหลงในผลประโยชน์ก็ได้สร้างความกระทบกระเทือนจิตใจให้แก่ท่านหญิงอีกครั้งหนึ่ง โดยการช่วงชิงที่สวนฟะดักของท่านไป และทำเป็นไม่รับรู้ในสิทธิเกี่ยวกับตำแหน่งคอลีฟะฮ์ของสามีท่าน
ประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่า เมื่ออบูบักรมีอำนาจในฐานะรัฐบาลของมุสลิมสิ่งแรกที่เขาทำคือใช้กำลังเข้าครอบครองฟะดักขับไล่คนของฟาฏิมะฮ์ อัซซะฮ์รอ ออกจากที่ดินผืนนั้น และยึดเอาทรัพย์สินที่บิดาของนางได้มอบให้ในขณะที่อยู่ที่นครมะดีนะฮ์ เมื่อฟาฏิมะฮ์ประท้วงการยึดสวนฟะดังในครั้งนี้ อบูบักรตอบนางด้วย “รายงาน” จากบิดาของนางเอง เขากล่าวว่า เคยได้ยินท่านศาสนทูตกล่าวว่า “บรรดาศาสดานั้นไม่มีมรดก”  เมื่อสิ้นชีวิตไปแล้วทรัพย์สินใดๆที่มีอยู่ในขณะที่มีชีวิตนั้นตกเป็นของประชาชน ฟาฏิมะฮ์กล่าวว่าฟะดักนั้นมิใช่มรดกจากบิดาของนางแต่เป็น “ของขวัญ” ฟะดักนั้นเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของท่านศาสดา และเป็นทรัพาย์สินส่วนตัวที่ท่านศาสดามอบให้แก่นาง อบูบักรถามว่ามีพยานหรือไม่ เป็นเรื่องเหลือเชื่อที่เวลาเพิ่งผ่านไปเพียง 4 ปีหลังจากสงครามคอยบัร อบูบักรนั้นไม่เพียงแต่จะร่วมอยู่ด้วยในขณะที่เข้ายึดครอง แต่ยังเป็นผู้ที่พยายามยึดป้อมปราการไว้แต่ไม่สำเร็จ เขาได้เห็นด้วยตาตนเองว่า ท่านศาสดาได้ทำอะไรกับที่ดินฟะดัก ถึงขณะนี้เวลา 4 ปีผ่านไป เขากลับทำเหมือนกับว่าเขาไม่รู้เรื่องใดๆทั้งสิ้น
นักประวัติศาสตร์และนักรายงานฮาดิษ ได้บันทึกเรื่องดังกล่าวไว้อย่างกว้างขวาง เช่นบุคคอรีนักรวบรวมฮะดิษ ได้บันทึกการสนทนาโต้ตอบระหว่างท่านหญิงฟาติมะฮ์กับอบูบักร และต่อไปนี้คือการโต้ตอบระหว่างโจทก์และจำเลย
ฟาฏิมะฮ์ :  โอ้อบูบักร ถ้าบิดาของท่านตายลงใครจะเป็นทายาท
อบูบักร    :  ตัวฉันซึ่งเป็นลูกชาย
ฟาฏิมะฮ์ :  แล้วใครเป็นทายาทของบิดาของฉัน
อบูบักร   :  ตัวท่านซึ่งเป็นบุตรสาว
ฟาฏิมะฮ์ :  ถ้าฉันเป็นทายาท แล้วเหตุใดท่านจึงยึดฟะดักไป
อบูบักร   :  เพราะฉันเคยได้ยินท่านศาสนทูตแห่งพระเจ้าเคยกล่าวว่า เราเป็นศาสดาและเราไม่มีทายาทที่จะรับมรดกของเรา ทรัพย์สินใดๆที่เรามีอยู่นั้นจะเป็นของประชาชาติเมื่อเราเสียชีวิต
ฟาฏิมะฮ์ :  แต่บิดาของฉันได้มอบฟะดักให้แก่ฉันเป็นของขวัญ ในขณะที่ท่านยังมีชีวิตอยู่และมันก็เป็นสิ่งที่ฉันครอบครองอยู่เป็นเวลาหลายปีผ่านมาแล้ว
อบูบักร   :  ท่านมีพยานหรือไม่ ?
ฟาฏิมะฮ์ :  อาลีและอุมมุอัยมัน เป็นพยานให้ฉันได้
อบูบักร   :  พยานที่เป็นชายเพียงคนเดียวกับหญิงคนเดียวนั้นยังไม่พอ ต้องมีชายสองคนหรือไม่ก็ชายหนึ่งคนกับหญิงสองคน เมื่อไม่เป็นเช่นนั้นกรณีนี้ก็ถูกยกเลิกไป
หูที่ฟาฏิมะฮ์กำลังพูดให้ฟังนั้น ไม่ยินดีที่จะรับฟังการโต้แย้งหรือเหตุผลใดๆ พยานนั้นก็คงไม่มีประโยชน์ใดๆกับคนที่ตั้งใจจะไม่ฟังอยู่แล้ว ผู้ที่ถูกกล่าวหานั้นมีข้อโต้แย้งประการเดียวคือ การใช้อำนาจบังคับตามอำเภอใจ เป็นการโต้แย้งที่มีอำนาจที่จะสงบเสียงการโต้แย้งอื่นๆได้
ถ้าว่าจะถือเอาว่า “รายงาน”ที่อบูบักอ้างมานั้นไม่ใช่ของปลอม และทายาทของบรรดาศาสดาไม่สามารถจะรับมรดกได้แล้ว ถ้าเช่นนั้น “กฎ” นี้ก็ควรจะได้นำมาใช้กับศาสดาทุกๆท่าน มิใช่เพียงแต่ใช้กับบุตรสาวของมุฮัมมัดเพียงคนเดียว แต่ตามที่ปรากฏอยู่ในอัลกุรอาน บรรดาศาสนดาในอดีตนั้นก็มีทายาท และทายาทเหล่านั้นก็ได้รับมรดกจากบิดาที่เป็นศาสดาด้วย เช่นพระองค์อัลลอฮ์ตรัสถึงการรับมรดกของนบียะฮ์ยะจากนบีซักการียา ว่า :
وَإِنِّي خِفْتُ الْمَوَالِيَ مِن وَرَائِي وَكَانَتِ امْرَأَتِي عَاقِرًا فَهَبْ لِي مِن لَّدُنكَ وَلِيًّا يَرِثُنِي وَيَرِثُ مِنْ آلِ يَعْقُوبَ وَاجْعَلْهُ رَبِّ رَضِيًّا  سورة النساء : 5-6
“และแท้จริงข้าพระองค์กลัวลูกๆหลานๆของข้าภายหลัง(การตายของ)ข้าพระองค์และ(อีกด้านหนึ่ง) ภริยาของข้าก็เป็นหมันด้วย ดังนั้นขอพระองค์ทรงโปรดประทานทายาทที่ดีจากพระองค์แก่ข้าด้วยเถิดผู้ซึ่งจะเป็นผู้สืบมรดกของข้า และผู้สืบทอดมรดกจากทายาทตระกูลของยะอ์กูบและขอพระองค์ทรงโปรดให้เขาเป็นที่โปรดปรานของพระองค์ด้วยเถิด”                                                                                                       เป็นที่แน่ชัดว่า คำ “يَرِثُنِي” ในโองการนี้หมายถึง “มรดกที่มาจากทรัพย์สิน”
6.2 การเผาบ้านของท่านหญิงฟาติมะฮ์(อ)
หลังการเสียชีวิตของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ็อลฯ)ผู้คนจำนวนมากในมะดีนะฮ์ให้สัตยาบันต่อ อบูบักรด้วยเหตุผลที่ต่างกันออกไป แต่มีบางคนไม่ยอมให้ ที่สำคัญที่สุดในบรรดาคนเหล่านั้นคือ อาลี อิบนิ อบีฏอลิบ ผู้นำคนใหม่แห่งบนู ฮาชิม และเป็นผู้นำที่ถูกแต่งตั้งโดยชอบธรรมจากท่านนบี(ศ็อลฯ)
คอลีฟะฮ์แห่งสะกีฟะฮ์และบรรดาที่ปรึกษาเชื่อว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ อาลีต้องให้สัตยาบันแสดงความภักดีเหมือนคนอื่นๆ ดังนั้นจึงส่งคนไปที่บ้าน แต่อาลีปฏิเสธ การปฏิเสธของเขาทำให้อุมัรโกรธมาก
ดังนั้นเขาจึงไปพร้อมด้วยกำลังอารักขา เพื่อบีบบังคับให้เป็นไปตามคำสั่งของรัฐบาล และขู่ว่าจะเผาบ้านของบุตรสาวของมุฮัมมัด ศาสนทูตของพระเจ้า ถ้าอาลีไม่ยอมมา ณ ที่ทำการของคอลีฟะฮ์ เพื่อให้สัตยาบันต่ออบูบักร บางคนเตือนว่าบ้านเป็นของบุตรสาวของศาสดา อุมัรจะเผาได้อย่างไร แต่อุมัรกล่าวว่า ไม่สำคัญว่าบ้านเป็นของบุตรสาวของศาสดา สิ่งสำคัญที่แท้จริงก็คือ อาลีต้องให้สัตยาบันแสดงความภักดี
ดังที่นักประวัติศาสตร์ได้บันทึกเรื่องนี้ไว้ว่า :
بعث ابو بكر عمر بن الخطاب مع جماعة الى علي ومن معه ليخرجهم من بيت فاطمة وقال : إن أبوا عَلَيْكَ فقاتلهم ، فأقبل عمر بشيء من نار على أن يضرم الدار ، فلقيته فاطمة: الى أين يابن الخطاب أجئت لتحرق دارنا ، قال : نعم او تدخلوا فيما دخلت فيه الاُمة      /  كتاب عقدالفريد ج 4 ص 260 تاريخ طبرى ج 3 ص 202
ช่างเป็นความน่ารักน่าชื่นใจ และความเป็นวีรบุรุษของอุมัรเสียนี้กระไร ต่อการที่จะเผาบ้านของฟาฏิมะฮ์ อัซซะฮ์รอ สามวันหลังการเสียชีวิตของมุฮัมมัดศาสนทูตแห่งพระเจ้า อุมัรมายังประตูบ้านของฟาฏิมะฮ์ อัซซะฮ์รอ พร้อมสมุนที่จะวางเพลิงซึ่งอยู่กับเขา เรียกร้องแกมบังคับให้อาลีให้สัตยาบันต่ออบูบักร
การแสดงความเป็น “วีรบุรุษ” ครั้งนี้ คงจะได้รับ “ความพึงพอพระทัย” จากพระเจ้ามากทีเดียวโดย เฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อในบ้านนั้นนอกจากอาลี และฟาฏิมะฮ์แล้ว ยังมีเด็กเล็กอีกสี่คน ซึ่งเป็นบุตรของทั้งสอง และเป็นหลานของศาสดาแห่งอิสลาม ที่มีอายุไล่กันตั้งแต่ 2 ถึง 8 ขวบ เด็กๆต้องตกตะลึงขนาดไหนหากพวกเขาได้เห็นภาพอันน่าตื่นเต้นของ “เปลวเพลิง” ที่เริ่งร่าเหมือนกับที่อุมัรจะแสดงต่อพวกเขาหากเมื่อใดก็ตามที่ อาลี อิบนิ อบีฏอลิบ บิดาของพวกเขาไม่ยอมให้สัตยาบันแสดงความภักดีต่ออบูบักร
ในที่สุดอุมัรก็ได้เผาประตูบ้านของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ และจับอาลีไว้ และได้นำตัวเขาไปยังอบูบักร ณ ที่นั้น อุมัรส่งสัญญาณให้ประกาศสัตยาบันซ้ำอีก แต่อาลีก็กล่าวว่า
“ ฉันเป็นบ่าวของพระเจ้า และฉันเป็นน้องชายของมุฮัมมัดศาสดาของพระองค์ บ่าวของพระเจ้าไม่อาจเป็นบ่าวของผู้ใดได้ ถ้าหากท่านประสบความสำเร็จในการยึดอำนาจรัฐบาลของมุฮัมมัด เนื่องจากเหตุผลที่พวกท่านกล่าวว่า ท่านมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับท่านศาสดามากกว่าพวกอันศอร (ดังที่อบูบักรได้อ้างกับชาวอันศอร) ดังนั้นฉันก็ขอกล่าวว่า ฉันเป็นน้องชายของท่าน มีใครในหมู่พวกท่านสามารถกล่าวอ้างได้ว่า มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับท่านมากกว่าฉัน ? มุสลิมทุกคนควรให้สัตยาบัน แสดงความภักดีของพวกเขาต่อฉัน มิใช่ให้ต่อผู้ใดทั้งสิ้น พวกท่านปล้นสดมภ์สิทธิของครอบครัวของผู้เป็นนายของพวกท่านเอง พวกท่านกล่าวโน้มน้าวให้ชาวอันศอรเชื่อ โดยโต้เถียงกับพวกเขาว่า ท่านศาสดาของพระเจ้าเป็นส่วนหนึ่งของพวกท่าน ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของพวกอันศอร และพวกเขายอมมอบตำแหน่งคอลีฟะฮ์ให้กับพวกท่าน ขณะนี้ฉันใช้คำโต้แย้งเดียวกับที่ท่านใช้กับพวกอันศอร เราเป็นทายาทของท่านศาสดาของพระเจ้า ทั้งในขณะที่ท่านมีชีวิต และหลังจากที่ท่านเสียชีวิตแล้ว ถ้าท่านศรัทธาต่อการเป็นศาสดาของมุฮัมมัดและถ้าหากท่านรับอิสลามอย่างบริสุทธิ์ใจ ดังนั้นจงอย่าแย่งชิงสิทธิของเรา ”
อุมัรกล่าวตอบว่า ท่านเป็นบ่าวของพระเจ้า แต่ท่านไม่ใช่น้องชายของศาสดาของพระองค์ ไม่ว่ากรณีใดท่านต้องให้สัตยาบันต่ออบูบักร และเราจะมี่ปล่อยท่านจนกว่าท่านจะปฏิบัติตามนี้ ท่านอิมามอาลีกล่าวตอบว่า
“ โอ้อุมัร มันเป็นเรื่องพอจะเข้าใจได้ที่ท่านกระตือรือร้นอย่างบ้าคลั่งที่จะสนับสนุน อบูบักร วันนี้ท่านทำให้เขาเป็นผู้นำ วันหนึ่งข้างหน้าเขาก็จะทำให้ท่านเป็นผู้นำเช่นกัน ฉันจะไม่ปฏิบัติในสิ่งที่ท่านเรียกร้อง ฉันจะไม่ให้สัตยาบันต่อเขา”
บะซีร บิน สะอัด ชาวอันศอรที่ให้สัตยาบันต่ออบูบักรที่สะกีฟะฮ์ พูดขัดจังหวะอาลีว่า โอ้ อาลี ถ้าหากท่านบอกเราเช่นนี้ก่อนแล้วละก็ เราจะไม่ให้สัตยาบันต่อใครนอกจากท่าน  อาลีกล่าวว่า
“ ท่านไม่ทราบเรื่อง ทั้งหมดนี้มาก่อนเลยหรือ ? ขอสาบานต่อพระเจ้า การสืบทอดอำนาจของมุฮัมมัด เป็นสิทธิของเรา ท่านเองได้ประกาศไม่ใช่เพียงครั้งเดียว แต่ย้ำหลายครั้งว่ามีใครในหมู่พวกท่านหรือไม่ที่มีความรู้และความเข้าใจในอัลกุรอานมากไปกว่าฉัน มีใครในหมู่พวกท่านหรือไม่ที่มีความรู้ในด้านการปฏิบัติและคำพูดของท่านศาสนทูตของพระจ้ามากกว่าฉัน มีใครในหมู่พวกท่านสามารถบิรหารงานเกี่ยวกับรัฐของท่านดีไปกว่าฉันหรือไม่ ถ้าหากว่ามีช่วยบอกชื่อของเขามา ฉันจะปฏิบัติตามเขา แต่หากไม่มี ฉันเท่านั้นที่สามารถมอบสันติภาพ ความรุ่งเรืองและความยุติธรรมที่แท้จริงกับมุสลิมทั้งหมดได้
พวกท่านกล่าวว่าทำใมฉันไม่ไปยังสะกีฟะฮ์หรือ สิ่งที่ท่านได้ให้คำแนะนำก็คือ จะให้พวกเราทิ้งท่านศาสดาเช่นที่พวกท่านได้กระทำทันทีที่ศาสดาเสียชีวิตกระนั้นหรือ ฉันควรทิ้งศาสดาไว้และไปยังสะกีฟะฮ์ เพื่อชิงการเป็นคอลีฟะฮ์กับพวกท่านด้วยกระนั้นหรือ ฉันไม่อาจทำเช่นนั้นได้ดอก การทำเช่นนั้นเป็นสิ่งไม่มีคุณค่าสำหรับฉัน ฉันไม่สามารถละทิ้งท่านศาสดาของพระเจ้าในขณะที่ท่านเสียชีวิตได้ เหมือนอย่างที่ฉันไม่เคยละทิ้งท่านขณะที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ”
หลังจากกล่าวเช่นนั้น อาลีก็ละจากที่ประชุมซึ่งจัดให้มีขึ้นที่มัสยิดของท่านศาสดา แต่สัตยาบันก็ยังคงดำเนินต่อไป เมื่อการให้สัตยาบันส่วนตัวกระทำขึ้นที่สะกีฟะฮ์ และการให้สัตยาบันในที่สาธารณะกระทำขึ้นที่มัสยิดของท่านศาสดาเสร็จสิ้นแล้ว อบูบักรจึงเป็นคอลีฟะฮ์คนใหม่ของประชาชาติมุสลิม และรัฐบาลที่เป็นผลผลิตจากสะกีฟะฮ์ ก็ได้อุบัติขึ้น ณ บัดนั้น
7. การเสียชีวิตของฟาฏิมะฮ์ อัซซะฮ์รอ (อ)
อิมามอาลีได้ประสบกับเรื่องน่าตกใจสองเรื่องในวันเดียวกัน เรื่องแรกคือการจากไปของมุฮัมมัด ศาสนทูตแห่งพระเจ้าผู้เป็นมิตรและผู้อุปถัมภ์  การจากไปของท่านศาสดาได้ทำให้ความผาสุกของครอบครัวของเขาสิ้นสุดลงไปจากโลกนี้ เรื่องที่สองคือการช่วงชิงสิทธิการสืบทอดของเขา บรรดาสาวกฉกฉวยเอาตำแหน่งคอลีฟะฮ์ไปจากบ้านของเขา และถือเป็นของพวกตน
ขณะที่อาลีกำลังพยายามที่จะตั้งสติกับเรื่องทั้งสองนี้ เรื่องที่น่าตกใจอีกเรื่องหนึ่งก็เกิดขึ้นเป็นเรื่องที่ร้ายแรงพอๆกับอีกสองเรื่องนี้ เพียงเวลา 75 วันหลังการจากไปของท่านศาสดา ฟาฏิมะฮ์บุตรีของท่าน ผู้เป็นภรรยาของอาลีก็เสียชีวิตไปอีกคนหนึ่ง
ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์เปรียบเสมือนเทียนที่ถูกจุดเปลวไฟอยู่ แล้วมันได้มอดไปทีละน้อย จากนั้นแสงของมันก็ค่อยๆ หรี่ลงตามลำดับ ท่านจึงไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้นานหลังจากที่บิดาได้อำลาจากโลกไปแล้ว และท่านไม่พึงปรารถนาที่จะมีชีวิตอยู่อีกต่อไป ความเศร้าโศกจะเกิดขึ้นเสมอในทุกๆ โอกาสที่ท่านได้ยินเสียงอะซานประโยคที่ว่า   “ฉันขอปฏิญาณว่ามุฮัมมัดเป็นศาสนทูตของอัลลอฮ์”
ท่านต้องการที่จะได้พบกับบิดาของท่านด้วยความถวิลอยู่ทุกวันจนร่างกายซูบผอมลง จนมิอาจรับจิตวิญญาณของท่านที่ปรารถนาจะอำลาจากโลกไว้ได้ต่อไป ด้วยเหตุนี้ท่านจึงต้องอำลาจากโลกนี้ไป ด้วยการอำลาจากอย่างอาดูรต่อบุตรของท่านหญิง นางอำลาจากฮะซันในขณะที่มีอายุได้ 7 ปี ฮูเซนมีอายุได้ 6 ปี ชัยหนับมีอายุได้ 5 ปี และอุมมุลกุลซุมมีอายุได้ 3 ปี
ความทุกข์ระทมอันเกิดขึ้นโดยที่ท่านได้อำลาจากโลกนี้ไปประสบแก่สามีของท่าน ซึ่งเป็นผู้ร่วมชีวิตกับบิดาของท่านในการต่อสู้เสียสละและเป็นผู้ร่วมชีวิตของท่านด้วย ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ซะรออ์ได้หลับตาของท่านลงอย่างสนิท หลังจากได้สั่งเสียสามีในเรื่องที่เกี่ยวกับลูกที่ยังเป็นเด็กอยู่ ขณะเดียวกันก็ได้สั่งเสียว่าให้ฝังท่านอย่างลับที่สุด ฉะนั้น สุสานของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ซะรออ์จึงเป็นสิ่งลี้ลับอยู่จนกระทั่งถึงวันนี้ เท่ากับท่านได้ทำเครื่องหมายคำถามอันยิ่งใหญ่ไว้ในหน้าประวัติศาสตร์
ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ซะรออ์ ยังคงตั้งคำถามไว้ในประวัติศาสตร์ อันหมายความว่าท่านยังเรียกร้องสิทธิของท่านอยู่ และบรรดามุสลิมก็ยังคงไต่ถามเกี่ยวกับที่ตั้งของสุสานที่ไม่มีใครรู้จักอยู่ตลอดมา ท่าน      อิมามอาลี(อ)นั่งลงข้างๆ สุสานของภรรยาอย่างผู้สิ้นหวัง ในขณะที่ความมืดได้ปกคลุมเข้ามา พลางปลอบประโลมวิญญาณของท่านว่า
رُوِیَ عَنْهُ أَنَّهُ قَالَهُ عِنْدَ دَفْنِ سَیِّدَةِ النِّسَاءِ فَاطِمَةَ ( علیهاالسلام ) کَالْمُنَاجِی بِهِ رَسُولَ اللَّهِ ( صلى الله علیه وسلم ) عِنْدَ قَبْرِهِ السَّلَامُ عَلَیْکَ یَا رَسُولَ اللَّهِ عَنِّی وَ عَنِ ابْنَتِکَ النَّازِلَةِ فِی جِوَارِکَ وَ السَّرِیعَةِ اللَّحَاقِ بِکَ قَلَّ یَا رَسُولَ اللَّهِ عَنْ صَفِیَّتِکَ صَبْرِی وَ رَقَ عَنْهَا تَجَلُّدِی إِلَّا أَنَّ فِی التَّأَسِّی لِی بِعَظِیمِ فُرْقَتِکَ وَ فَادِحِ مُصِیبَتِکَ مَوْضِعَ تَعَزٍّ فَلَقَدْ وَسَّدْتُکَ فِی مَلْحُودَةِ قَبْرِکَ وَ فَاضَتْ بَیْنَ نَحْرِی وَ صَدْرِی نَفْسُکَ فَ إِنَّا لِلَّهِ وَ إِنَّا إِلَیْهِ راجِعُونَ فَلَقَدِ اسْتُرْجِعَتِ الْوَدِیعَةُ وَ أُخِذَتِ الرَّهِینَةُ أَمَّا حُزْنِی فَسَرْمَدٌ وَ أَمَّا لَیْلِی فَمُسَهَّدٌ إِلَى أَنْ یَخْتَارَ اللَّهُ لِی دَارَکَ الَّتِی أَنْتَ بِهَا مُقِیمٌ وَ سَتُنَبِّئُکَ ابْنَتُکَ بِتَضَافُرِ أُمَّتِکَ عَلَى هَضْمِهَا فَأَحْفِهَا السُّؤَالَ وَ اسْتَخْبِرْهَا الْحَالَ هَذَا وَ لَمْ یَطُلِ الْعَهْدُ وَ لَمْ یَخْلُ مِنْکَ الذِّکْرُ
        “ขอความสันติสุขพึงประสบแด่ท่านด้วยเถิด โอ้ศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ เป็นสลามจากฉัน และจากบุตรสาวของท่านเอง ที่บัดนี้ได้มาพำนักอยู่ใกล้เคียงกับท่านแล้ว โดยนางได้ติดตามมาอยู่กับท่านอย่างรวดเร็วที่สุดโอ้ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ ความอดทนของฉันมีน้อยเหลือเกินสำหรับการจากไปของสุดที่รักของท่าน ประหนึ่งว่าเนื้อหนังของฉันได้ฉีกขาดไปแล้ว.....
บุตรสาวของท่านคงจะได้บอกเล่าให้ท่านได้รับทราบถึงเรื่องราวของประชาชาติของท่าน ที่ได้กระทำการละเมิดต่อนาง......ขอความสันติสุขจากดวงใจที่อำลาพึงประสบแด่ท่านทั้งสองด้วยเถิด”
 ตามที่นักประวัติศาสตร์อิสลามได้บันทึกไว้เกี่ยวกับวันเสียชีวิตของท่านหญิงฟาติมะฮ์อัซซะรอ(อ)นั้นมีทัศนะที่ไม่ตรงกันแต่เป็นที่ยอมรับมากที่สุด ก็คือนางเสียชีวิตหลังผู้เป็นบิดา คือศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์(ศ็อลฯ)ได้เสียชีวิตเพียง 75 วัน(บ้างว่า 95 วัน) นั่นหมายถึงนางได้เสียชีวิตในวันอังคารที่ 3 เดือนญะฮ์มาดุซษานี ฮ.ศ. 11 ดังวจนะของท่านอิมามญะฮ์ฟัร อัซซอดิก(อ)