เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

ฆอดีรคุมกับความสมบูรณ์ของศาสนา

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

ฆอดีรคุมกับความสมบูรณ์ของศาสนา


โองการ “อิกมาล”

الْیَوْمَ یَئِسَ الَّذینَ کَفَرُوا مِنْ دینِکُمْ فَلا تَخْشَوْهُمْ وَ اخْشَوْنِ اَلْیوْمَ أَکمَلْتُ لَکمْ دینَکمْ وَ أَتْمَمْتُ عَلَیکُمْ نِعْمَتی وَ رَضیتُ لَکُمُ الْإِسْلامَ دیناً
โองการ “อิกมาล” คือ โองการที่สามของซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮ์ เป็นโองการหนึ่งที่พิสูจน์และยืนยันถึงตำแหน่งผู้นำ (อิมามัต) ของท่านอาลี (อ.) โองการนี้มีสี่ประเด็นที่สำคัญ ได้แก่:
  1.การสิ้นหวังของบรรดาผู้ปฏิเสธ
 2.ความสมบูรณ์ของศาสนา
 3.การครบถ้วนของความโปรดปราน
 4.การเลือกให้ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาสุดท้ายสำหรับมนุษยชาติ
บนฐานของฮะดีษต่างๆ ชีอะฮ์เชื่อว่าทั้งสามประการข้างต้นเกิดขึ้นจริงด้วยการประกาศวิลายัตและตำแหน่งการเป็นตัวแทนของท่านอาลี (อ.) หลังจากท่านศาสดา (ศ็อลฯ)
ช่วงเวลาการประทาน
บรรดามุสลิมมีความเห็นตรงกันว่าโองการอิกมาลถูกประทานลงมาช่วงฮัจญะตุลวิดาอ์(ฮัจญ์อำลาครั้งสุดท้าย)ของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) แต่มีความเห็นแตกต่างกันในวันแห่งการประทาน ตามสายรายงานของอะฮ์ลุลบัยต์และอิจม์ของชีอะฮ์ระบุว่าโองการอิกมาลถูกประทานลงมาในวันฆอดีร อุละมาอ์บางท่านของซุนนีเห็นด้วยว่าถูกประทานลงมาในวันฆอดีรแต่ถือว่าเป็นรายงานที่อ่อนแอ แต่อัลลามะฮ์อะมีนีได้ทำการตรวจสอบสายรายงาน (ริญาล)ของพี่น้องซุนนีเชื่อว่า บนฐานของบรรทัดฐานการยอมรับฮะดีษของพี่น้องซุนนีนั้นถือว่าเป็นสายรายงานที่น่าเชื่อถือ(มุวัษษัก) บางแหล่งอ้างอิงของพี่น้องซุนนี เช่นตัฟซีรและตะรีคของอิบนุกะษีรระบุว่าโองการนี้ถูกประทานลงมาในวันอะรอฟะฮ์
นอกจากสองทัศนะนี้แล้วบ้างก็เชื่อว่าโองการอิกมาลถูกประทานลงมาสองครั้ง ครั้งแรกถูกประทานลงมาในวันอะรอฟะฮ์ แต่เนื่องจากท่านศาสดา(ศ็อลฯ)มีความกังวลในการประกาศอย่างเปิดเผย อัลลอฮ์(ซบ.) จึงทรงประทานโองการตับลีฆ (โองการที่ 67 ซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮ์)
يا أَيُّهَا الرَّسُولُ بَلِّغْ ما أُنْزِلَ إِلَيْكَ مِنْ رَبِّكَ وَ إِنْ لَمْ تَفْعَلْ فَما بَلَّغْتَ رِسالَتَهُ وَ اللهُ يَعْصِمُكَ مِنَ النَّاسِ إِنَّ اللهَ لا يَهْدِي الْقَوْمَ الْكافِرينَ

เพื่อเป็นการรับประกันและรับรองว่าจะไม่มีปัญหาใดเกิดขึ้น จากนั้นโองการอิกมาลก็ถูกประทานลงมาอีกครั้งที่ฆอดีร
สาเหตุการประทาน
จากแหล่งอ้างอิงของชีอะฮ์ระบุว่าสาเหตุการประทานโองการอิกมาลคือเหตุการณ์วันฆอดีรคุมวันแห่งการประกาศวิลายัตของท่านอะมีรุลมุมินีนอาลี บิน อะบีฏอลิบ (อ.) ชีอะฮ์เชื่อว่าหลังจากเสร็จสิ้นพิธีฮัจญ์อำลาครั้งสุดท้ายของท่านศาสดามุฮัมหมัด (ศ็อลฯ) ขณะเดินทางกลับท่านศาสดา(ศ็อลฯ) ได้เรียกให้บรรดามุสลิมมารวมตัวกันที่ฆอดีรคุม แล้วท่านได้ขึ้นกล่าวธรรมเทศนา(คุฏบะฮ์)โดยได้แต่งตั้งท่านอาลี(อ.) ให้เป็นผู้นำและตัวแทนภายหลังจากท่าน หลังจากธรรมเทศนาจบลง บรรดามุสลิมต่างพากันเข้ามาแสดงความยินดีต่อท่านอาลี (อ.) จากนั้นโองการอิกมาลก็ถูกประทานลงมาประกาศถึงความสมบูรณ์ของศาสนาอิสลาม ท่านอัลลามะฮ์อะมีนี ได้รวบรวมหลักฐานการยอมรับว่าโองการนี้ถูกประทานลงมาเกี่ยวกับตำแหน่งผู้นำของท่านอาลีจากพี่น้องซุนนีไว้ในหนังสืออัลฆอดีร และท่านมีรฮามิด ฮุเซน ได้รวบรวมไว้ในหนังสือ อะกอบาตุลอันวาร
ความหมายของความสมบูรณ์ของศาสนา
ตำราตัฟซีรอัลกุรอานได้ถกรายละเอียดเกี่ยวกับประโยค أَکمَلْتُ لَکمْ دینَکمْ “ข้าได้ทำให้ศาสนาของพวกเจ้าสมบูรณ์แล้ว” ซึ่งทั้งผู้รู้ชีอะฮ์และพี่น้องซุนนีมีมุมมองที่แตกต่างกันออกไป พี่น้องซุนนีกล่าวว่าเนื่องจากต้นโองการและท้ายโองการอธิบายถึงเรื่องเกี่ยวกับบทบัญญัติ(อะห์กาม) ดังนั้นความหมายของการทำให้ศาสนาสมบูรณ์ในที่นี้คือ บทบัญญัติทั้งหมดนั้นสมบูรณ์ด้วยการประทานโองการอิกมาลลงมา
ส่วนชีอะฮ์เชื่อว่า เนื่องจากโองการอธิบายถึงการสิ้นหวังของบรรดาผู้ปฏิเสธ จึงไม่ยอมรับทัศนะดังกล่าวโดยมองว่าบทบัญญัติเพียงอย่างเดียวไม่อาจปกป้องศาสนาและการสิ้นหวังของบรรดาผู้ปฏิเสธ เพราะการที่บรรดาผู้ปฏิเสธจะสิ้นหวังจากการทำลายอิสลามจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่ออัลลอฮ์(ซบ.) ได้แต่งตั้งผู้ปกตครอง ผู้ดูแล ผู้บริหารจัดการศาสนาและทำหน้าที่ชี้นำประชาชาติภายหลังจากท่านศาสดามุฮัมหมัด(ศ็อลฯ)ไว้ เพื่อให้ศาสนาดำรงอยู่ต่อไป ดังนั้นโองการอิกมาลเป็นโองการที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ฆอดีรคุม (18 เดือนซุลฮิจญะฮ์ ฮ.ศ. ที่ 11) ในการประกาศวิลายัตของอิมามอาลี (อ.) ตามหลักฐานและรายงานของอะฮ์ลุลบัยต์เป้าหมายและความหมายของการทำให้ศาสนาสมบูรณ์ในที่นี้คือการประกาศตำแหน่งวิลายัตและตัวแทนของท่านศาสดามุฮัมหมัด (ศ็อลฯ) คือท่านอาลี (อ.)
นอกจากนั้นโองการอิกมาลไม่อาจหมายถึงบทบัญญัติได้ เนื่องจากหลังจากโองการนี้ก็ยังมีโองการอื่นๆเกี่ยวกับบทบัญญัตดถูกประทานลงมา

ความแตกต่างระหว่าง «اکمال» “อิกมาล” กับ «اتمام» “อิตมาม”
ชะฮีดมุฏอฮารีย์ อธิบายถึงความแตกต่างระหว่างสองคำนี้ไว้ว่า “อิตมาม” จะกล่าวในกรณีที่สิ่งหนึ่งที่ยังมีข้อบกพร่องและไม่แล้วเสร็จ เช่น การสร้างตัวอาคารที่ยังขาดตกบกพร่องและไม่แล้วเสร็จ
ส่วน“อิกมาล” หมายถึงสิ่งหนึ่งที่ทำเสร็จแล้วแต่ยังไม่สมบูรณ์ โองการอิกมาล ทำให้ศาสนาสมบูรณ์ด้วยกับบัญชาการแต่งตั้งท่านอาลีให้ดำรงตำแหน่งผู้นำภายหลังจากท่านศาสดามุฮัมหมัด (ศ็อลฯ)  และหากบัญชานี้ไม่ถูกประกาศออกไปบัญชาอื่นๆ ก็ไม่สมบูรณ์เช่นกัน  เพราะวิญญาณของศาสนาคือวิลายัตและอิมามัต หากผู้หนึ่งมีศาสนาโดยปราศจากวิลายัตและอิมามัตของท่านอาลี ภาระหน้าที่ ภารกิจและการกระทำของพวกเขาเปรียบดังเรือนร่างที่ไร้วิญญาณนั่นเอง


แหล่งอ้างอิง


ابن کثیر، اسماعیل بن عمر، البدایة والنهایة، تحقیق علی نجیب عطوی و دیگران، بیروت، دارالکتب العلمیة، ۱۴۰۸ق
ابن کثیر، اسماعیل بن عمر، تفسیر القرآن العظیم، تحقیق سامی بن محمد سلامه، ریاض، دار طیبه للنشر والتوزیع، ۱۴۲۰ق
امینی، عبدالحسین، الغدیر فی الکتاب والسنة والادب، طهران، بی‌نا، ۱۳۶۶ش
بحرانی، سید هاشم، البرهان فی تفسیر القرآن، قم، مؤسسه البعثة، ۱۴۱۵ ق
جرجانی، حسین بن حسن، جلاء الأذهان و جلاء الأحزان، تهران، انتشارات دانشگاه تهران، چاپ اول، ۱۳۷۷ش
حسینی میلانی، علی، نفحات الازهار فی خلاصة عبقات الانوار، قم، مرکز تحقیق و ترجمه و نشر آلاء، ۱۴۲۳ق
سیوطی، جلال الدین عبدالرحمن، الدر المنثور فی التفسیر بالمأثور، بیروت، دارالفکر، ۱۴۰۳ق
طباطبایی، سیدمحمدحسین، المیزان فی تفسیرالقرآن، قم، انتشارات اسلامی، ۱۴۱۷ق
طبرسی، فضل بن حسن، مجمع البیان فی تفسیر القرآن، تهران، ناصرخسرو، ۱۳۷۲ش
طیب، سید عبد الحسین، اطیب البیان فی تفسیر القرآن، تهران، انتشارات اسلام، چاپ دوم، ۱۳۷۸ش
عاملی، سید جعفر مرتضی، الصحیح من سیره النبی الاعظم، قم، دار الحدیث، ۱۳۸۵ش
عیاشی، محمد، کتاب التفسیر، قم، تحقیق مؤسسة البعثة، ۱۴۲۱ق
علامه حلی، حسن بن یوسف، نهج الحقّ و کشف الصدق، دار الکتاب بیروت، اللبنانی، چاپ اول، ۱۹۸۲م
کلینی، محمد بن یعقوب، الکافی، تصحیح علی اکبر غفاری، طهران، دارالکتب الاسلامیة، ط الثالثة، ۱۳۸۸ق
مکارم شیرازی، ناصر، تفسیر نمونه، تهران، دار الکتب الإسلامیة، چاپ اول، ۱۳۷۴ش
مفید، محمد بن محمد، الارشاد فی معرفة حجج الله علی العباد، قم، موسسة آل البیت لإحیاء التراث، ۱۴۱۳ق


เชคอิมรอน พิชัยรัตน์/เรียบเรียง

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม