ไชฏอนศึกษา ตอนที่ 4

ไชฏอนศึกษา ตอนที่ 4


โองการที่สอง

อัลลอฮฺ(ซบ.)ค่อยๆเปิดเผย ซึ่งตะกับบุรของชัยฏอน ได้ถูกเปิดเผยในโองการที่หนึ่งแล้ว ต่อไปเรื่อง ‘ตะกับบุร’เรามีโองการอื่นซึ่งจะมาอธิบายด้วย แต่ตอนนี้ขอข้ามไปก่อน

โองการที่สองก็ยังอยู่ในหมวดนี้ คำว่า ตะกับบุรและมันเป็นกาเฟรมาแต่เดิม เป็นหมวดว่าด้วยชัยฏอนที่ปรากฏแล้ว กำเนิดแล้วชัยฏอนเกิดขึ้นแล้ว !!!

โองการแรกอยู่ใน บากอเราะห์ โองการที่ 34
(กล่าวไปแล้วในตอนที่ 3)
——————
وَإِذْ قُلْنَا لِلْمَلَائِكَةِ اسْجُدُوا لِآدَمَ فَسَجَدُوا إِلَّا إِبْلِيسَ أَبَىٰ وَاسْتَكْبَرَ وَكَانَ مِنَ الْكَافِرِينَ

และจงรำลึกถึง ขณะที่เราได้กล่าวแก่มะลาอิกะฮฺว่า พวกเจ้าจงซูญูด แก่อาดัมเถิด แล้วพวกเขาก็ซูญูดกัน นอกจากอิบลีส โดยที่มันไม่ยอมซูญูด และแสดงโอหัง และมันจึงได้กลายเป็นผู้สิ้นสภาพแห่งการศรัทธา (กาฟิรฺ)
——————————————-

โองการต่อไป

โองการที่สองอยู่ใน Holy Quran ซูเราะอิสเราะห์ 61

————————

وَإِذْ قُلْنَا لِلْمَلَائِكَةِ اسْجُدُوا لِآدَمَ فَسَجَدُوا إِلَّا إِبْلِيسَ قَالَ أَأَسْجُدُ لِمَنْ خَلَقْتَ طِينًا

และจงรำลึกเมื่อเรากล่าวแก่มะลาอิกะฮว่า “จงซูญูดต่ออาดัม” ดังนั้นพวกเขาได้ซูญูด เว้นแต่อิบลีส มันกล่าวว่า “ฉันจะซูญูดต่อผู้ที่พระองค์ทรงสร้างจากดินกระนั้นหรือ ?”

************************************

ซึ่งแน่นอน เมื่อพระองค์ทรงตรัสกับมลาอิกะฮ์ให้ทำการซูญูดกับท่านนบีอาดัมทั้งหมด พวกเขาทั้งหมดก็ซูญูดเว้นแต่อิบลีส

وَإِذْ قُلْنَا لِلْمَلَائِكَةِ اسْجُدُوا لِآدَمَ فَسَجَدُوا إِلَّا إِبْلِيسَ

ตรงนี้อัลลอฮ์(ซบ.)บอกว่า มันพูดว่าอย่างไรที่มันไม่ซูญูด เบื้องต้นมันเริ่มออกมาแสดงพฤติกรรมแล้ว

 

เราตั้งหัวข้อว่า“กำเนิดไชฏอน”

 

อันที่หนึ่ง คือ ปฏิเสธคำสั่งของพระผู้เป็นเจ้า เบื้องต้นพระองค์ก็ทรงบอกธาตุแท้ของมันแล้ว ในโองการ 61 ซูเราะห์อิสเราะห์ กล่าวคือในเบื้องต้นมันได้บอกสาเหตุของการไม่ซูญูดก่อน

قَالَ أَسْجُدُ لِمَنْ خَلَقْتَ طِينًا

ความว่า จะให้ฉันซูญูดกับคนที่พระองค์สร้างมันมาจากฏีน(ดิน)หรือ………..

ตรงนี้มันหลงกลอัลลอฮ์(ซบ.) แล้ว

ถามว่า ตรงนี้มันหลงกลอัลลอฮ์แล้ว ‘ตรงนี้’ คือ ตรงไหน ?

คำตอบ คือ อัลลอฮ์(ซบ.)จงใจสร้างอาดัมมาจาก ‘ดิน’ ตรงนี้คือคำตอบ

สมมุติ มันตอบว่า “ไม่หรอกผมไม่ซูญูดหรอก พระองค์ทรงสร้างมันมาจากนูร”

คำตอบน่าฟังหรือไม่ เพราะมันนาร

สมมุติ ถ้ามันให้เหตุผลแบบนี้น่าฟังหรือไม่

คำตอบ คือ ไม่น่าฟัง

การที่อัลลอฮ์(ซบ.) ทรงสร้างมาจากฏีน ทรงสร้างมาจากดินเหม็นด้วย ดินดำดินเหม็น จะให้ซูญูดสิ่งที่มาจากดินดำ ดินที่ต่ำสุด ดินที่เราขุดไปเรื่อยๆก็จะพบดินขี้เป็ด เพราะอัลลอฮ์(ซบ.) ทรงรู้ว่าจะต้องสร้างกลไกให้ผู้ที่อยากจะหลงทางได้หลงทาง พระองค์สร้างเหตุผลให้กับผู้ที่อยากจะปฏิเสธได้ปฏิเสธ

พระองค์ไม่ได้ประสงค์ สร้างเหตุผลให้สำหรับผู้ที่อยากปฏิเสธได้ปฏิเสธ ไม่ใช่อย่างนั้น พระองค์ไม่ได้ทรงประสงค์แน่นอน แต่
พระองค์ทรงมีเหตุผลและรู้ว่าเริ่มแล้ว ซึ่งจะได้รับการอธิบายในโองการต่อไป
***เหตุผลที่หนึ่ง
ไม่เอา… พระองค์สั่งให้ฉันซูญูดกับดินหรือ? ทั้งๆที่ฉันเป็นไฟ…..

อีกโองการหนึ่ง กอศ็อศ โองการที่75

قَالَ يَا إِبْلِيسُ โอ้อิบลีสเอ๋ย

مَا مَنَعَكَ أَن تَسْجُدَ อะไรเล่าที่ห้ามเจ้าและขัดขวางเจ้าไม่ให้ซูญูด

لِمَا خَلَقْتُ بِيَدَيَّ ต่อสิ่งที่ฉันสร้างมากับมือของฉันเอง (ทำไมเจ้าจึงไม่ซูญูด)

أَسْتَكْبَرْتَ เหตุผลของมัน คือ เพราะความตะกับบุรของเจ้าหรือ ?
أَمْ كُنتَ مِنَ الْعَالِينَ หรือเจ้า คือ ผู้ที่สูงส่ง

الْعَالِين เป็นตำแหน่งที่สูงส่งอันหนึ่ง มีมัคลูคชนิดหนึ่งอยู่ในตำแหน่งนี้เรียกว่า الْعَالِين

أَسْتَكْبَرْتَ أَمْ كُنتَ مِنَ الْعَالِينَ เจ้าตะกับบุร หรือ เจ้าคือผู้สูงส่ง

الْعَالِين

เมื่ออัลลอฮ(ซบ.)ถามว่า เจ้าเป็นผู้ที่สูงส่งหรือ…ถ้าเจ้าเป็นผู้ที่สูงส่งก็ไม่ต้องซูญูด แต่ถ้าเจ้าไม่ใช่บรรดาผู้ที่สูงส่ง ทำไมเจ้าไม่ซูญูด.. เจ้าคืออะไร ???

أَسْتَكْبَرْتَ أَمْ كُنتَ مِنَ الْعَالِينَ เจ้าตะกับบุร หรือ เจ้าคือผู้สูงส่ง

เจ้าคือผู้ที่ตะกับบุร !!!

นิยามของ “ตะกับบุร”

‘ตะกับบุร’แปลว่าอะไร ?

‘ตะกับบุร’ ตรงกับ คำแปล ว่า ‘ทำใหญ่’

ทำใหญ่นี่ใช้กับใคร

คำตอบ คือ ใช้กับคนที่ไม่ใหญ่จริง

‘อักบัร’ คือ ‘ใหญ่กว่า’

อักบัรใช้กับใคร ?

คำตอบ คือ ใช้กับใหญ่จริง เพราะกะบีร(ยิ่งใหญ่)

คำว่า ตะกับบุร แปลภาษาอย่างง่าย คือ ‘ทำใหญ่’ ใช้กับผู้ที่ไม่ได้ใหญ่จริง เขาเรียกว่าทำใหญ่ เหมือนกับที่เราบอกพวกนักเลงบางคนว่า อย่าทำใหญ่เลยไม่ใหญ่จริงหรอก อย่างนี้เรียก ‘ทำใหญ่’ ว่า ‘ตะกับบุร’

ทำให้ตัวเองใหญ่ ทั้งๆที่ตัวเองไม่ได้ใหญ่จริง ทำให้ตัวเองสูงส่งทั้งๆที่ตัวเองไม่ได้สูงส่ง พฤติกรรมลักษณะนี้เรียกว่า ‘ตะกับบุร’

ดังนั้น เมื่ออัลลอฮ(ซบ.) ถามเหตุผลทำไมไม่ซูญูด จงบอกมา

كُنتَ مِنَ الْعَالِينَ

ถ้าเจ้าเป็นผู้ที่สูงส่งก็ไม่ปัญหา แต่อัลลอฮ(ซบ.) ถามไปแล้วว่ามันเป็นผู้สูงส่งหรือเป็นผู้ตะกับบุร คำตอบนั้นมีในโองการแล้ว
أبى واستكبر
โองการที่หนึ่งมัน ตะกับบุร

อีกหนึ่งอายะฮ์ ได้อธิบายความน่ารักของอัลลอฮฺ(ซบ.) ในซูเราะห์ อัลกัฮฟ์ 50

وَإِذْ قُلْنَا لِلْمَلَائِكَةِ اسْجُدُوا لِآدَمَ فَسَجَدُوا إِلَّا إِبْلِيسَ كَانَ مِنَ الْجِنِّ

โองการนี้กล่าวถึงญิน คำว่า อิบลิส หมายถึง ญิน เพราะถ้าไม่บอกอาจเข้าใจว่าอิบลีสเป็นมลาอิกะฮฺโดยกำเนิด

เป็นญินโดยกำเนิดแต่พัฒนาตัวตน จนไปอยู่ในดะรอญะเดียวกับมลาอิกะฮ์فَفَسَقَ แต่มันทำการฝ่าฝืน มันเป็นฟาซิก

การฝ่าฝืนفسق ครั้งแรกที่เกิดขึ้นในอาลัมของการสร้างนี้คือ….فسقของอิบลีส

 

อิบลิส คือ ต้นแบบของการฝ่าฝืนคำสั่งของอัลลอฮฺ(ซบ.)

فَفَسَقَ عَنْ أَمْرِ رَبِّهِ มันคือ ฟาซิก

มันคือผู้ฝ่าฝืนคำสั่งของพระผู้อภิบาลโองการได้เข้ามาอธิบาย

أَفَتَتَّخِذُونَهُ وَذُرِّيَّتَهُ أَوْلِيَاءَ مِن دُونِي แล้วพวกเจ้ายังจะยึดมัน

“แล้วพวกเจ้า” ตรงนี้หมายถึงมนุษย์ทั้งหลาย

أَفَتَتَّخِذُونَهُ وَذُرِّيَّتَهُ أَوْلِيَاءَ แล้วเจ้าคิดที่จะยึดมันและลูกหลานของมันเป็นพวก เป็นมิตร เป็นสหาย เป็นนาย เป็นเอาลิยาอฺ مِن دُونِي นอกจากฉันอีกหรือ??

จากโองการนี้อธิบายเบื้องต้นก็คือว่า เผ่าพันธุ์นี้ ไม่ใช่ญินทั้งหมด
เผ่าพันธุ์นี้คืออะไร ?เพราะญิน มีทั้งญินมุสลิมและไม่ใช่มุสลิม เผ่าพันธุ์นี้คืออะไร???

ตรงนี้อัลลอฮ์(ซบ.)บอก เผ่าพันธุ์หมายความว่า เรื่องมันไม่ได้จบที่อิบลีสมีพฤติกรรมการฝ่าฝืน เพราะการตะกับบุรหรืออะไรก็ตาม ทั้งหมดนั้นถูกถ่ายทอดไปยังลูกหลานและวงศ์วานของมัน ซึ่งค่อยๆไปสู่ของคำว่า ‘ไชฏอน’ ยังมาไม่ถึง ตรงอิบลีสก็ปรากฏแล้ว

ดังนั้น ก็เตือนไว้ล่วงหน้าเลยว่า จงอย่ายึดมัน ให้รู้ว่า นี่คือศัตรูของพวกเจ้า

อัลลอฮ์(ซบ.)ทรงประกาศให้รู้ล่วงหน้า ว่านี่คือ ศัตรูของมนุษย์…!!

นี่คือโองการ ที่ต้องการจะบอกถึงชาติกำเนิดของมัน คือ ญิน เป็น ‘ญิน’ที่พัฒนาไปถึงดะรอญะฮ์ของมะลาอิกะฮฺ

ทีนี้มาดูอีกหนึ่งอายะห์สุดท้ายของเนื้อหาที่สอง ก็คือว่าอัลลอฮฺ(ซบ.)
ถามอีกว่า….

قَالَ مَا مَنَعَكَ โอ้อิบลีสเอ๋ย !!! ที่ได้ห้ามเจ้า

أَلَّا تَسْجُدَ ที่ทำให้เจ้านั้นไม่ยอมซูญูด

ذْ أَمَرْتُكَ เมื่อฉันสั่ง

คำตอบมาแล้วคือ
قَالَ أَنَا خَيْرٌ مِّنْهُ “ ฉันจะซูญูดอย่างไร ในเมื่อฉันดีกว่า ”

ตรงนี้ มีเนื้อหามากพี่น้อง !!! แต่เราไม่ได้ตั้งใจตัฟซีรแบบลึกล้ำขนาดนั้น

ดังนั้น คำว่า أَنَا ครั้งแรกก็เกิดที่นี่ أَنَا

أَنَا แปลว่า ฉัน

ที่มาของวิชาอัคลาก วิชาตะเซาวุฟ การเรียนรู้การรู้จัก (انانية)
มาจากอิบลีส คือ أَنَا คำนี้ ครั้งแรกที่ถูกพูด คือ أَنَاที่เข้าข้างตัวเอง أَنَا ฉันที่ตามนัฟซูของตัวเอง ฉันตามกิเลศตัณหาที่ต่ำช้าของตัวเองครั้งแรก(คำแรก)ที่ได้ถูกพูดขึ้นในจักรวาลนี้

أَنَا خَيْرٌ مِّنْهُ ฉันดีกว่าเขา

“ฉันดีกว่า”นี่อันตรายเป็นอย่างมาก……..!!!!

ซึ่งตรงนี้อิบลีสได้แสดง(انانية)

ตรงนี้ คือ ฉันเองโดยตัวฉัน ตามความคิดของฉัน หมายความว่า ฉันที่เป็นลบ

การอธิบายเพื่อให้เข้าใจง่ายที่เขาเรียกว่า(انانية) คือ ฉันที่เป็นลบ อย่างเช่น ฉันสวยกว่า ฉันต้องดีกว่า อย่างนี้เรียกว่าฉันที่เป็นลบ

คำถาม : ฉันรวยกว่า ฉันต้องดีกว่า อย่างนี้เรียกว่า ‘ฉันเป็นลบ’ หรือว่า ‘ฉันที่เป็นบวก

– ฉันแข็งแรงกว่า ฉันต้องดีกว่า ลบหรือว่าบวก

– ฉันหล่อกว่า ฉันต้องดีกว่า ลบหรือว่าบวก

คำตอบ ลักษณะนี้คือ ฉันที่เป็นลบ ฉันที่เป็นบวกก็มี แต่นี่คือ ฉันที่เป็นลบครั้งแรก ในทางภาษาของอัคลาก หรือ ทางภาษาของ ‘ตะเซาวุฟ’เรียกว่า (انانية) การปรากฏขึ้นครั้งแรกของอานานียัตในสากลจักรวาลก็เกิดขึ้นตรงนี้ เหตุผล ‘ดีกว่า’ ตรงไหน?

أَنَا خَيْرٌ مِّنْهُ ฉันดีกว่าเขา

خَلَقْتَنِي مِن نَّارٍ وَخَلَقْتَهُ مِن طِينٍ พระองค์สร้างฉันมาจากไฟ และสร้างเขามาจากดิน

คำถาม : มันพูดถูกไหม ?

สมมุติ ถ้าจะให้ความเป็นธรรมกับอิบลีส ถามว่า มันพูดถูกหรือไม่?ที่มันบอกว่า “พระองค์สร้างฉันมาจากไฟ และสร้างเขามาจากดิน” แล้วจะให้ไฟก้มดินได้อย่างไรกัน

ถามว่าเหตุผลของมันถูกหรือไม่ถูก

สำหรับคนที่ตอบว่า ‘ถูก’ ต้องไปปรับปรุงตัวหน่อย เพราะอันตราย

ทีนี้ถามต่อว่า ถูกตรงไหน ?

บางคนไม่กล้าตอบ ตรง สมมุติว่า ‘ถูก’

ถูกตรงไหน? ใครบอกว่าอะไรดีกว่าอะไร? ใครเป็นคนตัดสินปัญหาของมนุษย์ที่เกิดขึ้นทั้งอาชญากรรมระดับโลก และอาชญากรรมทั้งหมด เหตุผลทั้งหมด เป็นเพราะมนุษย์ตัดสินเอง

ยุคหนึ่งสมัยหนึ่ง เมื่อคนผิวขาวคิดว่าตัวเองดีกว่าคนผิวดำและคนผิวสี คิดว่าตัวเองประเสริฐกว่าคนผิวดำและคนผิวสี เมื่อคิดอย่างนี้แล้วจะเกิดอะไรขึ้น

คำตอบมาแล้ว ก็เกิดการค้าทาส คนผิวดำ คนผิวสี ถูกจับมาค้าทาส โดยที่พวกเขาไม่มีความรู้สึกผิดอะไรเลย การจับมนุษย์คนหนึ่งมาปฏิบัติเหมือนกับสัตว์ตัวหนึ่ง ใช้วิธีขังอยู่ในคอก ถูกทุบ ถูกตี โดยมนุษย์คนนี้ไม่มีสิทธิ ไม่มีอะไรสักอย่าง

คำถาม : เป็นเพราะวันนั้นมนุษย์คิดว่าอะไรดีกว่า ???
คิดว่าขาวดีกว่าดำ คิดว่าขาวดีกว่าผิวสี (ตัวอย่าง แรงงานทาส อินเดียนแดง)

บังเอิญ มนุษย์ก็ชอบขาวด้วย เพราะความชอบของเราเอง ที่ชอบขาว เลยทำให้ดำและผิวสีกลายเป็นของที่ไม่ดี

ดังนั้น เมื่อมนุษย์เองเป็นคนทำสิ่งเหล่านี้ขึ้นมา ความเชื่อของมนุษย์จึงเป็นตัวสร้างอาชญากรรมนี้ขึ้นมา และความจริง มนุษย์ก็ยังมีความเชื่ออย่างนี้อยู่

วันนี้ถ้าเราขายครีมหน้าดำ ถามว่า ขายได้หรือไม่?

คำตอบ : ขายไม่ได้ ครีมหน้าดำนั้น ขายไม่ได้ ขายไม่ออกแน่นอน เพราะครีมที่ขายได้คือ ครีมหน้าขาว เพราะมนุษย์ยอมรับสิ่งนี้ และความเชื่อที่ผิดนี้ได้พัฒนาจนไร้ขอบเขต

ฉะนั้น เมื่อความคิดของมนุษย์ มีความเชื่อที่ผิดนี้ ได้พัฒนาจนไร้ขอบเขต ปัญหาและอาชญากรรมต่างๆก็เกิดตามมา จนกระทั่งถึงทุกวันนี้ก็ยังไม่หมดไป

พวกเขา(ตะวันตก)ล้วนโกหก เขาบอกว่า ทั้งอเมริกา ในยุโรปนั้น มองคนขาวกับคนดำ คนผิวสี เหมือนกัน มีความเป็นรัฐบุรุษ แต่ความจริงในสิ่งที่เราได้ยิน ได้เห็น และสัมผัสได้นั้น ทั้งอเมริกา และในยุโรปนั้น ความเป็นพี่น้องไม่มี โกหกทั้งนั้น

วันนี้ในคุกของอเมริกา 80-90 % เป็นคนดำและผิวสี ซึ่งมาจากการวางแผนแยบยล ไม่มีทัศนะคติ ไม่ได้เปลี่ยนแปลง เพียงเพราะความเชื่อว่า ‘ขาวดีกว่าดำ’ มนุษย์ก็พัฒนาไปถึงขั้นก่ออาชญากรรม พวกเขาเชื่อว่า ชีวิตของมนุษย์ที่มีผิวสีดำและผิวสีไม่มีค่าใดๆทั้งสิ้น และอิบลีสก็เช่นกัน เมื่อเชื่อว่า ‘ไฟดีกว่าดิน’ ความเชื่อนี้พัฒนาไปถึงขั้นไหน?

ถึงขั้นกล้าขัดคำสั่งของพระเจ้าที่มันบูชามา 6,000 ปี ถ้าพูดในภาษาวันนี้คือ ‘ด้วยหนึ่งทัศนะคติที่ผิด’

(จงตั้งใจศึกษาให้ดี เพราะวิชาตัฟซีร มีประโยชน์ในการปรับวิถีชีวิตปฏิบัติแนวคิดของเรา)

 

ด้วยหนึ่งทัศนะคติที่ผิด คิดว่า ‘ไฟดีกว่าดิน’

 

ทัศนะคติที่ผิดอันนี้ พัฒนาไปถึงการปฏิเสธคำสั่งของพระเจ้า แต่อิบลีสไม่ถึงขั้นปฏิเสธพระเจ้า สิ่งหนึ่งที่มันดีกว่ามนุษย์ บางอย่างมันดีกว่ามนุษย์ เพราะบางอย่างมันไม่ปฏิเสธพระเจ้า
(ซึ่งจะมีในวิชาตัฟซีรครั้งต่อไป )

อิบลิสมันปฏิเสธเพียงคำสั่งของพระเจ้า กาเฟรตรงนี้ของมัน คือ ‘กาเฟรในคำสั่งของพระองค์’ มันปฏิเสธคำสั่งพระเจ้าที่มันเคยบูชามาถึง 6000 ปี

ด้วยหนึ่งทัศนะคติที่ผิด คิดว่า ‘ไฟดีกว่าดิน’ เมื่ออัลลอฮ(ซบ.)ถามมันทั้งหมดและมันให้เหตุผลมาเพื่อที่จะพิสูจน์ให้มนุษย์เห็นทั้งหมดแล้ว ได้รับคำตอบสมบูรณ์แล้ว อัลลอฮ์(ซบ.)ได้ทำความเข้าใจแล้วเราได้รู้จักการฝ่าฝืนแล้ว

เราได้เข้าใจแล้วว่า أَنَانيت ได้เกิดขึ้นในสากลจักรวาลนี้แล้ว และนำสู่อะไรทั้งหมด ที่ผมได้อธิบายก่อนหน้านี้ว่าอัลลอฮ์(ซบ.)ทรงน่ารักสักขนาดไหน ??

ตรงไหนที่อัลลอฮ์(ซบ.)ทรงน่ารัก……

คำตอบ : ถ้าเราอ่านมาทั้งหมดใน 5 อายะฮ์ที่ผ่านมา มันปฏิเสธ

مَا مَنَعَكَ أَلَّا تَسْجُدَ ทำไมไม่ซูญูด ทำไมไม่ซูญูดเล่า…
ฉันสร้างมา เมื่อฉันได้สั่งเจ้าแล้ว ทำไมเจ้าไม่ซูญูด

ไหนลองบอกเหตุผลมาซิ !!!

พระองค์น่ารักไหม?

พระเจ้าแบบนี้ต้องการเหตุผลก่อน ไม่ใช่ปฏิเสธแล้วตาย ไม่ใช่!!! พระองค์ถามก่อนเพื่อให้เจ้าบอกเหตุผลมา เมื่อครบทั้งหมดแล้ว เหตุผลที่ผิด เหตุผลสุดท้าย เหตุผลที่ยิ่งใหญ่คือ

واستكبر
ความตะกับบุรทั้งหมด

เมื่อสรุปแล้วว่า ไม่ใช่ทั้งหมด เหตุผลที่ผิด เหตุผลที่ชั่วช้า อัลลอฮ์(ซบ.)ให้โอกาสแล้ว ตรงนี้ คือ เรื่องหนึ่งที่พี่น้องต้องจดจำไปตลอดชีวิต เพราะระหว่างมนุษย์กับชัยฏอนมีความแตกต่างกันตรงนี้

ซึ่ง เหตุการณ์ในลักษณะนี้ ก็เกิดขึ้นครั้งหนึ่งกับท่านนบีอาดัม(อ)

เมื่อท่านนบีอาดัม(อ.) ฝืนคำสั่งของอัลลอฮ์(ซบ.)เหมือนกัน พระองค์ตรัสว่า อย่าเข้าใกล้ต้นไม้ !!! อย่ากินอะไร !!!

มีการอธิบายไว้อย่างมากมาย

อย่าเข้าใกล้ต้นไม้นี้ แต่ท่านนบีอาดัม(อ)เข้าใกล้

อย่ากินผลไม้นี้ ท่านนบีอาดัม(อ)กิน

ถามว่า อัลลอฮ์(ซบ.)ลงโทษเลยหรือไม่?

พระองค์ทรงถามท่านนบีอาดัม(อ)เช่นกันว่า…

“อาดัม ทำไม ฉันไม่ได้ห้ามเจ้าทั้งสองดอกหรือ ?

ฉันไม่ได้ห้ามเจ้าทั้งสองนี้ว่าอย่าเข้าไกล้ต้นไม้นี้?

ห้ามแล้วมิใช่หรือ?”

ท่านบีอาดัม(อปตอบว่าอย่างไร ?
คำตอบนั้น คือ ที่เราได้เป็นมนุษย์ ได้เป็นผู้เป็นคน จนถึงทุกวันนี้เพราะคำตอบของท่านนบีอาดัม(อ) เมื่อทำผิดแล้วท่านนบีอาดัม(อ)ตอบว่า…

Holy Quran الأعراف :23
—————————

قَالَا رَبَّنَا ظَلَمْنَا أَنْفُسَنَا وَإِنْ لَمْ تَغْفِرْ لَنَا وَتَرْحَمْنَا لَنَكُونَنَّ مِنَ الْخَاسِرِينَ

เขาทั้งสองได้กล่าวว่า โอ้พระเจ้าของพวกเข้าพระองค์ พวกข้าพระองค์ได้อธรรมแก่ตัวของพวกข้าพระองค์เอง และถ้าพระองค์ไม่ทรงอภัยโทษแก่พวกข้าพระองค์และเอ็นดูเมตตาแก่ข้าพระองค์แล้ว แน่นอนพวกข้าพระองค์ก็ต้องกลายเป็นพวกที่ขาดทุนอย่างแน่นอน

***********************

อะไรคือความแตกต่างระหว่างอาดัมกับอิบลีส ???

คำตอบคือ ความสำนึก การฝ่าฝืนแม้นครั้งเดียวหรือล้านครั้ง

สำหรับอัลลอฮ์(ซบ.)แตกต่างกันหรือไม่ ?

คำตอบ คือ ไม่แตกต่าง
แต่ข้อแตกต่างคือ ผิดแล้วสำนึกทันที

เมื่อท่านนบีอาดัม(อ)ตอบแบบนี้ อัลลอฮ์(ซบ.)ก็ใจอ่อน
ท่านบีอาดัม(อ)สารภาพผิดกับอัลลอฮ์(ซบ.)ไปแล้ว พวกข้าพระองค์ได้อธรรมแก่ตัวของพวกข้าพระองค์เองด้วย ไม่ได้อธรรมกับผู้ใด

“ظَلَمْنَا أَنْفُسَنَا وَإِنْ لَمْ تَغْفِرْ لَنَا”

(ถ้าพระองค์ไม่อภัยให้กับฉันและไม่เมตตากับฉันแล้ว)

“لَنَكُونَنَّ مِنَ الْخَاسِرِينَ”
(ขาดทุนแน่นอนอย่างเลย)

อัลลอฮ์(ซบ.)ทรงอภัยให้กับท่านบีอาดัม(อ) แต่ทำไมพระองค์ไม่อภัยให้กับอิบลีส

คำตอบ เพราะอิบลิสมันไม่ได้ขออภัย และมันไม่ได้สำนึก

คำตอบสุดท้ายที่อัลลอฮ์ให้มันก็คือ ซูเราะห์ศ็อด 77,78

Holy Quran 38:77
——————
قَالَ فَاخْرُجْ مِنْهَا فَإِنَّكَ رَجِيمٌ

พระองค์ตรัสว่า “ดังนั้นเจ้าจงออกไปจากที่นี่ เพราะแท้จริงเจ้าเป็นผู้ถูกขับไล่”

Holy Quran 38:78
——————
وَإِنَّ عَلَيْكَ لَعْنَتِي إِلَىٰ يَوْمِ الدِّينِ

และแท้จริงการสาปแช่งของข้า จงประสบแก่เจ้า จนกระทั่งวันแห่งการตอบแทน—————————-

ดังนั้น “قَالَ فَاخْرُجْ مِنْهَا فَإِنَّكَ رَجِيمٌ” ความว่า จงออกไปจากที่นี่

คำว่า ลงไปจากที่นี่…ลงไป…ใช้กับอะไร???

คำตอบ คือ ใช้กับที่สูง หมายความว่า อยู่ในที่สูงดีแล้วแต่ทำตัวต่ำ

อัลลอฮฺ(ซบ.)ตรัสว่า…ดังนั้น จงลงไปเดี๋ยวนี้… ลงไปข้างล่าง ตรงนี้ไม่ใช่ที่ที่จะมา ‘ตะกับบุร’

ตรงนี้คือ สรวงสวรรค์ชั้นสูง มีรายละเอียดอีกเรื่องหนึ่ง ไม่ใช่ที่ของคนตะกับบุรอยู่ จงลงไปข้างล่าง
فَاخْرُجْ จงออกไป เจ้าเล็กเกินไป ที่จะมาทำใหญ่ที่นี่

وَإِنَّ عَلَيْكَ لَعْنَتِي สำหรับเจ้านั้น คือ คำสาปแช่งของฉัน

إِلَىٰ يَوْمِ الدِّينِ จนกระทั่งถึงวันฟื้นคืนชีพ

ยาอัลลอฮ ขออัลลอฮ ตอบแทนทุกคนโดยเฉพาะเจ้าภาพ
และทีมงานทั้งหมด ที่ทำให้บทเรียนนี้เกิดขึ้นมาได้
ขอให้ได้กุรอานเป็นชะฟาอัตอีกอันหนึ่งสำหรับพวกเรา
ในวันที่เราต้องพึ่งพิงการชะฟาอัต


บทความโดย ฮุจญตุลอิสลาม ซัยยิดสุไลมาน ฮูซัยนี