เกิดอะไรขึ้นที่สมรภูมิค็อนดัก

เกิดอะไรขึ้นที่สมรภูมิค็อนดัก

 

สมรภูมิ “ค็อนดัก” ทำให้ท่านนบี ศ. เปรยถึงท่านอิมามอะลี อ. ว่า คุณค่าของการเสียสละของอะลี บิน อบีฎอลิบ มีค่ายิ่งกว่าการงานของประชาชาติของฉันทั้งหมด เพราะการพ่ายแพ้ของนักรบที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของชาวอาหรับนั้นได้สร้างเกียรติยศให้บังเกิดขึ้นกับมุสลิมและสร้างความต่ำต้อยให้พวกปฏิเสธ

 

เกิดอะไรขึ้นที่สมรภูมิค็อนดัก [غزوة الخندق

นักประวัติศาสตร์อิสลามบันทึกถึงเหตการณ์นี้ไว้ว่า  ภายในสองปีหลังจากสมรภูมิอุฮุด พวกกุเรชระดมกำลังรบได้นักรบมาจำนวนหนึ่งหมื่นคน ครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นกำลังรบที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่ได้เคยมีการชุมนุมทัพกันมาในอารเบียจนถึงขณะนั้น ด้วยการป่าวประกาศและทำให้จิตใจหึกเหิมมั่งคงอย่างขนาดใหญ่ กองกำลังอันน่าเกรงขามนี้ได้ละออกจากนครมักกะฮ์ในฤดูหนาว ฮ.ศ. 5  เพื่อยึดครองนครมะดีนะฮ์และเพื่อลบล้างอิสลามให้หมดสิ้น

ท่านศาสดา ศ. ได้เรียกประชุมฉุกเฉินเพื่อปรึกษาบรรดาอัครสาวกของท่าน ในเรื่องการป้องกันเมือง สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดก็คือ มุสลิมมีจำนวนเพียงน้อยนิดเท่านั้น(ซึ่งกำลังพลของมุสลิมไม่เกิน 3,000 คน) และยังขาดแคลนเครื่องไม่เครื่องมืออย่างหนัก ซึ่งพวกเขาไม่อาจเผชิญหน้ากับกองกำลังของผู้รุกรานในทุ่งโล่งได้ มะดีนะฮ์จะต้องได้รับการปกป้องจากภายใน แต่จะทำประการใด ?

คำถามที่คาใจของทุก ๆ คนอยู่ก็คือ กองกำลังมุสลิมที่มีจำนวนน้อยนิดเช่นนี้ จะป้องกันนครมะดีนะฮ์ให้พ้นไปจากกองทัพมักกะฮ์ที่กำลังจะบุกตะลุยเข้ามาสู่นครมะดีนะฮ์ด้วยจำนวนอันท่วมทนนี้ได้อย่างไรกัน

มีสาวกคนหนึ่งของมุฮัมมัดศาสนทูตแห่งพระเจ้าคือ ซัลมาน ชาวเปอร์เซีย เขาถือกำเนิดและเติบโตขึ้นมาจากประเทศเปอร์เซีย (อิหร่าน) แต่ได้มาใช้ชีวิตอยู่ที่ประเทศซีเรียและปาเลสไตน์ เขาจึงมีประสบการณ์ในการทำศึก และการปฏิบัติการณ์ยึดเมืองของทั้งชาวเปอร์เซียและชาวโรมัน มะดีนะฮ์มีแนวป้องกันที่เป็นทั้งธรรมชาติและที่คนสร้างขึ้นมาด้วยกันสามด้าน แต่อีกด้านหนึ่งเปิดโล่งอยู่นั้นคือทางด้านเหนือ ซัลมานเสนอต่อท่านศาสดาว่า ถ้าหากได้มีการขุดคู (ค็อนดัก) ทางด้านทิศเหนือก็อาจจะสามารถรักษาเมืองไว้ให้อยู่รอดปลอดภัยได้ด้วยความสำเร็จ

ความคิดที่ดูเหมือนจะเป็นเรื่องแปลกใหม่สำหรับชาวอาหรับนั้น นับเป็นที่ชื่นชอบของท่านศาสดา ท่านได้ยอมรับและมีคำบัญชาให้บรรดามุสลิมจัดการขุดคู (ค็อนดัก) ดังกล่าว

เนื่องจากได้ทราบมาว่า กองทัพของพวกมักะฮ์กำลังเคลื่อนพลเข้ามาใกล้นครมะดีนะฮ์ด้วยความรวดเร็ว และไม่มีเวลาเหลืออยู่อีกแล้ว มุสลิมจึงเร่งมือกันอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย  โดยทำงานกันเป็นทอดๆ ภายในหกวันการขุดคู (ซึ่งมีความยาว 12,000 ซิรอก หรือ 5 กิโลเมตรครึ่งโดยประมาณ) ก็เป็นอันเสร็จสิ้น ทันเวลาที่จะใช้ป้องกันการบุกโจมตีเข้ายึดเมืองพอดี

 

กองทหารมักกะฮ์และยิวเข้าโอบล้อม มะดีนะฮ์

กองกำลังของพันธมิตรแห่งมักกะฮ์มีประมาณกว่า 10,000 คนอันประกอบด้วย กองกำลังที่ได้ระดมมาจากเผ่าต่างๆ ทหารม้าของฝ่ายมักกะฮ์บุกตะลุยกันเข้ามาราวกับลมพายุ แต่ก็ต้องหยุดชะงักลงโดยไม่อาจทำตามที่ตนคาดหมายไว้ได้ เมื่อต้องมาพบกับแนวยาวของคู ทหารม้าได้ดึงม้าให้หยุดอยู่เนินคู ยุทธศาสตร์สำคัญของพวกเขาก็คือ การยึดนครมะดีนะฮ์ให้รวดเร็วปานลมกรด โดยให้เสร็จสิ้นภายในสองสามชั่งโมง แต่มาบัดนี้เป็นที่ปรากฏแก่พวกเขาว่า พวกเขา ไม่อาจกระทำเช่นนั้นได้แล้ว ข้างหน้ามีคูขวางกั้น มันเป็นอุปสรรคชนิดใหม่ที่พวกเขาไม่อาจสามารถเอาชนะได้ จะทำอย่างไรที่จะให้แผนการตามยุทธศาสตร์ของพวกเขาดำเนินไปได้เมื่อต้องมาเจอะเจอกับปัญหาดังกล่าว ทำให้พวกเขาฉงนสนเท่ห์จนหยุดชะงักลงอย่างสิ้นเชิง

หลังจากไตร่ตรองอยู่เป็นเวลานาน ในที่สุดผู้บัญชาการกองทัพมักกะฮ์ได้ตัดสินใจที่จะล้อมนครมะดีนะฮ์ไว้ และบังคับมุสลิมให้ยอมจำนนเนื่องจากเสบียงร่อยหรอ พวกเขาจึงปิดทางออกจากนครมะดีนะฮ์ไว้หมดทุดจุด และปิดตายมุสลิมเอาไว้ นครมะดีนะฮ์ตกอยู่ในสภาพที่ถูกปิดล้อยอย่างแท้จริง

กองกำลังพล 3,000 คนของมะดีนะฮ์ ตั้งมั่นอยู่แถบเชิงเขา “ซะละฮ์” ซึ่งเป็นจุดที่อยู่สูงกว่าบริเวณที่พวกศัตรูตั้งค่ายกันอยู่ ซึ่งจุดยุทธศาสตร์ดังกล่าวครอบครองบริเวณที่เป็นคูทั้งหมดและสามารถมองเห็นการเคลื่อนกำลังพลของพวกมักกะฮ์ได้เป็นอย่างดี พวกเขาใช้อาวุธทุกอย่างเท่าที่หามาได้คอยสกัดกั้นคนพวกนั้นบนคู

 

การเผชิญหน้าระหว่างตัวตนของการศรัทธาและตัวตนของการปฏิเสธ

ถึงแม้อบูซุฟยานจะเป็นคนจัดการศึกในครั้งนี้ทั้งหมดแต่เพียงคนเดียว และเขาเป็นผู้อำนวยการปฏิบัติการก็ตามแต่เขาเองไม่ได้เป็นนักรบ นักรบแห่งกองทัพของเขาก็คือ อัมร อิบนิอับดุวุด( عمرو ابن عبدود) ผู้เป็นนักรบที่มีความดุเดือดเลือดพล่านที่สุดในมวลหมู่ชาวอาหรับผู้ป่าเถื่อน ความหวังของอบูฟุฟยานที่จะได้รับชัยชนะอย่างรวดเร็วและเด็ดขาดเหนือฝ่ายมุสลิมก็อยู่ที่ตัวของ อัมร บางส่วนของนักประวัติศาสตร์กล่าวไว้ว่า อัมร อิบนิ อับดุวุด ได้รับการกล่าวขานกันในหมู่ชาวอาหรับในสมัยนั้นว่า จะหาใครมาเทียบกับเขาเพียงคนเดียวได้ก็ต้องมีทหารม้าสักหนึ่งพันคน

อัมร อิบนิ อับดุวุด ไม่สนใจในการรบแบบล้อมเมืองที่หยุดอยู่กับที่ เขามีความหุนหันที่จะให้เริ่มลงไม้ลงมือ สองสามวันผ่านไปทุกอย่างยังคงเหมือนเดิม เขาเริ่มหมดความอดทนจึงตัดสินใจที่จะเข้ายึดเมืองมะดีนะฮ์ด้วยการกระทำเพียงลำพังตนเอง อยู่มาวันหนึ่งขณะที่เขาตระเวนอวดความกล้าหาญชาญชัยของเขาไปทั่วนครมะดีนะฮ์ เขาและอัศวินชาวมักกะฮ์อีกสามคนพบโขดหินแห่งหนึ่งที่คูไม่กว้างเท่าใด พวกเขาจึงห้อม้ามาอย่างเต็มเหยียด และกระโดดข้ามคูไปได้ ณ จุดนี้

บัดนี้ อัมร เข้ามาอยู่เขตพื้นที่ด้านในของเมืองมะดีนะฮ์แล้ว เขาจึงขี่ม้าตะบึงมายังค่ายของมุสลิมอย่างอาจหาญ และกล่าวท้าทายวีรบุรุษแห่งอิสลามให้ออกมาต่อสู้กันตัวต่อตัวตามแบบฉบับการรบของชาวอาหรับการท้าทายครั้งแรกของเขาไม่มีเสียงตอบรับ เขาจึงกล่าวท้าทายไปอีกครั้งหนึ่งแต่ก็ไม่มีเสียงตอบรับมาอีกเช่นเดิม ทั้งนี้เป็นเพราะบารมีแห่งชื่อเสียงของเขา จึงทำให้ไม่มีผู้ใดในค่ายของมุสลิมที่กล้าออกมาเผชิญหน้า เพื่อทดสอบพละกำลังกับเขาตัวต่อตัว ถ้าหากบรรดาพวกกราบไหว้เทวรูปเห็นอัมรเป็นความหวังแห่งชัยชนะของพวกเขาแล้ว ฝ่ายมุสลิมก็เห็นการท้าทายของเขาว่าเป็นการลงโทษประหารชีวิตพวกเขานั่นเอง

อัมร อิบนิ อับดุวุด ได้กล่าวคำท้าทายอย่างหยิ่งยโสโอหัง แถมกล่าวดูถูกดูแคลนมาเป็นครั้งที่สาม และยั่วยุบรรดามุสลิมไปในความขี้ขลาดตาขาวของพวกเขา สำหรับ อัมร มันดูราวกับว่าบรรดามุสลิมนั้นหวาดกลัว จนกลายเป็นอัมพาตไปด้วยกันทั้งหมดแล้ว ซึ่งว่ากันจริง ๆ แล้วพวกเขาส่วนใหญ่ก็เป็นเช่นนั้น อัลกุรอานได้วาดภาพให้เห็นไว้เช่นกัน ถึงสภาพของฝ่ายมุสลิมในคราวที่นครมะดีนะฮ์ถูกปิดล้อม ดังโองการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

إِذْ جَاؤُوكُم مِّن فَوْقِكُمْ وَمِنْ أَسْفَلَ مِنكُمْ وَإِذْ زَاغَتْ الْأَبْصَارُ وَبَلَغَتِ الْقُلُوبُ الْحَنَاجِرَ وَتَظُنُّونَ بِاللَّهِ الظُّنُونَا

“ เมื่อพวกนั้นได้มาประชิดพวกเจ้า จากด้านเหนือและด้านใต้ของพวกเจ้า และเมื่อสายตาทั้งหมดจ้องมอง และหัวใจทั้งมวลขึ้นไปสู่คอหอย และพวกเจ้ามีทัศนคติต่อพระเจ้าต่าง ๆนานา ” ( อัลกุรอาน 33/10 )

وَإِذْ قَالَت طَّائِفَةٌ مِّنْهُمْ يَا أَهْلَ يَثْرِبَ لَا مُقَامَ لَكُمْ فَارْجِعُوا وَيَسْتَأْذِنُ فَرِيقٌ مِّنْهُمُ النَّبِيَّ يَقُولُونَ إِنَّ بُيُوتَنَا عَوْرَةٌ وَمَا هِيَ بِعَوْرَةٍ إِن يُرِيدُونَ إِلَّا فِرَارًا

และเมื่อครั้งที่คนกลุ่มหนึ่งจากพวกเขาได้กล่าวว่า : โอ้ชาวยัษริบ ที่แห่งนี้หาใช่ที่ของพวกเจ้าไม่ ดังนั้นพวกท่านจงกลับเสียเถิด และมีอีกกลุ่มหนึ่งจากพวกเขา ขออนุญาตต่อท่านศาสดา โดยกล่าวว่า “ แท้จริงบ้านเรือนของเราน่าหวาดกลัว ” ทั้งที่มันหาได้น่าหวาดกลัวไม่ พวกเขามิได้ปรารถนาสิ่งใดเลย นอกจากการหลบหนีเท่านั้น ( อัลกุรอาน 33/13 )

อัมร อิบนิ อับดุวุด ถึงกับแสดงออกซึ่งความประหลาดใจที่ว่า บรรดามุสลิมไม่ได้แสดงถึงความกระหายที่จะได้เข้าสวรรค์เลย ในขณะที่เขาพร้อมเสมอที่จะจัดการส่งพวกเขาไป

เป็นความจริงที่ว่า บรรดามุสลิมส่วนใหญ่หวาดกลัวกันจนลนลาน แต่มีอยู่คนหนึ่งในหมู่พวกเขาที่ไม่ได้เป็นเช่นนั้น จริงแล้วเขาอาสาที่จะรับคำท้าของอัมร นับตั้งแต่ครั้งแรกแล้วแต่ท่านศาสดาหยุดยั้งเขาไว้ โดยหวังว่าอาจมีบุคคลอื่นรับที่จะออกไปเผชิญหน้ากับ อัมร แต่ท่านก็ไม่อาจสามารถเห็นผู้ใดกล้าที่จะไปเทียบฝีมือดาบกับเขา

ชายหนุ่มที่เต็มใจจะรับคำท้าของอัมรนั้นย่อมไม่มีใครนอกไปเสียจาก อะลี อิบนิ อบีฏอลิบ วีรบุรุษแห่งอิสลาม เมื่ออัมรได้ตะโกนท้ามาเป็นครั้งที่สาม แต่ไม่มีผู้ใดตอบรับเขาเลย อะลีจึงลุกขึ้นและกล่าวคำวิงวอนต่อท่านศาสดาเพื่อขออนุมัติต่อท่านที่จะออกไปรบกับเขา

أَخْبَرَنَا أَبُو عَبْدِ اللهِ الْحَافِظُ، ثنا أَبُو الْعَبَّاسِ مُحَمَّدُ بْنُ يَعْقُوبَ، ثنا أَحْمَدُ بْنُ عَبْدِ الْجَبَّارِ، ثنا يُونُسُ بْنُ بُكَيْرٍ، عَنِ ابْنِ إِسْحَاقَ، قَالَ: خَرَجَ , يَعْنِي يَوْمَ الْخَنْدَقِ عَمْرُو بْنُ عَبْدِ وُدٍّ , فَنَادَى: مَنْ يُبَارِزُ؟ فَقَامَ عَلِيٌّ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ وَهُوَ مُقَنَّعٌ فِي الْحَدِيدِ , فَقَالَ: أَنَا لَهَا يَا نَبِيَّ اللهِ. فَقَالَ: ” إِنَّهُ عَمْرٌو اجْلِسْ “. وَنَادَى عَمْرٌو: أَلَا رَجُلٌ؟ وَهُوَ يُؤَنِّبُهُمْ وَيَقُولُ: أَيْنَ جَنَّتُكُمُ الَّتِي تَزْعُمُونَ أَنَّهُ مَنْ قُتِلَ مِنْكُمْ دَخَلَهَا؟ أَفَلَا يَبْرُزُ إِلِيَّ رَجُلٌ؟ فَقَامَ عَلِيٌّ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ فَقَالَ: أَنَا يَا رَسُولَ اللهِ. فَقَالَ: ” اجْلِسْ “. ثُمَّ نَادَى الثَّالِثَةَ وَذَكَرَ شِعْرًا , فَقَامَ عَلِيٌّ فَقَالَ: يَا رَسُولَ اللهِ أَنَا. فَقَالَ: ” إِنَّهُ عَمْرٌو “. قَالَ: وَإِنْ كَانَ عَمْرًا. فَأَذِنَ لَهُ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ , فَمَشَى إِلَيْهِ حَتَّى أَتَاهُ وَذَكَرَ شِعْرًا فَقَالَ لَهُ عَمْرٌو: مَنْ أَنْتَ؟ قَالَ: أَنَا عَلِيٌّ. قَالَ: ابْنُ عَبْدِ مَنَافٍ؟ فَقَالَ: أَنَا عَلِيُّ بْنُ أَبِي طَالِبٍ. فَقَالَ: غَيْرُكَ يَا ابْنَ أَخِي مِنْ أَعْمَامِكَ مَنْ هُوَ أَسَنُّ مِنْكَ فَإِنِّي أَكْرَهُ أَنْ أُهَرِيقَ دَمَكَ. فَقَالَ عَلِيٌّ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ: لَكِنِّي وَاللهِ مَا أَكْرَهُ أَنْ أُهَرِيقَ دَمَكَ. فَغَضِبَ فَنَزَلَ وَسَلَّ سَيْفَهُ كَأَنَّهُ شُعْلَةُ نَارٍ , ثُمَّ أَقْبَلَ نَحْوَ عَلِيٍّ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ مُغْضَبًا , وَاسْتَقْبَلَهُ عَلِيٌّ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ بِدَرَقَتِهِ فَضَرَبَهُ عَمْرٌو فِي الدَّرَقَةِ , فَقَدَّهَا وَأَثْبَتَ فِيهَا السَّيْفَ وَأَصَابَ رَأْسَهُ فَشَجَّهُ , وَضَرَبَهُ عَلِيٌّ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ عَلَى حَبْلِ الْعَاتِقِ فَسَقَطَ وَثَارَ الْعَجَاجُ , وَسَمِعَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ التَّكْبِيرَ , فَعَرَفَ أَنَّ عَلِيًّا رَضِيَ اللهُ عَنْهُ قَدْ قَتَلَهُ
السنن الكبرى ج9 ص222و 223 ، المؤلف: أحمد بن الحسين بن علي بن موسى الخُسْرَوْجِردي الخراساني، أبو بكر البيهقي (المتوفى: 458هـ)،3 م

 

 

ท่านศาสดาไม่มีทางเลือกอื่นใด นอกจากจะต้องอนุญาตให้อะลี ราชสีห์แห่งอิสลามผู้เป็นลูกพี่ลูกน้องของท่าน ออกไปปิดปากคำยั่วยุและคำเย้ยหยันของอัมร อิบนิ อับดุวุดลงเสีย

อะลีจัดการสวมใส่ชุดนักรบของท่านศาสดาแห่งอิสลาม ท่านได้แขวนดาบซุลฟิกอรเข้ากับข้างลำตัวของเขา และวิงวอนเพื่อชัยชนะให้กับเขาด้วยคำกล่าวที่ว่า “ โอ้ พระเจ้า พระองค์ทรงเรียกอุบัยดะฮ์ อิบนิ อัลฮาริษในวันแห่งการสู้รบ ณ สงครามบะดัรและฮัมซะ อิบนิ อับดุลมุตฏอลิบในวันแห่งการสู้รบที่อุฮุด เพื่อการรับใช้พระองค์ มาบัดนี้เหลืออาลีอยู่เพียงผู้เดียวที่อยู่กับข้าพระองค์ ขอพระองค์ทรงเป็นผู้ปกป้องคุ้มครองเขา ทรงโปรดประทานชัยชนะให้กับเขา และได้ทรงโปรดนำเขากลับคืนมาให้กับข้าพระองค์ ด้วยความปลอดภัยด้วยเถิด ”

 

เมื่อท่านศาสดาเห็นอาลีกำลังมุ่งตรงไปยังคู่ต่อสู้ของเขา ท่านจึงกล่าวขึ้นว่า :

قال صلى الله عليه وآله بَرَزَ الإيمَانُ كلُّهُ إلى الشِّرك كُلِّه
إبن أبي‌الحديد المدائني المعتزلي، ابوحامد عز الدين بن هبة الله بن محمد بن محمد (متوفاى655 هـ)، شرح نهج البلاغة، ج13، ص261،

“ เขาเป็นตัวตนของการศรัทธาทั้งมวล ผู้ซึ่งกำลังจะไปสู้รบกับตัวตนของการปฏิเสธทั้งมวล ”

 

เพียงครู่เดียว อิมามอะลี อ. ได้ไปยืนอยู่ต่อหน้าของอัมร วีรบุรุษทั้งสองต่างแนะนำตนเอง และเปรียบเทียบขนาดกันดู อาลีมีกฎกติกาอยู่ประการหนึ่ง ซึ่งเขาใช้มันในทุกสถานการณ์ทั้งในยามสงครามหรือในยามสงบ ในสงครามค็อนดักก็เช่นกัน บรรดามุสลิมและพวกป่าเถื่อน ก็ได้เห็นการสาธิตการนำเอาหลักการทังหมดนี้มาปฏิบัติ ไม่ว่าเมื่อใดก็ตามที่เขาเผชิญหน้ากับศัตรู เขาจะเสนอให้ศัตรูเลือกเอารวมสามทาง ข้อเลือกเหล่านี้ก็คือ

    อิมามอะลี อ.นำเสนออิสลามต่อคู่ต่อสู้ของเขา เชิญชวนให้พวกนั้นละทิ้งการกราบไหว้เทวรูปและหันมารับอิสลาม
    ห้ถอนตัวออกไปจากสนามรบเสีย และอย่างเข้ามาต่อสู้กับพระเจ้าและ ศาสนทูตของพระองค์ เพราะจะนำมาซึ่งความหายนะทั้งโลกนี้และโลกหน้าแต่เพียงประการเดียว
    หากศัตรูไม่ยอมรับในข้อเลือกทั้งสอง อะลีจึงจะกล่าวเชื้อเชิญให้เขาเป็นผู้ เริ่มฟันเป็นดาบแรกก่อน อะลีเองไม่เคยฟันศัตรูก่อนเลย

อัมร์ อิบนิ อับดุวุดไม่ใยดี แม้แต่จะพิจารณาข้อเลือกทั้งในประการแรกและในประการที่สองแต่ยอมรับในประการที่สาม และเปิดศึกด้วยการฟันอาลีด้วยแรงอันมหาศาล คมดาบอันทรงพลังของเขาตัดผ่านโล่ หมวกเหล็กและผ้าฟันศีรษะของอาลี จนทำให้เกิดเป็นแผลลึกที่หน้าผากของเขา เลือดสด ๆ พุ่งกระฉูดออกมาจากบาดแผลดังกล่าว แต่อาลีก็ไม่ได้หวาดหวั่นอะไร เขาสืบเท้าเข้าหาแล้วจึงฟันตอบโต้ไปครั้งหนึ่งด้วยดาบซุลฟิกอรอันเลื่องชื่อ และมันได้ผ่านนักรบที่ทรงพลังที่สุด ในแว่นแคว้นอารเบียคนนี้ ออกเป็นสองซีก

เมื่อ อัมร ถูกสังหารลง นักรบทั้งสามคนที่ติดตามเขามาจึงหันหลังกลับ และควบม้าของพวกเขาหลบหนีไป อะลีปล่อยพวกเขาไป นับเป็นหลักการข้อหนึ่งของเขา ที่จะไม่ไล่ล่าศัตรูที่หลบหนี ผู้ใดก็ตามที่ปรารถนาจะรักษาชีวิตของเขาไว้ อาลีจะปล่อยให้เขารักษามันเอาไว้

ความตายของอัมร อิบนิ อับดุวุด ทำให้กระดูกสันหลังของการรุกรบต่ออิสลามของพวกมักกะฮ์ต้องหักลง และทำให้ขวัญและกำลังใจของพวกเขาต้องถูกทำลายล้างลง

เมื่ออิมามอะลี อ. ไปพบท่านศาสดา ศ. ท่านได้ยกย่องคุณค่าของการฟาดฟันของเขาว่า : “คุณค่าของการเสียสละเช่นนี้มีค่ายิ่งกว่าการงานของประชาชาติของฉันทั้งหมด เพราะการพ่ายแพ้ของนักรบที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของชาวอาหรับนั้นได้สร้างเกียรติยศให้บังเกิดขึ้นกับมุสลิมและสร้างความต่ำต้อยให้พวกปฏิเสธ”

كَقَوْلِهِ عَلَيْهِ السَّلَامُ لَمُبَارَزَةُ عَلِيٍّ عَلَيْهِ السَّلَامُ مَعَ عَمْرِو بْنِ عَبْدِ وُدٍّ [الْعَامِرِيِّ] «أَفْضَلُ مِنْ عَمَلِ أُمَّتِي إِلَى يَوْمِ الْقِيَامَةِ» ، فَلَمْ يَقُلْ مِثْلُ عَمَلِهِ بَلْ قَالَ: أَفْضَلُ كَأَنَّهُ يَقُولُ: حَسْبُكَ هَذَا مِنَ الْوَزْنِ والباقي جزاف.
الرازي الشافعي، فخر الدين محمد بن عمر التميمي (متوفاى604هـ)، التفسير الكبير أو مفاتيح الغيب، ج 32 ، ص ، 31

 

حَدَّثَنَا لُؤْلُؤُ بْنُ عَبْدِ اللَّهِ الْمُقْتَدِرِيُّ، فِي قَصْرِ الْخَلِيفَةِ بِبَغْدَادَ، ثنا أَبُو الطَّيِّبِ أَحْمَدُ بْنُ إِبْرَاهِيمَ بْنِ عَبْدِ الْوَهَّابِ الْمِصْرِيُّ، بِدِمَشْقَ، ثنا أَحْمَدُ بْنُ عِيسَى الْخَشَّابُ، بِتِنِّيسَ، ثنا عَمْرُو بْنُ أَبِي سَلَمَةَ، ثنا سُفْيَانُ الثَّوْرِيُّ، عَنْ بَهْزِ بْنِ حَكِيمٍ، عَنْ أَبِيهِ، عَنْ جَدِّهِ قَالَ: قَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ: «لَمُبَارَزَةُ عَلِيِّ بْنِ أَبِي طَالِبٍ لِعَمْرِو بْنِ عَبْدِ وُدٍّ يَوْمَ الْخَنْدَقِ أَفْضَلُ مِنْ أَعْمَالِ أُمَّتِي إِلَى يَوْمِ الْقِيَامَةِ»
الحاكم النيسابوري، ابو عبدالله محمد بن عبدالله (متوفاى405 هـ)، المستدرك علي الصحيحين، ج 3 ، ص 34، تحقيق: مصطفي عبد القادر عطا، ناشر: دار الكتب العلمية – بيروت الطبعة: الأولى، 1411هـ – 1990

الرابع الشجاعة : تواتر مكافحته للحروب ولقاء الأبطال وقتل أكابر الجاهلية حتي قال صلي الله عليه وسلم يوم الأحزاب (لضربة علي خير من عبادة الثقلين) وتواتر وقائعه في خيبر وغيره
الإيجي، عضد الدين (متوفاى756هـ)، كتاب المواقف، ج 3 ، ص 628 ، تحقيق: عبد الرحمن عميرة، ناشر: دار الجيل، لبنان، بيروت

 

 

นครมะดีนะฮ์และอิสลามถูกรักษาไว้ให้อยู่รอดปลอดภัยด้วยความคิดวีรบุรุษหนึ่ง ความคิดก็คือการขุดคู ซึ่งตรึงกองกำลังทหารม้าของฝ่ายมักกะฮ์ไว้ นับเป็นแนวคิดที่ใหม่สุดโดยสิ้นเชิงในการทำศึกสงครามในดินแดนอาหรับ และชาวอาหรับก็ไม่มีความคุ้นเคยมาก่อนเลย หากไม่มีแนวความคิดดังกล่าว คนจากเผ่าต่าง ๆ ที่เป็นพวกปล้นสะดม นับจากจำนวนเรือนหมื่นก็จะบดขยี้นครมะดีนะฮ์ และพวกเขาก็จะจัดการสังหารทุกคนที่อาศัยอยู่ในเมือง เกียรติยศนี้ย่อมตกเป็นของ “ซัลมานชาวเปอร์เซีย”  และของผู้เป็นนายของเขา คือตัวของท่านศาสดาเองซัลมานเป็นผู้เริ่มเรื่องของความคิดใหม่ในหลักการทางทหาร ท่านศาสดาได้แสดงออกถึงการยอมรับมันด้วยตัวของท่านเอง และนำมาสู่การปฏิบัติในทันที คำกล่าวของท่านศาสดาที่กล่าวกับซัลมาลว่า “ซัลมานเป็นคนของเรา อะฮ์ลุลบัย” ยืนยันสิ่งนี้ได้เป็นอย่างดีที่สุด

ถึงอย่างไรการคุกคามความปลอดภัยของนครมะดีนะฮ์ ก็มิได้สอบผ่านไปได้ด้วยกับแนวความคิดอันชาญฉลาดของซัลมานเพียงอย่างเดียว นั่นคือนครมะดีนะฮ์ยังคงถูกทำลายลงได้ ในจุดที่คูที่ขุดไว้มีความกว้างไม่มากนัก ซึ่งทำให้ขุนพลของกองทัพมักกะฮ์ และนักรบชั้นยอดอีกสามคนสามารถที่จะควบม้ากระโดดข้ามมันมาได้และขี้ม้ามุ่งตรงมายังค่ายของฝ่ายมุสลิมถ้าหากพวกเขาประสบความสำเร็จในการจัดสร้างสะพานเชื่อมหัวต่อระหว่างคู กองพันทหารม้าและทหารราบทั้งหมด และบรรดานักแสวงโชคที่ร่วมมากับกองทัพก็จะเข้ามาสู่เมืองและยึดเอาไว้ได้ แต่อะลี อิบนิ อบีฏอลิบ ได้จัดการรุกฆาตพวกเขา

ฉะนั้นความเฉลียวฉลาดของซัลมาน ความหลักแหลมของท่านศาสดา ศ. และดาบของท่านอิมามอะลี อ. ได้พิสูจน์ให้เห็นถึงการป้องกันอิสลามที่ดีที่สุด ต่อการรุกรบของฝ่ายพันธมิตรของพวกโง่เขลาป่าเถื่อน ที่มีความน่าสะพรึงกลัวในประวัติศาสตร์ของชาติอาหรับ

 

บทความโดย เชคอันศอร เหล็มปาน