ฮิญาบในมุมของกฎหมาย

ฮิญาบในมุมของกฎหมาย


เชคอิมรอน พิชัยรัตน์/ เรียบเรียง

 


คุณเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับการบังคับให้คลุมฮิญาบ?
การตั้งคำถามในลักษณะนี้เป็นคำถามที่ไม่ถูกต้อง หากขอบเขตของคำถามชัดเจนว่าการบังคับให้คลุมฮิญาบหมายความว่าอย่างไร?และความหมายของการบีบบังคับอยู่ที่ไหน? ความไม่ถูกต้องของคำถามนี้ก็จะแสดงให้เห็นเอง
บางครั้งหากจะนำเสนอฮิญาบว่าเป็นเรื่องของเหตุมีผลหรือเป็นเรื่องของความเชื่อและศาสนา กล่าวคือ ฉันต้องการแนะนำเรื่องฮิญาบให้กับอีกฝ่ายว่าเป็นความคิดหนึ่งหรือแนวคิดใหม่ที่ดีกว่า เพื่อให้เขายอมรับ หรือเป็นเรื่องของความเชื่อเพื่อให้เขาเชื่อในเรื่องนี้ จากตรงนี้ชี้ให้เห็นว่าการบีบบังคับย่อมไม่มีความหมายสำหรับสองด้านนี้ เพราะไม่อาจบังคับกันได้ในความคิดและแนวคิด และไม่อาจบังคับกันได้ในเรื่องของศรัทธาและความเชื่อ จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะบอกว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย!
และบางครั้งนำเสนอฮิญาบในฐานะกฎหมายสังคม หมายความว่า นอกเหนือจากการเรื่องความคิดและศรัทธา  เรากำลังเข้าสู่สังคมที่อยู่ภายใต้กฎหมายเฉพาะ และสมมติฐานของเราคือการปฏิบัติตามฮิญาบถูกกำหนดและอนุมัติให้เป็นหนึ่งในกฎหมายสังคมในสังคมนั้นๆ และเป็นยติที่ได้รับความเห็นชอบของระบบนิติบัญญัติแล้ว ในที่นี้เช่นกัน คำถามที่ว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับการบังคับให้สวมฮิญาบนั้นเป็นคำถามที่ผิด เพราะการบังคับในที่นี้ หมายถึงการยึดมั่นในการปฏิบัติตามกฎหมาย และคงไม่มีผู้มีปัญญาท่านใดที่จะเห็นด้วยกับการคัดค้านการปฏิบัติตามกฎหมาย
กฎหมายเป็นบรรทัดฐานที่กำหนดและนำเสนอโดยรัฐบาลเป็นหลักการที่ประชาชนควรปฏิบัติตาม และพฤติกรรมใด ๆ ที่ฝ่าฝืนกฎหมายถือเป็นอาชญากรรมและรัฐบาลสามารถปฏิบัติกับผู้ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายได้โดยผ่านการรับรองจากอำนาจการบริหารอย่างเป็นทางการ
ตัวอย่างทั่วไปที่ทุกคนยอมรับและเข้าใจได้ในกฎหมายการขับขี่ ตัวอย่างเช่น ในอิหร่าน กฎหมายกำหนดให้รถยนต์ขับชิดขวา ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม ไม่ว่าจะถูกหรือผิด ผู้บัญญัติกฎหมายได้จัดตั้งระบบนี้และดำเนินการตามนั้น และตำรวจจราจรเป็นผู้ค้ำประกันการดำเนินการและจัดการกับผู้ฝ่าฝืน ทีนี้ลองนึกภาพกลุ่มที่มาบอกว่าเราเคยเห็นในอังกฤษว่ารถขับชิดซ้าย ดีมาก เราอยากเป็นอิสระและทำตามนั้น ทำไมคุณบังคับเรา? เพื่อแก้ปัญหาสังคมนี้และเคารพสิทธิการเป็นพลเมืองของกลุ่มนี้ หากเราตั้งคำถาม คุณเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับการบังคับย้ายจากฝั่งขวา?
จากนั้นสมมุติว่าทุกคนควรจะมีอิสระที่จะขับรถทางขวา หรือทางซ้าย! แน่นอนว่าย่อมไม่มีวันได้ผลลัพธ์ที่ดี และโดยพื้นฐานแล้วมันผิดที่ตั้งคำถามในลักษณะนี้ ตราบใดที่กฎหมายของประเทศนี้วางอยู่บนฐานของการขับรถทางขวา การบังคับใช้ให้ขับทางขวาเป็นการดำเนินการทางกฎหมายที่ถูกต้อง และการเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยของกลุ่มหนึ่งในสังคมไม่อาจมีบทบาทใดๆ ได้ แม้ว่าด้วยเหตุผลเป็นพันๆ ประการที่นำมาพิสูจน์ได้ว่าการขับไปทางซ้ายนั้นดีกว่า ฉันยอมรับและชอบขับทางซาย ในเชิงปฏิบัติหากฝ่าฝืนและต้องการทำตามความเห็นของตนเอง จะถูกจัดการและจับกุม จะถูกปรับ
ใช่แล้ว! ฉันสามารถติดต่อสมาชิกสภานิติบัญญัติเพื่อคัดค้านกฎหมายนี้และเสนอเหตุผลของความผิดในการขับทางซายโดยยกเหตุผลที่สมเหตุสมผลของกฎหมาย และโน้มน้าวเขาว่ากฎหมายของเขามีข้อบกพร่อง หากกฎหมายเปลี่ยนแปลง ฉันก็สามารถบรรลุเป้าหมายได้ ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับใช้กฎหมายใหม่นี้ด้วย และคราวนี้ตัวฉันเองก็กลายเป็นผู้สนับสนุนการบังคับนี้ จากที่เคยไม่เห็นด้วยกับการบังคับใช้กฎหมายขับรถทางขวา อย่างนั้นหรือ?!
พื้นฐานการทำกฎหมาย
ในทุกสังคมที่เจริญและมีอารยะธรรม มีชุดของกฎเกณฑ์ที่ตั้งอยู่บนความเชื่อและความคิดเห็นของผู้คนหรือชนชั้นระดับหัวกระทิในสังคมนั้น ที่มาของกฎเหล่านั้นแตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น ในสังคมหนึ่ง กฎหมายของประเทศอยู่บนพื้นฐานของระบบเสรีนิยม และในอีกสังคมหนึ่ง บนพื้นฐานของระบบสังคมนิยม ไม่ว่าระบบเหล่านี้จะมีต้นกำเนิดมาจากอะไรและความคิดใด ๆ ก็ตามที่มีพื้นฐานมาจากถูกหรือผิด เมื่อเราไปถึงขั้นของกฎหมายของรัฐบาลของสังคมนั้น
การพูดถึงการบังคับในการปฏิบัติตามกฎหมายนั้นย่อมเป็นสิ่งที่ชัดเจนและสมเหตุสมผล เพราะการไม่ยอมรับ หมายถึง การยกเลิกหลักประกันการปฏิบัติตามกฎหมาย และกฎหมายที่ไม่มีหลักประกันการปฏิบัติตามกฎหมายก็ไม่ต่างจากความไร้ระเบียบและความวุ่นวาย .
 ทีนี้ ถ้าที่มาของกฎหมายสังคมคือระบบและความคิดของอิสลาม และกฎหมายของประเทศนั้นถูกควบคุมและอนุมัติตามนี้ ในแง่ของการรับประกันการนำไปปฏิบัติ และการบังคับใช้ในการดำเนินการ ก็ไม่ต่างกันกับกฎหมายอื่น ๆ และการบังคับในการปฏิบัติตามกฎหมายนี้ก็เป็นสิ่งที่ถูกต้องและสมเหตุสมผลเช่นกัน

หากเราพิจารณาประเด็นเรื่องฮิญาบในขั้นตอนนี้ ซึ่งได้รับการอนุมัติและประกาศใช้เป็นกฎหมายในรัฐบาลอิสลามแล้ว การบังคับให้ปฏิบัติตามนั้นก็สมเหตุสมผลและจำเป็น ตรงนี้ไม่ใช่เรื่องของความเชื่อความศรัทธา ทว่าเป็นกฎหมาย-ไม่ว่าจะถูกหรือผิด- จะต้องดำเนินการและนำไปปฏิบัติใช้ตามข้อกฎหมายที่ผ่านมติแล้ว