เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

การฉลองวันประสูติของท่านนบี (ศ็อลฯ)?

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

การฉลองวันประสูติของท่านนบี (ศ็อลฯ)?


ในขณะที่วะฮาบีห้ามจัดการเฉลิมฉลองวันประสูติของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ผู้ทรงคุณวุฒิของพี่น้องซุนนีหลายท่านถือว่าคืนวันประสูติของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ประเสริฐกว่าค่ำคืนแห่งก็อดร์และเน้นย้ำถึงความสำคัญของวันประสูติท่านศาสดา(ศ็อลฯ)

ความขัดแย้งระหว่างศาสนาและความขัดแย้งในเรื่องผลประโยชน์คือสองปัจจัยที่ทำลายความสามัคคีของชาวมุสลิม

 สิ่งที่เป็นอันตรายต่อความสามัคคีของประชาชาติอิสลาม เกิดจากปัจจัยสองประการได้แก่ความขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์และความขัดแย้งในด้านศาสนา ความขัดแย้งในเรื่องผลประโยชน์และความกลัวทางการเมืองเกิดจากปัจจัยแรงดึงดูดและผลักไสในระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ ตัวการสำคัญคืออิทธิพลของต่างชาติอย่างอเมริกาและยุโรปในโลกอิสลาม ความขัดแย้งดังกล่าวมีอยู่ระหว่างประเทศอิสลามและระหว่างกลุ่มประเทศในภูมิภาค

 แต่ประเด็นต่อไปคือความขัดแย้งระหว่างศาสนาในระดับความเชื่อความศรัทธา (อะกออิด)และนิติศาสตร์(ฟิกฮ์) และความขัดแย้งดังกล่าวเกิดขึ้นภายในประเทศระหว่างพลเมืองที่มีศาสนาแตกต่างกันระหว่างศาสนาที่เป็นทางการกับไม่เป็นทางการ เป็นต้น

 สัปดาห์แห่งเอกภาพ หมายถึง ชีอะฮ์และซุนนีควรมีความสามัคคีปรองดองกันในจุดร่วมเดียวกัน

 สัปดาห์แห่งเอกภาพเป็นสัญลักษณ์ของความเห็นอกเห็นใจ ศีลธรรม และความยิ่งใหญ่ของชาวมุสลิมและภราดรภาพของชาวชีอะห์และซุนนี ในแง่หนึ่ง กล่าวได้ว่าสัปดาห์แห่งเอกภาพเป็นสัญลักษณ์ของการให้สัญญากับแนวทางและวิธีการของศาสนาอิสลามตามแนวของอิมามและผู้นำ สัปดาห์แห่งเอกภาพหมายความว่าชีอะฮ์และซุนนีควรมีความสามัคคีในจุดร่วมเดียวกันและดำเนินการเพื่อขจัดความขัดแย้งและเผชิญหน้ากับศัตรูร่วมกัน ได้แก่ ยิวไซออนิสต์

ในสถานการณ์เช่นนี้ มุฟตีมุสลิมบางนิกาย เช่น วะฮาบี ประกาศว่าการจัดงานฉลองการประสูติของท่านศาสดาเป็นฮะรอม เพราะการเฉลิมฉลองนี้จัดขึ้นภายใต้สัปดาห์แห่งเอกภาพซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นในการละทิ้งความขัดแย้งระหว่างศาสนาอิสลาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งชีอะฮ์และซุนนี ในขณะที่ความขัดแย้งระหว่างนิกายนั้นคือสิ่งที่สร้างผลประโยชน์ให้กับพวกเขา

ตามหลักฐานจากรายงาน(ริวายัต) ชีอะฮ์จะฉลองวันประสูติท่านศาสดา แต่วะฮาบีถือว่าฮะรอม

บางนิกายเพื่อทำลายความสามัคคีโดยสั่งห้ามการฉลองวันประสูติของท่านศาสดาและเป็นฮะรอมตามหลักการศาสนา!! ในขณะที่สิ่งนี้ ขัดกับอัลกุรอาน
วะฮาบีได้สร้างข้อสงสัยและความคลุมเครือเกี่ยวกับประเด็นการเฉลิมฉลองการประสูติของท่านศาสดามุฮัมหมัด (ศ็อลฯ) ว่าเป็นบาปในศาสนาและเป็นการปฏิบัติที่ต้องห้าม ส่วนชาวชีอะฮ์เฉลิมฉลองวันประสูติของท่านศาสดามุฮัมหมัด (ศ็อลฯ)) และตามหลักฐานการรายงาน(ริวายัต)มากมาย
อัลกุรอานกล่าวถึงคำอธิษฐานของศาสดาอีซา(อ.) ว่า:
 قَالَ عِیسَى ابْنُ مَرْیَمَ اللَّهُمَّ رَبَّنَا أَنْزِلْ عَلَیْنَا مَائِدَةً مِنَ السَّمَاءِ تَکُونُ لَنَا عِیدًا لِأَوَّلِنَا وَآخِرِنَا وَآیَةً مِنْکَ وَارْزُقْنَا وَأَنْتَ خَیْرُ الرَّازِقِینَ

“อีซาบุตรมัรยัมกล่าวว่า “โอ้อัลลอฮ์พระผู้อภิบาลของพวกเราได้โปรดประทานสำรับอาหารจากฟากฟ้าลงมายังพวกเรา เพื่อเป็นของกำนัลวันรื่นเริงสำหรับคนแรกของเราและคนสุดท้ายของเรา และเป็นสัญญาณหนึ่งจรากพระองค์และได้โปรประทานปัจจัยยังชีพแก่เหล่าข้าพระองค์ พระองค์คือผู้ทรงประทานปัจจัยที่ดีที่สุด”

สองประเด็นสำคัญที่ได้รับจากโองการนี้ได้แก่:
 ประเด็นแรก มีการใช้คำว่าอีด (عِید)เนื่องจากมีการประทานความโปรดปรานหนึ่งลงมาจากฟากฟ้า และเมื่อพระเจ้าแห่งสากลโลกได้ตอบรับดุอาของศาสดาอีซา(อ.) กระทั่งได้มีการรำลึกให้วันนั้นเป็นวันอีด
 ประเด็นที่สอง คือเพื่อเป็นการเทิดเกียรติวันที่ความโปรดปรานได้ถูกส่งลงมายังคนรุ่นต่อไป แม้ว่าคนรุ่นหลังจะไม่ได้รับประทานอาหารสวรรค์นั้นก็ตาม แต่การมีอยู่ของความโปรดปรานแห่งท่านศาสดาและการตอบรับดุอาของท่านศาสดามีความสำคัญถึงขนาดที่ว่าเพื่อที่จะขอบคุณสำหรับความโปรดปรานในอดีต คนรุ่นต่อ ๆ ไปในอนาคต ยังต้องเทิดเกียรติวันครบรอบนั้น

 คำถามคือ การประทานความโปรดปรานหนึ่ง(สำรับอาหาร)จากสวรรค์มีความสำคัญมากกว่าหรือการที่พระเจ้าผู้ทรงเมตตาทรงสร้างบ่าวผู้มีควาจำเริญทางหนึ่งขึ้นและกลายเป็นศาสดาท่านสุดท้ายและชี้นำทางอันนิรันดร์ของสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย!

ซุนนีซึ่งแตกต่างจากวะฮาบีได้ให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับการวันประสูติของท่านศาสดา(ศ็อลฯ)

 คำถามสำคัญคือ ซุนนีให้ความสำคัญกับวันประสูติของท่านศาสดามุฮัมหมัด(ศ็อลฯ)หรือไม่? หรือพวกเขาถือว่าการฉลองวันครบรอบการประสูติเป็นอุติกรรมและฮะรอม ?

ในทางตรงกันข้ามกับวาฮาบี ชาวซุนนี ให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับวันครบรอบวันประสูติของท่านศาสดามุฮัมหมัด (ศ็อลฯ) บรรดานักวิชาการอาวุโสและผู้ทรงคุณวุฒิที่มีชื่อเสียงของพี่น้องซุนนีหลายท่านได้บันทึกไว้ในหนังสือของพวกเขา

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม