โรงเรียนฮุจญะตียะฮ์ (เมืองกุม)

 

โรงเรียนฮุจญะตียะฮ์ (เมืองกุม)


อิมรอน พิชัยรัตน์/เรียบเรียง


ย้อนรอยเมื่อครั้งเรียนอยู่ในโรงเรียนแห่งนี้ เป็นโรงเรียนที่อบอวลไปด้วยบรรยากาศของมิตรภาพของนักเรียนศาสนาหลายเชื้อชาติ   ไทย อินโด มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ปากีสถาน อินเดีย บังคลาเทศ พม่า อัฟกานิสถาน ตุรกี  โคลัมเบีย คิวบา กานา และฯลฯ สนุกกับการเรียนที่มีอาจารย์มีชื่อเสียงแห่งเมืองกุมมาสอนหลายท่าน ฟังบรรยายธรรมจากนักบรรยายธรรม นมาซญะมาอัตที่มัสญิดโรงเรียน ได้ยินเสียงดุอาที่เปิดจากฮะรัมท่านหญิงมะอ์ซูมะฮ์ เสียงอะซาน ตื่นมาเห็นโดมทองของฮะรัมท่านหญิง เดินไปซิยารัต มันคือความทรงจำดีๆ ของครั้งหนึ้งในชีวิตที่ประทับใจและเก็บไว้ในความทรงจำตลอดไป จึงอยากนำเสนอและแนะนำโรงเรียนฮุจญะตียะฮ์นี้ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นโรงเรียนแห่งประวัติศาสตร์โลกชีอะฮ์เลยก็ว่าได้ ให้เป็นที่รูัจักมากขึ้น

โรงเรียนฮุจญะตียะฮ์ (ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1945) เป็นหนึ่งในโรงเรียนสอนศาสนาที่ยิ่งใหญ่ในเมือง กุม ซึ่งก่อตั้งโดย ซัยยิดมุฮัมหมัด ฮุจญัต กูฮ์กะมะรี และตั้งอยู่ใกล้กับสุสาน (ฮะรัม)ของท่านหญิงมะอ์ซูมะฮ์  โรงเรียนมีห้องพักสำหรับนักเรียนมากกว่า 100 ห้อง และยังมีมัสยิดและห้องสมุดอีกด้วย ห้องสมุดโรงเรียนฮุจญะตียะฮ์มีหนังสือที่พิมพ์ 90,000 เล่มและมีต้นฉบับที่เขียนด้วยลายมือ(ค็อฏฏี)มากกว่าพันเล่ม
 โรงเรียนฮุจญะตียะฮ์เป็นสถานที่สอนของนักวิชาการผู้มีชื่อเสียงของสถาบันศาสนาบางท่าน เช่น ซัยยิดกาซิม ชะรีอัตมะดารี และซัยยิดมุฮัมหมัด ฮุเซน ฏอบาฏอบาอีย์ และ ผู้รู้ (อุละมาอ์)บางท่าน เช่น อิมามอาลี คามาเนอีย์,  และ อายาตุลลอฮ์ญะวาดี ออมุลี,อายาตุลลอฮ์มุฮัมหมัดตะกี มิศบาห์ ยัซดี ก็เคยยู่ที่โรงเรียนแห่งนี้เช่นกัน
 โรงเรียนดังกล่าวอุทิศให้กับนักเรียนที่ไม่ใช่ชาวอิหร่านในปี ค.ศ. 1979 และปัจจุบันเป็นหนึ่งในศูนย์การศึกษาในเครือของมหาวิทยาลัยอัลมุศตอฟา อัลอาละมียะฮ์


ก่อสร้าง
โรงเรียนฮุจญะตียะฮ์ เดิมทีเป็นที่ดินของ กอมรอน มีรซา  บุตรชายของ นาศิรุดดีน ชาฮ์ กอจอร จนถึงปี ค.ศ.1985 ซื้อโดย ซัยยิดมุฮัหมัด ฮุจญัต กูฮ์ กะมะรี และได้มอบให้กับนักเรียนของสถาบันศาสนาแห่งเมืองกุม ในพิธีเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสวันประสูติของ ท่านหญิงฟาติมะฮ์ ในวันที่ 20 ของ ญะมาดิษษานี
  อายาตุลลอฮ์ ฮุจญัต ได้ซื้อที่ดินรอบๆ โรงเรียน ในปี ค.ศ.1987 เริ่มสร้างอาคารสองชั้นหกหลัง ซึ่งมีห้องทั้งหมด 126 ห้อง อาคารอื่นๆ ถูกสร้างขึ้นที่นั่นหลังจากการเสียชีวิตของ ซัยยิดมุฮัมหมัดฮุจญัต พื้นที่ของโรงเรียนแห่งนี้คือ 15,000 ตารางเมตร
โรงเรียนนี้กลายเป็นที่รู้จักในนามโรงเรียนฮุจญะตียะฮ์ เนื่องจากชื่อผู้สร้าง (ซัยยิดมุฮัมหมัดฮุจญัต) ร่างของท่านถูกฝังอยู่ในโรงเรียนนี้
 โรงเรียนฮุจญะตียะฮ์ถือเป็นสถานศึกษาศาสนาที่ใหญ่ที่สุด แม้ว่าต่อมาจะมีสถานศึกษาศาสนาเกิดขึ้นมากมายแต่โรงเรียนฮุจญะตียะฮ์ก็ยังคงเป็นโรงเรียนศาสนาที่สำคัญที่ยิ่งใหญ่ของเมืองกุม


ห้องสมุด
ห้องสมุดโรงเรียนฮุจญะตียะฮ์เริ่มเปิดในโรงเรียนในปี ค.ศ. 1952หนังสือเล่มแรกของห้องสมุดนี้ได้รับบริจาคจากผู้ก่อตั้ง และจากนั้นอายาตุลลอฮ์ บุรูญิรดีได้บริจาคหนังสือให้กับห้องสมุดแห่งนี้
 ตามข้อมูลปี ค.ศ. 2017 ห้องสมุดแห่งนี้มีหนังสือที่พิมพ์ 90,000เล่ม หนังสือภาพพิมพ์ 3,500 เล่มและต้นฉบับ(ค็อฏฏี) 1040 เล่ม รายชื่อหนังสือต้นฉบับ(ค็อฏฏี)ของห้องสมุดโรงเรียน ฮุจญะตียะฮ์ ได้รับการตีพิมพ์เป็นสองเล่ม
#เหตุการณ์สำคัญ
ในระหว่างการประท้วงเมื่อ ค.ศ. 1944 ในการประท้วงต่อต้านบทความดูหมิ่นของหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับอิมามโคมัยนี โรงเรียนฮุจญะตียะฮ์เป็นหนึ่งในสถานที่ที่เจ้าหน้าที่ของระบอบปาห์ลาวีปะทะกับนักเรียนศาสนาแห่งเมืองกุม ตามรายงาน การปะทะกันระหว่างกองกำลังทหารและกองกำลังบังคับใช้กฎหมายกับนักเรียนศาสนาส่วนใหญ่เกิดขึ้นบริเวณโรงเรียน ฮุจญะตียะฮ์ และโรงเรียนคอน และส่งผลให้นักเรียนจำนวนหนึ่งเสียชีวิตและบาดเจ็บ
 มัสญิดของโรงเรียนฮุจญะตียะฮ์เคยเป็นสถานที่สอนของ ซัยยิดกาซิม ชะรีอัต มะดารี และยังเป็นสถานที่สอนตัฟซีรของซัยยิดมุฮัมหมัดฮุเซน ฏอบาฏอบาอีย์อีกด้วย
 นักวิชาการและอุละมาผู้มีชื่อเสียงหลายท่านเคยอยู่ในโรงเรียนฮุจญะตียะฮ์แห่งนี้ ได้แก่ อิมามคามาเนอีย์, อายาตุลลอฮ์อับดุลลอฮ์ ญะวาอี ออมุลี, อายาตุลลอฮ์มุฮัมหมัดริฎอ มะฮ์ดะวีกะนี, ฮาชิมี รัฟซันญานี, อายาตุลลอฮ์ มุฮัมหมัด มิศบาห์ ยัซดี, อายาตุลลอฮ์ซัยยิดมุฮัมหมัด ฮุซัยนี เบเฮชตี

อุทิศให้กับนักเรียนศาสนาที่ไม่ใช่ชาวอิหร่าน
โรงเรียนฮุจญะตียะฮ์อุทิศให้กับนักเรียนศาสนาที่ไม่ใช่ชาวอิหร่านในปี ค.ศ. ค.ศ. 2009โรงเรียนแห่งนี้เป็นหนึ่งในศูนย์ภายใต้เครือของมหาวิทยาลัยอัลมุศฏอฟาอัลอาละมียะฮ์และตั้งแต่ปี ค.ศ. 2009 เรียกโรงเรียนแห่งนี้ว่าศูนย์การศึกษาระดับอุดมศึกษานิติศาสตร์

 

#อ้างอิง
ناصرالشریعه، تاریخ قم، ۱۳۸۳ش، ص۴۱۱.
 ناصرالشریعه، تاریخ قم، ۱۳۸۳ش، ص۴۱۲.
ناصرالشریعه، تاریخ قم، ۱۳۸۳ش، ص۴۱۲-۴۱۳.
 محمودی، منبع شناخت، ۱۳۹۶ش، ج۲، ص۶۹۹.
 حسینی تهرانی،مهرتابان
 ناصرالشریعه، تاریخ قم، ۱۳۸۳ش، ص۴۱۱.
 ناصرالشریعه، تاریخ قم، ۱۳۸۳ش، ص۴۱۲.
 موحد ابطحی، آشنایی با حوزه‌های علمیه شیعه در طول تاریخ، ۱۳۶۵ش، ص۳۳۳.
 «مدرسه حجتیه قم تعیین حریم شد»، سایت میراث آریا.
 ناصرالشریعه، تاریخ قم، ۱۳۸۳ش، ص۴۱۱.
 «حجره‌های طلبگی»، ص۲۲.
شریف رازی، گنجینه دانشمندان، ۱۳۵۲ش، ج۱، ص۲۱۰.
 ناصرالشریعه، تاریخ قم، ۱۳۸۳ش، ص۴۲۳.
 طالعی، «فهرست نسخه‌های خطی کتابخانه مدرسه حجتیه قم...»، ص۸۳.
 طالعی، «فهرست نسخه‌های خطی کتابخانه مدرسه حجتیه قم...»، ص۸۳-۸۴.
 طالعی، «فهرست نسخه‌های خطی کتابخانه مدرسه حجتیه قم...»، ص۸۳-۸۴.
شیرخانی، «جایگاه قیام ۱۹ دی در روند پیروزی انقلاب اسلامی»، ص۱۶۱.
 شیرخانی، «جایگاه قیام ۱۹ دی در روند پیروزی انقلاب اسلامی»، ص۱۷۹.
 «آیت الله موسوی اردبیلی: امام می‌گفت نهضت آزادی آدم‌های مسلمان خوبی هستند...»، سایت تاریخ ایرانی.
 خسروشاهی، «چه باید کرد؟ دخالتی در معقولات»، ص۶.
 خسروشاهی، «چه باید کرد؟ دخالتی در معقولات»، ص۶.
 شیروانی، برنامه سلوک در نامه‌های سالکان، ۱۳۸۶ش، ص۳۹۵.
 نوائیان رودسری، «الگوی تحزب و مدارا»، ص۱۰.
 محمودی، منبع شناخت، ۱۳۹۶ش، ج۲، ص۶۹۹.
 محمودی، منبع شناخت، ۱۳۹۶ش، ج۲، ص۶۹۹-۷۰۱.