เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

สถาบันศึกษาศาสนาเมืองกุม(เฮาเซะฮ์อิลมีเยะฮ์กุม)

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

สถาบันศึกษาศาสนาเมืองกุม(เฮาเซะฮ์อิลมีเยะฮ์กุม)


เชคอิมรอน พิชัยรัตน์/เรียบเรียง


เฮาเซะฮ์อิลมีเยะฮ์กุม เป็นสถาบันศึกษาศาสนาที่ใหญ่ที่สุด ตั้งอยู่ในเมืองกุมสถาบันศึกษาฮะดีษแห่งเมืองกุม (ถัดจากเมืองกูฟะฮ์และแบกแดด) เป็นหนึ่งในสามสถาบันศึกษาฮะดีษที่เก่าแก่ในประวัติศาสตร์ทางวิชาการของโลกชีอะฮ์ ซึ่งได้รับการฟื้นฟูในศตวรรษที่ผ่านมาโดยอับดุลกะริมฮาอิริ ยัซดี ในปี ค.ศ.1922  ดังนั้นเขาจึงถูกเรียกว่า ผู้ก่อตั้งเฮาเซะฮ์อิลมีเยะฮ์กุม (สถาบันศึกษาศาสนาเมืองกุม)

สถาบันการศึกษาศาสนาแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นในรัชสมัยของเรซาชาห์ เนื่องจากการปิดสถาบันการศึกษาศาสนาของเตหะรานและนักวิชาการชีอะฮ์ได้ย้ายไปยังเมืองกุม

เฮาเซะฮ์อิลมีเยะฮ์กุม (สถาบันศึกษาศาสนาเมืองกุม) เกิดขึ้นด้วยความพยายามของผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่าน เช่น มีรซา มุฮัมหมัด เฟซ กุมมี, มุฮัมหมัด ตะกีบอฟะกี ยัซดี, มะฮ์ดี พออีน ชะฮ์รี กุมมี, มีรซา มุฮัมหมัด อัรบอบ กุมมี, มุฮัมหมัด ริฎอ ชะรีอัตมะดอร ซอวะญี และอีกหลายท่าน กระทั่งท่านอับดุลกะรีม ฮาอิรี ยัซดี ( รู้จักกันในนามว่าผู้ก่อตั้งเฮาเซะฮ์อิลมีเยะฮ์กุม (สถาบันศึกษาศาสนาเมืองกุม

ประวัติความเป็นมา
เมืองกุมถูกชาวมุสลิมยึดครองในปีฮ.ศ.ที่ 23 ช่วงบั้นปลายชีวิตของท่านอุมัร อิบนิ ค็อฏฏอบ และตามความเห็นของผู้เขียนบางคนจุดเริ่มต้นของชีอะฮ์ในหมู่ชาวเมืองกุมย้อนกลับไปหลังจากการเข้ามายังเมืองกุมของ(กลุ่มอัชอะรี)
โดยบุตรคนหนึ่งของ "มาลิก บิน อามิร อัชอารี" ชื่ออับดุลลอฮ์ และอับดุลลอฮ์มีบุตรชายชื่อ "สะอ์ด" เขามีบุตรชายสิบสองคนและพวกเขาเป็นนักรายงาน(รอวี)ของอิมามญะอ์ฟัร อัศซอดิก ในเมืองกูฟะฮ์ และลูกหลานของพวกเขากว่าหนึ่งร้อยคนที่เป็นนักรายงาน(รอวี)จากอิมามท่านอื่นของชีอะฮ์ ลูกชายทั้งห้าคนของสะอ์ดเข้าสู่เมืองในช่วงยุคฮัจญาจในเวลาเดียวกับที่อับดุรรอฮีม บิน มุฮัมหมัด บิน อัชอัษ- เอาชนะกองทัพฮัจญาจและมีบทบาทสำคัญในการขยายตัวของ ชีอะฮ์ในเมืองกุม

ในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษแรก มีความพร้อมในการก่อตั้งเฮาเซะฮ์อิลมีเยะฮ์กุม (สถาบันศึกษาศาสนาเมืองกุม) ซึ่งบรรดาอิมาม อะฮ์ลุลบัยต์ก็ได้แจ้งเกี่ยวสถาบันศาสนาแห่งเมืองกุมไว้ มีรายงานจากอิมามญะอ์ฟัร ซอดิก(อ.) ว่า
 “ในไม่ช้า เมืองกูฟะฮ์จะว่างเปล่าจากผู้ศรัทธา และความรู้จะถูกรวบรวมและรื้อออกจากมันเหมือนงูที่รวมตัวอยู่ในรังของมัน แล้วมันก็จะเผยออกมาในเมืองที่เรียกว่า กุม ที่แห่งนั้นจะเป็นศูนย์รวมแห่งความรู้และคุณธรรม ..." (บิฮารุลอันวาร เล่ม 60 หน้า 213)

เฮาเซะฮ์อิลมีเยะฮ์กุม (สถาบันศึกษาศาสนาเมืองกุม) เริ่มเป็นรูปเป็นร่างขึ้นในปีต่อๆ มา การมาของอิมามอาลี อิบนุ มูซา อิมามท่านที่แปดของชีอะฮ์ใน ฮ.ศ. ที่ 200 การต้อนรับของผู้คนบ่งชี้ถึงความเหมาะสมสำหรับการแพร่กระจายของวัฒนธรรมชีอะฮ์และหลักนิติศาสตร์ของลูกหลานศาสดามุฮัมหมัด

ในปี 201 หลังจากอิมามอาลี อิบนิ มูซา เดินทางสู่เมืองโคราซาน ท่านหญิงมะอ์ซูมะฮ์ บุตรีของ อิมามมูซา กาซิม ได้ออกเดินทางจากเมืองมะดีนะฮ์ไปยังเมืองโคราซาน แต่ท่านหญิงเสียชีวิตระหว่างทางและฝังอยู่ในเมืองกุม

การมาของท่านหญิงฟาติมะฮ์ มะอ์ซูมะฮ์ในเมืองกุม การมีฮะรัมของท่าน และจากนั้นการมาของบรรดาอิมามซอเดะฮ์จำนวนมากยังเมืองกุม ทำให้ชีอะฮ์แพร่หลายและมีบทบาทสำคัญในการเติบโตของสถาบันศาสนา (เฮาเซะฮ์อิลมีเยะฮ์) มีการปฏิสัมพันธ์กับบรรดานักวิชาการ นักรายงานฮะดีษและสานุศิษย์ของอิมามญะอ์ฟัร ซอดิก, อิมามมูซากาซิม และอิมามอะลี บิน มูซา
 
 ในศตวรรษที่ 5 และ 6 (ในสมัยเซลจุค) เมืองกุมเป็นศูนย์กลางขนาดใหญ่สำหรับนักนิติศาสตร์ (ฟุกอฮา)ชาวชีอะฮ์ และผู้คนจำนวนมากมาที่เมืองนี้เพื่อศึกษา

 ในช่วงยุคซาฟาวิด การสนับสนุนจากภาครัฐของซาฟาวิดต่อนักวิชาการชีอะฮ์ นำไปสู่การก่อตั้งและขยายสถาบันศึกษาศาสนา (เฮาเซะฮ์อิลมียะฮ์) ไปยังเมืองอิสฟาฮาน กระทั่งกลายเป็นสถาบันศาสนาที่ยิ่งใหญ่และสำคัญที่สุดของอิหร่านเลยทีเดียว ขณะเดียวกันภาครัฐให้ความสำคัญกับเมืองกุม และได้พัฒนาสถานศึกษาศาสนาขึ้นอย่างกว้างขวาง นักวิชาการชาวชีอะฮ์ที่ยิ่งใหญ่ เช่น มุลลาศ็อดรอ, มุห์ซิน เฟฎ กอชอนี, อัลลามะฮ์ลอฮีญี, เชคบะฮออี เคยศึกษาและสอนที่นั่น

เมืองกุมในยุคนั้นมีสถาบันศาสนาที่โด่งดัง มีโรงเรียนและนักเรียนศาสนาจำนวนมาก มีการเรียนการสอนวิทยาการอิสลามในด้านต่างๆ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ โรงเรียนฟัยซีเยะฮ์ (مدرسه فیضیه) ที่เกิดขึ้นในยุคซาฟาวิด

 ในช่วงการปกครองของกอจอร รัฐยังคงสนับสนุนนักวิชาการของชีอะฮ์ นำไปสู่การจัดตั้งและการขยายตัวที่ของสถาบันศาสนาเตหะรานขึ้น ในขณะที่สถาบันศาสนาเมืองกุมยังคงมีอยู่ แต่ก็ไม่ได้มีการจัดระเบียบและสอดคล้องกันมากนัก

หลังจากการเริ่มต้นการปกครองของเรซา ชาห์ สถาบันศาสนาแห่งเมืองเตหะรานถูกปิดตัวลง ด้วยการมาของอับดุลกะรีม ฮาอิรี ยัซดี ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของมีร์ซา ชิรอซี สถาบันศาสนาแห่งนี้ก็ได้รับการฟื้นฟู เขาถูกเรียกว่า "ผู้ก่อตั้งสถาบันศาสนาแห่งเมืองกุม"
 หลังจากการเสียชีวิตของอับดุลการีม ฮาอิรี ยัซดี ด้วยการมาของซัยยิด มุห์ซิน บุรูญัรดียังเมืองกุม จึงทำให้เมืองกุมเจริญรุ่งเรือง มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เกิดขึ้นภายในระยะเวลาอันสั้น โรงเรียน ห้องสมุด บทเรียน การถกวิชาการ สิ่งพิมพ์ และวิทยาการอิสลามด้านต่างๆ เข้าสู่ในระดับที่ลึกซึ้งและกว้างขวางยิ่งขึ้น ในช่วงที่ท่านยังมีชีวิตอยู่มีนักเรียนศาสนาในเมืองกุมมากกว่าหกพันคนเลยทีเดียว

 หลังจากชัยชนะของการปฏิวัติอิสลาม สถาบันศาสนาทั่วอิหร่านเข้าสู่เวทีการเมืองและเศรษฐกิจใหม่และขยายตัวอย่างมาก ขณะนี้มีนักเรียนชาวอิหร่านและชาวต่างชาติมากกว่า 40,000 คน นับวันสถาบันศาสนาแห่งเมืองกุมมีการพัฒนาและวิวัฒนาการด้านเทคโนโลกยีอย่างน่าสนใจทีเดียว

ระดับการศึกษา
เบื้องต้น (ประถม) = พอเยะฮ์ 1, 2 และ 3
ระดับ 1 (อนุปริญญา) = พอเยะฮ์ 4, 5 และ 6
ระดับ 2 (ปริญญาตรี) = พอเยะฮ์ 7 และ 8
ระดับ 3 (ปริญญาโท) = พอเยะฮ์ 9 และ 10
การศึกษาภายนอกระดับ 4 (ปริญญาเอก) = การศึกษาเหนือระดับ

 

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม