ตัฟซีรอัลมีซาน

ตัฟซีรอัลมีซาน


เชคอิมรอน พิชัยรัตน์/เรียบเรียง


อัลมีซาน ฟี ตัฟซีริลกุรอาน รู้จักกันว่า ตัฟซีรอัลมีซาน เป็นหนึ่งในตัฟซีรภาษาอาหรับของชีอะฮ์ที่ครอบคลุมและมีรายละเอียดมากที่สุดของอัลกุรอาน ซึ่งเขียนขึ้นในศตวรรษที่ 14 ของฮิจเราะห์โดย อัลลามะฮ์ ซัยยิดมุฮัมหมัด ฮุเซน ฏอบาฏอบาอีย์
#ผู้เขียน
ผู้เขียน: อัลลามะฮ์ ซัยยิดมุฮัมหมัด ฮุเซน ฏอบาฏอบาอีย์
อัลลามะฮ์ ซัยยิดมุฮัมหมัด ฮุเซน ฏอบาฏอบาอีย์ นักปรัชญา นักปราชญ์แนวมุตะอาลียะฮ์และนักอรรถาธิบายอัลกุรอานในปี ค.ศ. 1902 ท่านเกิดในหมู่บ้าน ชอดบอด เมืองตับรีซ สูญเสียพ่อแม่เมื่อตอนยังเป็นเด็ก ท่านกับน้องชาย มุฮัมหมัดฮะซํน อิลาฮี ฏอบาฏอบาอีย์  เข้าเรียนหนังสือระดับเบื้องต้นที่ศูนย์การเรียนรู้ ในปี ค.ศ. 1925 ท่านเดินทางไปเรียนต่อที่เมืองนะญัฟท่านได้เรียนกับนักวิชาการที่มีชื่อเสียง เช่น มุฮัมหมัดฮุเซน ฆอรอวี อิศฟะฮอนี (รู้จักกันในนามกุมพอนี, มุฮัมหมัดฮุเซน นออินี, ฮุจญัต กุฮ์กะมะรี, ฮุเซน บอดกูเบะอีย์, อะบุลกอซิม คอนซอรี และ ซัยยิดอาลี กอฎี
 หลังจากเรียนบรรลุถึงระดับอิจติฮาด ท่านได้เดินทางกลับไปยังบ้านเกิดที่เมืองตับรีซ ในปี ค.ศ. 1935 เนื่องจากปัญหาความขัดสน และหลังจากนั้นไม่นาน ท่านได้ออกเดินทางไปเมืองกุมในปี ค.ศ. 1946 และตั้งรกรากอยู่ในเมืองกุมกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต ขณะที่ท่านสอนวิชาปรัชญาและการอรรถาธิบายอัลกุรอานในสถาบันศาสนาแห่งเมืองกุม ท่านก็เขียนตัฟซีรอัลมีซานไปด้วยซึ่งใช้ความอุตสาหะเป็นเวลาเกือบยี่สิบปี กระทั่งแล้วเสร็จในค่ำคืนแห่ง อัลก็อดร์ ที่ 23 เดือนรอมฎอน ค.ศ. 1971.
อัลลามะฮ์ ฏอบาฏอบาอีย์ มีชื่อเสียงในการฟื้นฟูวิทยาการด้านปรัชญาและด้านปราชญ์(ฮิกมัต)ของชีอะฮ์และหลักคำสอนของอิสลามที่แท้จริง ความพยายามของศาสตราจารย์ เฮนรี่ คอร์บิน ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ในฝรั่งเศส ในการพบปะและอภิปรายกับ อัลลามะฮ์ฏอบาฏอบาอีย์ เป็นเครื่องพิสูจน์ถึงชื่อเสียงทางวิทยาการของท่านในยุคนั้น ท่านเสียชีวิตเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1986 และร่างของท่านถูกฝังในมัสยิดบอลอซัร ฮะรัมท่นหญิงมะอ์ซูมะฮ์ เมืองกุม นอกเหนือจากตัฟซีรอัลมีซีน แล้ว ผลงานอื่นๆ ของท่าน ได้แก่ "อุซูลฟัลสะเฟะฮ์ วะ ระวิชเช ริออลิสม์, บิดายะตุลฮิกมะฮ์, ชีอะฮ์ ดัร อิสลาม
#แนะนำตัฟซีร
พื้นฐานของงานของ ตัฟซีรอัลมีซาน นั้นอยู่บนพื้นฐานของกฎที่ว่า "อัลกุรอานอรรถาธิบายซึ่งกันและกัน” ตามหลักการของ "การอรรถาธิบายอัลกุรอานด้วยคัอัลกุรอาน" หมายความว่าเกณฑ์แรกในการอรรถาธิบายอัลกุรอานคืออัลกุรอานเอง โดยใช้โองการอัลกุรอานที่แข็งแกร่งมาอรรถาธิบายโองการอื่นๆ ที่ยากและมีความหมายที่คลุมเครือ และจัดให้สาเหตุการประทาน ทัศนะของนักอรรถาธิบายอัลกุรอาน รายงาน(ริวายัต)ต่างๆอยู่ใน ในระดับที่สองของความน่าเชื่อถือ
 อัลลามะฮ์ ฏอบาฏอบาอีย์ เชื่อว่าเมื่อคัมภีร์อัลกุรอานอ้างว่า تِبْیاناً لِکُلِّ شَیْ‏ءٍ  “อธิบายแก่ทุกสิ่ง” " เป็นไปได้อย่างไรที่อัลกุรอานยังต้องการสิ่งอื่นที่นอกเหนือจากตัวมันเองมาอธิบายเจตนารมณ์และเป้าหมายของตนเอง อัลกุรอานไม่มีเนื้อหาที่คลุมเครือจนต้องเข้าใจอัลกุรอานด้วยความช่วยเหลือจากสิ่งไม่ใช่อัลกุรอาน ทว่าต้องรู้จักอัลกุรอานด้วยอัลกุรอานเอง เหมือนดังที่เห็นแสงด้วยแสง อัลลามะฮ์ ฏอบาฏอบาอีย์ เขียนไว้ในส่วนของบทนำตัฟซีรอัลมีซาน ว่า :
 อัลกุรอานถือว่าตัวเองเป็นคำอธิบายแก่ทุกสิ่ง แล้วเป็นไปได้อย่างไรที่ไม่อาจอธิบาย ตนเองได้? คัมภีร์อัลกุรอานแนะนำตัวเองว่าเป็นทางนำแก่ผู้คน และแยกแยะความ จริงออกจากความเท็จ และกล่าวว่า "هُدًى لِّلنَّاسِ وَبَيِّنَاتٍ مِّنَ الْهُدَى وَالْفُرْقَانِ " “เป็น ทางนำสำหรับมนุษย์ และเป็นหลักฐานอันชัดเจนเกี่ยวกับทางนำและจำแนกระหว่าง ความจริงกับความเท็จ”แล้วเป็นไปได้อย่างไรที่เป็นทางนำ เป็นหลักฐาน เป็นสิ่ง จำแนก ความจริงออกจากความเท็จ เป็น แสงสว่างแก่ผู้คนในทุกด้านของการใช้ชีวิต  แต่กลับไม่นำทาง ไม่เป็นหลักฐาน ไม่จำแนกความจริงออกจากความจริง ไม่มีแสง  ในเวลาที่ตนเองต้องการที่สุดนั่นคือ เข้าใจอัลกุรอานเอง? คัมภีร์อัลกุรอานได้แจ้งข่าว ดีแก่ทุกคนที่ต่อสู้ในแนวทางของอัลลอฮ์ ว่าจะนำทางพวกเขาไปสู่วิถีทางของเราเอง  และอัลกุรอานได้กล่าวว่า “وَالَّذِينَ جَاهَدُوا فِينَا لَنَهْدِيَنَّهُمْ سُبُلَنَا” “ส่วนบรรดาผู้ พากเพียรต่อสู้(ด้วยความบริสุทธิ์ใจ)ในวิถีทางของเรานั้น เรจะนำทางพวกเขาสู่แนวทาง ของเรา” แต่กลับไม่ชี้นำในการต่อสู้ที่สำคัญที่สุดนั่นคือ การเข้าใจพระวจนะของพระ เจ้าของพวกเขา?
 วิธีนี้ ผู้เขียนได้ยกโองการต่างๆของซูเราะฮ์หนึ่งที่มีบริบทเดียวและอธิบายคำศัพท์ แง่มุมของที่มาของคำและหัวข้อเกี่ยวกับคำศัพท์ จากนั้นในส่วน "คำอธิบายของโองการ" จะอธิบายทีละโองการโดยทำการอรรถาธิบายและอธิบายความหมาย และ - เมื่อจำเป็น - ท่านจะอ้างอิงและวิพากษ์วิจารณ์ความคิดเห็นของนักอรรถาธิบายอัลกุรอานที่ยิ่งใหญ่ทั้งชีอะฮ์และซุนนี ในตอนท้าย

ท่านได้ให้พื้นที่ส่วนที่ชื่อว่า "เรื่องการรายงาน(ริวายัต)" เพื่อนำมาพิจารณาและวิพากษ์วิจารณ์ริวายัตของทั้งสองฝ่ายเกี่ยวกับโองการนั้น นอกจากนี้ในระหว่างการอรรถาธิบายผู้เขียนได้วิเคราะห์เชิงพรรณนาด้วยแนวทางปรัชญา สังคม ประวัติศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์ ซึ่งโดยรวมแล้วเป็นการอรรถาธิบายโองการนั้นๆ ต่อเนื่องอย่างสมบูรณ์
 ตามความคิดเชิงปรัชญาของอัลลามะฮ์ ฏอบาฏอบาอีย์ การอรรถาธิบายอัลกุรอานของท่านจะพบว่าโน้มเอียงไปทางเชิงปรัชญามากกว่า แม้ว่าท่านจะพยายามไม่ออกนอกกรอบของอัลกุรอานและขอบข่ายของเหตุผลทางด้านของคำและความหมายของโองการต่างๆ ท่านมีความละเอียดอ่อนในและความเชี่ยวชาญอย่างน่าทึ่งโดยจะเห็นได้ว่าในตัฟซีรอัลมีซานท่านวางโองการที่มีบริบทเดียวกันไว้ด้วยกัน แล้วนำเสนอเหตุผลทางด้านปัญญาและอ้างถึงข้อพิสูจน์ของอัลกุรอาน มาอธิบายความสหมายและกล่าวตัวอย่าง(มิศดาก)ไว้ด้วย ตัฟซีรอัลมีซาน เนื่องจากด้านวิชาการ ความเชี่ยวชาญในวิธีการและความแม่นยำของการนำเสนอ จึงเป็นตัฟซีรที่ได้รับความสนใจทั้งซุนนีและชีอะฮ์ในอิหร่านและโลกอิสลามเสมอมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในอิหร่านและโลกอิสลาม
 ว่ากันว่าในการเขียน ตัฟซีรอัลมีซาน ท่านได้อ่าน บิฮารุลอันวาร สามรอบ ซึ่งเป็นตำราฮะดีษชีอะฮ์ที่ใหญ่ที่สุด และไม่เหมือนกับวิธีการของบรรดานักรายงาน(อัคบารียูน) โดยท่านให้ความสนใจทั้งการตรวจสอบสายรายงานของฮะดีษและริวายัตต่างๆ ของพี่น้องซุนนีจากนั้นก็ตรวจสอบความหมายของฮะดีษ
ความคิดเห็นของนักวิชาการเกี่ยวกับตัฟซีรอัลมีซาน
 อายาตุลลอฮ์ ญาวาดี ออมุลี: "ตัฟซีรอัลมีซาน” ในหมู่ตัฟซีรแล้วประดุจดัง “ญาฮิรุลกะลาม” ที่ได้ชดเชยข้อบกพร่องของอดีต - ความผิดพลาดและข้อบกพร่อง - และเป็นพื้นฐานสำหรับการค้นคว้าต่อไปในอนาคต - ในการทำให้ครบถ้วนสมบูรณ์"
 อัลลามะฮ์ ฮะซันซอเดะฮ์ ออมุลี: ตัฟซีรอัลมีซาน เป็นแหล่งความภาคภูมิใจของโลกแห่งวิชาการ เป็นหนึ่งในผลงานที่ยอดเยี่ยวและและถือเป็นแม่แห่งตำราของการประพันธ์ ตัฟซีรนี้คือเมืองแห่งปัญญาและเมืองในอุดมคติเลยทีเดียว
 ชะฮีดมุฏอฮารี: หนึ่งร้อยปีต่อไปผู้คนจะเห็นคุณค่าของตัฟซีรนี้
 ออกอ โบโซร์เตฮ์รอนี: หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือสารานุกรมขนาดใหญ่เกี่ยวกับการอรรถาธิบายอัลกุรอาน ซึ่งเขียนขึ้นในรูปแบบที่หนักแน่นแนวปรัชญา
 นูรี ฮัมดานี: ไม่มีตัฟซีรใดที่ครอบคลุมเหมือนดั่งอัลมีซาน เพราะอัลลาเมห์ได้กล่าวถึงทุกสิ่งที่ควรกล่าวไว้แล้ว
#ภาษาที่แปลตัฟซีรอัลมีซาน
ต้นฉบับตัฟซีรอัลมีซานเขียนเป็นภาษาอาหรับ มีทั้งหมดยี่สิบเล่ม
 อิสตันบูล: ตัฟซีรอัลมีซาน กำลังได้รับการแปลเป็นภาษาตุรกีและตีพิมพ์ในตุรกีโดยสำนักพิมพ์เกาษัรของตุรกี และจนถึงตอนนี้ 14 เล่มแรกได้รับการแปลและตีพิมพ์แล้ว
 ภาษารัสเซีย: อับกุลการีม ตอรอส นักวิจัยและนักแปลชาวรัสเซีย ได้แปล ตัฟซีรอัลมีซานเป็น 5 เล่มแรก โดยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยอัลมุศฏอฟาอัลอาละมียะฮ์
 ภาษาอังกฤษ: เจ็ดเล่มแรกของตัฟซีรอัลมีซานทำออกเป็น12 เล่ม แปลโดย ซัยยิดสะอีด อัคตัร รอฎอวี โดยได้รับการสนับสนุนจาก World Institute of Islamic Services หลังจากการตายของนักแปลลูกชายของเขาก็ได้แปลเล่มที่ 13

อ้างอิง
ت‍رج‍م‍ه ت‍ف‍س‍ی‍رال‍م‍ی‍زان. ت‍ال‍ی‍ف سید م‍ح‍م‍دح‍س‍ی‍ن طب‍اطب‍ایی/، ت‍رج‍م‍هٔ سید م‍ح‍م‍دب‍اق‍ر م‍وس‍وی‌ه‍م‍دان‍ی، دفتر انتشارات اسلامی، قم: ۱۳۸۲.
درباره تفسیر المیزان. بهاءالدین خرمشاهی، نشر دانش، آذر و دی ۱۳۶۰، شماره ۷. بازبینی شده در ۲۶ فوریه ۲۰۱۲.
م‍ه‍ر ت‍اب‍ان. ی‍ادن‍ام‍هٔ ع‍لام‍ه سید م‍ح‍م‍دح‍س‍ی‍ن طب‍اطب‍ایی، ت‍أل‍ی‍ف سید م‍ح‍م‍دح‍س‍ی‍ن ح‍س‍ی‍ن‍ی‌طه‍ران‍ی/، انتشارات نور ملکوت قرآن، مشهد: ۱۴۲۶ هـ.ق. (بخشی از متن کتاب)
دانشنامه قرآن و قرآن پژوهی. بهاءالدین خرمشاهی، نشر دوستان ـ ناهید، تهران: ۱۳۸۱.
تفسیر و مفسران. آیت‌الله محمد هادی معرفت، نشر تمهید، قم: ۱۳۸۸، جلد ۲، ص ۴۹۷.
شمس‌الوحی تبریزی (سیرهٔ عملی علامه طباطبایی). آیت‌الله جوادی آملی، نشر اسراء، قم: ۱۳۸۶.