ทำความรู้จักกับ นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์

ทำความรู้จักกับ นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์

 

       นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์  แปลว่ามันฮัจแนวทางแห่งบะลาเฆาะฮ์สำนวนโวหารอันสูงส่ง  ซึ่งตำราเล่มนี้คือหนึ่งในแหล่งอ้างอิงของสายธารแห่งอะฮ์ลุลบัยต์(อ) โดยได้รวบรวมเอาบางส่วนของคำพูดของท่านอิมามอะลี(อ)ที่มีสำนวนโวหารย์สูงส่งเอาใว้ ซึ่งท่านซัยยิดรอฏีย์ ศิษย์คนสำคัญของท่านเชคมุฟีดได้รวบรวมใว้ในตอนปลายศตวรรต ๔๐๐ของปีฮิจเราะฮ์ ซึ่งแบ่งออกเป็นสามส่วนด้วยกันคือ ๑ คุฏเบาะฮ์หรือคำปราศรัย ๒ ริซาละฮ์หรือจดหมาด

๓ คำพูดสั้นๆหรือช๊อตเวิร์ด

      เนื้อหาส่วนใหญ่ของคุฏเบาะฮ์หรือคำปราศรัยนั้นจะเกี่ยวกับ หลักเอกภาพเตาฮีด,การมะอฺริฟะฮรู้จักอัลเลาะฮ์(ซบ), การรู้จักศาสดาและมะกอมตำแหน่งอันสูงส่งของท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ)  ,เรื่องราวเกี่ยวกับอัลกุรอ่าน, การเมืองการปกครองและสังคมของโลกอิสลาม, การชิญชวนอุมมัตอิสลามเข้าสู่การญิฮาดและสละชีพพื่ออิสลามและพระผู้เป็นเจ้า

 

   จดหมาย ซึ่งท่านอิมามได้เขียนเองมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในอิสลาม โดยจะส่งให้กับมิตรหรือคนใกล้ชิด และแม้แต้ศรัตตรูอย่างมุอาวียะฮ์ท่านก็มีจดหมาดโต้ตอบ,  บางครั้งก็เป็นจดหมายแต่งตั้งหรือปลดเจ้าหน้าที่รัฐในระดับต่างๆ โดยในจดหมายต่างๆเหล่านี้ท่านอิมามได้แนะนำหลักการเมืองการปกครองที่ดีที่สุดในการปกป้องรัฐและการดูแลรักษาสิทธิของประชาชนในทุกเหล่าชั้น โดยเฉพาะ มุสตัฏอะฟีนผู้ถูกกดขี่,ผู้อ่อนแอยากไร้ในสังคม  นอกเหนือจากนั้นจดหมายบางฉบับก็ได้เน้าย้ำถึงมารยาทในการปกครองรวมทั้งด้านการดูแลอบรม,ด้านจริยธรรมอัคลาก,ด้านหลักการศรัทธาในอิสลาม

 

       ส่วนคำพูดสั้นๆหรือช๊อตเวิร์ดนั้น จะประกอบไปด้วยประโยคเพียงสองสามประโยคสั้นๆเท่านั้น ทว่าความหมายของมันจะลึกซึ้งเป็นอย่างมาก ในบางครั้งบางประโยคต้องอธิบายกันเป็นหลายหน้าหนังสือเลยทีเดียว  โดยส่งนมากแล้วจะเป็นการนะศีฮัตตักเตือนและแนะนำในด้านการตัรบียะฮ์อิสลาม,หลักในการไช้ชีวิตในแบบที่สูงส่งที่มนุษย์ควรจะมีหรือการมีศรัทธาที่ถูกต้อง   ด้วยเพราะความล้ำลึกและสูงสงในสำนวนโวหารย์และความหมาย อุลามาจึงให้สมยานามนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ว่า “เป็นคำพูดที่รองจากคอลิก  แต่สูงส่งกว่ามัคโล๊ก”

 

  และด้วยความลึกล้ำสูงส่งของนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์นี่เองเหล่าศรัตตรูที่หัวใจมืดบอดจึงสร้างชุบฮะฮ์ข้อคลางแครงส่งสัยต่างๆนาๆขึ้นมาเพื่อทำลายความน่าเชื่อถือของนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์  เพราะมันคือสิ่งหนึ่งที่จะพิสูจน์ให้เห็นสัจธรรมของชีอะฮ์   โดยข้อฟิตนะฮ์ที่ยอดนิยมที่สุดนั่นก็คือ นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ไม่ไช่คำพูดของท่านอิมามอะลี(อ) เพราะไม่มีสะนัดที่สืบถึง

 

   ในช่วงท้ายนี้เราจะมาตอบฟิตนะฮ์นี้โดยคร่าวๆพอสังเข็บ ซึ่งจะขอยกคำยืนยันจากอุลามาซุนนีย์มาตอบเรื่องนี้สองท่าน  และที่เลือกอุลามาซุนนีย์ก็เพราะต้องการจะให้วะฮาบีย์ที่หัวใจป่วยใข้ได้เข้าใจในความโง่เขลาของตนเองอย่างลึกซึ้งที่สุด

 

อิบนุ อะบิลฮะดีด อัลมุอฺตะซิลีย์ยืนยันความน่าเชื่อถือของนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์

อิบนุ อะบิลฮะดีด จากศตวรรตที่๗  อุลามาซุนนีย์ผู้เป็น ฟะกีฮ์ อะดีบ(ผู้เชี่ยวชาญภาษา) มุตะกัลลิม(นักวิภาษวิทยา)คือคนแรกที่ทำการอรรถาธิบายนะฮ์ญุลบะลาเฆาะในประวัติศาสตร์ของโลกอิสลามได้ตอบคำถามในเรื่องสะนัดสายรายงานของนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ในหนังสือ “ชะเราะฮ์นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์”ของตน ดังนี้

 

     “พวกตามฮะวานัฟซูจำนวนหนึ่งได้กล่าวอ้างว่า ส่วนมากของนะฮืญุลบะลาเฆาะฮ์นั้นไม่ไช่คำพูดที่มาจากท่านอะลี(อ) แต่เป็นของคนเก่งสำนวนโวหารย์จากพวกชีอะฮ์เช่น ซัยยิดรอฏีย์เป็นคนแต่งขึ้นมาแล้วอ้างเป็นคำพูดท่านอะลี

     คนพวกที่กล่าวอ้างเช่นนี้คือพวกที่ดวงตาของเขามืดบอดด้วยความอคติ จนออกจากแนวทางที่เที่ยงตรง  พวกเขาเป็นพวกไม่มีความเข้าใจในหลักการพูดการไช้ภาษาแม้แต่น้อย  และฉัน(อิบนุอะบิลฮะดีด)จะขอพูดเพียงสั้นๆเพื่อชี้ให้เห็นถึงความผิดพลาดของพวกเขา

  ท่านทั้งหลายที่สงสัยในนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์นั้นมีความเป็นไปได้เพียงสองรูปแบบเท่านั้นคือ ๑ ทั้งหมดของนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ไม่ได้มาจากท่านอะลี(อ)

๒ บางส่วนของนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ไม่ไช่ของท่านอะลี(อ)

 

   ในรูปแบบแรกนั้นเป็นโมฆะชัดเจน เพราะสายรายงานบางคำกล่าวของท่านอะลี(อ)นั้นมีรายงานมาอย่างเป็นมุตะวาฏิร ซึ่งเราสามารถมั้นใจได้ ทั้งหมดหรือส่วนมากของนักฮะดีษและนักประวัติศาสตร์ก็ได้รายงานบทคำปราศัยที่มีมาในหนังสือนะญุลบะลาเฆาะฮ์เหมือนกัน ในขณะที่พวกเขาเหล่านั้นไม่ไช่ชีอะฮ์  ดังเราจึงเป็นไปไม่ได้เลยที่เราจะกล่าวว่าพวกเขาเหล่านั้นมีเจตนาที่ไม่ดีแอบแฝงอยู่

ส่วนในรูปแบบที่สอง ที่อ้างว่าบางส่วนไม่ไช่คำพูดของท่านอะลี(อ)นั้นก็เป็นโมฆะเช่นกัน  เพราะผู้ที่มีความเชี่ยนวชาญในภาษาในวิชา บะยาน การบรรยายและมีความลึกซึ้งในสำนวนโวหารย์อารับ  ก็จะสามรถแยกแยะได้ทันทีว่าคำพูดใหนที่ ฟะศีฮ์ และคำกล่าวใหนที่ ฟะศีฮ์กว่า     หากนำบทเขียนมาให้กับผู้เชี่ยวชาญแล้วกล่าวว่า มันเป็นของนักเขียนหลายคนทั้งที่มันเป็นผลงานของคนเพียงสองคนเขาก็จะสามารถรู้และแยกแยะออกจากกันได้อย่างง่ายดาย

ตัวอย่างเช่นในกลอนของ อะบูตัมมาม  หากมีใครสอดแทรกส่วนที่ไม่ไช่เข้าไป ผู้ที่เชี่ยวชาญในบะลาเฆาะฮ์และภาษาเขาก็จะแยกแยะออกมาได้โดยง่ายดาย  และหากพวกท่านได้พิจจารณาในนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ ก็จะพบว่าทั้งหมดนั้นมันพร้อมเพรียงอยู่ช่วงทำนองในแนวเดียวกันประหนึ่งน้ำที่ออกมาจากตาน้ำเดียวกัน

  นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์นั้นคลายกับอัลกุรอ่านอันสูงส่งตรงที่ว่า เริ่มตนของมัน ตรงกลางของมัน และตอนท้ายของมันนั้นมีความสอดคลองในแนวทางและเป็นช่วงทำนองเดียวกันทั้งหมด  ดังนั้นหากทั้งหมดของนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์หรือบางส่วนของมันไม่ได้มาจากท่านอะลี(อ)มันก็จะไม่อยู่ในแนวทางและช่วงทำนองเดียวกันอย่างแน่นอน  ซึ่งนี้คือสิ่งที่พิสูจน์ให้เห็นอย่าชัดเจนว่าผู้ที่เคลือบแคลงในสายรายงานและความน่าเชื่อถือของนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์คือคนที่หลงทางอย่างชัดแจ้ง”


ชะเราะฮ์นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์เล่มที่ ๑๐ หน้า๑๒๗

 

เขคมุฮัมมัด อับดุฮ์ยืนยันว่านะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์คือคำพูดของท่านอะลี(อ)

  เชคมุฮัมมัด อับดุฮ์ อดีตมุฟตีซุนนีย์อียิป และมีแนวคิดหัวก้าวหน้าซึ่งขัดแย้งกับบรรดาเชคแห่งอัลอัซฮัรจนเป็นที่นิยมนับถือของเหล่าวะฮืบีย์สะละฟีย์ได้กล่าวในบทนำ หนังสือชะเราะฮ์นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ของตนดังนี้

 

'... ذلك الكتاب الجليل، هو جمله ما اختاره السيد الشريف الرضى رحمه الله من كلام سيدنا و مولانا اميرالمومنين على بن ابى طالب "كرم الله وجهه" جمع متفرقه و سماه هذا الاسم 'نهج البلاغه' و لا اعلم اسما اليق بالدلاله على معناه منه و ليس فى وسعى ان اصف هذا الكتاب بازيد مما دل عليه اسمه و لا ان آتى بشى ء فى بيان مزبته فوق ما اتى به صاحب الاختيار':

 

.....หนังสืออันทรงคุณค่าเล่มนั้นที่ได้ถูกเลือกจากคำพูดของเมาลานา อะมีรุลมุอฺมินีนอะลี บินอะบีฏอลิบโดย ท่านซัยยิดรอฏีย์ รอฮิมะฮุลลอฮ์และรวบรวมมันใว้ที่เดียวกันไม่ให้กระจัดกระจาย โดยได้ตั้งชื่อมันว่า “นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์” ซึ่งไม่มีนามใดจะเหมาะสมและมีความหมายสมบูรณ์ไปกว่านี้แล้ว  และขาพเจ้าก็ไม่มีความสามารถที่จะพรรณาไช้นามอื่นแทนมันได้นอกนามที่ผู้รวบรวมมันได้ตั้งให้แล้ว.

นี่คือนะญุลบะลาเฆาะฮ์โดยสังเขปสำหรับพวกวะบีโง่เขลาหัวใจมืดบอด หากคอลีฟะฮ์อื่นมีดีก็น่าจะเอามาอวดกันบ้าง แต่เพราะมันไม่มีด้อะไรให้ปลื้มก็จึงจำเป็นต้องดิสเครดิตชีอะฮ์อย่าให้มีอะไรดีกว่าพวกมัน


เชคมาลีกี อัสศอรุบะนีซะฮ์รอ