เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

อิสลามกับประชาธิปไตย (ตอนที่7)

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

อิสลามกับประชาธิปไตย (ตอนที่7)


ฮุจญะตุลอิสลาม ดร. นัศรุลลอฮ์ สิคอวะตี ลอดอนี/เขียน
เชคอิมรอน พิชัยรัตน์/แปล
ประชาธิปไตยมีพื้นฐานมาจากแนวคิดของอิสลามหรือไม่?
ในการหารากเหง้าของแนวคิดประชาธิปไตยนั้น สิ่งที่กล่าวมานั้นเป็นเสียงที่ดังมากขึ้น แต่ถ้าเราพิจารณาประชาธิปไตยในแง่ของการมีส่วนร่วมของประชาชน เสรีภาพจากการกดขี่และการปกครองแบบเผด็จการ ความเท่าเทียมกันของโอกาสสำหรับประชาชน และสุดท้ายสิ่งที่เรารู้กันในบางคำจำกัดความ รากเหง้าของประชาธิปไตยที่แท้จริงก็คือ การเกิดขึ้นของอิสลาม และก่อนหน้านั้นมันย้อนไปถึงสมัยที่มีการส่งศาสดา เพราะการถือกำเนิดของศาสดาแต่ละท่านนั้น เป็นการกีดกันผู้คนให้ออกห่างจากทรราช(ฏอฆูต)และนมัสการพระเจ้าเพียงพระองค์เดียว ภราดรภาพ และความเท่าเทียมกันอย่างสมบูรณ์
 ในประวัติศาสตร์ เราจะเห็นได้ว่าศาสดาทุกท่านต้องการและยืนกรานให้ประชาชนยอมรับการเป็นบ่าวของพระเจ้า เพื่อที่ว่าผลแทนจากการเป็นบ่าวนี้ บรรดาศาสดา(อ.) จะทำให้โลกนี้และปรโลกของพวกเขาเจริญรุ่งเรือง ทั้งที่มีน้อยคนนักไม่เชื่อวาทกรรมที่แสวงหาสัจธรรมนี้จากบรรดาศาสนทูตของพระเจ้า แต่มีเพียงบางสังคมที่ปฏิบัติตามคำเรียกร้องของบรรดาศาสดา และเดินตามแนวทางของพวกเขา เพราะโจรของเส้นทางนี้คือมารและผู้ปกครองเผด็จการที่ไม่สามารถละสายตาจากอำนาจการปกครองของพวกเขาไปได้ และไม่ต้องการแม้แต่ชั่วขณะให้มนุษย์เป็นผู้ควบคุมชะตาชีวิตของตน พวกเขาจะต่อสู้กับบรรดาศาสดาและประชาธิปไตยที่แท้จริง และใช้ทุกวิถีทางเพื่อเอาชนะมัน น่าเสียดายที่ต้องบอกว่า พวกมารและผู้ปกครองเผด็จการมักได้รับชัยชนะและผู้คนทิ้งบรรดาศาสดาไว้ตามลำพัง!
 ดังนั้นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับอำนาจอธิปไตยของประชาชนและประชาธิปไตยคืออำนาจอธิปไตยของทรราช และทรราชหมายถึงอำนาจอธิปไตยนอกกฎหมาย เนื่องจากอำนาจอธิปไตยของพระเจ้าและศาสดาของพระองค์ถูกต้องตามกฎหมายโดยพื้นฐานแล้วจึงไม่มีปัญหากับอธิปไตยของมนุษย์ ประเภทที่สมเหตุสมผลและเป็นที่ยอมรับได้มากที่สุดก็คือสิ่งนี้ที่เป็นอำนาจอธิปไตยที่สมบูรณ์ ดังนั้น ประชาธิปไตยที่แท้จริงคือระบอบที่ปราศจากการกดขี่และการกดขี่ทุกรูปแบบ ลักษณะที่จำเป็นเพียงอย่างเดียวสำหรับอำนาจอธิปไตยนี้คือการศึกษาของประชาชนและกระบวนการเรียนรู้ในทิศทางนี้ เพื่อให้ผู้คนได้เข้าใจและยอมรับว่าพวกเขาควรมีเป้าประสงค์ในแนวยาวเดียวกับพระประสงค์ของพระเจ้าผู้ทรงฤทธานุภาพ ไม่ใช่มีเป้าประสงค์ในแนวขนานและตรงข้ามกัน
 ดังที่เราจะอธิบายในภายหลัง ความแตกต่างที่สำคัญและพื้นฐานเพียงอย่างเดียวระหว่างสิ่งที่เรียกว่าประชาธิปไตยในปัจจุบันกับประชาธิปไตยทางศาสนาคือประเด็นนี้ ในระบอบประชาธิปไตยถือว่าสิ่งที่ประชาชนต้องการนั้นถูกต้องตามกฎหมายและเป็นที่น่าเชื่อถือ ไม่ว่าจะสอดคล้องกับพระประสงค์ของพระเจ้าหรือขัดต่อมัน แต่ในสังคมที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยศาสนา เจตจำนงของประชาชนถูกต้องตามกฎหมายและยอมรับได้ก็ต่อเมื่อประชาชนไม่พูดว่า “แม้ว่าพระเจ้าจะทรงประสงค์เช่นนั้น เราจะเรียกร้องสิ่งที่ตรงกันข้ามกับมัน”การตัดสินเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่ที่ประชาชนเองเช่นกัน
ด้วยการอธิบายนี้ เป็นที่ชัดเจนว่าศาสดาทุกท่าน ไม่ว่าพวกเขาจะเป็นอิมามหรือศาสนทูต หรือเป็นเพียงศาสดา ต่างก็ต้องการให้ประชาชนมีการปกครองและอธิปไตยกำหนดชะตากรรมของตนเอง อัลลอฮ์ (ซบ.) ตรัสไว้ในซูเราะฮ์อัชชุอะรอหลายครั้งจากคำกล่าวของบรรดาศาสดา(อ.) ว่า
فَاتَّقُوا اللَّهَ وَأَطِيعُونِ ﴿۱۰۸﴾
“ดังจงยำเกรงอัลลอฮ์และเชื่อฟังปฏิบัติตามฉันเถิด”
แล้วผลของการเชื่อฟังปฏิบัติตามนี้ จะเป็นความดีทั้งโลกนี้และโลกหน้าอีกทั้งเผยให้เห็นคุณเห็นถึงประชาธิปไตยที่แท้จริง
เช่น กรณีต่างๆ ที่กล่าวถึงได้ในประวัติศาสตร์ของระบอบประชาธิปไตยทางศาสนาและภูมิหลังของประชาธิปไตยตามความหมายข้างต้น คือการปกครองของบรรดาศาสดา เป็นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับศาสดามูซา อัลลอฮ์ (ซบ.) ได้ฉายภาพแนวทางของประชาธิปไตยของศาสดามูซา(อ.)ในการเผชิญหน้ากับเผด็จการของฟาโรห์ในช่วงต้นของซูเราะฮ์อัชชุอะรอไว้อย่างสวยงามและน่าทึ่งเป็นอย่างมาก ที่ฟาโรห์ได้รวบรวมประชาชนทั้งหมดและเรียกนักเวทย์มนตร์ บรรดานักพรตในอาณาจักรภายใต้อิทธิพลของเขาเพื่อให้ต่อสู้กับศาสดามูซา(อ.)
 “หวังว่าพวกเราจะได้ปฏิบัติตามนักไสยศาสตร์เหล่านั้น หากพวกเขา
         เป็นผู้พิชิต
 เมื่อนักไสยศาสตร์เหล่านั้นมาถึง พวกเขาได้พูดกับฟิรอูนว่า “พวกเรา
         จะได้รับรางวัลหรือเปล่า หากพวกเราเป็นผู้พิชิต
 เขา(ฟิรอูน) พูด(ตอบ)ว่า “ใช่ซิ เมื่อนั้นพวกเจ้าจะได้เป็นส่วนหนึ่งของ
         บรรดาผู้ใกล้ชิด”
 มูซากล่าวกับพวกเขาว่า “จงขว้างสิ่งที่พวกท่านเคยเป็นผู้ขว้างมาก่อน”
 แล้วพวกเขาก็ได้ขว้างเชือกขดและไม้เท้าของพวกเขาออกไป โดย
        กล่าวว่า ด้วยเกียรติศักดิ์แห่งฟิรอูน พวกเราต้องเป็นผู้พิชิต”
 แล้วมูซาก็ได้ขว้างไม้เท้าของเขาออกไป เมื่อนั้นมันก็ได้(กลายเป็นงู
        ใหญ่) เขมือบสิ่งที่พวกเขาได้อุปโลกน์ขึ้นมา
 นักไสยศาสตร์เหล่านั้นจึงเป็นผู้กราบกราน(โดยไม่รู้ตัว)
 พวกเขากล่าวว่า “เราศรัทธาต่อพระผู้อภิบาลแห่งสากลจักรวาล”
 พระผู้อภิบาลของมูซาและฮารูน
 เขา(ฟิรอูน) พูด (อย่างเกรี้ยวกราด)ว่า พวกเจ้ามีศรัทธาก่อนที่ข้าจะ
        อนุญาตพวกเจ้ากระนั้นหรือ? เขาต้องเป็นผู้อาวุโสของพวกเจ้าที่ได้
         สอนเรื่องไสยศาสตร์ให้พวกเจ้ามาก่อนเป็นแน่  แล้วพวกเจ้าจะได้รู้กัน
         ขอสาบานข้าจะตัดมือและเท้าของพวกเจ้าสลับข้างกันและตรึงพวก
        เจ้าทั้งหมด
 พวกเขากล่าว(ตอบ)ว่า ไม่เป็นไรหรอก พวกเราเป็นผู้ผินกลับยังพระผู้
        อภิบาลของพวกเราแล้ว
 พวกเรามีความหวังต่อการที่พระผู้อภิบาลจะทรงอภัยโทษความผิดของ
        พวกเรา เพราะพวกเราได้เป็นผู้ศรัทธากลุ่มแรก”
 เราจะปล่อยให้ผู้อ่านที่เคารพตัดสินเองว่า จะพบประชาธิปไตยที่แท้จริงนอกเหนือจากคำสอนของบรรดาศาสดาหรือในคำสอนของบรรดาศาสดา ซึ่งเพียงบทเรียนเดียวสามารถยืนหยัดต่อสู้กับเผด็จการที่น่ากลัวของฟาโรห์ กระทั่งผู้ศรัทธาได้พบกับอำนาจอธิปไตยโดยไม่สนใจกับสิ่งอื่นใดในการปกป้องชะตากรรมของตนเอง!
 ทูตองค์สุดท้ายเช่นกัน ได้สอนประชาชนว่า อย่าให้ใครมีอำนาจปกครองเหนือชะตาชีวิตของพวกเขานอกจากตัวพวกเขาเองเท่านั้น  ท่านศาสดาแห่งศาสนาอิสลามได้ให้ชีวิตใหม่แก่การให้สัตยาบัน(บัยอัต) กระทั่งทุกวันนี้บางคนยังคิดว่าท่านศาสดาได้สร้างความชอบธรรมให้กับการปกครองของท่านด้วยวิธีการนี้ กระทั่งอนุญาตให้สตรีทำการให้สัตยาบันเหมือนกับบุรุษ และมีอธิปไตยในการกำหนดชะตากรรมของพวกเขาก่อนการก่อตั้งการปกครองอิสลาม (ในสนธิสัญญาอุกบะฮ์) อะมีรุลมุมินีน อาลี (อ.) ผู้สืบตำแหน่งต่อจากท่านศาสดากล่าวกับบุตรชายของท่านว่า:
“อย่าให้ใครนอกจากตัวเจ้าเองมากำหนดชะตาชีวิตของเจ้าเป็นอันขาด เพราะพระเจ้าได้สร้างเจ้ามาให้มีอิสระเสรี”
 ประโยคเหล่านี้บ่งชี้ว่าประชาธิปไตยในความหมายของประชาธิปไตยทางศาสนานั้นมาก่อนในอิสลามและศาสนาต่างๆ
ที่มาของประชาธิปไตยในอิหร่านเป็นอย่างไร?
(ติดตามตอนต่อไป)

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม