การใช้ความคิด หมายเลข1

การใช้ความคิด หมายเลข1

ท่านรอซูลลุลอฮ(ศ) กล่าวว่า โอ้ อิบนุมัสอูด เมื่อใดก็ตาม หากเจ้าทำสิ่งใด จงทำสิ่งนั้นโดยอาศัยความรู้ และปัญญา และจงออกห่างจากการกระทำใดก็ตามที่ปราศจากการใคร่ครวญ และความรู้ เพราะแท้จริงพระองค์ผู้ทรงเกรียงไกร ทรงตรัสว่า([ในการสาบาน]และพวกเจ้าอย่าเป็นเช่นนางที่คลายเกลียวด้ายของนาง หลังจากที่ได้ปั่นให้มันแน่นแล้ว)[1]
เช่นเดียวกันท่าน(ศ)กล่าวว่า
การนมาซสองรอกาอัตอย่างแผ่วเบาด้วยความใคร่ครวญนั้นประเสริฐกว่าการนมาซตลอดทั้งคืน [2]
เช่นเดียวกันท่าน(ศ)กล่าวว่า และลักษณะของผู้มีปัญญา คือ การที่เมือเขาประสงค์ที่จะกล่าวสิ่งใด เขาจะใคร่ครวญ(ก่อน)เสมอ หากมันเป็นสิ่งที่ดี เขาจะกล่าวมันออกมา และได้รับประโยชน์ และหากมันเป็นสิ่งที่ไม่ดี เขาจะเงียบ และปลอดภัย[3]
ตัวบท
[1] . یا ابْنَ مَسْعُودٍ! إِذَا عَمِلْتَ عَمَلاً فَاعْمَلْ بِعِلْمٍ وَ عَقْلٍ وَ إِیاكَ وَ أَنْ تَعْمَلَ عَمَلاً بِغَیرِ تَدَبُّرٍ وَ عِلْمٍ، فَإِنَّهُ جَلَّ جَلَالُهُ یقُولُ: ﴿و لا تكونوا كالَّتى نَقَضَت غَزلَها مِن بَعدِ قُوَّةٍ اَنكـٰثًا﴾ [سورهٴ نحل، آیهٴ 92] (مكارم الاخلاق، ص458).
[2] . رَكْعَتَانِ خَفِیفَتَانِ فِى تَدَبُّرٍ خَیرٌ مِنْ قِیامِ لَیلةٍ (مكارم الاخلاق، ص300).
[3] . و صِفَةُ الْعَاقِلِ... إِذَا أَرَادَ أَنْ یتَكَلَّمَ تَدَبَّرَ، فَإِنْ كَانَ خَیراً تَكَلَّمَ فَغَنِمَ وَ إِنْ كَانَ شَرّاً سَكَتَ فَسَلِمَ... (تحف العقول، ص28 ـ 29)

ทุกวันกับมะฟาติฮุลฮะยาต
อยาตุลลอฮญะวาดี ออมูลี
หนังสือ มะฟาติฮุลฮะยาต หน้า70