ร่อญับ เดือนแห่งการโปรยปรายความการุณย์

ร่อญับ เดือนแห่งการโปรยปรายความการุณย์

พระผู้ทรงเมตตาตรัสว่า :

یَا عِبَادِ لَا خَوْفٌ عَلَیْکُمُ الْیَوْمَ وَلَا أَنْتُمْ تَحْزَنُونَ 
(زخرف/68)

โอ้ปวงบ่าวของข้าเอ๋ย วันนี้จะไม่มีความหวาดกลัวบังเกิดกับพวกเจ้า และพวกเจ้าก็จะไม่ทุกข์ระทมอีกแล้ว

ใช่แล้ว ! ร่อญะบูน พวกเขาจะไม่หวาดกลัว อักทั้งไม่ทุกข์ระทมอีกแล้ว เพราะเดือนแห่งการโปรยปรายกำลังคืบคลานเข้ามา เดือนแห่งการรับเตาบะฮ์ เดือนแห่งการอิซติฟาร

ท่านศาสดามุฮัมมัด ศ. กล่าวว่า :

رَجَبُ شَهْرُ الإِسْتِغْفَارِ لِأُمَّتِي ، فَأَكْثِرُوا فِيْهِ الإِسْتِغْفَارَ ، فَإِنَّهُ غَفُوْرٌ رَحِيْمٌ ، وَيُسَمَّى الرَّجَبُ الأَصَبَّ لِأَنَّ الرَّحْمَةَ عَلَى أُمَّتِي تُصَبُّ صَبًّا فِيْهِ ، فَاسْتَغْفِرُوا مِنْ قَوْلِ
؛ أَسْتَغْفِرُ اللهَ وَأَسْأَلُهُ التَّوْبَةَ.

 ร่อญับ คือ เดือนแห่งการขออภัยโทษสำหรับประชาชาติของฉัน ฉะนั้น พวกท่านต้องวอนขอภัยโทษให้มาก ๆ เพราะแท้จริงแล้วพระองค์คือคือผู้ทรงเปี่ยมไปด้วยการให้อภัยโทษ ผู้ทรงกรุณาเสมอ 
เดือนร่อญับ ถูกเรียกว่าเดือนแห่งการโปรยปราย ก็เพราะว่า ความการุณย์จะถูกโปรยปรายลงมายังประชาชาติของฉัน 
ดังนั้น พวกท่านต้องกล่าวถ้อยคำนี้ "อัซตัฆฟิรุ้ลลอฮ์ วะอัซอะลุฮุตเตาบะฮ์" (ข้าฯวอนขออภัยโทษต่ออัลลอฮ์ และวอนขอการ กลับตัวกลับใจต่อพระองค์)

มีการบันทึกไว้ว่า 

کانَ رسولُ اللّهِ صلى الله علیه و آله إذا جاءَ شَهرُ رَجبٍ جَمَعَ المسلمِینَ حَولَهُ و قامَ فیهِم خَطیبا ......... 

"เมื่อเดือนร่อญับได้ย่างกลายเข้ามาถึง ท่านนบี ศ. ก็ได้เรียกบรรดาเหล่าอัครสาวกไห้มารวมตัวกัน แล้วท่านก็กล่าวคำเทศนาว่า

ثمّ قال: أیّها المسلمونَ، قد أظَلَّکُم شَهرٌ عظیمٌ مُبارَکٌ ، و هو شَهرُ الأصَبِّ ، یَصُبُّ فیهِ الرحمَةَ عَلى مَن عَبَدَهُ

โอ้ประชาชาติเอ๋ย ร่มเงาของเดือนที่ยิ่งใหญ่ และเปี่ยมล้นไปด้วยความเป็นศิริมงคลกำลังแผ่คลุมพวกเจ้าแล้ว มันคือเดือนแห่งการโปรยปราย ความการุณย์จะถูกโปรยลงมาแก่บ่าวของพระองค์

เพราะเป็นเช่นนี้ ท่านศาสดาแห่งอิสลามจึงมีวจนะไว้ว่า

أَلاَ أَنَّ رَجَبَ شَهْرُ اللهِ ، وَشَعْبَانَ شَهْرِي ، وَرَمَضَانَ شَهْرُ أُمَّتِي 

พึงสังวร ! ร่อญับ คือเดือนของอัลลอฮ์ ชะอ์บาน คือเดือนของฉัน และรอมฎอน คือเดือนของประชาชาติของฉัน

อะมั้ลที่ควรต้องปฏิบัติในเดือนร่อญับอันจำเริญ

(1)- การถือศิลอด 
มีริวายะฮ์มากมายได้กล่าวถึงมรรคผลของการถือศิลอดในเดือนร่อญับ เช่น

1.1- สวรรค์ถูกทำให้เป็นวาญิบแก่เขา และนรกจะห่างไกลจากผู้ที่ได้ถือศิลอดในเดือนร่อญับ
ท่านอิมามมูซา อัลกาซิม อ. กล่าวว่า

رَجبُ، شَهرٌ عَظیمٌ یضاعَفُ فیه الحَسَناتُ وَ یمحو فیهِ السیّئاتُ. مَن صامَ یَوماً منَ رَجَبٍ تَباعَدَت عَنهُ النّارُ مَسیرَة مِاَئةِ سَنَةٍ وَ مَن صامَ ثلاثَةَ ایّامٍ وَجَبتْ لَهُ الجَنَّةُ؛

 “ร่อญับ คือเดือนที่ยิ่งใหญ่ การงานที่ดีจะเพิ่มทบทวีคูณ สิ่งไม่ดีทั้งหลายจะถูกลบล้าง(ด้วยความดีและอิซติฟาร) และผู้ใดถือศีลอดหนึ่งวันในเดือนร่อญับไฟนรกได้ห่างเขาไปเป็นระยะเวลาเดินทางหนึ่งปี ส่วนผู้ใดถือศีลอดสามวัน สรวงสวรรค์จะต้องเป็นของเขา”.

1.2- จะได้รับความคุ้มครองจากอะซาบของกุโบร์(สุสาน)

เสาว์บาน ได้เล่าว่า วันหนึ่งฉันได้ร่วมเดินทางไปยังสุสานพร้อมกับท่านนบี ศ. แล้วท่านก็ได้ยืนข้างหลุมๆหนึ่ง แล้วน้ำตาของท่านก็หลั่งรินอาบแก้ม จนทำให้น้ำตาของพวกเราก็ไหลพรูลงมาโดยไม่ทันรู้ตัวเช่นกัน ฉันได้ถามถึงสาเหตุนั้นกับท่านร่อซูล ศ. จึงได้คำตอบจากท่านว่า เจ้าของหลุมฝังศพนี้ได้ทุกข์ทรมานจากการถูกฮะซาบมาเป็นเวลาช้านาน ฉันได้ยินเสียงกรีดร้องของเขาดังออกมา เขาได้ออนวอนให้ฉันได้ขอความเมตตาจากอัลลอฮ์ให้ลดหย่อนอะซาบกุโบร์ต่อเขา 
ท่านศาสดา ศ. จึงกล่าวกับพวกเขาว่า 

«فَلَو صامُوا هؤلاءِ ایّام رجب وَ قامُوا فیها ما عذَّبوا فی قُبورِهِم. فَقُلت یا رَسولَ اللهِ صیامَهُ وَ قِیامَهُ اَمانٌ مِن عذاب القبر؟ قال: نعم... ؛

หากว่าพวกเขาเคยได้ถือศิลอดในเดือนร่อญับ และลุกขึ้นอิบาดะฮ์ในยามค่ำคืนบ้าง พวกเขาก็จะไม่ถูกอะซาบ(การลงทัณฑ์)ในกุโบร์เป็นแน่
ฉันจึงเอ๋ยถามท่านศาสดาว่า "การถือศิลอดและการนมาซในเดือนร่อญับจะช่วยให้เขาพ้นอะซาบในหลุมฝังศพได้หรือ ? ท่านศาสดา ศ. กล่าวตอบว่า "ใช่แล้ว" 

(2)- การดุอาฮ์ 

หนึ่งในดุอาฮ์ที่มีการเน้นย้ำให้อ่านหลังนมาซวาญิบประจำวันซึ่งมีมรรคผลมากมาย นั่นก็คือ 

بسم الله الرحمن الرحيم

يامَنْ أَرْجُوهُ لِكُلِّ خَيْرٍ وَآمَنُ سَخَطَهُ عِنْدَ كُلِّ شَرٍّ، يامَنْ يُعْطِي الكَثيرَ بِالقَلِيلِ، يامَنْ يُعْطِي مَنْ سَأَلَهُ، يامَنْ يُعْطِي مَنْ لَمْ يَسأَلْهُ وَمَنْ لَمْ يَعْرِفْهُ تَحَنُّنا مِنْهُ وَرَحْمَةً ؛ أَعْطِنِي بِمَسأَلَتِي إِيّاكَ جَمِيعَ خَيْرِ الدُّنْيا وَجَمِيعَ خَيْرِ الآخرةِ، واصْرِفْ عَنِّي بِمَسْأَلَتِي إِيَّاكَ جَمِيعَ شَرِّ الدُّنْيا وَشَرِّ الآخرةِ فَإِنَّهُ غَيْرُ مَنْقُوصٍ ماأَعْطَيْتَ وَزِدْنِي