การช่วยเหลือกันในเรื่อง คุณธรรม ความดี ช่วยแล้วได้อะไร ?

การช่วยเหลือกันในเรื่อง คุณธรรม ความดี ช่วยแล้วได้อะไร ? 

 อัลลอฮ์ ซ.บ. ทรงตรัส : 

[ تَعاوَنُوا عَلَى الْبِرّ ]

จงช่วยเหลือกันในเรื่องของคุณธรรม ความดี

จากโองการนี้แสดงให้เห็นว่า "การส่งเสริม ช่วยเหลือในเรื่องคุณธรรม ความดี คือหน้าที่ของทุกคนที่ต้องช่วยกัน" 

❇️ ผลที่ตามมาสำหรับผู้ที่ยอมรับ หรือผลักใส

อัลลอฮ์ ซ.บ. ตรัสไว้ในพระมหาคัมภีร์อัลกุรอ่าน

  لِیُنفِقْ ذُو سَعَةٍ مِّن سَعَتِهِ وَمَن قُدِرَ عَلَیْهِ رِزْقُهُ فَلْیُنفِقْ مِمَّا آتَاهُ اللَّهُ لَا یُکَلِّفُ اللَّهُ نَفْسًا إِلَّا مَا آتَاهَا سَیَجْعَلُ اللَّهُ بَعْدَ عُسْرٍ یُسْرًا؛ 

[65:7] : ผู้ที่มีกำลังความสามารถ ก็ให้มอบค่าใช้จ่ายของตน[บริจาค]และส่วนบุคคลที่ปัจจัยยังชีพของเขามีจำกัด ก็ให้บริจาคตาม[ปริมาณจำกัด]ที่อัลลอฮ์ทรงประทานให้, อัลลอฮ์ไม่ทรงวางภาระหนักแก่ชีวิตใดนอกจากตามที่พระองค์ทรงให้มาเท่านั้น และในไม่ช้าอัลลอฮ์จะทรงบันดาลให้เกิดความง่ายดายภายหลังจากความยากลำบากเสมอ

ท่านศาสดามุฮัมมัด ศ. กล่าวว่า : บุคคลใดได้ช่วยเหลือผู้ศรัทธาในการงานหนึ่ง อัลลอฮ์จะทำให้การงานต่างๆมากมายของเขาบรรลุล่วงไปด้วยดีเข่นกัน ซึ่งน้อยที่สุด[จากรางวัลที่เขาจะได้รับ]คือสวรรค์

 قال رسول الله - صلی الله علیه و آله -: مَنْ قَضی لِمُؤمنٍ حاجه قَضی اللهُ لَهُ حوائجَ کثیره أَدْناهُنَّ الجنَّه. «قرب الاسناد، ص 119»

ท่านอิมามศอดิก อ. อะห์ลุลบัยต์นบี กล่าวว่า :
การช่วยเหลือผู้ จุนเจือผู้ลำบาก ยากไร้ให้ได้สมหวัง ประเสริฐกว่าการทำฮัจญ์ที่สมบูรณ์กว่า 1,000 ฮัจญ์ และดีกว่าการปล่อยทาส 1,000 คนให้เป็นไท และสูงส่งกว่า การให้ม้า 1,000 ตัวเพื่อใช้ในวิถีทางของอัลลอฮ์ เสียอีก

และเช่นกัน ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ ศ. กล่าวไว้อีกว่า : 

( ما نقَصَ مالٌ مِن صدَقهٍ قطّ فَأُعطُوا وَ لا تَجَبُنوُا ) 

ทรัพย์สินจะไม่ลดน้อยถอยลงด้วยกับการบริจาค ดังนั้นจงบริจาค และจงอย่ากังวล[ว่าทรัพย์สินจะหมดหรือน้อยลเพราะการบริจาค]

ท่านศาสดามุฮัมมัด ศ. กล่าวไว้อีกว่า :

رسول الله - صلی الله علیه و آله -: مَنْ قَضی لأخیهِ المؤمنِ حاجه کانَ کمَن عَبَدَ اللهَ دَهرَهُ. «امالی شیخ طوسی، ص 481، ح 1051»

บุคคลใดได้ทำให้ความต้องการของผู้ศรัทธาคนหนึ่งสมปราถนา เสมือนเขาผู้นั้นได้ทำอิบาดัต ภักดีต่ออัลลอฮ์ทั้งชีวิต

ท่านอิมามศอดิก อ. อะห์ลุลบัยต์นบี กล่าวว่า พระองค์อัลลอฮ์ผู้ทรงสูงส่ง เกรียงไกร ทรงตรัสว่า :

الامام الصادق - علیه السّلام -: قال الله عزّوجل: ألخَلقُ عِِیالی فَأَحبُّهُمْ إِلی أَلْطَفُهمْ بِهمِ وَ أَسعاهُمْ فی حَوائِجِهِمْ. «الکافی، ج 2، ص 199»

ประชาชน คือคนในครอบครัวของข้า ฉะนั้นบุคคลที่เป็นที่รักยิ่งมากที่สุดของข้า คือบุคคลที่มีความเมตตาต่อผู้คนมากที่สุด และคือบคคลที่ทุ่มเท[ทั้งเเรงกายและใจ]เพื่อให้ความหวังของผู้คน[ยากไร้]ได้สมปรารถนา

⁉️ ทำอย่างไรให้การช่วยเหลือผู้อื่นเกิดรากฐานที่มั่นคงทั้งดุนยาและอาคิเราะฮ์

ท่านอิมามอะลี อ. ผู้สืบต่อจากท่านนบี ศ. กล่าวสอนไว้ว่า :

الامام علی - علیه السلام -: لاَ یستَقِیمُ قَضاءُ الحَوَائِجِ اِلاّ بِثَلاثٍ: بِاِستِصغارِها لِتَعظُمَ، وَ بِاِستِکتامِهَا لِتَظهَرَ، وَ بِتَعجیلِهَا لِتَهنُؤَ. «نهج البلاغه، حکمت 101»

การช่วยเหลือประชาชนจะไม่เกิดรากฐานที่มั่นคงเว้นแต่ต้องรักษาไว้ในคุณลักษณะ 3 ประการ นั่นคือ 
-1- ให้มองว่าการช่วยเหลือผู้อื่นเป็นเรื่องเล็กน้อย เพื่ออัลลอฮ์จะทำให้มันยิ่งใหญ่
-2- เก็บไว้เป็นความลับ เพื่ออัลลอฮ์จะได้เปิดเผยมันด้วยพระองค์เอง
-3-จงรีบเร่งในการช่วยเหลือ[ผู้ขัดสน]เพื่อเขาจะได้พบกับความสุขสมหวัง

เช่น การให้อาหารแก่เด็กกำพร้า ผู้ขัดสน ให้มองว่าเป็นเรื่องเล็กน้อยสำหรับเราที่สามารถทำได้ แต่ ณ อัลลอฮ์ แล้วเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่มาก  และเมื่อเราช่วยเหลือแล้วก็ไม่จำเป็นที่ต้องป่าวร้องไปทั่ว เก็บไว้กับตัวเอง แล้วเมื่อถึงเวลาอัลลอฮ์ จะเป็นผู้เปิดเผยความดีนี้เอง 
และให้รีบเร่ง เพราะการได้รับในขณะที่มีต้องการ เขาผู้นั้นจะมีความสุขมาก  ความว่าอย่าให้ในขณะที่เขาไม่ต้องการ หรือเขาอิ่มแล้ว เพราะสิ่งนั้นอาจไม่มีค่าแล้ว