เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

มะฟาติฮุลฮายาต หมายเลข 138-139 การตัดเล็บและขนส่วนเกินของร่างกาย

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

มะฟาติฮุลฮายาต หมายเลข 138-139 การตัดเล็บและขนส่วนเกินของร่างกาย



บทที่_5
ความสะอาดและสุขอนามัย
การตัดเล็บและขนส่วนเกินของร่างกาย
✍️รอซูลุลลอฮ(ขออัลลอฮทรงประทานพรแก่ท่านและวงศ์วาน)กล่าวในฮะดิษบทหนึ่งว่า ผู้ใดมีศรัทธาต่ออัลลอฮ และกิยามัต หากเขาเป็นบุรุษก่อนจะถึงสี่สิบวัน หากเขาเป็นสตรีก่อนจะถึงยี่สิบวัน เขาจะต้องไม่ละทิ้งการขจัดขนที่เป็นส่วนเกินของร่างกาย[1] ไม่เป็นปัญหาแต่อย่างใดเลยที่ผู้อยู่ในสภาพญุนูบ จะใช้นูเราะฮ์(ผงขจัดขน)ขจัดขนบริเวณหัวหน่าว เพราะสิ่งนี้จะทำให้เกิดความสะอาด[2]
อีกรีวายัตระบุว่า ผู้ไม่ขจัดขนบริเวณพึงสงวน และไม่ตัดเล็บ และไม่แต่งหนวด ไม่ใช่พวกเรา[3]
อีกรีวายัตระบุว่า จงอย่าปล่อยให้ขนบริเวณหนวด บริเวณพึงสงวน และใต้รักแร้ ขึ้นยาว เพราะชัยฏอนจะใช้สถานที่เหล่านั้นเป็นที่ซ่อนอำรางตัว[4]

ตามคำกล่าวของอมีรุลมุอฺมีนีน การกำจัดขนรักแร้ จะทำให้ห่างไกลจากกลิ่นเหม็น และทำให้เกิดความสะอาด[5]
อีกรีวายัตหนึ่งระบุว่า การทำนูเราะฮ์จะช่วยทำให้สุขภาพแข็งแรง และทำให้เกิดความสะอาด[6]
ตามคำกล่าวของอิมามศอดิก(ขอความสันติพึงมีแดท่าน)การใช้ประโยชน์จากการทำนูเราะฮ์ในทุกสิบห้าวันถือเป็นซุนนะฮ์ และหากภายหลังจากยี่สิบวัน เขาไม่พบปัจจัยในการทำสิ่งนั้น ก็จงให้เขายิบยืมในบัญชีของอัลลอฮ์แทน[7]

ตัวบท
[1] . مَنْ كَانَ یؤْمِنُ بِاللَّهِ وَ الْیوْمِ الآخِرِ فَلا یتْرُكْ عَانَتَهُ فَوْقَ أَرْبَعِینَ یوْماً وَ لا یحِلُّ لامْرَأَةٍ تُؤْمِنُ بِاللَّهِ وَ الْیوْمِ الآخِرِ أَنْ تَدَعَ ذَلِكَ مِنْهَا فَوْقَ عِشْرِینَ یوْماً (الفقیه، ج1، ص119).
[2] . ... وَ الْجُنُبُ لا بَأْسَ أَنْ یطَّلِىَ لأَنَّ النُّورَةَ تَزِیدُ نَظَافَةً (مكارم الاخلاق، ص60).
[3] . مَنْ لَمْ یحْلِقْ عَانَتَهُ، وُیقَلِّمْ أظْفَارَهُ، وَیجُزّ شَارِبَهُ، فَلَیسَ مِنَا (الجامع الصغیر، ج2، ص645).
[4] . لا یطَوِّلَنَّ أَحَدُكُمْ شَارِبَهُ وَ لا عَانَتَهُ وَ لا شَعْرَ إِبْطَیهِ، فَإِنَّ الشَّیطَانَ یتَّخِذُهَا مَخَابِئَاً یسْتَتِرُ بِهَا (علل الشرائع، ص519).
5] . نَتْفُ الإِبْطِ ینْفِی الرَّائِحَةَ الْمُنْكَرَةَ وَ هُوَ طَهُورٌ (تحف العقول، ص101).
6] . النُّورَةُ مَشَدَّةٌ لِلْبَدَنِ وَ طَهُورٌ لِلْجَسَدِ (تحف العقول، ص101).7] . السُّنَّةُ فِى النُّورَةِ فِى كُلِّ خَمْسَةَ عَشَرَ یوْماً، فَإِنْ أَتَتْ عَلَیكَ عِشْرُونَ یوْماً وَ لَیسَ عِنْدَكَ فَاسْتَقْرِضْ عَلَی اللَّهِ (الكافى، ج6، ص506).

อ้างอิง مفاتیح الحیات ص 130 و 131

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม