ปรัชญาอิสลามศึกษา อรัมภบทปรัชญา

ปรัชญาอิสลามศึกษา อรัมภบทปรัชญา


บทที่ 4 ส่วนที่ 1
อรัมภบทปรัชญา


[ย๑]ในบทที่หนึ่งได้ชี้แจงแล้วว่า คำว่า ฟัลซาฟะฮ์ (ปรัชญา)ในช่วงบยุคต้น เป็นคำที่สื่อความหมายโดยรวม ใช้ได้กับทุกวิธี โดยหมายรวมความรู้แท้(อูลูมฮะกีกีย์ตรงข้ามกับกะรอรดาดีย์ หมายถึง ความรู้ที่มนุษย์บัญญัติหรือกำหนดไว้)และเราได้ชี้แจงในบทที่สองปรัชญาได้ขยายขอบเขตในช่วงยุคกลางโดยหมายรวมเอาความรู้เชิงบัญญัติและกำหนดหมายรวมเข้าไปด้วย เช่น วรรณกรรม,วิชาว่าด้วยการอธิบายความหมายและการบรรยาย และในบทที่สามเราได้เรียนรู้แล้วว่าปฏิฐานนิยมได้กำหนดให้ความรู้เชิงวิทยาศาสตร์คือสิ่งตรงข้ามกับความรู้เชิงปรัชญาและเมตตาฟิสิกต์ และถือว่ามีเพียงความรู้เชิงวิทยาศาสตร์เท่านั้นที่คู่ควรแก่การเรียกว่า “ความรู้”
[ย๒] ตามสำนวนวิชาการและนิยามแรกในยุคที่อิสลามกำลังเฟื่องฟู ปรัชญาแบ่งออกเป็นหลายภาคที่แตกต่างกัน แต่ละภาคจะมีชื่อวิชาเฉพาะกำหนดเรียกไว้ และโดยปกติ(ในวงวิชาการอิสลาม)จะไม่พบความขัดแย้งกันระหว่างปรัชญากับวิทยาศาสตร์ ส่วนในนิยามที่สองเป็นนิยามที่ปรากฎขึ้นในยุคกลางในแดนยุโรป นิยามนี้ถูกละทิ้งไปตามการสิ้นสุดของยุคสมัย
[ย๓] ส่วนนิยามที่สามเป็นนิยามที่ยังคงนิยมใช้ในดินแดนตะวันตก โดยถือว่าปรัชญาและเมตตาฟิสิกต์ คือ ขั้วตรงข้ามกับวิทยาศาสตร์ และเพราะนิยามนี้แพร่หลายในประเทศตะวันออกด้วย จึงจำเป็นต้องขยายความเกี่ยวกับ วิทยาศาสตร์ ,ปรัชญา,เมตตาฟิสิกต์ และแสดงความสัมพันธ์ของแต่ละศาสตร์ ผนวกด้วยคำอธิบายต่อประเภทต่างๆของความรู้ และการจัดระเบียบความรู้เหล่านั้น


อ้างอิง ออมูเซชฟัลซาเฟะฮ์ เล่ม 1 หน้า 64
อยาตุลลอฮ์ มิศบาฮ์ ยัซดีย์


เอกสารอ้างอิง
มิศบาฮยัซดี มูฮัมมัดตะกี. (1988). ออมูเซชฟัลซาเฟะฮ์(ปรัชญาศึกษา). (2เล่ม) เตฮราน-อิหร่าน: ซอเซมอนตับลีฆอตอิสลามี มูออวินัตฟังฮังกีย์