เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

โองการอิกมาล

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

โองการอิกมาล


 โองการอิกมาล เป็นส่วนหนึ่งของโองการที่สามของซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮ์ ซึ่งอัลลอฮ์ทรงทำให้ศาสนาอิสลาม เป็นศาสนาที่สมบูรณ์ด้วยโองการนี้ บรรดาชีอะฮ์ เชื่อว่า จากริวายัตที่รายงานจากบรรดอะฮ์ลุลบัยต์แห่งนะบูวัต(อ.) กล่าวว่า โองการนี้ถูกประทานลงมาในวันเฆาะดีร เกี่ยวกับเหตุการณ์เฆาะดีร และความหมายของความสมบูรณ์ของศาสนาและนิอ์มัต(ความโปรดปราน) คือ การประกาศตำแหน่งวิลายัต(ผู้นำ)และความเป็นตัวแทนศาสดามุฮัมมัด(ศ็อลฯ) ของอิมามอะลี(อ.) ในทางตรงกันข้าม ชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ เชื่อว่า โองนี้ถูกประทานลงมาในวันอะรอฟะฮ์ และความหมายของความสมบูรณ์ของศาสนา คือ การอธิบายหลักการปฏิบัติทั้งหมดของอิสลาม
มุรตะฎอ มุเฏาะฮะรีย์ ได้กล่าวเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างคำว่า อิกมาลและอิตมาม ว่า อิตมาม ถูกนำมาใช้ในกรณีที่สิ่งนั้นมีความบกพร่อง แต่อิกมาล เป็นไปได้ว่า สิ่งนั้นเป็นสิ่งที่มีความถูกต้อง แต่ยังไม่สมบูรณ์ ขณะที่โองการอิกมาล คำสั่งให้ประกาศว่าอิมามอะลี เป็นอิมามัต (ตำแหน่งผู้นำ)ถือเป็นส่วนหนึ่งของศาสนาและเป็นสิ่งที่ทำให้ศาสนานั้นมีความสมบูรณ์และยังเป็นสิ่งที่ทำให้สิ่งอื่นๆของศาสนาได้รับความสมบูรณ์อีกด้งบ เพราะว่า จิตวิญญาณของศาสนา คือ ตำแหน่งวิลายัตและอิมามัต(ผู้นำ)

ความหมายของความสมบูรณ์ของศาสนา
หนังสือตัฟซีรได้อธิบายประโยคที่ว่า ฉันได้ทำให้ศาสนาของเจ้านั้นสมบูรณ์ ในประเด็นต่างๆมากมายและบรรดานักตัฟซีรของชีอะฮ์และซุนนีมีทัศนะที่แตกต่างกันประเด็นนี้(16) ขณะที่นักตัฟซีรชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ ด้วยเหตุผลที่ว่า จากช่วงแรกและสุดท้ายของโองการกล่าวถึงหลักการปฏิบัติตามศาสนบัญญัติ พวกเขาจึงกล่าวว่า ความหมายของความสมบูรณ์ของศาสนา คือ การทำให้ศาสนาสมบูรณ์ด้วยความสมบูรณ์ของหลักการปฏิบัติตามศาสนบัญญัติ จาการประทานลงมาของโองการนี้ (17)

สถานภาพ
โองการอิกมาล เป็นส่วนหนึ่งของโองการที่สามของซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮ์(1) โองการถือเป็นหนึ่งในเหตุผลของการพิสูจน์ความเป็นอิมามัต(ผู้นำ)และคอลีฟะฮ์ (ตัวแทน)ของอิมามอะลี (อ.)(2) ในโองการกล่าวถึงสิ่งสำคัญสี่ประการ ซึ่้งมีดังนี้ การสิ้นหวังจากบรรดาผู้ปฏิเสธ ความสมบูรณ์ของศาสนา ความสมบูรณ์ของความโปรดปรานของพระเจ้า และการยอมรับอิสลาม เป็นศาสนาสุดท้ายของพระองค์(3) บรรดาชีอะฮ์ เชื่อว่า ตามหลักฐานจากฮะดีษของอะฮ์ลุลบัยต์ กล่าวว่า ด้วยการประกาศตำแหน่งวิลายัตและตัวแทนของศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ของอิมามอะลี (อ.)ในวันนี้ ได้ทำให้สิ่งต่างๆเหล่านี้เกิดขึ้น(4)

เวลาของการประทานลงมา
บรรดามุสลิมเชื่อว่า โองการอิกมาลถูกประทานลงในช่วงฮัจญ์ครั้งอำลา (ฮัจญะตุลวิดาอ์) ของศาสดามุฮัมมัด(ศ็อลฯ) แต่ทว่าวันแห่งการประทานลงมานั้นมีทัศนะที่แตกต่างกัน(5) ริวายัตส่วนมากจากบรรรดาอะฮ์ลุลบัยต์และอิจมาอ์(มติเอกฉันท์)ของชีอะฮ์ เชื่อว่า โองการอิกมาลถูกประทานลงมาในวันเฆาะดีรหรือหลังจากวันนั้นไม่นานนัก(7) ขณะที่นักวิชาการบางคนของชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ ได้รายงานว่า การประทานลงมาของโองการอิกมาลในวันเฆาะดีรนั้นมีความอ่อนแอ(8) แต่ทว่าอัลลามะฮ์อะมีนี จากการตรวจสอบในสายรายงานของชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ กล่าวว่า ด้วยมาตรฐานของอะฮ์ลิซซุนนะฮ์  ริวายัตเกี่ยวกับโองการอิกมาลถูกประทานลงมาในวันเฆาะดีร เป็นมุวัษษัก (น่าเชื่อถือได้) (9) ตามแหล่งอ้างอิงของชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ เช่น หนังสือตัฟซีรและประวัติศาสตร์ อิบนุกะษีร รายงานว่า โองการอิกมาลถูกประทานลงมาในวันอะรอฟะฮ์(10) ขณะเดียวกัน ตามทัศนะทั้งสอง บางคนเชื่อว่า โองการอิกมาล ถูกประทานลงมาสองครั้งด้วยกัน ครั้งแรกในวันอะรอฟะฮ์ ซึ่งศาสดามีความกังวลใจที่จะประกาศออกไป ด้วยเหตุนี้เอง จึงเรียกโองการนี้ว่า โองการตับลีฆ และอัลลอฮ์ทรงรับประกันว่าจะไม่เกิดอันตรายกับเขาและหลังจากนั้นโองการนี้ก็ถูกประทานลงมาในวันเฆาะดีร(11)

ตัวบทและคำแปล
الْیَوْمَ یَئِسَ الَّذینَ کَفَرُوا مِنْ دینِکُمْ فَلا تَخْشَوْهُمْ وَ اخْشَوْنِ اَلْیوْمَ أَکمَلْتُ لَکمْ دینَکمْ وَ أَتْمَمْتُ عَلَیکُمْ نِعْمَتی وَ رَضیتُ لَکُمُ الْإِسْلامَ دیناً
 ความหมาย :  วันนี้ เหล่าผู้ปฏิเสธต่างหมดหวังจากศาสนาของเจ้า(ในการทำลาย) ดังนั้นเจ้าอย่าได้หวาดกลัวพวกเขา แต่จงหวาดกลัวต่อฉัน(หากมีการฝ่าฝืน) วันนี้ ฉันได้ทำให้ศาสนาของเจ้าสมบูรณ์แล้วและฉันได้ทำให้นิอ์มัต(ความโปรดปราน)ของฉันสมบูรณ์ด้วยและข้าได้พอใจที่อิสลามนั้นเป็นศาสนาสำหรับเจ้า

สาเหตุของการประทานลงมา ==
จากแหล่งอ้างอิงของชีอะฮ์ สาเหตุของการถูกประทานลงมาของโองการอิกมาล คือ ในเหตุการณ์เฆาะดีรคุม และการประกาศวิลายัตของอะมีรุลมุอ์มินีน อะลี(อ.) สำหรับบรรดามุสลิม(12) บรรดาชีอะฮ์เชื่อว่า ศาสดาแห่งอิสลาม (ศ็อลฯ) หลังจากเสร็จสิ้นจากการทำฮัจญ์ครั้งสุดท้าย ระหว่างทางที่จะกลับยังเมืองมะดีนะฮ์ ได้รวมตัวบรรดามุสลิมในสถานที่หนึ่งซึ่งมีชื่อว่า เฆาะดีรคุม และศาสดา ผู้ทรงเกียรติได้ขึ้นกล่าวเทศนาธรรมและประกาศแนะนำอะลีในฐานะตัวแทนของเขาและหลังจากการกล่าวเทศนาธรรม บรรดามุสลิมต่างก็เข้ามาให้สัตยาบันกับอิมามอะลี (อ.) หลังจากนั้นโองการอิกมาลจึงถูกประทานลงมา และถือว่า การประกาศดังกล่าวทำให้ศาสนาได้รับความสมบูรณ์

อัลลามะฮ์อะมีนี เขียนในหนังสืออัลเฆาะดีร และมีรฮามิด ฮุเซน เขียนในหนังสืออะบะกอตุลอันวาร ด้วยการค้นคว้าจากแหล่งอ้างอิงของชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ได้ยืนยันอย่างชัดเจนว่า ส่วนมากนั้นยอมรับและพิสูจน์ว่า โองการนี้ ถูกประทานลงมาให้กับอิมามอะลี (อ.) ในเหตุการณ์เฆาะดีร(14)

ที่มา

วิกิชีอะฮ์

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม