หลักศรัทธาของชีอะฮ์

หลักศรัทธาของชีอะฮ์

 

ชีอะฮ์ ซึ่งมีความศรัทธาหลัก ดังต่อไปนี้ เตาฮีด(หลักความเป็นเอกะของพระเจ้า), นะบูวัต(สภาวะความเป็นศาสนทูต) ,มะอาด(วันแห่งการฟื้นคืนชีพ) ,อัดล์ (ความยุติธรรมของพระเจ้า)และอิมามัต (ความเป็นอิมาม(ผู้นำ))ตามความเชื่อของชีอะฮ์ การปฏิเสธสามหลักการแรก (เตาฮีด นะบูวัตและมะอาด ) ถือเป็นรากฐานของศาสนา จะเป็นเหตุให้เป็นผู้ที่ปฏิเสธศรัทธา แต่ทว่าการไม่มีความเชื่อในทั้งสองหลักการ กล่าวคือ อัดล์และอิมามัต จะไม่เป็นสาเหตุให้ออกจากการเป็นชีอะฮ์ และความเป็นอิสลาม ขณะที่การนำเอาหลักอิมามัตเป็นส่วนหนึ่งของหลักศรัทธา เพื่อที่จะต้องการแยกแยะระหว่างชีอะฮ์และมัสฮับอื่นๆของอิสลาม ด้วยเหตุนี้เอง จึงเรียกพวกเขาว่า ชาวอิมามียะฮ์ และเช่นเดียวกัน ความเชื่อในหลักอัดล์นั้น เป็นหลักการของพวกมุอ์ตะซิละฮ์ที่ต้องการแยกออกจากพวกอัชอะรี ด้วยเหตุนี้ จึงเรียกทั้งชีอะฮ์และมุอ์ตะซิละฮ์ว่า อัดลียะฮ์

สถานภาพ

หลักศรัทธาของชีอะฮ์ จึงมีห้าหลักด้วยกัน (เตาฮีด, นะบูวัต, มะอาด, อิมามัตและอัดล์)(1)ซึ่งถือว่าเป็นรากฐานของมัสฮับชีอะฮ์(2) การมีความศรัทธาต่อหลักการทั้งหมดนี้ จะถือว่าบุคคลนั้นเป็นชีอะฮ์ และการไม่ศรัทธาต่อหลักการใดก็ตาม จะไม่ทำให้เขาออกจากมัสฮับชีอะฮ์ แต่หลักการทั้งสามประกอบด้วย เตาฮีด นะบูวัตและมะอาด เป็นรากฐานของศาสนา และผู้ใดก็ตามที่ไม่ศรัทธาหนึ่งในหลักการเหล่านี้ จะถือว่าเขาเป็นผู้ปฏิเสธศรัทธาและออกจากศาสนาด้วยเช่นกัน(3)

สองหลักการอันจำเพาะ

อิมามัต(4)และอัดล์(5) เป็นสองหลักการที่เฉพาะกับมัสฮับชีอะฮ์

อิมามัต

อิมามัต(ผู้นำ ผู้ปกครองสังคมอิสลามและเป็นตัวแทนของศาสดามุฮัมมัด(ศ็อลฯ) เป็นตำแหน่งที่พระผู้เป็นเจ้าทรงแต่งตั้ง(6)โดยพระองค์ทรงแต่งตั้งบรรดาผู้นำทั้งสิบสองท่าน ให้ดำรงอยู่ในตำแหน่งอนี้(7)รายชื่อของพวกเขา เรียงลำดับดังต่อไปนี้ : อิมามอะลี (อ.),อิมามฮะซัน (อ.),อิมามฮุเซน (อ.),อิมามซัจญาด (อ.),อิมามบากิร (อ.),อิมามศอดิก (อ.),อิมามกาซิม(อ.), อิมามริฎอ (อ.),, อิมามญะวาด (อ.), อิมามฮาดี (อ.), อิมามอัสกะรี (อ.) และอิมามมะฮ์ดี (อ.ญ.)(8)

เพราะสาเหตุใด อิมามัตจึงเป็นส่วนหนึ่งของหลักศรัทธา

มุฮัมมัด ฮุเซน กาชิฟุลฆิฏออ์ เขียนไว้ในหนังสือ อุศูลุชชีอะฮ์วะอุศูลุฮา ว่า อิมามัต เป็นหลักการที่แยกชีอะฮ์ออกจากมัสฮับอื่นๆของอิสลาม(9) ด้วยเหตุนี้เอง ผู้ที่เชื่อในอิมามัตของบรรดาอิมามสิบสอง ถูกเรียกว่า อิมามียะฮ์(10)และอิมามัต เป็นส่วนหนึ่งของหลักการมัสฮับชีอะฮ์(11)และผู้ใดก็ตามที่ไม่ยอมรับหลักการดังกล่าว เขาจะออกจากการเป็นชีอะฮ์(12)

อัดล์

ความเชื่อที่ว่า อัลลอฮ์ พระผู้เป็นเจ้า ทรงปฏิบัติในระบอบการสร้างสรรค์(ตักวีนีย์)และระบอบการกำหนดกฏศาสนบัญญัติ(ตัชรีอีย์)ด้วยความชอบธรรมและไม่มีความกดขี่(13)อัดลียะฮ์ (ชีอะฮ์และมุอ์ตะซิละฮ์)ต่างเชื่อกันว่า ความดีและความชั่ว เป็นหลักการทางสติปัญญาและเชื่อด้วยว่า อัลลอฮ์ทรงมีความยุติธรรม หมายความว่า  พระองค์ทรงปฏิบัติบนหลักของความดีงามของสรรพสิ่งและไม่กระทำการกดขี่ เนื่องจากความชั่วร้ายของมัน(14)และในทางตรงกันข้ามกับกลุ่มอะชาอิเราะฮ์ ที่เชื่อว่า มาตรฐานความยุติธรรมของการกระทำนั้นขึ้นอยู่การกระทำของอัลลอฮ์ ไม่ว่าพระองค์จะกระทำการงานใด ถือว่า เป็นการกระทำที่ดีและมีความยุติธรรม แม้ว่า มนุษย์จะมองว่าเป็นการกดขี่ก็ตาม(15)

เพราะสาเหตุใด อัดล์ จึงเป็นส่วนหนึ่งของหลักศรัทธา

มิศบาฮ์ ยัซดี นักปรัชญาชาวชีอะฮ์ (1313-1399) กล่าวว่า อัดล์ ถือว่า เป็นหลักการของมัสฮับชีอะฮ์และมุอ์ตะซิละฮ์ เนื่องจากการให้ความสำคัญในวิชากะลาม(เทววิทยา)(16)และเช่นกัน มุรตะฎอ มุเฏาะฮะรี นักคิดชาวชีอะฮ์(1298-1358) กล่าวว่า เหตุผลที่ถือว่าอัดล์ เป็นส่วนหนึ่งของหลักศรัทธาของมัสฮับชีอะฮ์ เนื่องจากการเกิดขึ้นของความเชื่อที่ว่า มนุษย์นั้นไม่มีอิสระเสรีและการเลือกสรรในการกระทำของเขาในหมู่ชาวมุสลิมและการลงโทษมนุษย์ที่ถูกบังคับนั้นขัดแย้งกับความยุติธรรมของพระเจ้าทั้งสิ้น(17)ชีอะฮ์และมุอ์ตะซิละฮ์ จึงถือว่า การถูกบังคับของมนุษย์ตรงกับข้ามกับความยุติธรรมของพระเจ้า ด้วยเหตุนี้เอง จึงเรียกพวกเขาว่า อัดลียะฮ์(18)

 

หลักการที่มีควมเชื่อร่วมกัน

เตาฮีด : ความเชื่อที่ว่า พระผู้เป็นเจ้านั้น มีอยู่จริง และมีพระองค์เดียว(เอกะ)และไม่มีการตั้งภาคีใดๆต่อพระองค์(19)

นะบูวัต : ความเชื่อที่ว่า อัลลอฮ์ได้ทรงแต่งตั้งศาสดาเพื่อชี้นำมวลมนุษยชาติ(20)ขณะที่ศาสดาอาดัม (อ.) คือ ศาสดาองค์แรก(21)และศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) คือ ศาสดาองค์สุดท้าย(22)

มะอาด : ความเชื่อที่ว่า มนุษย์หลังความตาย จะมีชีวิตใหม่อีกครั้งและจะถูกคิดบัญชีการกระทำที่ดีงามและความชั่วร้ายของเขา(23)

 

ที่มา

วิกิชีอะฮ์