วุฎูอ์

วุฎูอ์


การทำวุฎูอ์  หมายถึง การชำระล้างใบหน้า แขนขวาและแขนซ้ายด้วยน้ำที่สะอาด การเช็ดศีรษะ เท้าขวาและเท้าซ้าย ด้วยน้ำที่เหลือจากการชำระล้าง โดยมีเงื่อนไขในการมีความตั้งใจในการแสวงหาความใกล้ชิดยังอัลลอฮ์ และการรักษามารยาทที่เฉพาะ
การทำวุฏูอ์ ถือเป็นการกระทำที่เป็นมุสตะฮับ ด้วยของมันเอง แต่เป็นเงื่อนไขของนมาซ การฏอวาฟ และอิบาดัตบางประการที่จะต้องทำวุฎูอ์เสียก่อน เป็นอันดับแรก หากปราศจากวุฎูอ์ การสัมผัสตัวอักษรอัลกุรอานและพระนามของอัลลอฮ์นั้นไม่ถือเป็นที่อนุญาต  การทำวุฎูอ์ในกรณีเหล่านี้ถือเป็นมุสตะฮับ เช่น การเข้าไปในมัสญิดและการอ่านอัลกุรอาน เป็นต้น
ฉะนั้น ตามแหล่งอ้างอิงทางประวัติศาสตร์ หลักการของวุฏูอ์ ได้ถูกอธิบายในช่วงเริ่มต้นของการบิอ์ษัตของศาสดามุฮัมมัด(ศ็อลฯ)ในเมืองมักกะฮ์
โองการที่ 6 ซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮ์ และมีริวายัตมากกว่า 400 ริวายัตที่ได้รายงานจากบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) เกี่ยวกับการทำวุฎูอ์
ในฮะดีษกล่าวว่า การทำวุฏอ์ จะเป็นการชำระล้างบาปและความผิดต่างๆให้สะอาดบริสุทธิ์ การขจัดความโกรธ การมีอายุยืน การทำให้มีใบหน้าที่มีรัศมี ณ ทุ่งมะฮ์ชัร และยังเป็นการเพิ่มปัจจัยยังชีพอีกด้วย
การทำวุฏูอ์ สามารถที่จะทำได้ด้วย 2 รูปแบบ กล่าวคือ  วุฎูอ์ตัรตีบี(การเรียงตามลำดับ) และวุฎูอ์แบบอิรติมาซี
ในวุฎูอ์แบบตัรตีบี อันดับแรก เริ่มต้นด้วยการล้างหน้าและแขนขวาและแขนขวา หลังจากนั้นให้ทำการเช็ดศีรษะและเท้าทั้งสองข้าง ส่วนวุฎูอ์แบบอิรติมาซี ก็เหมือนการทำวุฎูอ์แบบตัรตีบี แต่แทนที่การล้างหน้าและแขนทั้งสองด้วยการจุ่มใบหน้าและมือทั้งสองลงไปในน้ำ ด้วยเนียตการทำวุฎูอ์ และหลังจากนั้นก็ทำการเช็ดศีรษะและเท้าทั้งสอง
ในกรณีการเปิดแผลออก ถือเป็นความยากลำบากหรือเป็นอันตราย ในสภาพเช่นนี้ให้ทำวุฎูอ์ญะบีเราะฮ์
บรรดาชีอะฮ์และอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ มีความเห็นที่แตกต่างกันในการล้างแขนทั้งสองและเช่นเดียวกันในวิธีการเช็ดศีรษะและเท้าทั้งสองข้าง โดยชีอะฮ์ ถือว่าเป็นวาญิบที่จะต้องล้างแขนจากด้านบนลงสู่ด้านล่าง แต่ชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ ให้ล้างแขนทั้งสองจากด้านล่างสู่ด้านบน
ตามแหล่งอ้างอิงจากคำรายงาน กล่าวว่า ไม่มีความเห็นแตกต่างกันในหมู่มุสลิม ในกรณีการทำวุฎุอ์ จนถึงการสิ้นสุดการปกครองของคอลีฟะฮ์อุมัร บินค็อฏฏ็อบ โดยชาวมุสลิมทั้งหมดต่างทำวุฎูอ์ในรูปแบบเดียวกัน(วิธีของชีอะฮ์)  ขณะที่แหล่งอ้างอิงอิสลาม รายงานว่า ความแตกต่างในการทำวุฎูอ์เกิดขึ้นระหว่างชีอะฮ์และซุนนีในยุคสมัยการปกครองของคอลีฟะฮ์คนที่สาม
การให้คำนิยาม
วุฎูอ์ หมายถึง การชำระล้างหน้าและแขนทั้งสองข้างและการเช็ดศีรษะและเท้าทั้งสอง ด้วยวิธีการอันเฉพาะโดยมีความตั้งใจในการแสวงหาความใกล้ชิดยังอัลลลอฮ์(ซ.บ.) และสำหรับการปฏิบัติตามคำสั่งของพระองค์(1) การทำวุฎูอ์ เป็นเงื่อนไขในนมาซ ฏอวาฟ และการอนุญาตในการสัมผัสตัวอักษรของอัลกุรอาน(2)
ตามแหล่งอ้างอิงทางประวัติศาสตร์ รายงานว่า วุฎูฮ์ ได้ถูกกำหนดในช่วงเริ่มต้นของการบิอ์ษัตในเมืองมักกะฮ์ โดยผ่านเทวทูตญิบรออีลยังศาสดามุฮัมมัด(ศ็อลฯ) และศาสดา ผู้ทรงเกียรติได้กล่าวอธิบายให้ประชาชนรับรู้(3)
หลักการปฏิบัติ(อะฮ์กาม)
วิธีการทำวุฎูอ์และความสำคัญของการทำวุฎูอ์ถูกกล่าวไว้ในอัลกุรอานและฮะดีษด้วยเช่นกัน(4) หลักการวุฎูอ์ ถูกกล่าวไว้ในโองการที่ 6 จากซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮ์ ฉะนั้นจึงเรียกโองการนี้ว่า โองการวุฎูอ์
یا أَیُّها الَّذینَ آمَنوا إِذا قُمتُم إِلَی الصَّلاةِ فَاغسِلوا وُجوهَكُم وَ أَیدیَكُم إِلَی الْمَرافِقِ وَ امسَحوا بِرُءُوسِكُم وَ أَرجُلَكُم إِلَی الكَعبَینِ (6)
“โอ้บรรดาผู้ศรัทธา เมื่อพวกเจ้าลุกขึ้นเพื่อที่จะทำนมาซ พวกเจ้าก็จงล้างใบหน้าของพวกเจ้าและมือทั้งสองของพวกเจ้า จนถึงข้อศอกและจงลูบศรีษะและเท้าทั้งสองของพวกเจ้า จนถึงตาตุ่มทั้งสอง”(7)
การทำวุฎูอ์ ถือเป็นการกระทำที่เป็นมุสตะฮับ ด้วยตัวของมันเอง(8) แต่สำหรับนมาซ(ยกเว้น นมาซมัยยิต) การฏอวาฟ การสัมผัสตัวอักษรของอัลกุรอาน และพระนามของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ถือเป็นสิ่งที่วาญิบ จะต้องทำวุฎูอ์เสียก่อน(9) และถือเป็นอิฮ์ติยาฏวาญิบ ในกรณีการสัมผัสนามของศาสดามุฮัมมัด(ศ็อลฯ) บรรดาอิมาม ผู้บริสุทธิ์ (อ.) รวมทั้งนามของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(ซ.) ก็จะต้องมีวุฎูอ์ด้วยเช่นกัน(10)
กรณีต่างๆของการทำวุฎูอ์ ถือเป็นการกระทำที่เป็นมุสตะฮับ เช่น  การเข้าไปในมัสญิด และฮะรัมอันศักดิ์สิทธิ์ของบรรดาอิมาม (อ.) การอ่านอัลกุรอานและการพกพาอัลกุรอาน การทำให้อวัยวะส่วนหนึ่งส่วนใดสัมผัสยังปกและเล่มของอัลกุรอาน และเช่นเดียวกัน การซิยาเราะฮ์กุโบร(11)
ประเภทของวุฎูอ์
การทำวุฎูอ์ มีสองรูปแบบด้วยกัน กล่าวคือ วุฎูอ์แบบตัรตีบี(การจัดเรียงอันดับ) และการทำวุฎูอ์แบบอิรติมาซี(12) ในเงื่อนไขที่พิเศษ จำเป็นที่จะต้องทำวุฎูอ์ญะบีเราะฮ์(13)
วุฎูอ์ตัรตีบี
วุฎูอ์แบบตัรตีบี อันดับแรก การล้างหน้าด้วยฝ่ามือจากไรผมจนถึงปลายคาง หลักจากนั้นล้างแขนขวาและหลังจากนั้นล้างแขนซ้าย โดยเริ่มจากข้อศอกด้านบนจนถึงปลายนิ้ว และหลังจากนั้นให้ใช้น้ำที่มีความเปียกชื้นเหลืออยู่จากการล้างแขนทั้งสอง ทำการลูบศีรษะจากส่วนไรผมจนถึงปลายหน้าผาก และหลังจากนั้นได้ลูบเท้าขวาและลูบเท้าซ้ายด้วยความเปียกชื้นที่เหลืออยู่(14)
วุฎูอ์อิรติมาซี
การทำวุฎูอ์แบบอิรติมาซี หมายถึง การที่ผู้ปฏิบัติศาสนกิจ หลังจากการเนียต(15) ได้เอาใบหน้าหลังจากนั้นมือทั้งสองข้างจุ่มลงไปในน้ำโดยมีเจตนาในการทำวุฎูอ์(16) วิธีการที่สองในการทำวุฎูอ์แบบอิรติมาซี กล่าวคือ อันดับแรกให้เอาหน้าและมือทั้งสองข้างจุ่มลงไปในน้ำด้วยการเนียตวุฎูอ์ หลังจากนั้นก็เอาออกจากน้ำ(17) ในการทำวุฎูอ์แบบอิรติมาซี หลังจากล้างหน้าและแขนทั้งสอง ก็จะต้องเช็ดด้วยเช่นกัน(18)
วุฎูอ์ญะบีเราะฮ์
วุฎูอ์ญะบีเราะฮ์ หมายถึง ถ้าหากอวัยวะส่วนหนึ่งส่วนใดที่จะต้องล้างและเช็ดในวุฎูอ์ มีบาดแผลหรือหักและไม่สามารถที่จะล้างหรือเช็ดได้ ก็จะต้องทำวุฎูอ์แบบทั่วไป โดยแทนที่การล้างด้วยการลูบไปยังอวัยวะส่วนที่เป็นแผลหรือหัก ด้วยมือที่เปียกชื้นไปบนผ้าพันแผล(19) ญะบีเราะฮ์ หมายถึง ผ้าหรือทุกสิ่งที่ใช้ในการพันแผล(20)ในกรณีอนุญาตให้ทำวุฎูอ์ญะบีเราะฮ์ กล่าวคือ การเปิดแผลเป็นสิ่งที่ยากลำบากหรือเป็นอันตรายและไม่สามารถที่จะให้น้ำสัมผัสแผลได้(21)ในบางกรณี การทำตะยัมมุม เป็นวาญิบแทนการทำวุฎูอ์ เช่น ในกรณีที่เวลานมาซกำลังหมด ซึ่งการทำวุฎูอ์จะทำให้นมาซทั้งหมดหรือบางส่วนของนมาซ เป็นการกระทำหลังเวลา(22) และเช่นเดียวกัน ในกรณีที่ไม่สามารถเข้าถึงน้ำหรือน้ำเป็นอันตรายต่อร่างกาย ซึ่งจะต้องทำตะยัมมุม แทนการทำวุฎูอ์ (23) ผู้ที่ทำฆุซุลญินาบะฮ์ สำหรับนมาซ ไม่จำเป็นที่จะทำวุฎูอ์ และฆุซุลนั้นแทนการทำวุฎุอ์ได้เช่นเดียวกัน(24)
สาเหตุที่จะทำให้วุฎูอ์เสีย มีอะไรบ้าง?
การที่จะทำให้วุฎูอ์เสีย(บาฏิล) มีด้วยกันหลายกรณี ซึ่งในแหล่งอ้างอิงทางนิติศาสตร์ รายงานว่า สิ่งที่จะทำให้วุฎูอ์เสีย เรียกว่า ฮะดัษเล็ก(25) ซึ่งมีดังต่อไปนี้
การปัสสาวะ อุจจาระและการผายลม
การนอนหลับ(ในสภาพที่หูไม่ได้ยินและตามองไม่เห็น) การวิกลจริต อาการเมาและอาการเป็นลมหมดสติ(26)
สิ่งที่เป็นเหตุให้ต้องทำฆุซุล เช่น ญินาบะฮ์ และการสัมผัสซากศพ(27)
ตามคำกล่าวของฟาฎิล มิกดาด กล่าวว่า นักนิติศาสตร์อะฮ์ลิซซุนนะฮ์บางคนมีความเชื่อว่า การสัมผัสร่างกายระหว่างชายและหญิงที่สามารถแต่งงานกันได้ จะทำให้วุฎูอ์เสีย โดยพวกเขาอ้างอิงจากการอ่านของกะซาอี ในโองการ
أَوْ لَامَسْتُمُ النِّسَاءَ
หรือพวกเจ้าสัมผัสเหล่าสตรี(28) หมายถึง การสัมผัสร่างกาย แต่บรรดานักนิติศาสตร์ของชีอะฮ์ให้ความคิดเห็นว่า การสัมผัสในโองการนี้ หมายถึง การมีเพศสัมพันธ์กัน(29)
ความแตกต่างระหว่างวุฎูอ์ของชีอะฮ์และซุนนี
ในประเด็นวุฎูอ์ บรรดาชีอะฮ์และอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ มีความแตกต่างกันในวิธีการล้างแขนและการเช็ดศีรษะและเท้าทั้งสอง(30)
ความแตกต่างระหว่างชีอะฮ์กับซุนนี ในประเด็นวุฎูอ์ เนื่องจากการตีความโองการที่ 6 ซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮ์ หรือความแตกต่างในการอ่านโองการนี้(31) บรรดาชีอะฮ์ ได้ยึดถือในริวายัตจากบรรดาอิมาม ผู้บริสุทธิ์(32) คำหมายของ มือทั้งสองจนถึงข้อศอก ในโองการนี้ หมายถึง ความจำเป็นในการล้างแขนจากด้านบนลงมาข้างล่าง โดยมีความแตกต่างกันมัสฮับทั้งสี่ของชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮื ที่เชื่อว่า การล้างแขนจากด้านล่างมายังด้านบน(33)
ขณะเดียวกัน ตามหลักการทางนิติศาสตร์ของชีอะฮ์ ถือว่า จะต้องล้างแขนข้างขวาก่อนแขนข้างซ้าย(34) แต่ตามหลักการของมัสฮับอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ ถือว่าเป็นการกระทำที่เป็นมุสตะฮับ(35)
มัสฮับทั้งสี่ของอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ ถือว่า เป็นข้อบังคับที่จะต้องล้างเท้าพร้อมกับข้อเท้าในการทำวุฎูอ์(36) บรรดาชีอะฮ์ กล่าวว่า การเช็ดเท้าควรเริ่มจากปลายนิ้วเท้าจนถึงตาตุ่ม(37) การเช็ดนี้ ตามหลักนิติศาสตร์ของชีอะฮ์ต้องเหมือนกับการเช็ดศีรษะที่จะต้องใช้ความเปียกชื้นจากวุฎูอ์(38) ขณะที่มาลิกีและฮะนะฟี ไม่ถือว่าการจัดเรียงอันดับ เป็นสิ่งวาญิบ ส่วนความต่อเนื่องในวุฎูอ์ ตามหลักฮะนะฟีและชาฟีอี ไม่ถือเป็นวาญิบ แต่บรรดาชีอะฮ์และบางสำนักคิดของอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ ถือว่า การระมัดระวังมันเป็นวาญิบ(39)
ชีอะฮ์และอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ มีความแตกต่างกันเกี่ยวกับการเช็ดศีรษะ โดยชีอะฮ์เชื่อว่า การเช็ดศีรษะจะต้องอยู่ในปริมาณที่ว่า เรียกการกระทำนั้นว่าเป็นการเช็ด แต่อย่างมากที่สุดที่เป็นมุสตะฮับก็คือ ในปริมาณ 3 นิ้วมือติดกัน ไม่มากกว่านั้น(40)และเช่นเดียวกัน ในฟิกฮ์ชีอะฮ์ สำหรับการเช็ดศีรษะ จะต้องใช้น้ำวุฎูอ์ที่เหลืออยู่และไม่สามารถใช้น้ำใหม่ในการเช็ดได้(41) ในขณะเดียวกัน มัสฮับต่างๆของอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ มีทัศนะที่แตกต่างกันในวิธีการเช็ดศีรษะ(42) ตามหลักฟิกฮ์ฮะนาฟี ถือว่า เป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องเช็ดศีรษะพร้อมทั้งใบหูทั้งสองข้าง(43) และจะต้องใช้น้ำใหม่ในการเช็ดศีรษะอีกด้วย(44) ขณะที่ฟิกฮ์มาลิกี ระบุว่า จะต้องเช็ดทั่วทั้งศีรษะ(45) ในฟิกฮ์ฮะนาฟี การเช็ดหนึ่งในสี่ของศีรษะเป็นวาญิบ(46) ตามหลักการของฟิกฮ์ชาฟิอี ถือว่า การเช็ดศีรษะเพียงเล็กน้อยก็เพียงพอและจะต้องใช้น้ำใหม่อีกด้วย(47)
กรณีการเช็ดบนรองเท้า เป็นประเด็นที่มีความขัดแย้ง ซึ่งชีอะฮ์ถือว่าไม่ถูกต้อง(48) โดยอ้างอิงจากโองการที่ 6 ซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮ์ และริวายัต(49) และด้วยสาเหตุของความแตกต่างกันในประเด็นวุฎูอ์ จึงมีการตะกียะฮ์ และให้ปฏิบัติเหมือนกับวุฎูอ์ของอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ ดังตัวอย่างจากรายงานของอิมามกาซิม(อ.) ที่ตอบคำถามของอะลี บินยักฏีน ที่มีตำแหน่งพิเศษในการปกครองคอลีฟะฮ์บะนีอับบาซียะฮ์ โดยเขาได้รับคำสั่งให้กระทำวุฎูอ์ เหมือนชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ เพื่อที่จะไม่ทำให้ฮารูน อัรรอชีดเกิดความสงสัยในความเป็นชีอะฮ์ของเขา(50) มูซา บินญะอ์ฟัร(อ.) ได้ขอร้องให้อะลี บินยักฏีน อยู่ในการปกครองของคอลีฟะฮ์อับบาซีต่อไป และยังได้รับใช้ต่อบรรดาชีอะฮ์อีกด้วย(51) ในขณะที่ชีอะฮ์จำนวนหนึ่งปฏิเสธที่จะร่วมมือกับบะนีอับบาซียะฮ์(52)
กรณีการเช็ดบนรองเท้า เป็นประเด็นที่มีความขัดแย้ง ซึ่งชีอะฮ์ถือว่าไม่ถูกต้อง(48) โดยอ้างอิงจากโองการที่ 6 ซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮ์ และริวายัต(49) และด้วยสาเหตุของความแตกต่างกันในประเด็นวุฎูอ์ จึงมีการตะกียะฮ์ และให้ปฏิบัติเหมือนกับวุฎูอ์ของอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ ดังตัวอย่างจากรายงานของอิมามกาซิม(อ.) ที่ตอบคำถามของอะลี บินยักฏีน ที่มีตำแหน่งพิเศษในการปกครองคอลีฟะฮ์บะนีอับบาซียะฮ์ โดยเขาได้รับคำสั่งให้กระทำวุฎูอ์ เหมือนชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ เพื่อที่จะไม่ทำให้ฮารูน อัรรอชีดเกิดความสงสัยในความเป็นชีอะฮ์ของเขา(50) มูซา บินญะอ์ฟัร(อ.) ได้ขอร้องให้อะลี บินยักฏีน อยู่ในการปกครองของคอลีฟะฮ์อับบาซีต่อไป และยังได้รับใช้ต่อบรรดาชีอะฮ์อีกด้วย(51) ในขณะที่ชีอะฮ์จำนวนหนึ่งปฏิเสธที่จะร่วมมือกับบะนีอับบาซียะฮ์(52)

ความแตกต่างในการทำวุฎูอ์ เกิดขึ้นในยุคสมัยการปกครองของอุษมาน
นักวิเคราะห์ประวัติศาสตร์บางคน เชื่อว่า ไม่มีความแตกต่างกันในการทำวุฎูอ์ระหว่างหมู่มุสลิมในยุคสมัยของศาสดามุฮัมมัด(ศ็อลฯ)(53) และศาสดา ผู้ทรงเกียรติได้เช็ดเท้า แทนการล้างเท้า(54)นอกเหนือจากยุคศาสดา ในยุคสมัยการปกครองของอะบูบักรก็ไม่มีรายงานว่ามีความแตกต่างกันในการทำวุฎูอ์(55) และในยุคสมัยการปกครองของอุมัร อิบนุค็อฏฏ็อบ มีเพียงกรณี กล่าวคือ การเช็ดบนร้องเท้า(คุฟฟัยน์) ก็ยังไม่มีรายงานเกี่ยวกับความแตกต่างในการทำวุฎูอ์เลย(56)

ตามรายงานจากกันซุลอุมมาล(57) และบางแหล่งอ้างอิง(58) ว่า นักวิเคราะห์ประวัติศาสตร์บางคน เชื่อว่า ความแตกต่างในการทำวุฎูอ์ในหมู่มุสลิม เกิดขึ้นในยุคสมัยการปกครองของคอลีฟะฮ์ที่สาม(อุษมาน) (59) (บันทึกที่ 1) ซัยยิดอะลี ชะฮ์ริสตานี ได้ยืนยันว่ามีความแตกต่างกันระหว่างอิมามอะลี(อ.)กับอุมัร บินค็อฏฏ็อบ เกี่ยวกับการเช็ดบนรองเท้า ซึ่งคอลีฟะฮ์ที่สองได้ทำการเช็ดเท้า โดยมีความแตกต่างกับอุษมาน บินอัฟฟานที่เชื่อว่า ให้ล้างเท้า(60)
บรรดาชีอะฮ์ ด้วยการอ้างอิงจากโองการวุฎูอ์และริวายัตที่เกี่ยวกับวุฎูอ์ เชื่อว่า ศาสดามุฮัมมัด(ศ็อลฯ) และบรรดาศอฮาบะฮ์ ได้ทำวุฎูอ์ตามวิธีของอิมามียะฮ์ กล่าวคือ การเช็ดเท้า ไม่ใช่วิธีการทำวุฎูอ์ของชาวอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ ที่ให้ล้างเท้า(61) ส่วนกรณีการล้างแขนก็มีริวายัตจากศาสดา ผู้ทรงเกียรติ (ศ็อลฯ)ที่รายงานไว้ว่า การทำวุฎูอ์ของศาสดาก็เหมือนกับบรรดาชีอะฮ์ โดยศาสดาได้ล้างแขนจากด้านบนลงสู่ด้านล่าง(62) ตามความเชื่อของชีอะฮ์ ริวายัตที่กล่าวถึงการล้างเช็ดเท้า ซึ่งเป็นกรณีที่อะฮ์ลิซซุนนะฮ์อ้างนั้น อ่อนและไม่มีที่มา นอกเหนือจากนี้ยังมีความขัดแย้งกับโองการวุฎูอ์อีกด้วย(63) มารยาทและสิ่งที่เป็นมุสตะฮับและความสูงส่ง
สิ่งที่เป็นมุสตะฮับในการทำวุฎูอ์ มีด้วยกันหลายประการด้วยกัน
การแปรงฟันก่อนทำวุฎูอ์ ศาสดามุฮัมมัด(ศ็อลฯ) ได้สั่งให้อิมามอะลี (อ.) แปรงฟันก่อนที่จะทำวุฎุอ์ทุกครั้ง(64) กล่าวนามของอัลลอฮ์ ในช่วงเริ่มต้นทำวุฎูอ์ (65) การกลั้วน้ำในปากและจมูก(66) การอ่านซูเราะฮ์อัลก็อดร์ ขณะที่ทำวุฎูอ์และอายะฮ์ตุลกุรซี หลังจากทำวุฎูอ์ การวางภาชนะที่ใส่น้ำสำหรับทำวุฎูอ์ข้างขวามือ(67) ตามริวายัตกล่าวว่า อิมามอะลี(อ.)ได้อ่านดุอาต่างๆในขณะที่กำลังกระทำวุฎูอ์ และผู้ใดก็ตามที่ได้อ่านดุอานี้ในขณะที่เขากำลังทำวุฎูอ์ อัลลอฮ์จะทรงประทานเทวทูตลงมา ตามจำนวนของหยดน้ำจากวุฎูอ์ โดยจะทำการตัซบีฮ์ ตักดีซและตักบีรต่อพระองค์ และผลรางวัลจะถูกบันทึกให้กับผู้ทำวุฎูอ์ ตราบจนถึงวันกิยามัต(68)

ดุอาต่างๆที่อิมามอะลี(อ.)อ่านขณะที่ทำวุฎูอ์

1.ขณะที่เอามือข้างขวาเทน้ำใส่มือข้างซ้าย ให้อ่านว่า

الْحَمْدُ للَّهِ الذی جَعَلَ الْماءَ طَهُوراً وَ لَمْ یَجْعلْه نَجِساً
"การสรรเสริญทั้งมวลเป็นสิทธิ์แด่อัลลอฮ์ พระผู้ซึ่งทรงกำหนดน้ำให้สะอาดและไม่ให้สกปรก"(69)
2.การทำความสะอาด :
اللَّهُمّ حَصِّنْ فَرْجی و أعِفّهُ وَ َ اسْتُر عَوْرتی و حَرّمنی عَلى النّار
"โอ้ข้าแต่อัลลอฮ์ โปรดปกป้องเอาเราะฮ์(อวัยวะพึงสงวน)ของข้าพระองค์และปกปิดมันและทรงทำให้ไฟนรกเป็นที่ต้องห้ามสำหรับข้าพระองค์ด้วยเถิด"(70)
3.ขณะที่เอาน้ำกลั้วจมูก :
اللّهم لا تحرّم عليَّ ريحَ الجنّة و اجعلني ممّن يشمّ ريحها و طيبها و ريحانها
"โอ้ข้าแต่อัลลอฮ์ อย่าได้ทำให้กลิ่นหอมของสวรรค์ เป็นที่ต้องห้ามสำหรับข้าพระองค์และโปรดให้ข้าพระองค์ไปดมกลิ่นและความหอมหวานของมันด้วยเถิด"(71)
4.ขณะที่เอาน้ำกลั้วปาก :
اللّهمّ أنطق لساني بذكرك و اجعلني ممّن ترضى عنه

"โอ้ข้าแต่อัลลอฮ์ ขอพระองค์ทรงโปรดทำให้ลิ้นของข้าพระองค์รำลึกถึงพระองค์และโปรดทำให้ข้าพระองค์เป็นหนึ่งในบุคคลที่พระองค์ทรงพึงพอพระทัยด้วยเถิด"(72)
5.การล้างหน้า :
اللّهم بيّض وجهي يوم تَسوّد فيه الوجوه و لا تُسَوّد وجهي يوم تبيضّ فيه الوجوه
"โอ้ข้าแต่อัลลอฮ์ โปรดทำให้ใบหน้าของข้าพระองค์ขาวสะอาดในวันที่ใบหน้าทั้งหลายดำหมองและขออย่าให้ใบหน้าของข้าพระองค์ดำหมองในวันที่ใบหน้าทั้งหลายขาวสะอาด"(73)
6.การล้างแขนขวา :
اللّهمّ أعطني كتابي بيميني و الخلد بيساري

"โอ้ข้าแต่อัลลอฮ์ โปรดประทานบัญชีความดีงามด้วยมือขวาของข้าพระองค์และความนิรันดรด้วยมือซ้ายของข้าพระองค์"(74)
7.การล้างแขนซ้าย :

اللّهمّ لا تعطني كتابي بشمالي و لا تجعلها مغلولة إلى عنقي و أعوذ بك من مقطّعات النّيران
"โอ้ข้าแต่อัลลอฮ์ ขอพระองค์ทรงอย่าได้ประทานบัญชีความชั่วร้ายด้วยมือซ้ายของข้าพระองค์ และอย่าได้ทำให้เป็นโซ่คล้องคอของข้าพระองค์ และขอคุ้มครองจากพระองค์ให้หลุดพ้นจากอาภรณ์แห่งไฟนรก"(75)
8.การเช็ดศีรษะ :
اللّهمّ غشّني برحمتك و بركاتك و عفوك، اللهم غشّني برحمتك و بركاتك و عفوك
"โอ้ข้าแต่อัลลอฮ์ โปรดครอบคลุมข้าพระองค์ด้วยความเมตตาของพระองค์ และบะรอกัต(เกียรติ)ของพระองค์และการอภัยของพระองค์"(76)
9.การเช็ดเท้า :
اللّهمّ ثبّت قدميّ على الصّراط يوم تزلّ فيه الأقدام و اجعل سعيي فيما يرضيك عنّي

โอ้ข้าแต่อัลลอฮ์ ขอพระองค์ทรงทำให้ข้าพระองค์ยืนหยัดบนแนวทางของพระองค์ในวันซึ่งเท้าต่างๆนั้นสั่นสะเทือนและโปรดทำให้ความพยายามของข้าพระองค์ เป็นความพึงพอพระทัยของพระองค์ด้วยเถิด(77)
มีริวายัตจากชีอะฮ์และซุนนี มากกว่า 400 ฮะดีษที่รายงานเกี่ยวกับหลักการวุฎูอ์ ซึ่งศาสดา ผูทรงเกียรติ(ศ็อลฯ)และบรรดาอิมาม ผู้บริสุทธิ์ของชีอะฮ์(อ.)ได้กล่าวถึงลักษณะพิเศษและความสูงส่งของการทำวุฎูอ์(78)บางรายงานกล่าวว่า การทำวุฎูอ์ เป็นการชำระล้างความผิดบาปให้สะอาด(79) การทำวุฎูอ์ จะขจัดความโกรธกริ้ว(80)การทำวุฎูอ์ ถือเป็นการทำให้มีอายุยืน(81) การทำวุฎูอ์ จะทำให้มีใบหน้าที่มีรัศมี ณ ทุ่งมะฮ์ชัร(82)การทำวุฎูอ์ จะเป็นการเพิ่มปัจจัยยังชีพ(83) และเช่นเดียวกันการมีความประเสริฐของการทำวุฎูอ์เป็นครั้งที่สอง(84)และมีรายงานอีกว่า การทำวุฎูอ์ เปรียบเสมือนเป็นการขอลุแก่โทษ(เตาบะฮ์)(85)

 ที่มา

วิกิชีอะฮ์