มะฟาติฮุลฮายาต หมายเลข 157 -158

มะฟาติฮุลฮายาต หมายเลข 157-158 

ความสะอาด สุขอนามัย 
ความสะอาดทางจิต
ร่างกายของมนุษย์ต้องการความสะอาดและสุขอนามัย ในทางกลับกัน ในแง่ของจิต จิตของมนุษย์เองก็ต้องการความสะอาดด้วยเช่นกัน มีอายัตและรีวายัตที่นำเสนอเรื่อง สุขภาพจิต การไม่แปดเปื้อนมลทิน และวิธีการทำความสะอาดไว้อย่างมากมาย โดยแหล่งความรู้เหล่านั้นได้ชี้ให้เห็นว่า การจะทำความสะอาดสิ่งที่เป็นมลทินได้ มีวิธีการในการบำบัดรักษาเฉพาะอยู่[1]
 นอกจากนี้อะอ์กามของพระผู้เป็นเจ้ามากมาย ก็ยังมีจุดประสงค์เพื่อปกป้องและชำระล้างจิตใจและความคิดของมนุษย์ให้พ้นจากมลทินและความป่วยไข้ ดังที่มีระบุในบางส่วน เช่น การกัฟฟาเราะฮ์ จะเป็นสิ่งที่ทำหน้าที่ชำระล้างและบำบัดจิตใจจากความสกปรกโสมม 
อมีรุลมุอฺมีนีน(อลัยฮิสลาม)กล่าวว่า พระองค์ทรงบัญชาให้ละเลิกการดื่มสุราเมรัยโดยถือให้กิจนี้เป็นวาญิบ ก็เพื่อรักษาสุขภาพของสติปัญญา[2]

หมายเลข 158
พระองค์อัลลอฮทรงกำหนดให้อัลกุรอ่าน คือ เครื่องบำบัดและเยียวยา[3]
พระองค์ทรงชี้ถึงความป่วยและการเป็นโรค และเราเองก็เห็นโรคเหล่านี้ในทางซอฮิร(ภายนอก) และเรายังเห็นถึงภัยอันตรายของมันด้วย ทว่าภัยอันตรายจากโรคในทางบาฏิน(ภายในจิตวิญญาณ) เช่น การมองสิ่งที่เป็นฮะร่าม,ความไร้ยางอาย การไร้ซึ่งฮิญาบ และอื่นๆกลับเป็นสิ่งที่เราละเลย
ในโองการหนึ่งพระองค์กล่าวว่า 

{ فَلَا تَخۡضَعۡنَ بِٱلۡقَوۡلِ فَیَطۡمَعَ ٱلَّذِی فِی قَلۡبِهِۦ مَرَضࣱ وَقُلۡنَ قَوۡلࣰا مَّعۡرُوفࣰا }
ไม่บังควรที่จะพูดจาเพราะพริ้งนัก เพราะจะทำให้ผู้ที่ในหัวใจของเขามีโรคเกิดความโลภ แต่จงพูดด้วยถ้อยคำที่พอเหมาะพอควร[4]

ตัวบท
[1] . ر.ك: تفسیر موضوعی قرآن كریم، ج11، «مراحل اخلاق در قرآن» ص69.
[2] . فَرَضَ اللَّه... تَرْكَ شُرْبِ الْخَمْرِ تَحْصِیناً لِلْعَقْلِ (نهج البلاغة، حكمت 252).
[3] . ﴿ونُنَزِّلُ مِنَ القُرءانِ ما هُوَ شِفاءٌ ورَحمَةٌ﴾ (سورهٴ اسراء، آیهٴ 82).
[4] . سورهٴ احزاب، آیهٴ 32.
อ้างอิง 
 مفاتیح الحیات ص 139.
ทุกวันกับมะฟาติฮุลฮะยาต 
อยาตุลลอฮอัลอุซมา_ญะวาดี_ออมูลี