ฮะลาล

ฮะลาล

 

ฮะลาล ตรงข้ามกับฮะรอม หมายถึง สิ่งที่ได้รับอนุมัติจากศาสนบัญญัติและสติปัญญา ในบางแหล่งข้อมูลทางนิติศาสตร์ ใช้คำว่า ฮะลาล เป็นความหมายเดียวกับคำว่า มุบาฮ์ แต่ทว่ามีความแตกต่างกัน โดยกล่าวว่า ฮะลาล เป็นหลักอะฮ์กามที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการกระทำของมุกัลลัฟ ซึ่งมีความหมายกว้างกว่ามุบาฮ์ เพราะว่า ทุกสิ่งที่มุบาฮ์ เป็นสิ่งที่ฮะลาล แต่ทุกสิ่งที่ฮะลาล มิใช่สิ่งมุบาฮ์

ตามทัศนะของบรรดาฟะกีฮ์ เห็นว่า หากว่ามีความสงสัยในสิ่งหนึ่งสิ่งใดว่า เป็นฮะรอมหรือฮะลาล ให้ถือว่า สิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ฮะลาล และในริวายะฮ์ ยังมีคำสั่งให้เรียนรู้ในอะฮ์กามฮะลาลและฮะรอม ทั้งการแสวงหาปัจจัยยังชีพที่ฮะลาลอีกด้วย

ในปี 2007 ค.ศ. มูลนิธิฮะลาลสากล ได้ก่อตั้งเพื่อขยายวัฒนธรรมของฮะลาล และเช่นเดียวกัน ในวันที่ 17 รอมฎอน ได้มีการตั้งชื่อวันแห่งฮะลาลสากล
ความหมาย

ฮะลาล ตรงกันข้ามกับฮะรอม หมายถึง สิ่งที่ได้รับการอนุมัติจากศาสนบัญญัติและสติปัญญา (1) กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า สิ่งที่ไม่เป็นที่ต้องห้ามและการกระทำหรือการละทิ้งมันจะไม่มีการลงโทษแต่อย่างใด (2)

ฮะลาล ทางด้านภาษา หมายถึง การแก้เชือก (3) ตามคำกล่าวของอะลี กุรอชี คำว่า ฮิล หมายความว่า ฮะลาล และได้รับมาจากการเปิดและการขยายออกของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง และฮาลาล จึงเป็นสิ่งที่ได้เปิดความต้องห้ามจากมัน(4)

ตามคำกล่าวนักวิเคราะห์บางคน ถือว่า การใช้คำว่า ยะญูซุ ในนิติศาสตร์ ให้ความหมายว่า ยะศิฮุ (ความถูกต้องของสิ่งหนึ่งสิ่งใด) และบางครั้ง ให้ความหมายว่า ยะฮิลลุ (การทำให้ฮะลาลของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง) และในการงานต่างๆที่ไม่มีข้อห้ามตามศาสนบัญญัติ (5)

มีริวายะฮ์ รายงานจากอิมามศอดิก (อ.) กล่าวว่า การเรียนรู้ฮะดีษที่เกี่ยวกับฮะลาลและฮะรอม จากผู้ที่ซื่อสัตย์นั้นมีความประเสริฐเหนือโลกนี้ ทั้งจากการได้รับเงินและทองคำของมัน (6)
ความแตกต่างกับคำว่า มุบาฮ์

บางคนใช้คำว่า ฮะลาล เป็นคำที่มีความหมายเดียวกับคำว่า มุบาฮ์ (7) และบางคนเห็นว่าทั้งสองคำนี้มีความแตกต่างกัน (8) และความแตกต่างกันมีดังต่อไปนี้

ฮะลาลทางนิติศาสตร์ ตรงกันข้ามกับฮะรอม และรวมถึงสิ่งต่างๆที่ไม่ใช่ฮะรอม เช่น วาญิบ มุสตะฮับ มักรูฮ์ และมุบาฮ์ (9) ด้วยเหตุนี้เอง ฮะลาลจึงมีความหมายกว้างกว่ามุบาฮ์ หมายความว่า ทุกการมุบาฮ์ เป็นฮะลาล แต่ทุกการฮะลาลมิได้เป็นมุบาฮ์ เช่น มักรูฮ์ ซึ่งเป็นฮะลาล แต่ทว่า ไม่ได้เป็นมุบาฮ์ (10)

มุบาฮ์ ถือเป็นอะฮ์กามตักลีฟีย์ และมีความเกี่ยวข้องมนุษย์โดยตรง (11) แต่ทว่า ส่วนฮะลาล เป็นอะฮ์กามวัฎอีย์และซึ่งอยู่กับสิ่งที่อยู่ภายนอก (12)

ฮะลาล หมายความว่า การเปิดปมที่ถูกต้องห้ามและการขจัดสิ่งต้องห้าม ในขณะที่มุบาฮ์ หมายถึง การขยายในการกระทำจากการกระทำหรือการละทิ้งสิ่งนั้น (13)
กออิดะตุลฮิลลียะฮ์

เป็นกฏหนึ่งทางหลักนิติศาสตร์ ซึ่งบ่งชี้ถึงการอนุญาตให้บริโภคในสิ่งที่มีความสงสัยว่า สิ่งนั้นเป็นฮะลาลหรือฮะรอม(14) ตามกฏนี้ เมื่อใดก็ตามที่มีความสงสัยว่า สิ่งนั้นเป็นฮะลาลหรือฮะรอม ถือว่า สิ่งนั้นเป็นฮะลาล(15) สำหรับการพิสูจน์กฏนี้ได้อ้างหลักฐานจากอัลกุรอาน โองการที่ 29 ซูเราะฮ์อัลบะกอเราะฮ์ พระองค์ คือ ผู้ซึ่งทรงสร้างสิ่งที่อยู่ในแผ่นดินทั้งหมดสำหรับพวกเจ้า (16) และฮะดีษ รายงานจากอิมามศอดิก (อ.) กล่าวว่า ทุกสิ่งสำหรับเจ้านั้นเป็นฮะลาล จนกว่าเจ้าจะรู้ว่า มันเป็นฮะรอมด้วยตัวของมันเอง (17)
ปัจจัยยังชีพที่ฮะลาล

เป็นรายได้ที่ได้รับภายใต้กรอบของกฏหมายตามศาสนบัญญัติและเป็นสิทธิของพระเจ้า เช่น คุมส์และซะกาต และไม่ได้เป็นสิทธิของมนุษย์เลย (18) ในริวายะฮ์ต่างๆได้กล่าวถึงการแสวงหาปัจจัยยังที่ฮะลาล (19) ยกตัวอย่างเช่น ริวายะฮ์หนึ่ง รายงานจากอิมามศอดิก (อ.) กล่าวว่า ผู้ใดก็ตามที่เขานั้นได้แสวงหาปัจจัยยังชีพที่ฮะลาล เท่ากับเขาได้ต่อสู้ในแนวทางของอัลลอฮ์ และเช่นเดียวกัน มีริวายะฮ์ รายงานจากศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) กล่าวว่า อันที่จริงสำหรับการอิบาดะฮ์นั้นมี 70 ส่วน (20) และส่วนที่ประเสริฐที่สุดของมัน คือ การแสวงหาปัจจัยยังชีพที่ฮะลาล (21)
สถาบันฮาลาลสากล

โลโก้ของสถาบันฮาลาลโลก ซึ่งเขียนไว้ที่แถบด้านข้างว่า "องค์กรเพื่อการพัฒนาการค้าฮาลาลระหว่างประเทศ"(22)

สถาบันฮาลาลโลก (Halal World Institute) ก่อตั้งขึ้นในปี 2007 ค.ศ. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่วัฒนธรรมฮาลาล ซึ่งสถาบันนี้ดำเนินการในด้านอุตสาหกรรมและอาหาร ยาและเครื่องสำอาง ร้านอาหารและโรงแรม การท่องเที่ยง กีฬาและการค้าฮาลาล (23)

นอกจากนี้ วันที่ 17 ของเดือนรอมฎอนยังได้รับการขนานนามว่าเป็นวันฮาลาลโลก(24)

เนื่องจากการประทานลงมาของโองการอัลกุรอาน

يَا أَيُّهَا النَّاسُ كُلُوا مِمَّا فِي الْأَرْضِ حَلَالًا طَيِّبًا

โอ้มนุษย์เอ๋ย พวกเจ้าจงบริโภคสิ่งอนุมัติที่ดีๆ จากสิ่งที่อยู่ในแผ่นดิน (25)

ในวันที่ 17 เดือนรอมฎอน วันนี้ จึงถือเป็นวันฮาลาลโลก (26)และในทุกปีจะมีการจัดสัมมนาเกี่ยวกับวันฮาลาลโลกและมีการหารือกันเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดและปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมฮาลาล(27) ทั้งนี้ การจัดสัมมนาครั้งแรก ถูกจัดขึ้นที่ประเทศอิหร่าน เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2014 ค.ศ. ณ ศูนย์ประชุมหอมีลาด กรุงเตหะราน