อิสลามกับประชาธิปไตย (ตอนที่ 13)

อิสลามกับประชาธิปไตย (ตอนที่ 13)


 

เราควรให้คุณค่ากับประชาธิปไตยหรือไม่ เพราะเหตุใด?
เหตุผลสำหรับผู้ที่เคารพระบบดังกล่าวและให้ความสำคัญกับมัน นั่นคือ เป้าหมายของระบบดังกล่าว คือ ความเท่าเทียมกันในสิทธิความเป็นพลเมือง การตอบสนองความต้องการทั่วไปของประชาชน พหุนิยมและการประนีประนอม การรับประกันเสรีภาพขั้นพื้นฐาน การสร้างสังคมใหม่  และกรณีต่างๆ เหล่านี้ ซึ่งแน่นอนว่าเป็นค่านิยมและบรรทัดฐานทางสังคม บ้างกล่าวว่า: เหตุผลที่สนับสนุนประชาธิปไตย คือ ประชาธิปไตยเป็นนโยบายที่ชาญฉลาดเท่านั้น และระบบดังกล่าวนำไปสู่การกระจายพฤติกรรมทางสังคมอย่างยุติธรรม หรือว่าประชาธิปไตยส่งเสริมเสรีภาพในการแสดงออก ส่งเสริมการเติบโตทางปัญญาและเหนือสิ่งอื่นใดเพราะ; ประชาธิปไตยเป็นคุณค่าและเสรีภาพที่แท้จริง ภราดรภาพและความเสมอภาคเป็นสโลแกนหลักของตน และท้ายที่สุดแล้วประชาธิปไตยก็คือการปกครองตนเอง
 ในความเห็นที่ว่าประชาธิปไตยเป็นนโยบายที่ชาญฉลาด จงตั้งใจฟังคำพูดของคาร์ล โคเฮน:
 ในรูปแบบต่าง ของการปกครอง ประชาธิปไตยเป็นรูปแบบเดียวที่น่าจะนำไปสู่ นโยบายที่ชาญฉลาดในระยะยาว แต่คำกล่าวนี้ไม่ได้หมายความว่าประชาชนทำผิด ไม่ได้ในการปกครองนี้ หรือการลงคะแนนของพวกเขาเป็นไปตามการตัดสินใจของพระ เจ้า เป็นไปได้ว่าสมาชิกของสังคมจะทำความผิดพลาดขึ้นในการปกครองของตน และ ส่วนใหญ่ก็ทำเช่นนั้น แต่ประเด็นที่กล่าวถึงในที่นี้คือ ในลักษณะไหนที่สามารถจะหลีกเลี่ยงจากความผิดพลาดที่ใหญ่หลวงได้ ในเมื่อนโยบายของสังคมถูกกำหนดโดยคนเพียงคนเดียวหรือไม่กี่คน หรือถูกควบคุมโดยผู้ควบคุมทั้งหมด (หรือส่วนใหญ่)? การมีอยู่ของบุคคลอัตตาธิปไตยผู้มีปัญญาอย่างยิ่ง ได้กำหนดและใช้กฎหมายที่ดีที่สุด เลือกเฉพาะคนที่ดีที่สุดเป็นผู้แทนของตน เพื่อให้เกิดความยุติธรรมขึ้นอย่างที่สุดและเป็นแรงจูงใจดีที่สุดสำหรับการเติบโตทางวัฒนธรรมของสังคม เป็นอุดมคติที่ส่วนใหญ่ให้รับการสนับสนุน ดังที่ John Stuart Mill ได้นำเสนอไว้อย่างมีประสิทธิภาพ... อุดมคตินี้เป็นจินตภาพที่เป็นเท็จโดยสิ้นเชิง ซึ่งในทางปฏิบัติ...จะดูไร้สติ เบาปัญญาและอันตรายยิ่งกว่า
 คนอื่น ๆ ได้สรุปคุณค่าของประชาธิปไตยอย่างซื่อสัตย์เกี่ยวกับแนวคิดสามประการ: เสรีภาพ; ความเสมอภาคและภราดรภาพ. พวกเขาเชื่อว่าประการแรกประชาธิปไตยได้รับความชอบธรรมสูงสุดจากหลักการที่ชัดเจนสองประการ ประการแรก อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนไม่ใช่ของใครอื่น ประชาชนทุกคนที่ประกอบเป็นผู้ปกครองนี้ ในแง่ของสิทธิ โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับสิทธิความเป็นพลเมืองของพวกเขา พวกเขาจะเท่าเทียมกัน นอกจากนั้นจำนวนและความหลากหลายของผู้ปกครอง; ไม่มีผลเสียต่อความสามัคคีของพวกเขา พวกเขายังคงใช้อำนาจทางการเมืองได้อย่างเด็ดขาด
 สิ่งที่พูดเป็นบทสรุปจากมุมมองของผู้ที่ถือว่าการเคารพในระบอบประชาธิปไตยเป็นข้อบังคับ ไม่เป็นความลับสำหรับผู้ที่รู้ว่ามีการอภิปรายมากมายเกี่ยวกับแต่ละคำเหล่านี้ แต่เห็นได้ชัดว่าความกังวลของมิลล์และโคเฮนและบุคคลเช่นพวกเขา เป็นเพียงเพราะขาดผู้ดำเนินการที่ดีและมีประสิทธิภาพและการขาดการรับประกันในการดำเนินการ เหมือนดังที่เราตระหนักและให้ความหวังแก่พวกเขาที่มีผู้ดำเนินการเช่นนี้ในศาสนาอันศักดิ์สิทธิ์ของอิสลาม? เขาน่าจะหยุดพูดหยาบคายโจมตีและยอมรับความจริงได้แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝ่ายตรงข้ามและแม้กระทั่งผู้สนับสนุนประชาธิปไตยบางคนได้โจมตีรากฐานของประชาธิปไตยบางส่วน John Stuart Mill เชื่อว่าคนที่ใช้อำนาจไม่ใช่คนเดียวกับที่ถูกใช้เสมอไป! Matthew Lipman ยังเชื่อว่าประชาชนไม่สามารถบริหารรัฐบาลได้! Voltaire เคยพูดว่า:
 ฉันยอมเชื่อฟังราชสีห์ที่ดีซึ่งเกิดมาแข็งแกร่งกว่าฉันมากกว่าหนูสองร้อยตัวอย่างฉัน
 แม้ว่า Rousseau จะเป็นผู้สนับสนุนประชาธิปไตย แต่เขากล่าวว่า:
คนอังกฤษคิดว่าพวกเขามีเสรีภาพ พวกเขาคิดผิดมาก เพราะเสรีภาพของพวกเขาถูกจำกัดอยู่แต่เพียงการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาเท่านั้น เมื่อการเลือกตั้งสิ้นสุดลง; ประชาชนเป็นเพียงได้แค่ทาสก็เท่านั้น
 Rene Gunon นักวิชาการชาวฝรั่งเศสยังมีความเห็นว่าหากเรานิยามประชาธิปไตยว่าเป็นการปกครองของประชาชนที่อยู่เหนือประชาชน ย่อมทำให้เกิดสิ่งที่ไม่อาจเกิดขึ้นได้และเป็นไปไม่ได้ เขาเขียน:
 เราไม่ควรปล่อยให้พวกเขาหลอกเราด้วยคำพูด และถ้าเรายอมรับว่าคนที่(อยู่ในตำแหน่ง)ถาวรและมีหนึ่งเดียว ในหนึ่งเดียวนั้นสามารถเป็นได้ทั้งผู้ปกครองและถูกปกครองในเวลาเดียวกัน เราได้ประสบกับความขัดแย้งแล้ว
 ไม่ว่าในกรณีใด สิ่งที่สามารถที่จะปกป้องและมีคุณค่าคือประชาธิปไตยประเภทนั้นที่ไม่เผชิญหน้า กร้าวกับศาสนาและสำนักคิดสัจธรรมแห่งอิสลาม ซึ่งเป็นสิ่งที่ชะฮีดมุฏอฮารีย์และนักวิชาการอิสลามผู้ตื่นรู้เรียกว่าประชาธิปไตยแบบอิสลาม ซึ่งอันที่จริงก็คือประชาธิปไตยทางศาสนา ดังนั้นหากประชาธิปไตยทางศาสนา หมายถึงการปกครองของพระเจ้าและการรัฐบาลของประชาชน กล่าวคือประชาชนมีส่วนร่วมและให้ความร่วมมือในด้านการตัดสิน การบริหารตามรูปแบบที่พระเจ้าตรัสไว้ อีกด้านหนึ่ง ขยายกฎให้อยู่ในขอบเขตแห่งพระประสงค์ของพระเจ้า เพื่อผลลัพธ์ที่ว่า; รัฐบาลของประชาชนและการปกครองของพระเจ้าไม่ได้อยู่ในแนวระนาบเดียวกันเลยนั้นย่อมเป็นระบอบการปกครองที่เป็นที่ต้องการและเป็นที่ยอมรับ เป็นที่ชัดเจนว่าการที่สองสิ่งไม่ได้อยู่ในแนวระนาบเดียวกัน การเลือกทั้งสองอย่างพร้อมกันนั้นในแนวตั้งนั้นไม่ถือเป็นปัญหาแต่อย่างใด ประชาธิปไตยทางศาสนาในสังคมอิสลามและประเทศเราก็เป็นเช่นนั้น
 ดังนั้นเราจึงยืนหยัดที่จะปกป้องประชาธิปไตยทางศาสนาและรัฐบาลของประชาชนประเภทนี้ ด้วยเหตุที่จะกล่าวต่อไป ; เราตระหนักถึงคุณค่าที่แท้จริง:
ก) เนื่องจากหลายโองการที่อัลกุรอานได้ประณามการกดขี่และชื่นชมความยุติธรรม และถือว่ามนุษย์มีหน้าที่รับผิดชอบต่อสิ่งเหล่านั้น
ข) โองการต่างๆ อันจำเริญได้บัญชาให้ต่อสู้กับรัฐบาลทรราช และผู้ปกครองที่กดขี่
ข) แม้ว่าการแยกอำนาจ รัฐสภา;การสำรวจความคิดเห็น และ... ไม่มีในอัลกุรอาน; อย่างไรก็ตาม ในอิสลามไม่ได้มีคำสั่งการประณามและตำหนิ(การบริหารจัดการในลักษณะนี้)เช่นกัน
ค) บทบัญญัติที่มีการเปลี่ยนแปลงของอิสลามที่สอดคล้องกับยุคสมัยก็ช่วยพวกเราไว้ได้อย่างมาก
ง) วิถีปฏิบัติของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ศ็ฮลฯ) ท่านอาลี มุรตะฎอ(อ.)  ในการปรึกษาหารือกับผู้คนและ ฯลฯ

 

ฮุจญะตุลอิสลาม ดร. นัศรุลลอฮ์ สิคอวะตี ลอดอนี / เขียน
เชคอิมรอน พิชัยรัตน์/แปล