เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

อิสลามกับประชาธิปไตย (ตอนที่ 21)

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

อิสลามกับประชาธิปไตย (ตอนที่ 21)

 


4. สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
การเคารพสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองของประชาชนถือเป็นหนึ่งในสี่เสาหลักของระบอบประชาธิปไตย
 บางท่านได้ถือว่าสิทธิพลเมือง-สิทธิทางการเมืองของประชาชน เป็นเช่นนี้: เสรีภาพและความปลอดภัยของปัจเจก การปฏิบัติที่เหมาะสม เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เสรีภาพในการพูดและสื่อ เสรีภาพในการเข้าถึงข้อมูลและเสรีภาพในการชุมนุม
 ทีนี้ หากคำนึงสิ่งเหล่านี้ทั้งหมด สิทธิส่วนบุคคลและสิทธิส่วนรวมทั้งหมดของมนุษย์ได้รับการเคารพหรือไม่? หรือมีเพียงบางแง่มุมเท่านั้นที่ถึงจุดอิ่มตัว? แม้ว่าคำตอบสำหรับคำถามนี้จะมีรายละเอียดที่จะกล่าวต่อไป  แต่เราต้องกล่าวว่าสิ่งที่กล่าวถึงสิทธิทั้งหมดของมนุษย์ในสังคมนั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของสิทธิที่แน่นอนของเขา
ลักษณะเฉพาะของระบอบประชาธิปไตยที่ถูกเสนอไปนั้นมีความเป็นจริงได้มากน้อยเพียงใด?
ดูเหมือนว่าชาวตะวันออกบางคนได้แจกแจงคุณลักษณะของประชาธิปไตยและได้เข้าถึงความเชื่อที่แม้แต่ชาวตะวันตกเองยังไม่ถึงระดับความเชื่อมั่นและความเชื่อดังกล่าว หนึ่งในคนเหล่านี้ได้อธิบายคุณลักษณะการปกครองแบบประชาธิปไตยไว้อย่างนี้
 1. ในระบอบประชาธิปไตยมีการแบ่งและเป็นอิสระของอำนาจอย่างแท้จริง แต่ในระบอบเผด็จการไม่มีการแบ่งอำนาจหรือเป็นเพียงแค่ผิวเผินเท่านั้น
 2. ในระบอบประชาธิปไตย พรรคการเมืองมีอิสระและแข็งขัน และยอมรับสิทธิของชนกลุ่มน้อย แต่ในระบอบที่ไม่ใช่ประชาธิปไตย ไม่มีระบบพรรค หรือมีพรรครัฐบาลแต่ปกครองโดยเผด็จการเสียงข้างมาก
 3. หลักการที่สำคัญที่สุดของประชาธิปไตยคือการถือว่ามนุษย์ผิดพลาดได้ และควรลดข้อผิดพลาดให้เหลือน้อยที่สุดด้วยการกำกับดูแลของประชาชน ดังนั้นในรัฐบาลประชาธิปไตย เสรีภาพในการพูดและการวิจารณ์จึงได้รับการประกัน ในขณะที่ระบอบเผด็จการจะกีดกันเสรีภาพด้วยการเซ็นเซอร์อย่างหนักหน่วงและรุนแรง
 4. การเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยนั้นเสรีและไม่มีเงื่อนไข แต่ในระบอบเผด็จการมีเสรีให้เลือกผู้ลงสมัครตามที่รัฐนำเสนอเท่านั้น
 5.  ศาสนาและความเชื่อทางการเมืองนั้นเสรีในระบอบประชาธิปไตย แต่ในระบอบเผด็จการศาสนา การเมืองและสหภาพแรงงานเป็นของรัฐ
 6. ในระบอบประชาธิปไตย ทุกคนเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมาย แต่ในรัฐบาลอื่น ๆ พวกเขาได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายตามระยะความห่างและความใกล้ชิดกับปิระมิดแห่งอำนาจ
 7. ประเทศประชาธิปไตยต่อต้านสงครามเพราะความเสียหายทางวัตถุและจิตวิญญาณ แต่ประเทศที่ไม่ใช่ประชาธิปไตยยินดีต้อนรับการทำสงครามและความขัดแย้งเพื่อหลีกหนีจากปัญหาภายในและวิกฤตการณ์ทางสังคม
 8. ในระบอบประชาธิปไตย ผู้ปกครองเข้าสู่อำนาจโดยการลงคะแนนเสียงของประชาชน และถูกถอดถอนออกจากอำนาจโดยการลงคะแนนเสียงของประชาชน แต่ในระบบเผด็จการ ผู้ปกครองอาจเข้าสู่อำนาจโดยการลงคะแนนเสียงของประชาชน แต่พวกเขาไม่เคยถูกถอดถอนออกจากอำนาจโดยประชาชน
 9. ความพึงพอใจและความสะดวกสบายของประชาชนเป็นเป้าหมายพื้นฐานในประเทศประชาธิปไตย ในขณะที่มันเป็นความปรารถนาของผู้ปกครองของประเทศที่ไม่ใช่ประชาธิปไตย แต่มักไม่บรรลุผล
 10. ผู้ปกครองของประเทศประชาธิปไตยมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประชาชนและในหมู่ประชาชน ในขณะที่ผู้ปกครองของประเทศที่ไม่เป็นประชาธิปไตยอยู่ภายใต้มาตรการรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวดและผ่านไปอย่างรวดเร็วในหมู่ประชาชน
 นี่คือคุณลักษณะเฉพาะที่บางคนคิดว่าระบอบประชาธิปไตยมีในทางปฏิบัติ ดังนั้น เนื่องจากการสนทนาของพวกเขาเลยผ่านทฤษฎีไปแล้ว และในความเป็นจริงพวกเขาได้เข้าสู่สนามปฏิบัติเพื่อปกป้องตัวเองอย่างเต็มที่ การกล่าวถึงเรื่องนี้ด้านล่างต่อไปนี้จึงดูเหมือนเป็นสิ่งจำเป็น
 โดยผิวเผินแล้วดูเหมือนว่าผู้เขียนบรรทัดข้างต้นมองโลกในแง่ดีมากกว่านักคิดชาวตะวันตกเกี่ยวกับการมีอยู่ของคุณลักษณะและหลักการเหล่านี้ในระบอบประชาธิปไตยในปัจจุบัน
วิพากษ์วิจารณ์คุณลักษณะต่างๆ ข้างต้น


ฮุจญะตุลอิสลาม ดร. นัศรุลลอฮ์ สิคอวะตี ลอดอนี/เขียน
เชคอิมรอน พิชัยรัตน์/แปล

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม