เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

อิสลามกับประชาธิปไตย (ตอนที่ 20)

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

อิสลามกับประชาธิปไตย (ตอนที่ 20)


 


การเป็นประชาธิปไตยต้องคู่กับการทำให้เป็นวิถีประชาหรือไม่??
Guy Hermet ระหว่างการปราศรัยแบบกึ่งละเอียดในเรื่องนี้; เขาต้องการให้ระหว่างค่านิยมทางศาสนาแบบเก่ากับค่านิยมประชาธิปไตยยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาและยุคใหม่ เป็นทั้งแบบดีกันและโกรธกัน ในแบบหลังนี้ตามความเห็นของเขาแล้วชัยชนะเป็นของประชาธิปไตย จนถึงตอนนี้เป้าหมายของเขาเกี่ยวกับศาสนาคือศาสนาคริสต์เท่านั้น บางครั้งเขาได้เตือนการให้ความใกล้ชิดมากเกินไประหว่างทั้งสอง(ศาสนาและประชาธิปไตย) หรือความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของค่านิยมทางศาสนากับอารยธรรม; เขาได้หยิบยกเรื่องราวของพระสันตปาปาและยุคกลางมาเตือน  บางครั้งเขาถือว่าประเด็นนี้ถูกต้องที่ว่าศาสนาสามารถเน้นคุณค่าของความศรัทธาและคุณค่าของประชาธิปไตยได้ในแต่ละเรื่อง; เชื่อว่าไม่มีศาสนาใดจะเป็นอิสระได้อย่างไร้ขอบเขต หากไม่ได้ห้ามความเป็นอิสระสัมพัทธ์อำนาจทางการเมือง แต่อย่างน้อยก็ย่อมต้องมีปัญหาในระดับอื่น  Guy Hermetเชื่อว่าทุกที่ของโลกที่สาม ฝั่งหนึ่งคือกลุ่มอนุรักษ์นิยมส่วนอีกฝั่งหนึ่งคือกลุ่มต่อต้านอนุรักษ์นิยมหรือผู้ที่สนับสนุนการตีความที่เปิดกว้างและการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น พวกเขาตกหล่มการต่อสู้!แน่นอนว่าผลลัพธ์ที่สำคัญที่สุดและสุดท้ายคือความมั่นคงหรือความไม่มั่นคงของประชาธิปไตย ในขณะเดียวกัน ไม่ต้องสงสัยเลยว่ามีการต่อสู้ที่รุนแรงมากขึ้นในประเทศอิสลาม และดูเหมือนว่าการเกิดขึ้นของเสรีภาพจะมีสถานการณ์ที่ยากขึ้น นี่คือทฤษฎีของ Guy Hermet และผู้ที่มีทัศนะเหมือนเขาที่มองสถานการณ์ปัจจุบันของประเทศอิสลามอย่างสังเขป โดยที่พวกเขาไม่รู้ถึงสถานการณ์ที่ดีของมุสลิมและไม่มีข้อมูลเชิงลึกและปราศจากการค้นคว้าที่ลึกซึ้ง ท้ายที่สุดเขาได้ยกทัศนะของมุฮัมหมัด ชารีฟ และกลุ่มนักเคลื่อนไหวบางคนเช่น อิบนุ รุชด์ และอิบนุ คอลดูน; และหลังจากนั้น ฏอฮิร ฮัดดาด ; กาซิม อามิน ; อาลี อับดุล ราซัค; เอี้ยะห์ซาน นะรอกี และ... มาเน้นประเด็นที่ว่าวัฒนธรรมอิสลาม โดยธรรมชาติแล้วไม่หยุดนิ่ง  ด้วยเหตุนี้ทัศนะของผู้เขียนนี้คือ; การทำให้เป็นวิถีประชา; ไม่ใช่องค์ประกอบสำคัญของประชาธิปไตย
 สามารถให้ความหมาย “วิถีประชา” อีกลักษณะหนึ่งโดยไม่ให้มีปัญหาจริงจังกับศาสนาอิสลาม เอี้ยะห์ซาน นะรอกีได้ให้นิยามบริบทและส่วนเสริมต่างๆ เกี่ยวกับ “การทำให้เป็นวิถีประชา”ไว้ ดังนี้:
การทำให้เป็นวิถีประชากับสิ่งที่จำเป็นต้องเสริมเข้ามานั้น คือการดำเนินการตามระบอบประชาธิปไตยที่เฉพาะโดยประชาชนทุกคน ห้ามการขับไล่; การลดสิทธิพิเศษ ความอยุติธรรมทางสังคม และเคารพในเสรีภาพทางความคิด...
 เป็นที่ชัดเจนว่าทั้งหมดนี้ มีในตัวบทของอิสลามและเป็นฝากฝังอันนิรันด์ของอิสลาม เพราะอิสลามเป็นศาสนามหากาพย์และต่อต้านการกดขี่
บางคนพูดว่า:
ตามเงื่อนไขนี้ศาสนากลายเป็นประชาธิปไตยที่ทั้งหมดจะลดทอนความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า
 พวกเขาต้องการแยกระหว่างศาสนาอิสลามกับรัฐบาลอิสลาม ยอมรับให้การปกครองศาสนาเป็นวิถีประชา ในขณะที่ดูเหมือนว่าพวกเขาไม่เชื่ออะไรนอกเหนือไปจากการลดระดับของศาสนาไปสู่ความสัมพันธ์ส่วนบุคคลของมนุษย์กับพระเจ้า ซึ่งลักษณะนี้ก็คือการทำให้ศาสนากลายเป็นวิถีประชาและฆราวาสนิยม
 ชะฮีดมุฏอฮารีไม่เชื่อว่าการเป็นประชาธิปไตยต้องคู่กับการทำให้เป็นวิถีประชาในความหมายของการไม่มีศาสนาและไม่มีศรัทธาของประชาชน ตามความเชื่อของเขา หลักการของประชาธิปไตยไม่เคยตอบรับอุดมการณ์และศาสนาจะปกครองเหนือสังคมหนึ่ง  เหมือนดังที่กลุ่มต่างๆ ที่มีอยู่ในโลกมักจะมีอุดมการณ์ที่เฉพาะและจะรวมเข้าด้วยกันกับระบอบประชาธิปไตย ดังนั้นผู้ที่ถือว่าการเป็นอิสลามของสาธารณรัฐไม่สอดคล้องกับจิตวิญญาณของประชาธิปไตย ประชาธิปไตยที่พวกเขายอมรับยังคงเป็นประชาธิปไตยในศตวรรษที่ 18; ที่สรุปสิทธิมนุษยชนไว้ในกรอบของชีวิตด้านวัตถุ อาหาร เสื้อผ้า ที่อยู่อาศัย เสรีภาพและการเลือก
 กล่าวอีกนัยหนึ่ง; ประชาธิปไตยเคยถูกมองว่าเป็นค่านิยม แต่ตอนนี้มันเป็นวิธีการและรูปแบบการปกครอง นั่นคือเป็นที่ต้องเติมเนื้อหาลงไป
 ดังนั้นเราจึงรู้ ประชาธิปไตยในความหมายทางตะวันตกนั้นไม่อาจรวมเข้ากับอิสลามได้ แต่หากให้ความหมายของเสรีภาพแต่ถ้าเรามองในความหมายของเสรีภาพและการมีส่วนร่วมของประชาชนและความหมายบางสำนวนวิชาการก็ไม่มีอุปสรรคในการนำมารวมกับอิสลาม ถึงตอนนี้เราต้องการดูว่าประชาธิปไตยมีคุณค่าในตัวเองหรือไม่?
4. สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง

 

ฮุจญะตุลอิสลาม ดร. นัศรุลลอฮ์ สิคอวะตี ลอดอนี/เขียน
เชคอิมรอน พิชัยรัตน์/แปล

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม