อิสลามกับประชาธิปไตย (ตอนที่ 18)

อิสลามกับประชาธิปไตย (ตอนที่ 18)



3. รัฐที่โปร่งใสและรับผิดชอบ
รัฐบาลที่โปร่งใสและรับผิดชอบเป็นหนึ่งในสี่หลักการของระบอบประชาธิปไตย เห็นได้ชัดว่าไม่มีความแตกต่างระหว่างความโปร่งใสและความรับผิดชอบของรัฐบาล เดวิด เฮลด์ David Held พูดว่า:
 หากต้องหลีกเลี่ยงจากการฉวยโอกาสของระบบที่มีอยู่จากรัฐบาล รัฐบาลต้อง รับผิดชอบโดยตรงในการเผชิญกับคณะกรรมการคัดเลือกซึ่งมักถูกเรียกให้ตัดสินใจ เกี่ยวกับการบรรลุเป้าหมาย  
แมคเฟอร์สัน McPherson ดูเหมือนจะเชื่อว่ารัฐบาลเสรีนิยมควรถูกควบคุมโดยการแข่งขันระหว่างพรรคการเมืองที่รับผิดชอบต่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ไม่เป็นประชาธิปไตย เลฟต์วิชไม่ได้วิเคราะห์ความรับผิดชอบในมุมมองมหภาคแต่เขาได้วิเคราะห์เพียงบางส่วนของรัฐบาล ซึ่งก็คือธนาคารและหน่วยงานด้านเศรษฐกิจ
 เดวิด บีแธม David Beetham ; เพื่อให้รัฐบาลรับผิดชอบประชาชนตามระบอบประชาธิปไตยได้พิจารณาไว้ 2 รูปแบบพื้นฐานคือ:
 หนึ่งคือความรับผิดชอบทางกฎหมาย หมายถึงการรับผิดชอบผ่านระบบศาลต่างๆ ในกรณีของการยึดมั่นของเจ้าหน้าที่ระบบต่อกฎหมายต่างๆ ซึ่งเรียกว่า “รัฐกฎหมาย”
 อีกรูปแบบคือ; ความรับผิดชอบทางการเมือง หมายถึงการรับผิดชอบผ่านรัฐสภาและประชาชนเกี่ยวกับการดำเนินการและนโยบายของรัฐบาล
 การรับผิดชอบทั้งสองประเภทนี้ ขึ้นอยู่กับว่าศาลต้องไม่อยู่ภายใต้รัฐบาลในการปกป้องรัฐธรรมนูญ การตรวจจับอาชญากรรม และการลงโทษอาชญากรเป็นต้น และเช่นกันขึ้นอยู่กับความเป็นอิสระของรัฐสภาในการร่างกฎหมาย นอกเหนือจากข้างต้นแล้วจำเป็นต้องรับผิดชอบต่อสังคมด้วยการให้คำปรึกษาและรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและความคิดเห็นสาธารณะชน
 ต่อมาได้รวมรูปแบบหลักทั้งสองนี้ไว้ในสี่ด้านย่อยของรัฐบาลที่โปร่งใส ประการแรก การจัดหาข้อมูลจริงโดยรัฐบาล ซึ่งรวมถึงเหตุผลในการนำนโยบายเหล่านี้ไปใช้ ผลในทางปฏิบัติ ค่าใช้จ่าย และสุดท้ายคือเกณฑ์ที่ใช้บังคับสำหรับการนำไปปฏิบัติ ประการที่สอง การที่บุคคลเหล่านี้และสื่อมวลชนเข้าถึงเอกสารของรัฐบาลเหล่านี้และแม้แต่เอกสารส่วนตัวของพวกเขาโดยตรงหรือผ่านผู้แทนของรัฐสภา และประการที่สาม การประชุมสาธารณะของรัฐสภาและคณะกรรมาธิการต่างๆ ตลอดจนการประชุมต่างๆ สภา ฯลฯ
 ผู้เขียนเหล่านี้ยังพูดถึงบางกรณีที่ยกเว้นจากความรับผิดชอบของรัฐบาลที่โปร่งใสและพูดถึงสิทธิของประชาชนไว้เช่นนี้ว่า:
 มีข้อยกเว้นสำหรับหลักการของรัฐบาลที่โปร่งใสด้วยอย่างนั้นหรือ? ใช่; ข้อมูลที่มักจะ ถือเป็นข้อมูลที่เป็นความลับในระบบประชาธิปไตย ได้แก่: การอภิปรายของ คณะรัฐมนตรี ข้อเสนอแนะทางการเมืองของข้าราชการต่อรัฐมนตรี ข้อมูลที่การ เผยแพร่มันส่งผลต่อความมั่นคงของชาติ เป็นภัยต่อความมั่นคงของระบบ ประชาธิปไตยหรือความมั่นคงในชีวิตของประชาชน ความลับทางการค้าของ บริษัทเอกชน และข้อมูลส่วนตัวยกเว้นเจ้าตัว ในกรณีข้างต้นไม่อนุญาตให้รัฐบาล เปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะอย่างเด็ดขาด
 ตรงนี้ต้องตั้งคำถามว่าใครเป็นผู้จำแนกกรณียกเว้นเหล่านี้ โดยเฉพาะกรณียกเว้นสำคัญที่เป็นของรัฐบาลโดยเฉพาะ? ย่อมไม่ใช่ประชาชนอย่างแน่นอน! เพราะถือว่าประชาชนจะไม่รู้ความลับสำคัญเช่นนั้น ดังนั้นจึงมีทางเดียวคือให้รัฐบาลจำแนกกรณีดังกล่าวแต่ฝ่ายเดียว และตัดสินใจเกี่ยวกับกรณีเหล่านั้น จากนั้นเราจะถามว่า: เป็นไปไม่ได้ที่รัฐบาลจะไม่ฉวยโอกาสในการขยายกรณีดังกล่าวอย่างนั้นหรือ? เห็นได้ชัดว่ามีบางอย่างถูกซ่อนไว้จากสายตาของประชาชน ซึ่งเป็นไปได้ว่าจะมีการชี้แจง; การอธิบายและการตีความที่แตกต่างกันออกไปในเรื่องดังกล่าว ในกรณีนี้ต้องคิดหาวิธีอื่นในการแก้ปัญหาเพื่อปิดช่องอันตรายและการฉวยโอกาส. ด้วยเหตุนี้จึงระบอบการปกครองแบบอิสลาม ก่อนอื่นรัฐบาลต้องรับผิดชอบต่อพระผู้สร้างและต้องตอบพระองค์ ไม่ว่าประชาชนจะรู้เรื่องนั้นๆ หรือไม่ก็ตาม จากนั้นรัฐบาลจะรับผิดชอบต่อมโนธรรมของตนเอง ต่อประชาชนและผู้แทนเฉพาะของพวกเขา ไม่ว่าการเป็นตัวแทนนี้จะอยู่ในรูปแบบของสมัชชาผู้เชี่ยวชาญหรือรัฐสภาหรือรูปแบบอื่นๆ
 ดังนั้น ข้อแตกต่างเพียงอย่างเดียวระหว่างสังคมอิสลามกับสังคมอื่นๆ ในแง่ของความรับผิดชอบของรัฐบาลก็คือ ความรับผิดชอบและพันธสัญญาแรกอยู่ที่พระผู้สร้าง และความรับผิดชอบของรัฐบาลต่อประชาชนเมื่อความต้องการของประชาชนเป็นไปตามหลักการ

 

ฮุจญะตุลอิสลาม ดร. นัศรุลลอฮ์ สิคอวะตี ลอดอนี/เขียน
เชคอิมรอน พิชัยรัตน์/แปล