เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

อิสลามกับประชาธิปไตย (ตอนที่ 23)

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

อิสลามกับประชาธิปไตย (ตอนที่ 23)


 


คุณลักษณะที่สี่และแปด ในตัวชี้วัดที่สี่และที่แปดพูดถึงเสรีภาพโดยสมบูรณ์และไม่มีเงื่อนไขในระบอบประชาธิปไตย และผู้ปกครองขึ้นสู่อำนาจด้วยคะแนนเสียงของประชาชนและการถอดถอนจากอำนาจก็ด้วยวิธีการนี้เท่านั้น ฌ็อง-ฌัก รูโซ (Jean-Jacques Rousseau) กล่าวว่า:
 คนอังกฤษคิดว่าตนมีอิสระ พวกเขาคิดผิดมาก เนื่องจากเสรีภาพของพวกเขาจำกัดอยู่ แค่เวลาเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาเท่านั้น เมื่อเลือกตั้งเสร็จแล้วประชาชนเป็นได้เพียงแค่ ทาสก็เท่านั้น 
ออสวอลด์ สเปงเลอร์ (Oswald Arnold Gottfried Spengler) เชื่อว่า:
ประเด็นเรื่องสิทธิอำนาจอธิปไตยตามความหมายที่ว่าสังคมสามารถทำตามเจตจำนงของตนเองในการกำหนดชะตากรรมของตนเองนั้นมันเป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ความจริงคือการมอบสิทธิการออกเสียงเลือกตั้งแก่ประชาชนทั่วไป ทำให้ความหมายเบื้องต้นของการเลือกนั้นสูญสิ้นไปแล้ว... 
 สำหรับผู้เขียน ความขัดแย้งดังกล่าวในระบอบประชาธิปไตยยังไม่ได้รับการแก้ไข เหมือนดังที่อำนาจอธิปไตยที่ไม่ใช่เสียงข้างมากและไม่ใช่ประชาชน ก็สามารถลดอันตรายจากการปกครองแบบเผด็จการและแม้กระทั่งถึงศูนย์เลยก็เป็นได้ {ตามคำกล่าวของ Popper} แล้วอะไรคือแรงจูงใจอะไรที่จะไม่วิเคราะห์แบบแผนต่างๆที่อริสโตเติล เพลโต; ฟารอบี และนักคิดอิสลามคนอื่นๆ ทิ้งไว้ให้?! ในขณะเดียวกัน ถ้อยคำข้างต้นบ่งชี้ถึงความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อบรรทัดฐาน: เสรีภาพ; อำนาจอธิปไตยของประชาชน อำนาจอธิปไตยของส่วนใหญ่; และการแทนที่ระบอบปกครองตามความประสงค์ของประชาชนไม่ว่าพวกเขาจะต้องการจากที่ใด แม้กระทั่งในทางตรงกันข้ามตามที่ระบุไว้ในคุณลักษณะที่แปด บริษัทข้ามชาติครองโลกในปัจจุบัน บริษัทเหล่านี้พยายามลดบทบาทของรัฐบาลให้เหลือน้อยที่สุด และหัวหน้าของบริษัทเหล่านี้ก็มีน้อยมากเช่นกัน ผลก็คือ; ผู้ปกครองที่แท้จริงของโลกในปัจจุบันไม่ใช่ชาติ และผู้คุมทิศทางในระบอบประชาธิปไตยนั้นทำให้บทบาทของรัฐบาลต่างๆ กลายเป็นศูนย์ ในที่สุดผู้ปกครองและทายาทของระบอบประชาธิปไตยแบบใหม่ของโลกคือ: ชนชั้นนำทางเศรษฐกิจเพียงไม่กี่คน
 วันนี้ เป็นที่ชัดเจนสำหรับทุกคนแล้วว่าเสรีภาพที่สมบูรณ์และไร้เงื่อนไขในการหาเสียงเลือกตั้งหรือในเรื่องอื่นๆ มันไม่มีอะไรมากไปกว่าการหลอกลวง
 มอริส ดูว์แวร์แฌ (Maurice Duverger) กล่าวเกี่ยวกับกรอบของเสรีภาพในระบอบประชาธิปไตย:
 การให้เสรีภาพแก่ผู้ที่เป็นศัตรูแห่งเสรีภาพ ไม่เป็นการอนุญาตให้ทำลายเสรีภาพหรอกหรือ? ประชาธิปไตยถูกกดขี่และประณามจนไม่สามารถยืนหยัดต่อสู้กับผู้ที่ต้องการ ทำลาย ประชาธิปไตยได้ใช่หรือไม่? คำตอบนั้นง่าย ประชาธิปไตยเปิดโอกาสให้ฝ่ายตรงข้าม แสดงความคิดเห็นได้ ตราบเท่าที่พวกเขาทำภายใต้กรอบของวิธีการประชาธิปไตย 
 คุณลักษณะที่ห้า:ตามที่กล่าวไป; แม้แต่หลักการข้อที่ห้าก็มีการอ้างถึงเสรีภาพในการนับถือศาสนาและอุดมคติทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย เป็นที่ยอมรับในขอบเขตที่เข้ากันได้กับหลักเสรีนิยมในทางปฏิบัติ เหมือนดังที่ในอเมริกา ความอดทนต่ออุดมคติและศาสนาที่เป็นปฏิปักษ์นั้นมีปัญหาอย่างยิ่ง และในฝรั่งเศส ซึ่งถูกเรียกว่าเป็นแหล่งกำเนิดของเสรีภาพในระบอบประชาธิปไตยมาช้านาน พวกเขาทนไม่ได้ที่มีนักเรียนหญิงบางคนสวมฮิญาบแบบอิสลามและแต่งกายรูปแบบเฉพาะในชั้นเรียน และไล่พวกเธอออกจากโรงเรียน! ดังนั้นไม่เพียงแต่ระบอบเผด็จการเท่านั้น ระบอบประชาธิปไตยยังนิยมศาสนาและการเมืองและสหภาพแรงงานในฐานะรัฐ ทั้งที่ศาสนาประจำชาติ ไม่ใช่เป็นสำนักคิดที่แท้จริงแห่งพระเจ้าและพัฒนามนุษย์ เป็นเพียงเครื่องมือรับใช้การปกครองเท่านั้นไม่ใช่รับใช้ประชาชน
 แม้ว่าประเด็นดังกล่าวจะกล่าวถึงข้อบกพร่องของระบอบประชาธิปไตยในทางปฏิบัติก็ตาม ปัญหาส่วนใหญ่ของระบอบนี้มีในทางทฤษฎีและรากฐานทางทฤษฎี ความไม่อดทนของระบอบประชาธิปไตยไม่เพียงแต่ในทางปฏิบัติและความขัดแย้งในตัวเองเท่านั้น ยิ่งกว่านั้น บางครั้งการไม่ยอมรับในสิ่งที่ตรงกันข้ามก็ปรากฏให้เห็นในฐานรากและรากฐานทางทฤษฎี เหมือนดังที่ไม่มีทั้งเสรีภาพที่ไร้ขีดจำกัดและการเลือกตั้งที่ที่ไม่มีเงื่อนไข และแม้แต่ชนกลุ่มน้อยแม้ว่าพวกเขาจะถูกต้องก็ตาม แต่ก็ต้องปฏิบัติตามเสียงข้างมากและเลือกตามเสียงและความปรารถนาของพวกเขา!
คุณลักษณะที่หก (ตอนต่อไป)

 

ฮุจญะตุลอิสลาม ดร. นัศรุลลอฮ์ สิคอวะตี ลอดอนี/เขียน
เชคอิมรอน พิชัยรัตน์/แปล

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม