เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

อิสลามกับประชาธิปไตย (ตอนที่ 25)

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

อิสลามกับประชาธิปไตย (ตอนที่ 25)



คุณลักษณะที่เก้า:เรื่องนี้ที่ว่าผู้ปกครองในกลุ่มประเทศประชาธิปไตยประสบความสำเร็จในการได้รับความพึงพอใจจากประชาชนและมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพวกเขา ควรได้รับการวิเคราะห์จากหลายมุมมอง ในแง่หนึ่งมีการกล่าวถึงความหมายของ ((ประชาชน)) และอีกแง่หนึ่งคือราคาที่ต้องจ่ายไปเพื่อให้ได้รับความพึงพอใจนี้ จริงๆแล้วประชาชนคือ สาธารณะ หรือคือประชาชน ?! ประชาชนเป็นมวลชนที่ไร้อารยธรรมตามความเห็นของ Pompeterอย่างนั้นหรือ? พวกเขาไม่รู้แม้กระทั่งสิ่งที่ยังประโยชน์สำหรับตนเอง และประชาชนทั่วไปก็ขาดไหวพริบที่จำเป็นในการตัดสินใจและมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง และเมื่อใดก็ตามที่รัฐบาลต้องการพวกเขา พวกเขาก็จะนำพวกเขาเข้าสู่คูหาการเลือกตั้งเป็นกลุ่มๆ หรือว่าประชาชนเป็นผู้ที่มีอารยะธรรมและคู่ควร? ดังนั้นสิ่งที่สำคัญที่จะต้องทราบว่าเป็นความพึงพอใจของใครและได้รับความสนใจในระดับใด ความพอใจในระบอบประชาธิปไตยหนึ่งหมายรวมถึงทุกคนหรือไม่! หรือหมายรวมถึงเสียงข้างมากหรือเสียงข้างน้อย คืออะไรอย่างไร?
 คำตอบในทางทฤษฎีค่อนข้างชัดเจน พวกเขาจะกล่าวว่า เพราะความพึงพอใจของทุกคนในสังคมนั้นเป็นไปไม่ได้ เราพยายามทำให้คนส่วนใหญ่พอใจและทำให้คนส่วนน้อยพอใจ ด้วยเช่นกัน แต่หากมันไม่ได้ผลมันก็ไม่ใช่เป็นความผิดของเรา โดยเฉพาะการทำให้ชนกลุ่มน้อยพอใจด้วยซึ่งก็จะไม่ใช่ชนกลุ่มน้อยอีกต่อไป! ดังนั้นก็ปล่อยไปตามสภาพของพวกเขา
 แต่ในทางปฏิบัติมันไม่ใช่แบบนี้ ระบอบประชาธิปไตยของโลกทุกวันนี้พยายามทำทุกวิถีทางเพื่อให้ประชาชนพอใจ ความพึงพอใจประเภทนี้ได้มาด้วยการโฆษณาและวิธีการต่างๆ เฉพาะ มันประสบความสำเร็จค่อนข้างน้อยและต้องแลกกับความไม่เพียงพอนับไม่ถ้วนที่อยู่ภายนอกตัวมันเอง
 ในคุณสมบัติสุดท้าย คิดว่าผู้ปกครองของกลุ่มประเทศประชาธิปไตยมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประชาชนและระหว่างประชาชน ในส่วนนี้ ข้อเน้นเพียงอย่างเดียวของการสนทนาคือมีในโลกที่สามและที่นอกเหนือจากประชาธิปไตยนั้นมีระยะห่างระหว่างประชาชนกับเจ้าหน้าที่ แต่เรื่องนี้ไม่ได้กล่าวถึงในระบอบของประชาธิปไตยปัจจุบันด้วยซ้ำ ประชาชนมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้ปกครองอย่างไร? หลายคนเชื่อว่าความสัมพันธ์มากสุดของประชาชนในประเภทของระบบนี้คือกับเทศบาลและในที่สุดกับผู้แทนของพวกเขาในรัฐสภา ไม่ใช่กับตำแหน่งประธานาธิบดีหรือที่คล้ายกันนี้ ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว; ประชาชนยังไม่รู้จักผู้ปกครองที่แท้จริงของพวกเขาด้วยซ้ำ นับประสาอะไรกับการที่พวกเขาต้องการที่อยู่ร่วมและวิพากษ์วิจารณ์พวกเขา เพราะผู้ปกครองที่แท้จริงคือกลุ่มนายทุนขนาดใหญ่มากและกลุ่มชนชั้นนำทางเศรษฐกิจ
 ผลก็คือ; ในทางทฤษฎี เป็นไปได้ที่จะพินิจถึงตัวบ่งชี้และคุณลักษณะของประชาธิปไตย แต่ไม่อาจเกิดขึ้นได้ในทางปฏิบัติ
 ในบรรดานักคิดชาวตะวันตก อย่าง Karl Popper มีความรอบคอบอย่างมากในประเด็นที่ประชาธิปไตยมีความแตกต่างกันอย่างมากในทางทฤษฎีและทางปฏิบัติ และด้วยเหตุนี้ ตามความคิดของพวกเขา อ่านบทกวีไม่เป็นแล้วจะให้มันมีสัมผัสได้อย่างไร
เหมือนดังที่กล่าวผ่านมาแล้ว; Popper พูดว่า:
 ต้องสามารถทำให้อำนาจของรัฐบาลหมดไปโดยปราศจากการนองเลือด 
ประโยคนี้ของเขาช่วยเติมเต็มสิ่งที่เขาถือว่าเป็นแก่นแท้ของประชาธิปไตย หมายถึง ((การไม่ใช้ความรุนแรง)) 
 เป็นที่ชัดเจนว่า Popper; ไม่เหมือนคนอื่น เขาให้ความสนใจกับข้อเท็จจริงและปัญหาในทางปฏิบัติเป็นอย่างมาก ในขณะเดียวกัน เราไม่รู้ว่าในมุมมองของเขา คิดว่าเป็นคุณลักษณะเดียวของประชาธิปไตยหรือไม่ {การไม่ใช้ความรุนแรง...}; ตอนนี้ยังคงเป็นความอยู่จริงหรือไม่? จริงๆ แล้วประชาชนในระบอบประชาธิปไตยสามารถล้มรัฐบาลได้ทุกเมื่อจริงหรือ?! หากคำถามนี้ได้รับคำตอบในเชิงบวก ประชาชนสามารถทำข้อตกลงกับรัฐบาลได้อย่างง่ายดายหรือไม่?! เพราะเรามั่นใจว่าการล้มรัฐบาลไม่ได้อยู่ในมือของประชาชน ตามที่บางคนกล่าวว่ามันอยู่ในมือของชนชั้นนำ  และบทสรุปก็คือ; การเปลี่ยนรัฐบาลเช่นกัน; แม้มันอยู่ในมือของประชาชนก็ตาม มันจะไร้ประโยชน์ ก็ไม่ต่างอะไรกับเกมส์หนูกับแมว!
ประชาธิปไตยคือรัฐบาลของประชาชนหรือการตัดสินของประชาชนหรือ...หรือไม่?(ตอนต่อไป)

 

ฮุจญะตุลอิสลาม ดร. นัศรุลลอฮ์ สิคอวะตี ลอดอนี/เขียน
เชคอิมรอน พิชัยรัตน์/แปล

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม