เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

อิสลามกับประชาธิปไตย (ตอนที่ 28)

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

อิสลามกับประชาธิปไตย (ตอนที่ 28)

 


อิสลามกับประชาธิปไตย
ตามที่กล่าวมาแล้ว; ในทางเทววิทยาได้กล่าวถึงความหมายของศาสนาหลากหลายซึ่งมักมีความแตกต่างกันโดยพื้นฐาน บางคำจำกัดความเหล่านี้ให้ความหมายจำกัดมากจนหมายรวมถึงศาสนาเดียวเท่านั้นและบางคำจำกัดก็ให้ความหมายกว้างเกินจนหมายรวมถึงศาสนาต่างๆ ไว้ เช่น ศาสนาพุทธซึ่งไม่พูดถึงความเชื่อเกี่ยวกับพระเจ้า อย่างไรก็ตาม; สิ่งสำคัญคือเราว่าต้องรู้ว่าเป้าหมายของศาสนาคือหลักศาสนบัญญัติ(ชะรีอัต)และศาสนาแห่งพระเจ้าที่เป็นจุดเริ่มต้นที่แท้จริง หมายความว่าพระเจ้าได้วิวรณ์(วะห์ยู)สิ่งเหล่านี้แก่บรรดาศาสดาทว่าทั้งหมดถูกบิดเบือนและหมดความน่าเชื่อถือยกเว้นศาสนาสุดท้ายคืออิสลามเท่านั้น
ได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้แล้วว่าในตะวันตก เพราะพวกเขาอยู่กับศาสนาที่บิดเบือนไปแล้ว จึงให้ประชาธิปไตย; ไม่ว่าจะให้ความหมายใดก็ตาม; สามารถรวมเข้ากับศาสนาเช่นนั้นได้ แต่เป็นที่ชัดเจนว่าศาสนาอิสลาม; ไม่สอดคล้องกับทุกความหมายของประชาธิปไตย ความสัมพันธ์เชิงตรรกะระหว่างอิสลามกับประชาธิปไตย คือ ความสัมพันธ์ครอบคลุมและเฉพาะส่วน กล่าวคืออิสลามมีความเชื่อ บทบัญญัติและศีลธรรม; และประชาธิปไตยก็มีความหมายหลากหลาย จุดนัดพบและทางแยกของอิสลามกับประชาธิปไตยเรียกว่า ((religious democracy-ระบอบประชาธิปไตยทางศาสนา))
เช่นกันเราได้บทสรุปแล้วในการอธิบายเกี่ยวกับอัตลักษณ์ของประชาธิปไตย การปกครองของคนส่วนใหญ่; เป็นการรักษาฉุกเฉินและเร่งด่วน ตามคำกล่าวของบางคนที่ว่า; หากยังไม่พบสิ่งที่ดีกว่า การยอมจำนนต่อระบอบเผด็จการปัจเจกชนหรือการปกครองแบบเผด็จการชนกลุ่มน้อยมันมาจากความไม่รู้และความโง่เขลา แต่ถ้าพบวิธีปฏิบัติที่ดีกว่าการปกครองของคนส่วนใหญ่ การจำนนให้กับการปกครองของคนส่วนใหญ่ มันคือความโง่เขลา คำพูดนี้ไม่มีใครขัดแย้งในหมู่นักปราชญ์และนักคิดที่จริงใจ
ศาสนาอิสลามมีพื้นฐานอยู่บนความเห็นที่ว่าอำนาจอธิปไตยควรถูกแบ่งและวิเคราะห์และถ้าเป็นเช่นนี้แล้ว อำนาจอธิปไตยของประชาชนในส่วนๆ ไม่เพียงแต่จะถูกยอมรับเท่านั้นทว่าเป็นสิ่งที่ไม่อาจปฏิเสธได้เช่นการมีส่วนร่วมและการปรากฏตัวอย่างจริงจังในเวทีสังคม-การเมืองของสังคม อีกด้านหนึ่ง อิสลาม; ไม่อาจยอมรับอำนาจอธิปไตยของประชาชนในบางกรณี {อาทิ กฎหมายอยู่ในขอบข่ายหนึ่งที่วะห์ยูได้ระบุไว้ก่อนแล้ว) ; กล่าวอีกได้ว่า; กรณีที่บบัญญัติ(ชะรีอะฮ์)ได้ระบุชัดเจนแล้วถึงการเป็นข้อบังคับ(วาญิบ) ข้อห้าม (ฮะรอม) ข้อพึงปฏิบัติ (อิสติห์บาบ)ค หรือสิ่งที่พึงเลี่ยง (มักรุฮ์) ไม่เพียงแต่ไม่ปฏิบัติตามคนส่วนใหญ่แล้วทว่าแม้คนทั้งสังคม; โดยไม่มีข้อยกเว้น; รวมตัวกันเพื่อเปลี่ยนแปลงบทบัญญัติที่ตายตัวแล้วของพระเจ้า; มันจะไร้ประโยชน์ ยกเว้นจะมีคำสั่งรองหรือคำสั่งเกี่ยวกับการปกครอง (มาระบุอีกที-ผู้แปล) (คำสั่งรอง(ฮุกม์ษะนะวี) หมายถึงมีคำวินิจฉัยที่กำหนดขึ้นสำหรับสถานการณ์ฉุกเฉินหรือบังคับ เช่น การอนุมัติ(ฮาลาล)ในการรับประทานเนื้อสัตว์ที่ตายแล้วในกรณีฉุกเฉิน
คำสั่งเกี่ยวกับการปกครอง (ฮุกม์ฮุกุมะตี)หมายถึง คำวินิจฉัยที่ผู้เชี่ยวชาญที่สุดในสาขาศาสนาและมีคุณสมบัติเป็นผู้นำ ออกคำวินิจฉัยเพื่อประโยชน์ของอิสลามและสังคมอิสลาม เช่นเการห้ามยาสูบโดยมีรซอ ชีรอซี)
ดังนั้น ประชาธิปไตยทางศาสนาจึงหมายถึงอำนาจอธิปไตยของประชาชนอยู่ในขอบเขตของตนเองโดยมีส่วนร่วมและการแข่งขันที่ดีและสร้างสรรค์; สามารถนำไปปฏิบัติใช้ได้ในระดับสูงสุดเลยทีเดียว ในเวลาเดียวกัน; เพราะมนุษย์; ไม่ใช่พระเจ้า; เขาต้องไม่เพิกเฉยต่ออำนาจการปกครองของพระเจ้าผู้ทรงฤทธานุภาพ โดยพยายามทำตัวแทนที่พระองค์
ณ ตรงนี้ ; สามารถกล่าวได้อย่างเปิดเผยว่าหากประชาธิปไตยให้ความหมายเช่นนี้และคือเป้าหมายของผู้ที่ยืนยันถึงสิ่งนี้ว่าไม่มีอะไรนอกจากสิ่งนี้ แน่นอนว่าย่อมเป็นที่ยอมรับของอิสลาม อาจกล่าวได้ว่าไม่มีส่วนใดในโลกปัจจุบันที่ประชาชนจะมีส่วนร่วมได้มากเท่ากับสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน แต่ถ้าความหมายของประชาธิปไตยคือการปกครองโดยปราศจากเงื่อนไขของคนส่วนใหญ่ ในทุกด้านของนิติบัญญัติ ตุลาการและบริหาร เป็นสิ่งเดียวกันกับศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งศาสนาอิสลาม ย่อมวางมือปฏิเสธไว้บนหน้าอกของเขาอย่างแน่นอน
ตามสภาพนี้; เราไม่ได้ถูกบังคับเหมือนบางคนอีกต่อไป ลองเอาประชาธิปไตยทางศาสนามาตีความแบบเดียวกับเสรีนิยม-ประชาธิปไตยแล้วพูดว่า:
หากเราต้องการให้ประชาธิปไตยมีความเชื่อมโยงทางทฤษฎีกับศาสนาอย่างเหมาะสม ไม่มีทางอื่นนอกจากยอมรับการตีความว่าเสียงของประชาชนคือเสียงของพระเจ้า การ อธิบายของประชาชนคือการอธิบายของศาสนา!
ที่จริงแล้วคำพูดดังกล่าวน่าประหลาดใจมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อแม้แต่คนที่ไม่ใช่มุสลิมอย่าง Guy Hermet ยังพูดว่า ((เพราะเราไม่รู้ความเห็นของพระเจ้าและเราไม่สามารถเข้าถึงได้ เราจึงต้องพึ่งระบอบประชาธิปไตย!) )
ผลก็คือถ้าเราถือว่าประชาธิปไตยเป็นรูปแบบและกรอบที่มีความเป็นไปได้ในการรับเนื้อหาต่างๆ (เหมือนดังที่นักคิดสมัยนี้ส่วนใหญ่ก็คิดแบบนี้ ประชาธิปไตยเช่นกัน; พวกเขาถือว่าเป็นรูปแบบและวิธีการปกครอง ก็ไม่ถือว่ามีปัญหาแต่อย่างใดในการรับอิสลามในฐานะเนื้อหา(ที่จะเติมลงไปในกรอบนั้น-ผู้แปล) และนี่คือประชาธิปไตยทางศาสนา ทว่าเหมือนดังที่หากเราถือว่าประชาธิปไตยมีคุณค่าและถือว่าเป็นวิวรณ์ (วะห์ยู) ที่มีคำจำกัดความเฉพาะและปราศจากเงื่อนไขใดๆ ไม่ใช่มีปัญหากับอิสลาม ทว่ามันยังต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆมากมายกับมันเองซึ่งไม่มีทางออกสำหรับมัน
นักคิดชาวตะวันตกมีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างอิสลามกับประชาธิปไตย? (ตอนต่อไป)

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม