เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

อิสลามกับประชาธิปไตย (ตอนที่ 29)

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

อิสลามกับประชาธิปไตย (ตอนที่ 29)

 


นักคิดชาวตะวันตกมีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างอิสลามกับประชาธิปไตย?
นักวิชาการที่ไม่ใช่มุสลิม เป็นชาวตะวันตก พวกเขามีคำพูดที่แตกต่างกันเพื่อตอบคำถามนี้ บางคนเชื่อว่า อิสลามและประชาธิปไตยไม่สามารถรวมกันได้ แต่บางคนก็มีเงื่อนไขพิเศษสำหรับการรวมนี้
ความคิดเห็นของ เออร์เนสต์ อังเดร เกลเนอร์ (Ernest Gellner)คือว่า
 วัฒนธรรมที่สูงส่งของอิสลามมีลักษณะบางอย่าง: (เอกเทวนิยม; กฎแห่งศีลธรรม  ปัจเจกนิยม; ความเชื่อต่อตัวบท หลักการนิยมและการยึดมั่นในศาสนา ความเสมอ ภาคและการต่อต้าน {การทำสมาธิลำดับชั้น, และเวทมนตร์เล็กๆ น้อยๆ} ซึ่งกล้าที่จะ กล่าวได้ว่าเห็นด้วยและเข้ากันได้กับการยอมรับสมัยใหม่
ฮันติงตันเชื่อว่า:
 ลักษณะเหล่านี้เข้ากันได้กับระบอบประชาธิปไตย อิสลามปฏิเสธการแบ่งแยกใด ๆ  ระหว่างชุมนุมศาสนาและการชุมนุมการเมือง ดังนั้นเรื่องทางโลกและปรโลกจึงไม่แยก ออกจากกัน ศาสนาไม่ได้แยกออกจากการเมืองและการมีส่วนร่วมทางการเมืองเป็น หน้าที่ทางศาสนา อิสลามพื้นฐานนิยมต้องการผู้นำทางการเมืองที่เป็นมุสลิมใน ประเทศอิสลาม ชะรีอะฮ์(หลักการอิสลาม)ควรเป็นกฎหมายหลักและพื้นฐาน และ นักวิชาการต้องให้ทัศนะที่แน่นอนในการควบคุมนโยบายของรัฐบาลหรืออย่างน้อยใน การแก้ไขและปรับปรุง
 นักเขียนชาวตะวันตกคนนี้ ; กล่าวต่อว่า; เขาเชื่อว่าระหว่างการเมืองที่มีรากฐานของอิสลามกับประชาธิปไตยนั้นมีความแตกต่างและแม้กระทั่งความขัดแย้งกันอยู่ และเขาเชื่อว่าอิสลามมีหลักการที่สามารถเข้ากันได้หรือเข้ากันไม่ได้กับประชาธิปไตย; เพราะในทางปฏิบัติยกเว้นกรณีพิเศษเพียงกรณีเดียว ตลอดประวัติศาสตร์ไม่มีประเทศอิสลามสักประเทศที่มีระบบการเมืองที่เป็นประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์ ในความเห็นของเขากรณียกเว้นเดียวคือ ตุรกี คือที่มีมุสทาฟา เคมัล อาทาทืร์ค; เขาละทิ้งความเข้าใจของอิสลามเกี่ยวกับสังคมและการเมืองอย่างเปิดเผย และพยายามสร้างประเทศให้เป็นตะวันตกอย่างสมบูรณ์ ประเทศที่ทันสมัยทันโลก!  ดังนั้นจึงรู้ได้ว่าฮันติงตันและบุคคลอย่างเขาเรียกสังคมที่เป็นประชาธิปไตยว่าเปลี่ยนแปลงและแปลกหน้าจากตัวมันเองอย่างสิ้นเชิง และกลายเป็นสาวกของตะวันตกอย่างที่ประเทศของอาทาทืร์คเป็นเช่นนี้ และไม่เช่นนั้นแล้วกุญแจสู่การปกครองอิสลาม ซึ่งเริ่มต้นด้วยมืออันจำเริญของท่านศาสดาที่ได้วางไว้ตามหลักประชาธิปไตยทางศาสนา ทว่าผู้เขียนคนนี้และบุคคลอย่างเขา เนื่องจากความไม่รู้หรือมีจุดประสงค์อื่น พวกเขามีสิทธิ์ที่จะเพิกเฉย! แม้ว่าอาทาทืร์คจะรับใช้และอุทิศตนไปทางตะวันตกและฆราวาสนิยม(secularism) กระทั่งตอนนี้ก็ยังไม่เป็นดึงดูดใจของพวกเขาเลย; เป็นเวลาประมาณแปดสิบปีแล้วที่ตุรกีเคาะประตูยุโรป แต่พวกเขายังไม่ตอบ เพราะประชากรของเขานับถือศาสนาอิสลาม แต่ประเทศอย่างมอลตายังไม่ทันเคาะประตูเลย พวกเขาก็เลือกเสียแล้ว เพราะเขาเป็นคริสเตียน!
 ถึงอย่างไร; ด้วยมุมมองอย่างนี้ ; ผู้เขียนนี้ไม่ได้ลงทะเบียนประเทศใดจาก 37 ประเทศในโลกที่มีประชากรมุสลิมส่วนใหญ่ในฐานะ {เสรีภาพ} ไว้ใน {Freedom Center}; ยกเว้นแกมเบียเป็นเวลาสองปีและสาธารณรัฐตุรกีทางตอนเหนือของไซปรัสเป็นเวลา 4 ปีและเลบานอนเป็นระยะเวลาค่อนข้างนาน นั่นคือตราบใดที่มุสลิมไม่มีเสียงข้างมากในประเทศนี้! เขาพูดว่า:
 ทันทีที่ชาวมุสลิมกลายเป็นคนส่วนใหญ่ในเลบานอนและพยายามที่จะได้รับสิทธิของ พวกเขา ประชาธิปไตยเลบานอนล่มสลาย!
 ฮันติงตันแสดงความเป็นศัตรูกับอิสลามด้วยวิธีอื่น หนึ่งในนั้น; วางศาสนาอิสลามไว้ข้างศาสนาขงจื๊อแล้วโจมตีทั้งสอง อาจเป็นได้ว่าความลับของการจัดลำดับตามมุมมองของผู้เขียนให้ทั้งสองศาสนาอยู่ในจุดร่วมเดียวกัน คือการเป็นอนุรักษ์นิยมและมูลฐานนิยม (fundamentalism)ในหนังสือ The Third Wave of Democracy; ซึ่งผู้เขียนคนนี้ถูกโจมตีอย่างรุนแรง ในขณะเดียวกัน; เขาไม่สามารถเพิกเฉยต่อคุณลักษณะต่างๆ ที่มีในอิสลามได้ ดังนั้นเขาจึงยอมรับว่าแม้ว่าจะคิดกันว่าวัฒนธรรมอิสลามและขงจื๊อได้สร้างอุปสรรคอย่างหนักและไม่อาจทนในแนวทางของการพัฒนาประชาธิปไตย มีหลักฐานที่ทำให้ความร้ายแรงของอุปสรรคเหล่านี้ถูกตั้งคำถาม แล้วเขาก็กล่าวเพียงหลักฐานสี่ประการ
 Guy Hermet ก็ใช่ว่าจะไม่มีทัศนะเกี่ยวกับประเด็นนี้ เบื้องต้น; เขายืนยันถ้อยแถลงของมุฮัมหมัด ชารีฟ ว่าคอลีฟะฮ์คนแรกของอิสลามมีอัตลักษณ์ทางการเมืองและไม่มีศาสนา แต่ต่อมามีความเห็นว่าวัฒนธรรมอิสลามโดยตัวของมันเองนั้นไม่หยุดนิ่งและคงที่ ค่อนข้างจะเป็นแบบพลวัต (Dynamic) เพราะมีบุคคลอย่าง อิบนิรุชด์ (Ibn Rushd)และ อิบนิคอลดูน (Ibn Khaldun)(ผู้ก่อตั้งสังคมวิทยาเชิงปรากฎ); ผู้ซึ่งได้พัฒนาแนวการใช้เหตุผล ซึ่งต่อมาได้รับการส่งเสริมต่อยอดโดย ฏอฮิร ฮัดดาด (Taher Haddad) กอซิม อะมีน (Qasim Amin) และ อาลี อับดุรรอซาก (Ali Abd al-Razzaq) นักเผยแผ่ประชาธิปไตย}; จากนั้นตามคำพูดของเขาเอง มีเสียงเดียวกันกับ เอี้ยะห์ซาน นะรอกี (Ehsan Naraghi) ว่า:
  ไม่มีความเป็นไปไม่ได้ขั้นพื้นฐานสำหรับการผูกมิตรระหว่างปรากฎการณ์แบบจารีต กับปรากฏการณ์แบบใหม่ในศาสนาอิสลาม
 Guy Hermet  เชื่อว่า,การมีอยู่ของหลักการวินิจฉัย(อิจติฮาด)ในอิสลาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแนวทางชีอะฮ์ เป็นหลักการเชิงบวกที่สอดคล้องกับประชาธิปไตย และการรวมกันระหว่างอิสลามกับประชาธิปไตย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคม เช่น อิหร่าน ซึ่งคนส่วนใหญ่เป็นชีอะฮ์อิมามสิบสอง เรื่องก็จะง่ายขึ้น เพราะบนพื้นฐานของการเปิดประตูการวินิจฉัย (อิจติฮาด) ท่านศาสนทูต (ศ็อลฯ)  ได้อนุญาตให้เจ้าหน้าที่ทางการเมือง มุจตะฮิด (ที่มีคุณสมบัติครบถ้วน)ทำการอธิบายในกรณีที่บทบัญญัติในคัมภีร์ไม่ชัดเจน หรือในกรณีที่ไม่คาดคิด
 ประเด็นที่น่าสนใจและแปลกมากคือนักวิชาการชาวตะวันตกที่ไม่ใช่มุสลิม { Guy Hermet}; มีการป้องกันบางส่วนในด้านนี้และคุณลักษณะบางประการของอิสลาม  กระทั่งต่อต้านนักบูรพาคดีบางคนด้วยซ้ำ ดูเหมือนว่า Mohammed Arkoun พยายามให้เกิดคำถามขึ้นเกี่ยวกับการมีอยู่ของขันติธรรมในอิสลาม (เนื่องจากการห้ามไม่ให้ผู้หญิงขึ้นเรือพร้อมกับผู้ชายในยุคของคอลีฟะฮ์-กาหลิบ-ท่านหนึ่ง และการเนรเทศนักร้องหญิง) Guy Hermet  ให้คำตอบแก่ Mohammed Arkoun ว่าการต่อต้านอิสลามและนิยายปรัมปราแห่งความดำมืดของมัน ได้ไปสู่จุดสุดโต่ง; ดังที่วอลเตอร์เขียนหนังสือเรื่อง Prejudice or Muhammad the Prophet ในปี 1741; ซึ่งเขาเลยเถิดไป
 Guy Hermet เชื่อว่า ; ด้านหนึ่งอิสลามในอดีต; มีการผูกขาดน้อยกว่าในระบบคริสเตียน; เพราะให้การสนับสนุนคริสเตียนและยิวในฐานะ {ผู้อยู่ภายใต้การดูแลของรัฐ-อะฮ์ลุซซิมมะฮ์-} ในระดับหนึ่ง อีกด้านหนึ่ง; เขาไม่สามารถแยกบางโองการของอัลกุรอานที่ขัดต่อขันติธรรม ท้ายที่สุดเขาได้นำเสนอการมีอยู่ของความยุติธรรม ภราดรภาพ; และความอดทนเป็นพิเศษในอิสลามแทนกลุ่มโองการเหล่านี้อย่างกว้างๆ; ดังนั้น; ในความเห็นของ Guy Hermet; แนวความคิดของอิสลามโดยไม่หันหลังให้กับความซื่อสัตย์ของตนที่มีต่อหลักการวะห์ยูนั้นสอดคล้องกับหนทางแห่งขันติธรรมในความหมายใหม่ได้อย่างราบรื่นที่สุด
 เขายกย่องเศรษฐกิจแบบพอเพียงและคุณลักษณะบางประการของประเทศอิสลาม และในขณะเดียวกันเขาก็วิจารณ์ผู้ที่เรียกว่าสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance) หรือขบวนการเคลื่อนไหว; ได้รับอิทธิพลของเหตุผลนิยมตะวันตกจึงทำให้พวกเขาเปลี่ยนสถานการณ์ เช่น อาทาทืร์ค ในตุรกี หรือ ฮาบิบ เบอร์กุยบา จูเนียร์ (Habib Bourguiba Jr.) ในอินโดนีเซีย! บางทีก็ไม่น่าแปลกใจที่ความจริงของอิสลามเป็นเหตุเช่นนั้นในบางกรณี แม้แต่คนที่ไม่ใช่มุสลิมก็ยืนหยัดที่จะปกป้องมันจากมุสลิมคลั่งไคล้ตะวันตก!
ลักษณะของประชาธิปไตยทางศาสนา (ตอนต่อไป)

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม