เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

อิสลามกับประชาธิปไตย (ตอนที่ 30)

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

อิสลามกับประชาธิปไตย (ตอนที่ 30)

 


คุณลักษณะของประชาธิปไตยทางศาสนา
คุณลักษณะบางอย่างที่ระบุไว้สำหรับประชาธิปไตยนั้น สามารถพิจารณาได้อย่างถ่องแท้ว่ามาจากเสาหลักของประชาธิปไตยทางศาสนา เช่น การมีส่วนร่วมของประชาชน ขันติธรรม ฯลฯ ซึ่งไม่สามารถค้นพบที่ไหนได้อย่างถูกต้องยกเว้นในตักของศาสนา ในขณะเดียวกัน หลักนิติธรรม แก่นความยุติธรรม และการมีส่วนร่วมที่แท้จริง ถือได้ว่าเป็นเสาหลักของระบอบประชาธิปไตยทางศาสนา
 อาจกล่าวได้ว่าสิ่งที่ถือว่าเป็นคุณลักษณะของระบอบประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ อย่างสิ่งที่ไม่มีปัญหากับหลักการศาสนาและปัญญา ก็ถือว่าเป็นคุณลักษณะของประชาธิปไตยทางศาสนาเช่นกัน เช่น ขันติธรรมและการอดทนต่อความคิดที่เห็นต่าง การยอมรับสิทธิมนุษยชน {แน่นอนว่าเป็นสิทธิแบบอิสลาม},อำนาจอธิปไตยของประชาชนที่สอดคล้องกับอำนาจอธิปไตยของพระเจ้า การยอมรับการวิพากษ์วิจารณ์ ฯลฯ แต่หลักการต่างๆ เช่น เสรีนิยมและการผิดศีลธรรม การผูกขาด (exclusivism)และพหุนิยม หรือ (Pluralism)  ที่แพร่หลายในญาณวิทยาของตะวันตกปัจจุบัน, “ปฏิบัตินิยม” (Pragmatism), ทฤษฎีสัมพัทธภาพ (Relativity Theory) ฯลฯ ซึ่งไม่สามารถปรับให้เข้ากับหลักศาสนาและเหตุผลทางปัญญาได้ ไม่อาจถือว่าเป็นคุณลักษณะของประชาธิปไตยทางศาสนาได้เลย
 ศาสนาอิสลามตรงข้ามกับเสรีนิยมที่เห็นผลประโยชน์ส่วนตน ผิดศีลธรรม ปฏิบัตินิยม” (Pragmatism), ทฤษฎีสัมพัทธภาพ (Relativity Theory) ทว่าได้สั่งให้มีการเสียสละแก่ผู้อื่น การยึดมั่นในหลักเกณฑ์ของอิสลาม-หลักมนุษยธรรม ปฏิบัตินิยมพร้อมกับอุดมคตินิยม (Idealism) และสัมพัทธภาพ(realativism)พร้อมกับ(absolutism)
ดังนั้น คุณลักษณะของประชาธิปไตยทางศาสนาจึงมีมากกว่าการคาดเดาเพียงไม่กี่อย่างตามที่คิดไว้เบื้องต้น
เราจะอธิบายเพียงบางส่วน ณ ที่นี้
1. อำนาจการปกครองของพระเจ้า
 - สังคมที่ไม่มีพระเจ้าปกครองเหนืออำนาจใด ๆ เป็นสังคมที่ไม่มีอำนาจอธิปไตยทางศาสนา แม้ว่าผู้คนจำนวนมากจะไปมัสญิด โบสถ์ และวัด; ในทางตรงกันข้าม หากฝ่ายนิติบัญญัติสาละวนอยู่กับการอธิบายกฎหมายของพระเจ้า ฝ่ายตุลาการจะตัดสินตามคำสั่งของพระเจ้า และฝ่ายบริหารดำเนินการตามกลไกของหลักการศาสนา (ชะรีอัต) และประชาชนไม่ได้เรียกร้องอะไรนอกจากสิ่งนี้ ในสังคมเช่นนั้น การปกครองของพระเจ้า
 ในสังคมดังกล่าว อำนาจอธิปไตยของพระเจ้าจะอยู่ด้านบนสุด และอำนาจอธิปไตยของประชาชนจะอยู่ด้านล่าง ทว่ากลุ่มพ่อค้าได้ฉวยโอกาสอย่างมากจากแนวคิดนี้ ซึ่งต้องไม่ถูกมองว่าเป็นแนวคิดดั้งเดิม
 นักคิดชาวมุสลิมได้ให้ข้อพิสูจน์ไว้มากมายทั้งทางปัญญาและทางการรายงานว่าการปกครองที่แท้จริงเป็นของพระเจ้าผู้ทรงฤทธานุภาพ
จากกลุ่มเหตุผลทางการรายงาน ได้แก่โองการหนึ่งที่ตรัสว่า:
وَلِلَّهِ مُلْكُ السَّمَاوَاتِ وَالْأَرْضِ ۗ وَاللَّهُ عَلَىٰ كُلِّ شَيْءٍ قَدِيرٌ
“และอำนาจการปกครองชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินย่อมเป็นสิทธิ์ของอัลลอฮ์เท่านั้น และอัลลอฮ์ทรงเดชานุภาพเหนือทุกสรรพสิ่ง”
 ดังนั้น การปกครองที่แท้จริงจึงนำไปสู่พระเจ้าในทุกแง่มุม ไม่ว่าในด้านตุลาการ นิติบัญญัติและบริหาร อีกโองการหนึ่งที่เราอ่านกันว่า:
وَمَنْ أَحْسَنُ مِنَ اللَّهِ حُكْمًا لِقَوْمٍ يُوقِنُونَ
“จะมีผู้ใดเล่าที่จะทำการตัดสินได้ดียิ่งกว่าอัลลอฮ์”
 การยอมรับอำนาจการปกครองของพระเจ้า หมายความว่าการปกครองของพระเจ้าเท่านั้นที่ถูกต้องตามกฎหมายและถือว่าการปกครองของผู้กดขี่นั้นไม่ชอบธรรม เนื่องจากจุดประสงค์ของการส่งบรรดาศาสดามามีสองประการ ได้แก่: เคารพสักการะพระเจ้าผู้ทรงฤทธานุภาพและการออกห่างจากพวกจอมปลอม(ฏอฆูต):
وَلَقَدْ بَعَثْنَا فِي كُلِّ أُمَّةٍ رَسُولًا أَنِ اعْبُدُوا اللَّهَ وَاجْتَنِبُوا الطَّاغُوتَ
“แน่นอนยิ่งเราได้แต่งตั้งศาสนทูตขึ้นในทุกประชาชาติ(โดยบัญชาว่า) พวกท่านจงเคารพภักดีต่ออัลลอฮ์ และจงออกห่างจากพวกจอมปลอม(ฏอฆูต)”
 จากมุมมองทางปัญญา การปกครองของพระเจ้ามีความสำคัญและชอบธรรมตามกฎหมาย เพราะประการแรก พระเจ้าทรงมีความรู้อันไม่มีขอบเขตจำกัด และเนื่องจากพระองค์ทรงตระหนักดีถึงมิติทางวัตถุและจิตวิญญาณที่ซับซ้อนของมนุษย์ คำสั่งและกฎหมายของพระองค์จึงรวมทุกมิติของการดำรงอยู่ของมนุษย์ ประการที่สอง ทรงไม่ต้องพึ่งพาอย่างที่สุด และไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของความต้องการและการโน้มน้าวต่างๆ เพราะไม่ทรงมีส่วนได้ส่วนเสียใดๆ กับการกำหนดกฎหมายต่างๆ ทางสังคมและแม้กระทั่งทางด้านนัย(ตักวีนี)และด้านกฎหมาย(ตัชรีอี)  ประการที่สาม การปกครองของพระเจ้าเป็นการปกครองที่วางอยู่การอภิบาลทั้งทางด้านนัย(ตักวีนี)และด้านกฎหมาย(ตัชรีอี) เนื่องจากนี่คือเหตุผลทางปัญญาที่เราต้องใช้กฎ คำแนะนำ และแคตตาล็อกของอุปกรณ์เพื่อประโยชน์ในการซื้อ ซึ่งแน่นอนว่าต้องยอมรับจากผู้ผลิต ไม่ใช่จากผู้อื่น
 มีการถกเถียงกันอย่างมากเกี่ยวกับประเด็นนี้ นักคิดชาวตะวันตกและฆราวาสนิยม (secularism) ได้นำเสนอประเด็นสัญญาทางสังคมมาปะทะกับคุณลักษณะนี้  เช่น ฌ็อง-ฌัก รูโซ1 (Jean-Jacques Rousseau) หยิบยกประเด็นของ (เจตจำนงร่วม)   ซึ่งขึ้นอยู่กับความยินยอมของสาธารณชน  คุณลักษณะต่าง ๆ ของประชาธิปไตยที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ก่อนหน้านี้มีพื้นฐานและอาศัยทฤษฎีนี้ อย่างไรก็ตาม ในส่วนนี้ เราเน้นในด้านของการพิสูจน์โดยไม่ย้อนกลับไปยังประเด็นเหล่านั้น
2. “นิตินิยม” (legalism) (ตอนต่อไป)

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม