เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

อิสลามกับประชาธิปไตย (ตอนที่ 33)

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

อิสลามกับประชาธิปไตย (ตอนที่ 33)


6. รัฐบาลที่โปร่งใส รับผิดชอบและบทบาทของประชาชนในด้านนี้
ในสังคมอิสลาม สิทธิและหน้าที่ไม่ได้แยกจากกัน ผู้คนมีทั้งสิทธิและหน้าที่ และความสัมพันธ์ระหว่างสิทธิและหน้าที่เป็นความสัมพันธ์ที่ควบคู่กัน(ตะฎอยุฟ)
 มุสลิมที่ฉลาดรู้ว่า ประการแรก เขามีสิทธิและหน้าที่ต่อผู้สร้างของเขา และต่อเพื่อนร่วมเผ่าพันธุ์ของเขาและสังคมที่เขาอาศัยอยู่  และเติบโตขึ้นด้วยบทเรียนของการเสียสละ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความเป็นเพื่อนบ้านที่ดี ด้วยภารกิจในการกำชับให้ทำความดีและห้ามปรามการทำความชั่ว และอื่นๆ ดังที่ศาสนาอิสลามกล่าวอ้างว่า หากผู้คนปฏิบัติตามสิทธิและหน้าที่ที่กำหนดไว้สำหรับพวกเขาในศาสนาอันศักดิ์สิทธิ์นี้ พวกเขาจะเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากความผาสุกที่สมบูรณ์ของความเป็นมนุษย์ แต่หากพวกเขาปล่อยปละละเลย หรือทำบางส่วนและละทิ้งบางส่วน ร่างกายของพวกเขาจะหิวกระหาย หรือวิญญาณของพวกเขาหรือทั้งสองอย่างแน่นอน ดังที่ประเทศต่างๆ ที่นำชื่ออิสลามมาแขวนไว้กับตนเองแต่ไม่ปฏิบัติตามนั้น กำลังประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม ฯลฯ ที่ไม่สามารถแก้ไขได้ พวกเขาไม่มีเงินจ่ายค่าสวัสดิการของตน ไม่มีศักดิ์ศรีให้ภาคภูมิใจและมีความสุขจิตวิญญาณ!
 ด้วยเหตุนี้ หน้าที่ของสมาชิกในสังคมอิสลามโดยพื้นฐานแล้วคือการกำชับให้ทำความดีดีและห้ามปรามจากการทำความชั่ว และปกป้องขอบเขตทางความคิดและวัฒนธรรมของสังคมอิสลาม ฯลฯ และกฎเหล่านี้ต้องไม่ถูกละทิ้งในสังคม และประชาชาติอิสลามเป็นผู้รับผิดชอบทั้งต่อรัฐบาลและสังคมที่เขาอาศัยอยู่ ดังนั้นการกำชับให้ทำความดีและห้ามปรามจากการทำความชั่วจึงเป็นวิธีการปฏิบัติสองวิธีและเป็นมาตรการที่โดดเด่นที่สุดสำหรับความรับผิดชอบของรัฐอิสลาม ในขณะเดียวกัน เราไม่ควรเพิกเฉยต่อกิจกรรมอื่น ๆ ในทิศทางนี้ ตัวอย่างเช่น หลีกเลี่ยงการสร้างภาพและความรับผิดชอบของสมาชิกในสังคม,ซึ่งมันเป็นความช่วยเหลือที่ดีต่อรัฐอิสลามและถือเป็นความรับผิดชอบ นอกจากนี้ การให้คำปรึกษาและคำตักเตือนบรรดาผู้ปกครองและเจ้าหน้าที่ของระบบอิสลามยังเป็นที่สนใจของนักคิดอิสลาม และบางคนได้เขียนหนังสือภายใต้ชื่อ “การตักเตือนบรรดาผู้ปกครอง'' ขึ้นอีกด้วย  เป็นที่ชัดเจนว่าที่มาของการสนทนาดังกล่าวคือริวายัตต่างๆ อิมามอะลี(อ.) กล่าวในส่วนหนึ่งของนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ว่า:
 ..เพราะฉะนั้นจงอย่าละทิ้งการยืนหยัดในการพูดสิ่งที่เป็นสัจธรรมและอยู่กับความ ยุติธรรม เพราะว่าข้าไม่ได้อยู่เหนือความผิดนั้น และไม่ใช่ว่าในการงานนั้นจะปลอดภัย จากความผิดพลาด ยกเว้นว่าอัลลอฮ์ทรงให้ข้ามีความพอเพียงและปกป้องข้าในการ งานนั้น เพราะพระองค์ทรงมีอำนาจสูงสุด  
 อาจเป็นไปได้ว่าประโยคสุดท้ายของอิมามท่านนั้น (อ.) บ่งบอกถึงความแตกต่างระหว่างท่านอิมาม (อ.) กับท่านอื่นๆ และบ่งชี้ถึงความเป็นมะอ์ซูมของท่าน นอกจากนี้ เราสามารถเพิ่มข้อพิสูจน์ของความเป็นมะอ์ซูมได้จากที่อื่น ๆ ของนะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์และคำพูดของบรรดาอิมาม (อ.) อย่างไรก็ตามอาจกล่าวได้ว่า:
 เป้าหมายและจุดประสงค์ของอิมามคือแม้ว่าอิมามจะเป็นมะอ์ซูม แต่ระบบการ ปกครอง(คิลาฟัต)ไม่ได้เป็นมะอ์ซูม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อการตัดสินใจต่างๆ เกิดขึ้น จากการให้คำปรึกษาของผู้อื่น
 ไม่ใช่ความลับสำหรับคนที่มีรสนิยมที่คำตักเตือน การวิจารณ์ หรือการปรึกษาหารือดังกล่าวว่าต้องไม่ใช่เป็นไปเพื่อทำลาย เพราะการรักษาเกียรติของมุสลิมนั้นจำเป็น(วาญิบ)ยิ่งกว่าการรักษาเกียรติของสถานกะอ์บะฮ์เสียอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อผู้นำที่บริสุทธิ์(มะอ์ซูม)หรือไม่บริสุทธิ์(ไม่ใช่มะอ์ซูม)หรือรัฐอิสลาม หากการปฏิบัติหน้าที่ในการกำชับให้ทำความดีและห้ามปรามการทำความชั่วควบคู่ไปกับการไม่ให้เกียรติ ไม่เพียงไม่แต่ไม่ประสบผลเท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างปัญหาอีกต่างหาก
วิเคราะห์เป้าหมายทางกฎหมายของประชาธิปไตยและอิสลาม(ตอนต่อไป)

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม