ศึกษาอิมามัต ผ่านหนังสือมนุษย์ 250 ปี โดยอิมามคาเมเนอีย์ 1

ศึกษาอิมามัต ผ่านหนังสือมนุษย์ 250 ปี โดยอิมามคาเมเนอีย์ 1


บทที่ 6 สี่ยุคสมัยแห่งอิมามัต
หมายเลข_65 
หัวข้อ ยุคทั้งสี่ของอิมามัต
ข้าพเจ้า ข้อเน้นย้ำว่า เราต้องถือชีวิตของบรรดาอิมามเหมือนกับชีวิตของคนหนึ่ง ผู้ซึ่งมีชีวิตต่อเนื่องยาวนานถึง 250 ปี คือให้นับตั้งแต่ปีที่สิบของฮิจเราะฮ์จนถึงปีที่ 260 รวมเป็น 250 ปี ตามชีวิตที่ต่อเนื่องยาวนานของบรรดาอิมามบนหนทางนี้ โดยให้ดูเหมือนคนหนึ่งคนที่เดินทางอยู่ในวิถีนี้ 250 ปี โดยมองชิ้นส่วนของแต่ละห้วงเวลาและแต่ละเหตุการณ์ว่าเป็นของคนเพียงคนเดียว
ปรากฎการณ์อิมามัตคือ ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งแรกในเดือนซอฟัร ฮิจเราะฮ์ที่ 11 หลังจากการจากไปของศาสดา(ศ) จนถึงเดือนรอบิอุลเอาวัล ปีฮิจเราะฮ์ทื่ 260 หรือ การพลีของอิมามฮะซัน อัสการี(อ) โดยประมาณแล้วปรากฎการณ์ใช้ระยะเวลาสี่ยุคของอิมามัต แต่ละยุคของการเผชิญหน้าระหว่างบรรดาอิมามกับอำนาจที่ครอบงำการเมือง จะมีเอกลักษณ์และลักษณะที่โดดเด่นและแตกต่างกันไปตามวาระเหตุการณ์
✍️ลักษณะเด่นของยุคที่ 1
ยุคที่หนึ่ง คือ ยุคแห่งความเงียบ หรือ ยุคที่อิมามร่วมมือกับอำนาจต่างๆ (มีลักษณะดังต่อไปนี้)
ก. เป็นยุคที่สังคมเพิ่งจะเริ่มก้าวเดิน เป็นยุคแรกกำเนิดของอิสลาม ซึ่งมีทั้งศัตรูที่ทรงพลัง การโจมตีจากภายนอก(ผู้มีอำนาจในอาณาจักร หรือ ดินแดนอื่นที่ไม่ใช่ดินแดนอิสลาม) ,
ข. มีมุสลิมใหม่ และผู้ที่กำลังหัดเรียนรู้จากสังคมภายใน(สังคมมุสลิมเอง) 
ค. ยังไม่มีความขัดแย้งหรือแบ่งฝักแบ่งฝ่าย หรือ การแตกแถว (เช่น ยังไม่มีการแบ่งมัซฮับ)
ง. การละเมิดเพียงเสี้ยวเดียวก็สามารถส่งผลกระทบและการคุกคามต่อเรือนร่างของสังคม
จ. การบิดเบือนความจริง ยังไม่มีการเปิดเผย และรุนแรง จนถึงระดับที่บุคคลอย่างท่านอมีรุลมุอฺมีนีนผู้ที่ถือว่าให้ความสำคัญและใส่ใจสังคมอิสลามมากที่สุด จะไม่อยู่นิ่งเฉย และอาจเป็นไปได้ว่าเพราะท่านศาสดาได้สะท้อนมุมมองของท่านให้ได้เห็นล่วงหน้าแล้ว และท่านศาสดายังได้สั่งให้ศิษย์ผู้ถูกเลือกของท่านไว้แล้วว่า ให้ใช้ขันติและความอดทนในสถานการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต 
ยุคนี้ จึงเป็นยุคที่กินเวลาประมาณ 25 ปี หรือ ระหว่างการจากไปของศาสดาในปีที่ 11 กับ ปีที่ 35 หรือช่วงเริ่มต้นการปกครองของอมีรุลมุอฺมีนีน (ในช่วงเวลานั้น) ท่านอิมามได้เขียนจดหมายถึงชาวอิยิปต์ บอกเล่าถึงสถานการณ์ของตนเองตั้งแต่ช่วงเวลาของการปกครอง ใจความหนึ่งในจดหมายระบุว่า 
فَأَمْسَكْتُ يَدِي حَتَّى رَأَيْتُ رَاجِعَةَ النَّاسِ قَدْ رَجَعَتْ عَنِ الْإِسْلَامِ يَدْعُونَ إِلَى مَحْقِ دَيْنِ مُحَمَّدٍ (صلى الله عليه وآله) فَخَشِيتُ إِنْ لَمْ أَنْصُرِ الْإِسْلَامَ وَ أَهْلَهُ أَنْ أَرَى فِيهِ ثَلْماً أَوْ هَدْماً تَكُونُ الْمُصِيبَةُ بِهِ عَلَيَّ أَعْظَمَ مِنْ فَوْتِ وِلَايَتِكُمُ...فَنَهَضْتُ فِي تِلْكَ الْأَحْدَاثِ. حَتَّى زَاحَ الْبَاطِلُ وَ زَهَقَ وَ اطْمَأَنَّ الدِّينُ وَ تَنَهْنَهَ.
ความหมาย 
“ข้าฯได้หยุดมือของตน(ไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับเรื่องการปกครอง) จนกระทั่งข้าฯได้เห็นแล้วมีคนกลุ่มหนึ่งได้หันหลังจากอิสลาม พวกเขาต้องการทำลายศาสนาของมุฮัมมัด(ศ็อล ข้าฯเกรงว่าหากข้าฯไม่ช่วยเหลืออิสลามและสาวกของศาสนานั้น ข้าฯจะได้เห็นช่องโหว่ที่เสียหายในนั้น หรือข้าฯจะกลายเป็นเป็นสักขีพยานในการพินาศของมัน สำหรับข้าฯสิ่งนี้(การทนดูอิสลามถูกทำลาย)นับเป็นความทรมานที่ยากยิ่งกว่า การปล่อยการปกครองนี้ให้แก่พวกเจ้า ดังนั้นข้าฯจึงยืนหยัดอยู่ท่ามกลางความโกลาหลวุ่นวายนั้น เพื่อให้ความเท็จมลายหายไป และเพื่อให้ศาสนานั้นมีความมั่นคง” [1] 
(อิมามคาเมเนอีย์ อธิบาย) ช่วงแรก อิมามกำลังบอกว่า ฉันได้ปล่อยวางกระแสต่างๆ จนเมื่อฉันได้เห็นว่า มีคนหลายกลุ่มเริ่มหันหลังให้อิสลาม และกำลังเรียกร้องให้ทำลายศาสนานี้ ฉันจึงเกรงว่าหากไม่ช่วยเหลือปกป้องอิสลามและมวลมุสลิม จะมีความช่องโหว่และความพินาศเกิดขึ้นกับอิสลาม ซึ่งความเสียหายที่จะเกิดขึ้นนี้มันรุนแรงยิ่งกว่าการปล่อยเรื่องการปกครองในยุคสมัยนี้ และนี้คือเหตุผลที่ฉันได้ลุกขึ้นยืนหยัด 
������ ประเด็นในตัวบท
1. มนุษย์สองร้อยห้าสิบปี คือ มุมมองสอนให้ศึกษาชีวประวัติของบรรดาอิมามมะศูม โดยการศึกษา วิเคราะห์ และทำความเข้าใจชีวิตของอิมามทั้งสิบสองท่าน ในฐานะของคนหนึ่งคน เพื่อให้เห็นถึงความเชื่อมโยงและความต่อเนื่องในวิถีของอิมามัต
2. อิมามคาเมเนอีย์ แบ่งช่วงเวลาของอิมามทั้งสิบสองท่านออกเป็น สี่ช่วง ในช่วงแรกเริ่มต้นจากยุคการจากไปของศาสดา และช่วงการปกครองของอิมามอาลี(อ)
3. ลักษณะเด่นของยุคแรก คือ การร่วมมือระหว่างอิมามมะศูมกับผู้ปกครอง, ยังไม่มีการแบ่งฝักแบ่งฝ่าย หรือ แตกแยกรุนแรง, สังคมและการปกครองของมุสลิมยังอยู่ในขั้นเริ่มต้น
4. ในนะญุลบาลาเฆาะเป็นการแสดงถึงเจตจำนงของการปกครองของท่านอิมามอาลี นั่นคือ การปกป้องอิสลามจากการถูกทำลาย

 อ้างอิง 
[1] นะฮ์ญุลบาลาเฆาะ จดหมายเหตุที่ 62
[2] มนุษย์ 250 ปี เล่ม 3 หน้า 63-64
อิมามคาเมเนอีย์
มนุษย์ 250ปี