ศึกษาอิมามัต ผ่านหนังสือมนุษย์ 250 ปี โดยอิมามคาเมเนอีย์ 21


ศึกษาอิมามัต ผ่านหนังสือมนุษย์ 250 ปี โดยอิมามคาเมเนอีย์ 21

 

หมวดที่1 ยุคต้นแห่งอิมามัต
บทที่9 ชีวิตและบุคลิกภาพของอมีรุลมุอฺมีนีน อลัยฮิสลาม
หมายเลข 85 ทหารผ่านศึกสองประเภท ประเภทแรก คือ พวกที่ชอบให้มีคนยกย่องสรรเสริญ

ความเดิมตอนที่แล้ว
อิมามคาเมเนอีย์ ชี้ถึง ความเป็นอัซซาบิกูน ของท่านอมีรุลมอฺมีนีน(อ) โดยยกข้อพิสูจน์เรื่องการศึกสงคราม จะเห็นว่าในสนามรบ ท่านอิมามอาลี (อ) จะเป็นผู้แรกที่ร่วมรบในสงครามและเป็นผู้บัญชาการศึกตามการแต่งตั้งโดยท่านศาสดา (ศ็อล) เสมอ
หัวข้อ ทหารผ่านศึกสองประเภท ประเภทแรก คือ พวกที่ชอบให้มีคนยกย่องสรรเสริญ
อีกช่วงเวลา คือ ช่วงเวลากลับจากสนามรบ หมายถึง ช่วงเวลาที่ห่อหุ้มความภาคภูมิใจ ตอนนี้เราได้ผ่านที่ๆต้องใช้ดาบฟาดฟันแล้ว เราได้ประสบความสำเร็จแล้ว หลังจากนี้ เราจะกลับบ้านกัน (ภาษาพูด) การต่อสู้ชักดาบฟาดฟัน ,การเป็นวีรบุรุษ การเป็นความภาคภูมิใจ เป็นบททดสอบหนึ่ง เป็นหนึ่งในสนามสอบ  คำถามต่อมาคือ ผู้ที่เก่งกาจในด้านการชักดาบฟาดฟัน หากต้องการหวนคืน(สู้บ้านของตน) เขาจะทำอย่างไร จะเอาใครมาเป็นตัวอย่าง ?
คำตอบในที่นี้มีตัวอย่างให้เลือกอยู่สองรูปแบบด้วยกัน แบบแรกคือ กลับมาแบบพูดจาพร่ำเพรื่ออวดวีรกรรม
وَيُحِبُّونَ أَنْ يُحْمَدُوا بِمَا لَمْ يَفْعَلُوا
(บรรดาผู้ที่ปิติยินดีต่อสิ่งที่พวกเขากระทำ) และชอบที่จะได้รับการชมเชยในสิ่งที่พวกเขามิได้กระทำนั้น
คนกลุ่มนี้ชอบให้ผู้คนยกย่องสรรเสริญพวกเขาในเรื่อง,ภารกิจที่ตัวเองไม่ได้ทำ หรือ ไม่มีความชำนาญ
فَلَا تَحْسَبَنَّهُمْ بِمَفَازَةٍ مِنَ الْعَذَابِ
ดังนั้นเจ้าจงอย่าคิดเป็นอันขาดว่า พวกเขาจะมีทางรอดพ้นจากการลงโทษไปได้ [1] อย่าได้คิดเลยว่า คนกลุ่มนี้จะห่างไกลจากอะซาบและการลงโทษ
 สรุปเนื้อหาในตัวบท
อิมามคาเมเนอีย์ ชี้ว่า สนามศึก เป็นหนึ่งบททดสอบ แต่ไม่ได้หมายความว่า การทดสอบนี้จะจบลงแค่ในสนามรบ หลังศึกก็มีบททดสอบเช่น ท่านชี้ว่า ผู้ที่ผ่านสงครามมีสองรูปแบบ แบบแรกคือ ผู้ที่พูดจาพร่ำเพรื่อ อยากได้ยิน อยากได้ฟัง ผู้คนมายกย่องสรรเสริญ ในวีรกรรมที่ตนเองไม่ได้ทำ หรือ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ
 เชิงอรรถจากในหนังสือ
[1] ฮุจญะตุลอิสลาม กิรออะตีย์ ได้อธิบายโองการดังกล่าวว่า ตามหลักแล้วโองการอัลกุรอ่าน ได้ชี้ถึงบุคคลสามจำพวก จำพวกแรก คือ ผู้ที่ทำงาน แต่ไม่ได้หวังรางวัล และการขอบคุณใดๆจากมวลชน (เหมือนในซูเราะฮ์อินซานโองการที่ 9 ที่กล่าวถึงอะฮ์ลุลบัยต์) จำพวกที่สองคือ กลุ่มคนที่ทำงาน ทำภารกิจ เพื่อให้มวลชนรู้ และเพื่อให้ผู้คนยกย่องสรรเสริญพวกเขา (เหมือนในซูเราะฮ์ นิซา โองการที่ 38) แบบที่สาม คือ กลุ่มคนทั้งที่ไม่ทำงาน ไม่ทำภารกิจใด แต่กลับต้องการการสรรเสริญเยินยอ การยกย่องจากมวลชน(เหมือนในโองการข้างต้น ซูเราะฮ์อาลิอิมรอน 188)
 อ้างอิง
มนุษย์ 250 ปี เล่ม 3 หน้า 84-85