เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

เตาฮีด 4 (ความเป็นเอกะของพระผู้เป็นเจ้า)

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

เตาฮีด 4 (ความเป็นเอกะของพระผู้เป็นเจ้า)

 

เมื่อมนุษย์ยอมรับว่าจะต้องแสวงหาศาสนา ด้วยกับความเป็นมนุษย์ยอมรับว่าจะต้องแสวงหาพระผู้เป็นเจ้า แต่ก็ถือว่ายังไม่เพียงพอต้องอาศัยวิธีการที่ถูกต้องด้วย ต้องอาศัยความรู้ที่ถูกต้องในการไปสู่พระผู้เป็นเจ้าด้วย ซึ่งเราจะเห็นได้ในความเป็นจริงแล้วมนุษย์กำลังแสวงหาพระผู้เป็นเจ้าอยู่ มนุษย์กำลังแสวงหาสัจธรรมในชีวิตอยู่ พบว่ามีคนจำนวนหนึ่งหนึ่งไปเป็นฤษีชีไพร มีคนจำนวนหนึ่งทรมานตัวเองเป็นวันเป็นคืนเพื่อค้นหาสัจธรรม มีคนไม่กินไม่ดื่มเพื่อแสวงหาสัจธรรม มีคนถือสันโดษ สิ่งเหล่านี้ยืนยันว่ามนุษย์กำลังแสวงหาสัจธรรม แต่ประเด็นที่สำคัญคือแล้วอะไรคือวิธีการที่ถูกต้องในการไปสู่สัจธรรม ในการไปสู่การรู้จักพระผู้เป็นเจ้า
การไปสู่สัจธรรมหรือพระผู้เป็นเจ้านั้นก็เหมือนกับการแสวงหาความรู้ ต่างกันที่ว่าเรื่องนี้เป็นความรู้ทางศาสนา ไม่ได้เป็นความรู้แบบทั่วไป จำเป็นที่จะต้องรู้จักพื้นฐานที่นำไปสู่ความรู้ก่อน จะต้องรู้ว่าเรื่องการรู้จักพระผู้เป็นเจ้าจะต้องใช้ความรู้แบบไหน วิธีไหน เพราะบางครั้งถ้าเราใช้ความรู้ผิดวิธีก็ไม่สมารถไปถึงเป้าหมายได้ จะต้องรู้จักความรู้แต่ละประเภทก่อน
ความรู้ในโลกนี้แบ่งออกเป็นสี่ประเภทด้วยกัน
1 “ตะญัรรุบี” ความรู้ที่เกิดจากการสร้างสมประสบการณ์ มีอยู่มากในวิชาวิทยาศาสตร์ เช่น โธมัท อันวาเอดิสัน ทำการทดลองเป็นพันๆครั้งกว่าจะได้ความรู้ในการผลิตหลอดไฟ ต้องทดลองก่อนกจึงจะได้ความรู้มา การสร้างพลังงานนิวเคลียร์ก็เช่นเดียวกัน หรือการผลิตยารักษาโรคต้องมีการทดลองต้องเอาเคมีนั้นมาผสมเคมีนี้ ลองผิดลองถูกมาก่อน กว่าจะได้ยาที่ถูกต้องมา ความรู้แบบนี้มีอยู่มากมาย แต่ส่วนมากจะเป็นความรู้ทางด้านวัตถุ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี แพทย์ ซึ่งเป็นความรู้ที่ต้องใช้สัมผัสทั้งห้ารับรู้
2 “อักลี” ความรู้ที่มาจากสติปัญญาโดยตรงอยู่ในหมวดของวิชา ปรัชญา ตรรกะ คณิตศาสตร์ เช่นการพิสูจน์ว่าโลกนี้มีผู้สร้าง ตัวอย่างง่ายๆตึกราบ้านช่องที่ปรากฏให้เห็น มนุษย์สามารถบอกได้ไหมว่ามันเกิดขึ้นมาเอง ไม่ใช่เลยต้องมีวิศวกร ต้องมีช่างไม้ มีช่างก่อสร้าง มีอุปกรณ์ทุกสิ่งทุกอย่าง จึงสามารถทำให้สิ่งก่อสร้างเกิดขึ้นมาได้ สิ่งก่อสร้างเหล่านั้นจึงเกิดขึ้นมาอย่างมีระบบระเบียบเรียบร้อยสวยงาม โลกนี้ก็เช่นเดียวกันหากมนุษย์พิจารณาไปยังโลกและจักรวาล เราจะพบว่าทุกสิ่งทุกอย่างนั้นมีความเป็นระบบระเบียบมีความสอดคล้องสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน เป็นระบบอันเดียวกัน ดวงอาทิตย์มี ดวงจันทร์ และดวงดาวต่างๆ ซึ่งสิ่งทั้งหมดมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน มีความสัมพันธ์กับโลก ดวงอาทิตย์ให้ประโยชน์กับโลกนี้อย่างมากมาย ระยะห่างระหว่าง โลกกับดวงอาทิตย์ถูกวางอยู่ในระดับที่พอดีไม่ใกล้และไม่ไกลเกิน ถ้าดวงอาทิตย์ใกล้โลกกว่านี้แค่นิดเดียวก็จะทำให้โลกนี้กลายเป็นจุล หรือถ้าไกลกว่าอีกนิดจะทำให้โลกนี้กลายเป็นน้ำแข้ง การมีของดวงจันทร์ทำให้เกิดน้ำขึ้นน้ำลง สรรพสิ่งต่างๆมีความขับเคลื่อนไปในระบบเดียวกัน มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันถึงขั้นทีมีคำพูดหนึ่งว่า”เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว” ชี้ให้เห็นว่ามันได้เกิดขึ้นมาจากอำนาจเดียวกันมาจากแหล่งเดียว ผู้สร้างต้องมีแค่ผู้เดียว เพราะถ้ามาจากอำนาจสองขั้ว ถ้ามาจากผู้สร้างหลายองค์แล้วนั้นมันจะเกิดความขัดแย้งอย่างมากมาย
ตัวอย่างจากอัลกุรอาน ซูเราะฮฺ ฆอชียะฮ์ โองการที่ 17
أَ فَلا یَنْظُرُونَ إِلَى الْابِلِ کَیْفَ خُلِقَتْ
“พวกเจ้าไม่พิจารณาไปยังอูฐดอกหรือว่ามันถูกสร้างมาอย่างไร”
เมื่อมนุษย์ได้ใคร่ครวญไปยังการมีอยู่ของอูฐ จะพบว่าอูฐถูกสร้างมาให้สามารอาศัยอยู่ในทะเลทรายได้อย่างง่ายดาย อูฐมีตาสองชั้น เนื่องจากในทะเลทรายจะเกิดพายุทะเลทรายเมื่ออูฐปิดตาชั้นแรกมันก็ยังสามารถมองเห็นได้โดยที่ทรายนั้นไม่สามารถเข้าตามันได้ อูฐมีที่เก็บน้ำในท้องได้ถึงประมาณ 20-30 ลิตร เพื่อสามารถใช้ในการเดินทางไกลในทะเลทรายที่ไม่มีน้ำได้ อูฐมีเท้าที่ตรงกลางจะเป็นลักษณะที่ลุ่มลงไป เพื่อสามารถที่จะเดินในทะเลทรายได้ ถ้าเป็นกลีบนั้นไม่สามารเดินในทะเลทรายได้ เพราะเท้าจมลงทราย เมื่อมนุษย์ใคร่ครวญดูพบว่าสิ่งนี้เป็นเรื่องที่สอดคล้องเหมาะสมระหว่างอูฐและทะเลทราย เป็นไปได้อย่างไรที่สิ่งนี้จะเกิดขึ้นมาโดยบังเอิญ สติปัญญาจะบอกมนุษย์ว่ามันเกิดมาจากผู้สร้างที่ทรงความรู้ ผู้สร้างทรงรอบรู้ ที่สามรถจัดวางทุกสรรพสิ่งได้อย่างเหมาะสม และในสรรพสิ่งอื่นๆก็เช่นกัน เมื่อเราเข้าไปศึกษาจะพบถึงความสัมพันธ์กัน ความถูกต้องเหมาะสมในทุกๆสิ่ง
3 “ตะอับบุดี” ความรู้ที่ได้มาจากการเชื่อจำนนโดยดุษฎี จากการบอกเล่าของบุคคลอื่น ก่อนที่ไปสู่ความรู้อันนี้นั้นเราจะต้องทำความเข้าใจสิ่งหนึ่งก่อนเพื่อทำให้เกิดความเชื่อมั่นในความรู้นั้นโดยดุษฎี โดยไม่มีข้อคลางแคลงใจใดๆ เบื้องต้นต้องใช้สติปัญญาพิจารณาบุคคลที่นำความรู้นั้นๆมาบอก ว่าสามารถที่จะเชื่อถือเขาได้หรือไม่ ผู้ที่นำความรู้ประเภทนี้มาจะต้องผ่านการพิสูจน์ก่อน เพื่อความน่าเชื่อถือต่อความรู้ที่เขานำมา ไม่ได้หมายถึงพิสูจน์ความรู้ที่เขานำมา เพราะความรู้ประเภทนี้นั้นพิสูจน์ไม่ได้ หรือพิสูจน์ได้ยาก ต้องผ่านขั้นตอนต่างๆอย่างมากมาย เช่นถ้าศาสดามาแจ้งเรื่อง การเกิดขึ้นของวันกียามัต วันแห่งการตอบแทน เรื่องของชีวิตหลังความตาย อาลัมบัรซัค เรื่องของมาลาอีกัต กำลังลงโทษ ทุบตีคนที่กระทำความผิด เรื่องราวเหล่านี้เรายังไม่สามารถพิสูจน์ได้ มนุษย์ไม่สามารถลงไปดูในอาลัมบัรซัคได้ ดังนั้นก่อนที่เชื่อความรู้ประเภทนี้นั้น ขั้นตอนแรกคือการพิสูจน์ผู้ที่นำความรู้มา ความเข็มข้นในการยอมจำนนต่อความรู้นี้นั้น ขึ้นอยู่กับความเข้มข้นในการยอมรับในตัวตนของผู้ที่นำความรู้มา ถ้ามนุษย์มีศรัทธาต่อศาสดามากมนุษย์ก็จะมีความเข้มข้นในการยอมรับความรู้จากศาสดามากเช่นเดียวกัน ความรู้ประเภทนี้ส่วนมากจะเป็นความรู้ทางศาสนา เช่นการนมาซ ถือศีลอด จ่ายซะกาต ในยุคหนึ่งมนุษย์อาจยังไม่รู้ว่าทำไมต้องปฏิบัติสิ่งเหล่านี้ อาจยังไม่รู้ถึงผลดีของการปฏิบัติสิ่งเหล่านี้ แต่ในวันนี้มนุษย์สามารถรู้ได้แล้วแต่แค่เพียงส่วนหนึ่ง หรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับความตาย ชีวิตหลังความตาย การตอบแทน การคิดบัญชี การสอบสวนในวันกียามัต มนุษย์เชื่อสิ่งต่างๆเหล่านี้ เพราะความเชื่อมั่นที่มีต่อศาสดาผู้มาแจ้งข่าว
4 “ชูฮูดี” ความรู้ที่ประจักษ์แจ้งเห็นจริงด้วยตัวเอง การไปสู่ความรู้ด้วยตัวเอง การเห็นสิ่งนั้นด้วยตัวเอง ยกตัวอย่างทางวัตถุก่อน เช่น สิ่งของต่างที่ตั้งอยู่ตรงหน้ามนุษย์ตอนนี้ มนุษย์รู้ว่ามันมีอยู่ก็เพราะมนุษย์เห็นมันด้วยตาของมนุษย์เอง มันประจักษ์แจ้งอยู่ตรงหน้ามนุษย์ ส่วนในเรื่องของจิตวิญญาณ เมื่อพูดถึงเรื่องวันกียามัต เรื่องมาอิกัต เรื่องอาลัมบัรซัค เรื่องนรก เรื่องสวรรค์ มนุษย์ก็จะเห็นด้วยกับจิตวิญญาณของเขา แต่ไม่ใช่มนุษย์ทุกคนจะสามารถรับรู้ได้มีคนจำนวนน้อยที่เห็นสิ่งเหล่านี้ด้วยกับดวงตาแห่งจิตวิญญาณของเขา แต่ถ้ามนุษย์รู้จากการอ่านหนังสือ จากการฟังผู้อื่นมาอันนี้เป็นความรู้แบบการเชื่อโดยจำนน ซึ่งแตกต่างจากการรู้ด้วยตนเอง การประจักษ์แจ้งด้วยตนเอง ซึ่งไม่สามารถที่จะอธิบายให้คนอื่นเข้าใจได้อย่างสมบรูณ์ บรรดานักวิชาการชั้นสูงกล่าวว่า ความรู้แบบการประจักษ์แจ้งนั้นเป็นความรู้เดียวที่ไม่มีความผิดพลาด การจะไปถึงความรู้อันนี้จะต้องผ่านการขัดเกลาจิตวิญญาณอย่างมากมาย
ที่นี้เมื่อมนุษย์รู้จักความรู้ทั้งสี่ประเภทแล้ว คือ ความรู้จากประสบการณ์ ความรู้จากสติปัญญา ความรู้จากการยอมจำนนและความรู้จากการประจักษ์แจ้งเห็นจริง ถามว่าความรู้อันไหนบ้างที่สามารถตอบโจทย์ในการพิสูจน์การมีอยู่ของพระผู้เป็นเจ้า การพิสูจน์การมีอยู่ของพระผู้เป็นเจ้าใช้ความรู้จากวิธีการใดได้บ้าง สามารถใช้จากความรู้ทั้งสี่ประเภทได้หรือไม่
เรื่องแรกในการพิสูจน์ศาสนานั้นต้องพิสูจน์ก่อนว่าพระผู้เป็นเจ้ามีหรือไม่มี เพราะนิยามของศาสนาคือ การเชื่อว่ามีพระเจ้า และเชื่อว่ามีคำสั่งมาจากพระเจ้า จึงเรียกว่าศาสนาดั้งนั้นต้องพิสูจน์การมีอยู่ของพระผู้เป็นเจ้าก่อน คำถามคือ ความรู้ประเภทไหนที่สามารถพิสูจน์การมีอยู่ของพระผู้เป็นเจ้าได้ เพราะเรื่องการพิสูจน์การมีอยู่ของพระผู้เป็นเจ้านั้นมันเป็นเรื่องเหนือธรรมชาติเมื่อเป็นเช่นนี้ ความรู้ที่ได้มาจากประสบการณ์ (ตะญัรรุบี) ก็ไม่สามรถนำมาใช้ได้ เพราะมันสามารถใช้พิสูจน์สิ่งที่สามารถสัมผัสได้ด้วยสัมผัสทั้งห้าเท่านั้น ขอบเขตของวามรู้นี้มีจำกัด จะให้ไปพิสูจน์เรื่องเหนือธรรมชาติไม่ได้ ดั้งนั้นความรู้แบบ ตะญัรรุบี(ความรู้จากประสบการณ์)จึงไม่ตอบโจทย์ เรามาดูว่าความรู้ต่อไปจะสามารถพิสูจน์การมีอยู่ของพระผู้เป็นเจ้าได้หรือไม่ ความรู้ที่มาจากการยอมจำนน (ตะอับบุดี) ความรู้นี้นั้นจะมีได้อย่างสมบรูณ์นั้นจะต้องผ่านขั้นตอนอื่นๆมาก่อน มนุษย์จะเชื่อในเรื่องพระผู้เป็นเจ้า มนุษย์จะเชื่อในเรื่องวันกียามัต มนุษย์จะเชื่อในเรื่องนรกสวรรค์ ได้นั้นมนุษย์จะต้องรู้ก่อนว่าผู้ที่มาบอกนั้นเป็นผู้สัจจริง มี่ความน่าเชื่อถือ จะต้องศรัทธาในตัวของผู้ที่มาบอกหรือของศาสดาก่อน หรือการที่มนุษย์จะศรัทธาความรู้ต่างๆในอัลกุรอานได้นั้น เราจะยอมรับอัลกุรอานก่อน ดังนั้นความรู้นี้ก็ยังไม่ตอบโจทย์ เบื้องต้นความรู้นี้ไม่สามารถพิสูจน์การมีอยู่ของพระผู้เป็นเจ้าได้ แต่จะเป็นความรู้อันดับสอง ที่นี้เราลองมาดูความรู้อันดับต่อไป คือ ความรู้ที่ได้มาจาการประจักษ์แจ้งเห็นจริง(ชูฮูดี)ว่าสามรถพิสูจน์การมีอยู่ของพระผู้เป็นเจ้าได้หรือไม่ เบื้องต้นก็เช่นเดียวกันไม่สามารถใช้ได้ เพราะก่อนที่มนุษย์จะเห็นพระผู้เป็นเจ้า เห็นมาลาอิกัต เห็นนรกเห็นสวรรค์ด้วยตาแห่งจิตวิญญาณได้นั้น ต้องผ่านการขัดเกลา การพัฒนาต่างๆอย่างมากมาย ต้องชำระหัวใจให้สะอาดบริสุทธิ์จนกว่าจะไปถึงตำแหน่งแห่ง ชูฮูดี (ประจักษ์แจ้งเห็นจริง) ซึ่งความรู้ที่ใช้ในการขัดเกลานั้นมาจากพระเจ้ามาจากศาสดา หมายความว่าเขาจะต้องศรัทธาในพระเจ้ามาก่อนแล้ว ศรัทธาในศาสดามาก่อนแล้ว แต่ในประเด็นหัวข้ออันนี้เรากำลังจะพิสูจน์การมีอยู่ของพระผู้เป็นเจ้า ความรู้อันนี้ก็ยังไม่ตอบโจทย์ สุดท้ายเหลือความรู้อยู่ประเภทเดียว คือ ความรู้ที่ได้มาจากสติปัญญาโดยตรง (อักลี)เบื้องต้นด้วยสติปัญญาทำให้มนุษย์รู้จักพระผู้เป็นเจ้า ถ้าไม่ใช้สติปัญญามนุษย์ก็ไม่สามารถพบพระผู้เป็นเจ้าได้ เช่นนักวิทยาศาสตร์เบื้องต้นแค่รู้ว่าภูเขาไฟระเบิดมาจากความร้อน ความร้อนที่สะสมอยู่ในโลก แต่เมื่อใช้สติปัญญาคิดดูว่าทำไมภูเขาไฟต้องระเบิด เพราะว่าถ้ามันไม่ระเบิด และเก็บความร้อนเอาไว้นานๆ วันหนึ่งโลกก็จะระเบิดแทน ดั้งนั้นเพื่อระบายความร้อนของโลก เพื่อให้โลกเย็นลง เพื่อให้โลกดำรงอยู่ต่อ จำเป็นต้องมีภูเขาไฟระเบิด เนื่องจากโลกได้โคจรรอบดวงอาทิตย์อยู่ตลอดเวลามันได้เก็บสะสมความร้อนเข้าไปทุกวัน พอมากๆเข้าการะเบิดของภูเขาไฟคือการระบายความร้อนนั้นเอง เมื่อมาถึงตรงนี้มนุษย์พบว่าปรากฏการณ์เหล่านี้เป็นสิ่งที่มีความสอดคล้องกันสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ไม่มีมนุษย์ผู้มีสติปัญญาคนใดจะกล่าวได้ว่าระบบระเบียบความสัมพันธ์อันนี้เกิดขึ้นมาโดยบังเอิญโดยที่ไม่ผู้สร้าง และจะต้องเป็นผู้สร้างที่มีความรู้อย่างละเอียดถี่ถ้วน
ความรู้ทางสติปัญญาเท่านั้นที่จะนำไปสู่การพิสูจน์พระผู้เป็นเจ้า เพียงแค่การใช้สติปัญญาเบื้องต้น มีปรัชญาของตัวเองในการพิสูจน์การมีอยู่ของพระผู้เป็นเจ้า หรืออีกตัวอย่างหนึ่งปรัชญาของหญิงแก่ ที่พิสูจน์การมีอยู่ของพระผู้เป็นเจ้า “วันหนึ่งท่านศาสดาแห่งอิสลาม ได้เดินผ่านหญิงแก่ชราที่ปั้นฝ้ายคนหนึ่ง ท่านศาสดาได้ถามว่า โอ้ หญิงผู้ปั้นฝ้าย ท่านรู้ได้อย่างไรว่ามีพระเจ้า หญิงชราคนหนึ่งที่กำลังปั้นฝ้ายอยู่ก็เอามือออกจากที่ปั้นฝ้าย ที่ปั้นฝ้ายก็เริ่มชะลอลงจนกระทั้งหยุดหมุน หญิงชราก็ได้กล่าวขึ้นว่าโอ้ท่านศาสดาท่านไม่เห็นดอกหรือ เมื่อฉันหยุดหมุนที่ปั้นฝ้ายก็หยุดด้วย มันไม่สามารถหมุนด้วยตัวเองได้ แล้วเป็นไปได้อย่างไรที่โลกนี้กำลังโคจรอยู่โดยที่ไม่มีผู้ที่ทำให้มันโคจร โดยไม่มีผู้ควบคลุมมันอยู่ นี้คือตัวอย่างของการใช้สติปัญญาเบื้องต้น ท่านศาสดาจึงกล่าว่าเป็นหน้าที่ของพวกเจ้าทุกคนที่จะต้องนับถือศาสนาเหมือนกับหญิงชราคนนี้

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม