เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

เตาฮีด 7 (ความเป็นเอกะของพระผู้เป็นเจ้า)

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

เตาฮีด 7 (ความเป็นเอกะของพระผู้เป็นเจ้า)

 

    การรู้จักพระผู้เป็นเจ้าด้วยสติปัญญาในระดับที่สอง วิธีนี้จะยากกว่าวิธีแรก คือการใช้วิธีทางปรัชญา ซึ่งต้องใช้สมมุติฐานที่ลึกซึ้ง ต้องใช้ขั้นตอนมากขึ้นในการพิสูจน์ นักปรัชญาได้แบ่งสิ่งที่มีอยู่ในโลกนี้ออกเป็นหลักๆสองประเภท คือ “สิ่งที่การมีอยู่ของมันจะมีก็ได้ไม่มีก็ได้” ภาษาอาหรับคือ “มุมกินุลวูญูด” และ “สิ่งที่จำเป็นต้องมี” ภาษาอาหรับคือ “วาญิบุลวูญูด” เรื่องแรกที่ปรัชญาพูดถึงในการพิสูจน์พระผู้เป็นเจ้าคือเรื่องของ “การมีอยู่” ภาษาอาหรับคือ “วูญูด” มาทำความเข้าใจความหมายของคำว่า “มุมกินุลวูญูด” และ “วาญิบุลวูญูด”
    ก่อนที่จะเข้าสู่เรื่องของ”มุมกินุลวูญูด” และ “วาญิบุลวูญูด” จะทำความเข้าใจทฤษฎีหนึ่งทางปรัชญาคือ ทฤษฎี “อิลลียัต” “มะลูล” )ทฤษฎีปฐมเหตุและผลที่เกิดขึ้นมาจากมัน( สมมติตัวอย่างของ “ความร้อน” เมื่อถามว่าความร้อนเกิดขึ้นมาได้อย่างไร แสดงว่ามนุษย์กำลังแสวงหา “อิลลัต” (ปฐมเหตุ)ของมัน แต่ถ้ามนุษย์ถามว่าไฟสามารถทำอะไรให้เกิดขึ้นได้บ้างแสดงว่ามนุษย์กำลังหา “มะลูล” (ผล)ของมัน นี้คือทฤษฎีเหตุและผลทางปรัชญา    
    - “มุมกินุลวูญูด”  คือสิ่งที่การมีอยู่ของมัน “มีก็ได้ไม่มีก็ได้” เมื่อก่อนมันไม่มีแล้วเพิ่งมามีทีหลัง  เมื่อก่อนมันยังไม่มีแล้ววันหนึ่งมันก็มีขึ้นมาในการมีอยู่ของมันต้องพึ่งไปยังสิ่งที่มีอยู่อื่น คือสิ่งมีอยู่ที่การมีอยู่ของมันขึ้นอยู่สิ่งอื่น มีความเกี่ยวข้องกับอิลลัตเพื่อจะทำให้มันมีขึ้นมา ในเมื่อมันไม่มีมาก่อนแล้วมันมีขึ้นมาเองได้อย่างไร ทำไมมันไม่มีตอนที่มันไม่มี เมื่อมันมีแล้วอะไรคือสาเหตุของการมี ก่อนจะมีคำว่า”มีก็ได้ไม่มีก็ได้”นั้นต้องมีคำว่า”มี”ก่อน” เพราะสิ่งที่”มี”เท่านั้นที่จะให้กำเนิดสิ่งที่”มี”อื่นๆได้ ไม่มีสิ่งใดสามารถเกิดขึ้นมาจากความว่างเปล่าได้ และจะต้องมีสิ่งที่มีอันหนึ่งที่การมีอยู่ของมันไม่ได้มีขึ้นมาจากสิ่งใดๆมันมีมาแต่เดิม มันไม่ได้เป็น”มะลูล”(ผล)ของสิ่งใด มันเป็น”อิลลัต”)ปฐมเหตุ)แรก มันเป็นแกนแท้ของสรรพสิ่ง เพราะถ้าไม่เป็นเช่นนี้ สมมติถ้ามนุษย์บอกว่าสิ่งที่มีอันนี้ก็เกิดมาจากสิ่งที่มีอันอื่น แล้วสิ่งที่มีนั้นก็มาจากสิ่งที่มีอันอื่นอีกสมมติต่อกันอย่างนี้ไปเรื่อยๆจนหาปฐมเหตุแรกไม่ได้มันก็จะเป็น(ทฤษฎีตะซัลซุล)ทฤษฎีลูกโซ่ หรือถ้าไม่เป็นทฤษฎีนี้ก็จะเป็นอีกทฤษฎีหนึ่งคือ(ทฤษฎีโดร)ทฤษฎีวัฏจักรคือวนเวียนอยู่ในวัฏจักรของมันไม่สามารถจุดเริ่มต้นที่แท้จริงได้ เช่นตัวเพื่อที่ทำให้เข้าใจง่ายๆ “ฝนมาจากเมฆ เมฆมาจากการระเหยของน้ำ น้ำมาจากฝน ฝนมาจากเมฆ…” วนเวียนไปแบบนี้เรื่อยๆจนไม่สามารถหาจุดเริ่มต้นหรือปฐมเหตุที่แท้จริงได้  ซึ่งทั้งสองทฤษฎีนักปรัชญาไม่ยอมรับ และเป็นเรื่องที่ใช้ในวิชาปรัชญาไม่ได้เพราะปรัชญาพูดถึงการหาแก่นแท้ของสรรพสิ่ง ซึ่งทั้งสองทฤษฏีไม่สามารถนำไปสู่การหาแก่นแท้ของสรรพสิ่งได้ วกไปวนมาในวัฏจักรเดิม  หรือต่อกันยาวเป็นลูกโซ่โดยที่ไม่มีที่สิ้นสุด ดังนั้นการคาดคะเนเดียวที่เหลืออยู่คือสิ่งที่มีอยู่อันนั้น (มุมกินุลวูญูด) จะต้องมาจากปฐมเหตุหนึ่งเป็นปฐมเหตุแรกสุด และปฐมเหตุนั้นไม่ได้เป็นผลของปฐมเหตุใดๆอีก สิ่งนั้นก็คือวาญิบุลวูญูดนักปรัชญาถือว่าวาญิบุลวูญูดก็คือพระผู้เป็นเจ้า  ทฤษฎี “อิลลัต” “มะลูล”(ทษฏีเหตุและผล) สามารถนำไปสู่แก่นแท้ได้ นำไปสู่ปฐมบทแรกสุดของสรรพสิ่งได้ นำมนุษย์ไปสู่การรู้จักสิ่งหนึ่งที่มันเป็น”อิลลัต”(ปฐมเหตุ)ของทุกสรรพสิ่งซึ่งการมีอยู่ของมันไม่ได้เป็น”มะลูล”(ผล)ของสิ่งใด เพราะถ้าเป็น”มะลูล”(ผล) ของสิ่งใด มันก็จะต้องมี”อิลลัต”(ปฐมเหตุ)อื่นๆขึ้นไปอีกเรื่อยๆจนไม่มีจุดจบ มันจะต้องไม่เป็น”มะลูล”(ผล)ของสิ่งใด และสิ่งที่ไม่ได้”มะลูล”ของสิ่งใด วิชาทางปรัชญาเรียกว่า “วาญิบุลวูญูด” มันไม่ต้องการ”อิลลัต”(สาเหตุ) มันมีด้วยตัวเอง ส่วน”มุมกินุลวูญูด”นักปรัชญาถือว่ามัน คือมนุษย์และสรรพสิ่งต่างๆ
    - “วาญิบุลวูญูด”คืออะไร คือสิ่งที่มันมีอยู่มาแต่เดิม และการมีอยู่ของมันเป็นสาเหตุการเกิดขึ้นของสรรพสิ่งอื่นๆทั้งหมด วาญิบุลวูญูดไม่ต้องการ”อิลลัต”(ปฐมเหตุ)ใดเพราะถ้ามันยังต้องการ”อิลลัต”(สาเหตุ) มันก็ไม่ใช่ “วาญิบุลวูญูด”(สิ่งที่มีมาแต่เดิม) เพราะเท่ากับว่ามันเพิ่งมามี เพราะเท่ากับว่ามีสิ่งที่มีอื่นๆอยู่อีกก่อนหน้ามัน เท่ากับว่ามันไม่มีมาก่อนแล้วเพิ่งมามี แต่”วาญิบุลวูญูด”ไม่ใช่เช่นนี้ มันมีมาแต่เดิม ไม่มีใครทำให้มันมี ในการมีของมันไม่จำเป็นต้องพึ่งสิ่งใด และวาญิบุลวูญูดที่แท้จริงก็คือพระผู้เป็นเจ้านั่นเอง ปรัชญาเรียกพระผู้เป็นเจ้าว่า “วาญิบุลวูญูด” ดังนั้นเมื่อมนุษย์พิสูจน์”วาญิบุลวูญูด”ก็เท่ากับว่าเขากำลังพิสูจน์การมีอยู่ของพระผู้เป็นเจ้านั่นเอง คุณลักษณะของวาญิบุลวูญูดที่ได้มาจากวิธีทางปรัชญาตรงกับคุณลักษณะ”ซีฟัต”ของอัลลอฮ์(ซบ) คือ “อาศาลี” มีมาแต่เดิม และ “อาบาดี” มีอยู่ตลอดไป เพราะถ้าไม่คงอยู่ตลอดไปแสดงว่ามันเป็นสิ่งที่มีก็ได้ไม่มีก็ได้ ดังนั้นจะเป็นพระเจ้าได้นั้นต้องเป็นทั้ง”อาศาลี” และ “อาบาดี” ร่วมเป็นคำเดียวกันก็คือ “ซัรมาดี” คือ (มีมาแต่เดิมและมีอยู่ตลอดไป) สรุปว่า “มะลูล”(ผล)ทั้งหมดต้องไปจบที่”อิลลัต”(ปฐมเหตุหนึ่ง) ที่ไม่ได้เป็น”มะลูล”(ผล)ของสิ่งใดซึ่งวิชาปรัชญาเรียก”วาญิบุลวูญูด”หรือ พระผู้เป็นเจ้า”นั่นเอง ถ้าไม่เป็นเช่นนี้ก็จะไปตรงกับทฤษฎีลูกโซ่ หรือไม่ก็ทฤษฎีวัฏจักร ซึ่งเป็นทฤษฎีที่ปรัชญาปฏิเสธ
    อัลกุรอานไม่ได้กล่าวถึงเรืองนี้ไว้โดยตรงแตมีโองการจำนวนหนึ่งที่มีความหมายถึงความจำเป็นที่สรรพสิ่งต้องพึ่งพิงไปยังพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งก็คือความจำเป็นที่มุมกินุลวูญูดต้องพึ่งพิงไปยังวาญิบุลวูญูด ในซูเราะฮ์ ฟาฏิร โองการที่ 15
 يَأَيهَُّا النَّاسُ أَنتُمُ الْفُقَرَاءُ إِلىَ اللَّهِ  وَ اللَّهُ هُوَ الْغَنىِ‏ُّ الْحَمِيد
“โอ้มนุษย์ทั้งหลายพวกเจ้ามีความจำเป็นต้องพึ่งพิงไปยังอัลลอฮ์ (ซบ) ในขณะที่อัลลอฮ์(ซบ)นั้นไม่มีความจำเป็นต้องพึ่งสิ่งใดและพระองค์นั้นได้รับการสรรเสริญ”
   เป็นที่ชัดเจนว่า คำว่า “ฟักร” ในโองการดังกล่าวมีความหมายที่กว้างขว้าง ความหมายหนึ่งของโองการดังกล่าวรวมไปถึงความจำเป็นที่สรรพสิ่งต้องพึ่งพิงไปยังพระองค์ ซึ่งความสัมพันธ์ที่สำคัญที่สุดคือความสัมพันธ์ในเรื่องการเกิดขึ้นของสรรพสิ่งที่ต้องพึ่งพิงไปยังพระองค์ ซึ่งก็คือความสัมพันธ์ในการมีของมุมกินุลวูญูดที่ต้องพึ่งพิงไปยังวาญิบุลวูญูด   
    คุณลักษณะที่ไม่มีอยู่ใน”วาญิบุลวูญูด” ซึ่งก็คือพระผู้เป็นเจ้า (ซีฟัต ซัลบียะฮฺ)
- จะต้องไม่ “ตัรกีบ” ไม่มีการประกอบขึ้นมา เพราะถ้าถูกประกอบแสดงว่าต้องมีผู้ที่ประกอบขึ้นมาถ้ามีผู้ประกอบก็แสดงว่ามันมี “อิลลัต” (ปฐฒเหตุ) ของมัน ก็เท่ากับว่ามันเป็น”มะลูล”(ผล) ซึ่งเป็นสิ่งที่เพิ่งมีขึ้นมาใหม่ เป็น”วาญิบุลวูญูด”ไม่ได้ จะเป็น”วาญิบุลวูญูด” ได้นั้น คุณลักษณะคือ ต้องมีมาแต่เดิม มีด้วยตัวเอง มีอยู่ตลอดไป ดังนั้นการประกอบกันขึ้นมานั้นแสดงว่าสิ่งนั้นเพิ่งเกิดขึ้นมา
- เมื่อ”วาญฺบุลวูญูด” ไม่ประกอบกันขึ้นมา ไม่สามารถประกอบมันขึ้นมาได้ มันจึงไม่ใช่วัตถุ วัตถุทั้งหมดในโลกนี้ เป็น”ตัรกีบ” สิ่งที่เกิดขึ้นมาจากประกอบจากสิ่งต่างๆ อย่างน้อยต้องประกอบมาจากสิ่งสองสิ่งจึงจะเป็นวัตถุได้ ไม่มีวัตถุใดที่เกิดขึ้นมาได้โดยไม่ได้ประกอบ เช่น “ไฟ” ประกอบมาจาก ออกซิเจน คาร์บอน ไนโตรเจน และใน ออกซิเจน และ ไนโตรเจน มันก็มีส่วนประกอบอื่นๆของมันอีก หรือตัวอย่างของ โมเลกุล โมเลกุลเกิดจากการรวมตัวของล้านๆอะตอม อะตอมเกิดจากการรวมตัวของล้านๆโปรตอน โปรตอนเกิดจากการรวมตัวของล้านๆอิเล็กตรอน อิเล็กตรอนเกิดจากการรวมตัวของล้านๆนิวเคลียส นิวเคลียสก็เกิดจากการรวมตัวของล้านๆฟาสและในอนาคตนักวิทยาศาสตร์ก็จะค้นพบสิ่งอื่นๆไปอีกเรื่อยๆ  เห็นว่าวัตถุไม่พ้นไปจากการประกอบ แต่ว่า”วาญิบุลวูญูด” ไม่ได้ประกอบกันขึ้นมา เมื่อไม่ได้ประกอบกันขึ้นมาก็ไม่ใช่วัตถุ
- เมื่อมันไม่ใช่วัตถุมันจึงไม่มีรูปร่าง เพราะคุณลักษณะของวัตถุคือมีรูปร่าง โมเลกุลก็มีรูปร่าง โปรตอน อิเล็กตรอน นิวเคลียส ฟาส ก็มีรูปร่างของมัน ไม่มีวัตถุใดที่ไม่มีรูปร่าง
- เมื่อไม่ได้ประกอบกันขึ้นมา ไม่ได้เป็นวัตถุ ไม่มีรูปร่าง ก็เท่าว่าไม่ต้องการที่อยู่  ไม่ต้องการเวลาและสถานที่ มันอยู่เหนือกฎของเวลาและสถานที่ จึงเป็นที่มาของคำว่า “อาศาลี” และ “อาบาดี” คือมีอยู่แต่เดิมและดำรงอยู่ตลอดไป
- เมื่อปฏิเสธเวลาก็คือเท่ากับการปฏิเสธการเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลง เพราะทุกการเคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงอยู่ภายใต้กฎของเวลา เห็นได้ว่าทุกๆวัตถุนั้นมีการเคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงอยู่ โมเลกุล โปรตอน อิเล็กตรอน ก็มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ เหตุผลของการเปลี่ยนแปลงก็เพื่อการพัฒนาไปสู่ความสมบรูณ์ เช่นยกตัวอย่างเมล็ดพันธ์ ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงสุดท้ายมันก็เน่าเสีย การเปลี่ยนแปลของเมล็ดพันธ์คือการการพัฒนาไปสู่ความเป็นต้นไม้ ไปสู่ความสมบรูณ์ของมัน ซึ่งในขณะที่มันเปลี่ยนแปลงไปสู่ความสมบรูณ์ของมัน มันก็กำลังเปลี่ยนแปลงไปสู่การเสื่อมสลายของมันด้วย นี้คือลักษณะของวัตถุทั้งหมด ในขณะที่มันพัฒนาไปสู่ความสมบรูณ์มันก็กำลังพัฒนาไปสู่การสูญสิ้นด้วย ตัวอย่างของต้นไม้เมื่อมันให้ดอกสวยงามที่สมบรูณ์แล้ว เวลาผ่านไปก็เริ่มเหี่ยวเฉาหมดอายุและสูญสิ้นไป  แต่ทว่า”วาญิบุลวูญูด” หรือพระผู้เป็นเจ้าไม่มีคุณลักษณะนี้ พระองค์ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ เป็นแบบไหนมาวันนี้ก็ยังเป็นแบบนั้นอยู่และอนาคตก็เป็นเช่นนั้น เพราะว่า”วาญิบุลวูญูด” หรือพระผู้เป็นเจ้า สมบรูณ์(ตากามุล)อยู่แล้วไม่ต้องการการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาไปสู่ความสมบรูณ์ใดๆอีก   
- จากความเข้าใจในคุณลักษณะที่ไม่มีอยู่ในวาญิบุลวูญูดหรือพระผู้เป็นเจ้านั้นสามารถทำให้เราเข้าใจโองการอัลกุรอานจำนวนหนึ่งได้อย่างถูกต้อง ซึ่งแตกต่างจากลัทธิวาฮาบีย์ที่อรรถาธิบายลักษณะของพระองค์เหมือนกับว่าพระองค์ก็เป็นวัตถุ เช่นบางโองการที่กล่าว่า “พระองค์นั่งอยู่บนบัลลังก์” หรือโองการในซูเราะฮ์ฟัญร์ โองการที่ 22
وَجَاءَ رَبُّكَ وَالْمَلَكُ صَفًّا صَفًّا
“และพระผู้อภิบาลของเจ้าและมาลาอิกะฮ์มาป็นแถวๆ”
เมื่อเราเข้าใจในเนื้อข้างต้นก็จะนำเราเข้าสู่การเข้าใจอัลกุรอานได้อย่างถูกต้อง เมื่อเราเข้าใจแล้วว่า พระองค์ ไม่ได้มาจาการประกอบกัน ไม่ใช่วัตถุ ไม่มีรูปร่าง ไม่ต้องการเวลาและสถานที่ ไม่ต้องการการเคลื่อนไหวเพื่อไปสู่ความสมบูรณ์ใดอีก ดังนั้นโองการต่างในลักษณะนี้ก็ไม่ได้หมายถึงนั่งอยู่บนบัลลังก์ทางวัตถุ ไม่ได้หมายถึงการเคลื่อนไหวเหมือนกับการเลือนไหวของวัตถุ การเคลื่อนไหวทางวัตถุคือการย้ายจากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่ง ซึ่งอยู่ภายใต้กฎของเวลา ซึ่งเราได้เข้าใจไปแล้วว่าพระองค์อยู่เหนือกาลเวลา

สถาบันศึกษาศาสนา อัลมะฮ์ดี (อ.)

 

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม