เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

เตาฮีด 13 (ความเป็นเอกะของพระผู้เป็นเจ้า)

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

เตาฮีด 13 (ความเป็นเอกะของพระผู้เป็นเจ้า)

 

กุดเราะฮ์ พลังอำนาจเดชานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า

- ความหมายโดยทั่วไปของคำว่า “กุดเราะฮ์” คือผู้กระทำที่ถ้าหากต้องการที่จะให้สิ่งๆหนึ่งเกิดขึ้นก็สามารถทำให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นและถ้าหากต้องการไม่ให้สิ่งๆหนึ่งเกิดขึ้นก็จะไม่ทำให้มันเกิดขึ้นซึ่งเกิดขึ้นมาจากความต้องการของตัวเองอย่างสมบูรณ์ บนนิยามนี้
    ทำให้เข้าใจว่าตัวอย่างของไฟ ความร้อนของไฟที่เผ่าไหม้ถือว่าไม่มีกุดเราะฮ์เพราะการเผ่าไหม้ของมันไม่ได้เกิดมาจากความต้องการของมันเอง ในช่วงเวลาที่มันเผ่าไหม้มันก็ไม่สามารถหยุดการเผ่าไหม้ของมันได้ในทันที
-เราสมารถรู้ได้อย่างไรว่าพระองค์มีอำนาจ
1- พิสูจน์ด้วยกับนิยามของ “กุดเราะฮ์” “คือผู้กระทำที่มีอำนาจคือผู้ที่ถ้าหากต้องการที่จะให้สิ่งๆหนึ่งเกิดขึ้นก็สามารถทำให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นและถ้าหากต้องการที่จะไม่ให้สิ่งๆหนึ่งเกิดขึ้นก็จะไม่ทำให้มันเกิดขึ้นในทันที” บนนิยามอันนี้ในทางกลับกันการไม่มีอำนาจของพระองค์หมายถึงความต้องการจะทำสิ่งๆหนึ่งให้เกิดขึ้นแต่ในความเป็นจริงสิ่งนั้นไม่เกิดขึ้น หรือความต้องการไม่ให้สิ่งๆหนึ่งเกิดขึ้นแต่ในความความเป็นจริงสิ่งนั้นได้เกิดขึ้น เมื่อเป็นเช่นนี้ถามว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้ความต้องการของพระองค์ไม่เกิดขึ้น ซึ่งสามารถที่จะคาดคะเนได้สองทาง
- การคาดคะเนแรกคือตัวตนของพระองค์เองเป็นสาเหตุทำให้ความต้องการของพระองค์ไม่เกิดขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าการคาดคะเนอันนี้ผิดและไม่กินกับสติปัญญา เพราะด้านหนึ่งพระองค์ต้องการจะทำสิ่งๆนั้นและอีกด้านหนึ่งตัวตนของพระองค์เป็นสาเหตุที่ไม่ให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นเสียเองซึ่งมันขัดกับวิทยะปัญญาของพระผู้เป็นเจ้า
-  การคาดคะเนที่สองคือสรรพสิ่งอื่นๆเป็นสาเหตุทำให้ความต้องการของพระองค์ไม่เกิดขึ้น การคาดคะเนนี้ก็เช่นเดียวกันเป็นการคาดคะเนที่ผิดและไม่กินกับสติปัญญา เพราะได้พิสูจน์ไปแล้วว่าพระองค์คือ “วาญิบุลวูญูด” แต่เพียงผู้เดียว และสรรพสิ่งอื่นทั้งหมดเป็น “มุมกินุลวูญูด” ซึ่งเป็นสิ่งถูกสร้างของพระองค์ที่ต้องพึ่งพิงไปยังพระองค์อยู่ตลอดเวลา ด้วยกับเหตุนี้มันไม่กินกับสติปัญญาที่สรรพสิ่งต่างๆซึ่งไม่มีความเป็นเอกเทศใดๆสามารถที่จะเป็นสาเหตุทำให้ความต้องการของพระองค์ไม่เกิดขึ้น
       ดังนั้นเมื่อทั้งสองการคาดคะเนเป็นสิ่งที่ผิด เมื่อไม่มีสิ่งใดสามารถมาขัดขว้างความต้องการของพระองค์ได้ก็เป็นที่พียงพอที่จะยืนยันว่าพระองค์คือผู้ทรงอำนาจ สิ่งใดก็ตามที่พระองค์ต้องการพระองค์สมารถที่จะทำได้ในทันที
2- ความอัศจรรย์และความน่าทึ่งของสรรพสิ่งต่างๆในโลก คุณลักษณะและรายละเอียดของสรรพสิ่งสะท้อนให้เห็นถึงคุณลักษณะของพระผู้สร้าง ความเป็นระบบระเบียบอันน่าทึ่งของสรรพสิ่งตั้งแต่อะตอมไปจนถึงกาเล็กซี โครงสร้างที่ละเอียดอ่อนของสรรพสิ่งที่มีชีวิตเช่นพืชสัตว์และมนุษย์และเซลล์ต่างๆที่มีความละเอียดอ่อนของมัน สิ่งเหล่านี้ทั้งหมดชี้ให้เห็นว่าพระผู้สร้างผู้ทรงอำนาจซึ่งเป็นอำนาจที่ไม่มีขอบเขตใดๆมาจำกัด
3- พระองค์ทรงให้อำนาจแก่สรรพสิ่งต่างๆ และผู้ที่ให้อำนาจแก่ผู้อื่นนั้นเป็นไปไม่ได้ที่ไม่มีอำนาจ สมมติบุคคลหนึ่งที่จะสอนความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ให้กับบุคคลอื่น จำเป็นที่เขาต้องมีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ก่อน ถ้าหากเขาไม่มีความรู้เป็นไปไม่ได้ที่เขาจะไปสอนบุคคลอื่น
4- ถ้าหากอำนาจของพระองค์มีขอบเขตจำกัดมันหมายถึงความบกพร่องในขณะที่เราได้พิสูจน์ไปแล้วว่าวาญิบุลวูญูดนั้นห่างไกลจากทุกๆความบกพร่อง การมีอยู่ของพระองค์ไม่มีขอบเตจำกัดและเป็นการมีอยู่ที่สมบูรณ์ เมื่อเป็นการมีอยู่ที่สมบูรณ์แน่นอนว่าคุณลักษณะต่างๆของพระองค์ก็ต้องสมบูรณ์ด้วย และหนึ่งในคุณลักษณะที่สมบูรณ์ของพระองค์ก็คือ “กุดเราะฮ์” พระองค์ทรงมีพลังอำนาจอย่างสมบูรณ์ด้วยเช่นกัน
   “กุดเราะฮ์” สิ่งใดที่สามารถเรียกได้ว่ามีอำนาจมีพลังมีพลานุภาพ  “กุดเราะฮ์”ใช้เรียกผู้ที่กระทำหรือผู้สร้างที่มี “อิรอดะฮ์และอิคติยาร” คือมีความปรารถนาและอิสระเสรีในการเลือกเป็นของตัวเองในการทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดอย่างสมบูรณ์   สมมติคนที่มีความสามารถในการสร้างบ้านสามารถเรียกเขาได้ว่าเป็นผู้มี”กุดเราะฮ์” มีอำนาจในการสร้างบ้าน แต่ถ้าเขาถูกบังคับให้สร้างไม่สามารถเรียกได้ว่าเขามี”กุดเราะฮ์”เพราะเขาไม่มีได้มีความปรารถนา”อิรอดะฮ์”ของเขาเองในการสร้างอันนั้นเพราะเขาถูกบังคับ  สิ่งใดก็ตามที่ถูกกระทำขึ้นมาโดยไม่ได้มีความต้องการเป็นของตัวเองอย่างสมบูรณ์ ถือว่าผู้ที่ทำนั้นไม่ได้มีอำนาจ”กุดเราะฮ” อย่างแท้จริง  ส่วนคำว่า “อิคติยาร” คือการมีสิทธิ์ที่จะเลือกเช่นมนุษย์เกิดมาในโลกนี้เขาไม่สามารถที่จะเลือกได้ว่าจะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย ผิวขาวหรือผิวดำ ไม่สามารถเลือกเกิดได้ถือว่ามนุษย์ไม่มี “อิคติยาร”ในเรื่องนี้
    มนุษย์บางคนไม่อยากเกิดขึ้นมาบนโลกนี้ แต่ก็ต้องเกิดมา หรือบางคนไม่อยากเกิดเป็นคนแต่ก็ต้องเกิดเป็นคนฝ่าฟืนไม่ได้ เพราะมนุษย์เบื้องต้นไม่มี “อิรอดะฮ์” และ “อิคติยาร” ไม่มีความปรารถนาและสิทธิ์เสรีในการเลือก แต่เพิ่งมามีในภายหลัง อัลลอฮ์(ซบ)ได้ใส่ไปในตัวมนุษย์เป็นอิรอดะฮ์และอิคติยารที่ได้มาจากพระองค์ มนุษย์คือสิ่งถูกสร้างของพระองค์ไม่สามารถที่จะเลือกเกิดเป็นผู้ชายหรือเป็นผู้หญิงได้  แต่สำหรับพระองค์ซึ่งเป็นผู้สร้างที่แท้จริงนั้น มี”อิรอดะฮ์” ความปรารถนา และ “อิคติยาร” สิทธิ์ในการเลือกเป็นของตัวเองอย่างแท้จริง พระองค์จะสร้างมนุษย์ก็ได้ไม่สร้างก็ได้ มี”อิคติยาร”มีสิทธิ์อย่างสมบรูณ์ พระองค์จะสร้างมาให้เป็นผู้ชายก็ได้ผู้หญิงก็ได้ไม่ได้อยู่ภายใต้คำสั่งหรือการควบคลุมของผู้ใด พระองค์มีความปรารถนาเป็นของพระองค์เองและมีอิสระเสรีอย่างสมบูรณ์ในการสร้างของพระองค์
    บางครั้งมนุษย์มี”อิรอดะฮ์”ความปรารถนาอย่างมากมายอยากให้สิ่งนั้นเกิดขึ้น อยากให้สิ่งนี้เกิด  แต่มนุษย์ไม่สามารถทำให้มันเกิดขึ้นมาทุกอย่างได้ เพราะมนุษย์ไม่มี “อิคติยาร” สิทธิ์ในการเลือกให้ทุกอย่างเกิดขึ้น แต่เมื่อไรที่มนุษย์สามารถทำให้สิ่งๆหนึ่งเกิดขึ้นได้เป็นเพราะเขาได้รับพลังความสามารถ”กุดเราะฮ์”มาจากอัลลอฮ์(ซบ) มนุษย์มี”กุดเราะฮ์” มีพลังความสามารถอำนาจแต่เป็น”กุดเราะฮ์”ที่ไม่สมบรูณ์ เป็นอำนาจที่อยู่ใต้อำนาจของพระองค์ ถ้ามนุษย์มี”กุดเราะฮ์”สมบูรณ์มากเท่าไร การเป็นผู้มีความพลังอำนาจของเขาก็จะมากขึ้นเช่นกัน การมีพลังอำนาจความสามารถนี้ขึ้นอยู่กับความใกล้ชิดกับพระองค์ ขึ้นอยู่กับความใกล้ชิดกับผู้ที่มีอำนาจที่สมบรูณ์อย่างแท้จริง เมื่อมนุษย์ใกล้ชิดพระองค์มาก พลังความสามารถของเขาก็ยิ่งมาก
    ซึ่งอำนาจของพระองค์นั้นสามารถทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างอย่างเกิดขึ้นได้ อัลกุรอานได้ยืนยันไว้ในหลายๆโองการด้วยกัน เช่นในซูเราะฮ์ อัลนะฮลฺ โองการที่ 77
إِنَّ اللَّهَ عَلىَ‏ كُلّ‏ِ شىَ‏ْءٍ قَدِير
“แท้จริงอัลลอฮ์(ซบ)นั้นทรงมีอำนาจเหนือทุกสรรพสิ่ง”
    โองการปรากฏในอัลกุรอานจำนวนหลายครั้งพระองค์มีอำนาจเหนือทุกๆสิ่งจึงทำให้พระองค์สามารถร้อยเรียงเอกภพนี้ให้เป็นหนึ่งเดียวกันได้ สรรพสิ่งทั้งหมดเกิดมาจาก “อิรอดัต” และ “อิคติยาร”ความต้องการปรารถนาและสิทธิ์เสรีของพระองค์ เมื่อสร้างสรรพสิ่งมาแล้วพระองค์ก็ดูแลจัดการอภิบาล ทรงประทานปัจจัยต่างๆในการคงอยู่ของสิ่งนั้นๆ ซึ่งการงานนี้ถ้าไม่มีอำนาจก็ไม่สามารถทำได้ไม่สามารถให้ปัจจัยแก่สิ่งเหล่านั้นได้ ในทุกๆ”ศีฟาต” คุณลักษณะของพระองค์ ต้องใช้”กุดเราะฮ์”ต้องใช้พลังอำนาจจึงจะทำให้คุณลักษณะเหล่านั้นเกิดขึ้นมาได้
    สมมติว่าวันใดที่อำนาจของพระองค์ไม่ครอบคลุมไปในทุกสรรพสิ่ง ไม่ได้เกิดขึ้นไปตาม”อิคติยาร”ของพระองค์ จะเกิดอะไรขึ้นแสดงว่าต้องมีอีก”กุดเราะฮ์”อำนาจหนึ่งที่ไม่ได้อยู่ใต้”กุดเราะฮ์”อำนาจของพระองค์ และถ้าเป็นแบบนี้อะไรจะเกิดขึ้นความเป็นระบบระเบียบก็จะไม่เกิดขึ้นความเป็นเอกภาพของสรรพสิ่งจะไม่เกิดขึ้น แต่สิ่งที่ยืนยัน สิ่งที่พิสูจน์ว่าไม่มีอำนาจพลังใดที่อยู่เหนือพลังอำนาจของพระองค์ คือจนถึงทุกวันนี้ผ่านมาไม่รู้กี่หมื่นปีเอกภพนี้ยังคงมีความเป็นเอกภาพอยู่ ยังเป็นภพเดียวกันอยู่ จักรวาลนี้ยังคงมี่ความเป็นระบบระเบียบอยู่มีความเป็นหนึ่งเดียวอยู่ สรรพสิ่งกำลังขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายเดียวกันอยู่เพราะทุกสิ่งไม่ได้ออกไปจากพลังอำนาจของพระองค์ เพราะถ้าออกไปจากอำนาจของพระองค์เมื่อไรความวุ่นวายความพินาศจะเกิดขึ้น อัลกุรอานได้ยืนยันไว้ในซูเราะฮ์อัลอัมบียาอฺ โองการที่ 22
لَوْ كاَنَ فِيهِمَا ءَالهَِةٌ إِلَّا اللَّهُ لَفَسَدَتَا
“หากในชั้นฟ้าและแผ่นดินมีพระเจ้าอื่นนอกจากอัลลอฮ์แล้วไซร้ มันทั้งสองจะพินาศอย่างแน่นอน”
     จากโองการดังกล่าวบ่งบอกว่าพระองค์เป็นพระเจ้าทั้งในชั้นฟ้าและแผ่นดิน พระองค์ทรงมีอำนาจเหนือทุกๆสิ่งทุกๆเรื่องราวทุกๆเหตุการณ์ และเป็นอำนาจหนึ่งเดียวเท่านั้น
    - ดังนั้นเกิดคำถามขึ้นมาว่าในเมื่อพระองค์มีความปรารถนา”อิรรอดะฮ์”ในทุกสิ่งทุกอย่าง แล้วการที่มนุษย์ทำชั่วนั้นหมายความว่ามาจากความปรารถนาของพระองค์ด้วยหรือไม่ คำตอบคือก่อนอื่นมนุษย์ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า “อิรอดะฮ์” (ความต้องการความปรารถนา)ของพระองค์มีสองประเภท คือ “ตักวีนี” และ “ตัชรีอี”
- “อิรอดะฮ์ ตักวีนี” คือ ความต้องการความปรารถนาของพระองค์ในสิ่งที่เป็นธรรมชาติ ตัวอย่างเช่น การทำให้เกิด การทำให้ตาย การทำให้น้ำขึ้น น้ำลง การทำให้ดวงอาทิตย์ขึ้น การทำให้ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า การทำให้เกิดกลางวันกลางคืน ฯลฯ ในเรื่องเหล่านี้นั้นมาจากอำนาจที่เป็นตักวีนีของพระองค์มนุษย์ไม่มีสิทธิ์เข้ามาเกี่ยวข้อง
- “อิรอดะฮ์ ตัชรีอี” คือ ความต้องการความปรารถนาของพระองค์ในการวางบทบัญญัติ คำสั่งใช้ คำสั่งห้าม ซึ่งในอิรอดะฮ์นี้ของพระองค์ มนุษย์มีสิทธิ์ที่จะเลือก ตามความต้องการของมนุษย์เอง เขาเลือกปฏิบัติตามหรือจะไม่ปฏิบัติตามได้ และผลของการเลือกนั้นมนุษย์ต้องรับผิดชอบเอง แต่อย่างไรก็ตาม “อิรอดะฮ์” ความปรารถนาของพระองค์ในการวางบทบัญญัตินั้นพระองค์ประสงค์ให้มนุษย์ทำความดี แต่ถ้ามนุษย์เลือกที่จะไม่ปฏิบัติตามเลือกที่จะทำชั่วก็มาจากความต้องการที่จะฝ่าฝืนบทบัญญัติของมนุษย์ ซึ่งมันก็มีบทลงโทษ  ”กุดเราะฮ์”พลังอำนาจของพระองค์ในกรณีนี้คือ การให้รางวัลแก่ผู้ที่ปฏิบัติตาม และการลงโทษผู้ที่ฝ่าฟืนอย่างสมบรูณ์ พระองค์ทรงสามารถทำทั้งสองอย่างและไม่มีผู้ใดขัดขว้างอำนาจของพระองค์ได้
      เห็นได้ว่าซิกร์หนึ่งซึ่งเป็นที่แพร่หลายคือ”ลาเฮาลาวาลากูวาตะอิลลาบิลลาฮิลอาลียิลอาซีม” ไม่มีพลานุภาพใดเว้นแต่พลานุภาพของอัลลอฮ์(ซบ)ผู้ทรงสูงส่งผู้ทรงยิ่งใหญ่” คำว่า “เฮาละฮ์”และ ”กูวะฮ์” หมายถึง “กุดเราะฮ์” อำนาจพลานุภาพ
- อำนาจ เดชานุภาพของอัลลอฮ์(ซบ)จากทัศนะของอัลกุรอาน
ซูเราะฮ์อัลฏอลาก โองการที่ 12
اللَّهُ الَّذِى خَلَقَ سَبْعَ سمََاوَاتٍ وَ مِنَ الْأَرْضِ مِثْلَهُنَّ يَتَنزََّلُ الْأَمْرُ بَيْنهَُنَّ لِتَعْلَمُواْ أَنَّ اللَّهَ عَلىَ‏ كلُ‏ِّ شىَ‏ْءٍ قَدِيرٌ وَ أَنَّ اللَّهَ قَدْ أَحَاطَ بِكلُ‏ِّ شىَ‏ْءٍ عِلْمَا
“อัลลอฮ์ผู้ทรงสร้างชั้นฟ้าทั้งเจ็ดและทรงสร้างแผ่นดินก็เยี่ยงนั้น พระองค์ทรงบัญชาในระหว่างมันทั้งหลาย เพื่อพวกเจ้าจะได้รู้ว่าพระองค์เป็นผู้ทรงอานุภาพเหนือทุกๆสิ่ง และแท้จริงนั้นพระองค์ได้ห้อมล้อมทุกๆสิ่งไว้ด้วยความรู้ของพระองค์”
    โองการดังกล่าวสรรพสิ่งทั้งหลายและการพินิจไปยังมันนั้นเป็นหลักฐานยืนยันถึงอำนาจที่ไม่มีจุดสิ้นสุดของพระผู้เป็นเจ้า
ฮาดีษบทหนึ่งจากท่านอิมามศอดิก(อ)จากหนังสือเตาฮีดศอดูก หมวดที่ 9 หน้า 9
ท่านอิมามศอดิก(อ)ถูกถามว่าพระผู้อภิบาลของท่านสามารถที่จะนำโลกใส่ในไข่ไก่โดยที่ไม่ทำให้โลกเล็กลงและไม่ทำให้ไข่ไก่ใหญ่ขึ้นได้หรือไม่ ท่านอิมาม(อ)ได้ตอบว่า
إِنَّ اللَّهَ تَبَارَکَ وَ تَعَالَی لَا یُنْسَبُ إِلَی الْعَجْزِ وَ الَّذِی سَأَلْتَنِی لَا یَکُونُ،
 “แท้จริงอัลลอฮ์จะไม่ทรงมีความบกพร่องใดๆ แต่ทว่าสิ่งที่ท่านถามมานั้นเป็นสิ่งที่ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในความเป็นจริง”
    ไม่ได้หมายถึงพระองค์ไม่มีอำนาจทำสิ่งนั้น พระองค์มีอำนาจสามารถทำทุกสิ่งๆให้สามารถเกิดขึ้นได้ แต่จากคำถามดังกล่าวเป็นสิ่งที่ไม่สามารถที่จะเกิดขึ้นได้และเป็นสิ่งที่ไม่มีอยู่ในความเป็นจริงเนื่องจากขัดกับกฏเกณฑ์ของโลกนี้

สถาบันศึกษาศาสนา อัลมะฮ์ดี (อ.)

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม