เตาฮีด 14 (ความเป็นเอกะของพระผู้เป็นเจ้า)

เตาฮีด 14 (ความเป็นเอกะของพระผู้เป็นเจ้า)


คอลีกียะฮ์ การสร้างและความเป็นเอกะในการสร้างของพระผู้เป็นเจ้า
 เข้าสู่การทำความเข้าใจรายละเอียดของ “ซีฟัต ฟิอฺลียะฮฺ” (คุณลักษณะที่ถูกรู้จักหลังจากที่พระองค์ทรงสร้างสรรพสิ่งต่างๆ) ซึ่งคุณลักษณะอันแรกที่จะทำความเข้าใจคือ
    “คอลีกียะฮ์” การสร้าง การทำให้เกิด การทำให้มี บางครั้งจะใช้ในความหมายที่กว้างหมายถึงการทำให้มี การทำให้เกิดขึ้น และสิ่งที่ถูกทำให้เกิดขึ้นนั้น เรียกว่า “มัคลูก”  นี่คือความหมายที่ครอบคลุมของ “คอลีกียะฮ์” และบางครั้งใช้ในความหมายที่เฉพาะความหมายที่แคบลงมาอีก ซึ่งความหมายที่เฉพาะของ”คอลีกียะฮ์”นั้น แบ่งออกเป็นสองประเภท คือ “คัลกฺ” และ อิบดาอฺ”
- “คัลกฺ” คือการทำให้วัตถุหนึ่งเปลี่ยนไปเป็นอีกวัตถุหนึ่ง เปลี่ยนจากสิ่งที่มีอยู่แล้วให้เป็นอีกสิ่งหนึ่ง เจาะจงไปที่เนื้อหาลักษณะของการมีอยู่ ตัวอย่างเช่นของการสร้างรถ สร้างมาจาก เหล็ก ยางพาราหรืออะไหล่อื่นๆนำมาประกอบกันเพื่อให้เป็นรถขึ้นมา เปลี่ยนจากสิ่งที่มีอยู่แล้วประกอบขึ้นเป็นรถ  ถามว่าอัลลอฮ์(ซบ)ทรงสร้างมนุษย์ขึ้นมาในลักษณะนี้หรือไม่ คือสร้างจากสิ่งหนึ่งให้เป็นอีกสิ่งหนึ่ง มนุษย์ถูกสร้างมาในลักษณะเช่นเดียวกัน จากสิ่งหนึ่งให้เป็นอีกสิ่งหนึ่ง ไม่ว่าจะเริ่มอย่างเป็นทางการจากอสุจิ ในอสุจิมีตัวสเปิร์ม จากตัวสเปิร์มได้พัฒนามาเป็นมนุษย์  หรือจะเริ่มจากการสร้างมนุษย์คนแรกคือท่านศาสดาอาดัม(อ) ก็เป็นในลักษณะเช่นนี้คือเริ่มต้นจากดินจนกลายมาเป็นรูปร่างที่สมบรูณ์ แล้วพระองค์จึงเป่าจิตวิญญาณ(รูฮ์)ลงไปจนกระทั้งเป็นมนุษย์ที่สมบรูณ์
- อิบดาอฺ” คือให้ความหมายที่ตรงข้ามกับความหมายของ “คัลกฺ” ในความหมายการสร้างสิ่งที่เป็นวัตถุหมายถึงการสร้างสิ่งหนึ่งให้เกิดขึ้นโดยไม่ได้มาจากวัตถุใดๆ การสร้างวัตถุให้เกิดขึ้นโดยไม่มีวัตถุอยู่ก่อนหน้ามัน” จึงทำให้เกิดปฐมบทแรกของวัตถุ เช่นสร้างดินที่ใช้สร้างศาสดาอาดัม(อ) พระองค์ทรงบังเกิดให้ดินนั้นเกิดขึ้นมาโดยตรงเลยคือเนรมิตบันดาลให้เกิดขึ้น สร้างมาจากความไม่มีวัตถุใดๆ มาเป็นปฐมวัตถุเป็นวัตถุแรก หรือเช่นชั้นฟ้าที่หมายถึงดวงดาว ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ โลก ไม่ได้สร้างมาจากวัตถุใดๆ ถ้าเกิดมีใครค้านว่าสิ่งเหล่านี้ถูกสร้างมาจากดาวดวงใหญ่อื่นๆกลายมาเป็นดวงดาวต่างๆ เช่นดวงอาทิตย์ดวงจันทร์ ดังนั้นถามว่าดาวดวงใหญ่ที่ว่านั้นมาจากวัตถุใดอีก แน่นอนสุดท้ายสรุปได้ว่ามันต้องมีปฐมวัตถุที่ไม่ได้ถูกสร้างมาจากวัตถุอื่นๆ การสร้างที่เรียกว่า “อิบดาอฺ”การบันดาลให้เกิดขึ้น  หลังจากนั้นวัตถุอื่นๆก็ถูกเปลี่ยนแปลงมาจากปฐมบทวัตถุนั้นๆ การสร้างแบบนี้จะอยู่ในรูปแบบ “كُن فَيَكُون” (เมื่อพระองค์ประกาศิตว่าจงเป็น มันก็เกิดขึ้นทันที)
    และอีกรูปแบบลักษณะหนึ่งที่เป็นการสร้างแบบ”อิบดาอฺ”เช่นกัน คือการสร้างสิ่งที่มุญัรรอด หมายถึงสร้างสิ่งที่ไม่ใช่วัตถุ สิ่งมีอยู่ที่ไม่มีวัตถุ ตัวอย่างเช่น “รูฮฺ”(จิตวิญญาณ) หรือ “มาลาอิกะฮฺ” (เทวทูต) และสิ่งอื่นๆอีกมากมายที่มนุษย์ยังไม่รู้จัก และการสร้างของอัลลอฮ์(ซบ)นั้นไม่ขึ้นอยู่กับเวลาและสถานที่ใดๆ ไม่มีวัตถุใดๆในการสร้าง
    ซึ่งทั้งการสร้างแบบ”คัลกฺ” ในความหมาะเฉพาะและการสร้างแบบ “อิบดาอฺ” นอกจากจะมีความหมายเฉพาะแล้ว แต่อย่างไรก็ตามมันก็อยู่ภายใต้ความหมายโดยรวมความหมายที่ครอบคลุมของ”คอลีกียะฮ์” ที่หมายถึงการสร้าง การทำให้เกิดขึ้น  การทำให้มี
 ตัวอย่างจากอัลกุรอาน ในซูเราะฮ์ อะลัก โองการที่ 2
خَلَقَ الْانسَانَ مِنْ عَلَق‏
“พระองค์คือผู้สร้างมนุษย์ขึ้นมาจากก้อนเลือด”
     โองการในดังกล่าวคำว่า “คอละกอ มาจากรากศัพท์ของ คัลก์” หมายถึงการสร้างในความหมายที่เฉพาะ ความหมายที่แคบลงมา คือการสร้างจากวัตถุหนึ่งไปยังอีกวัตถุหนึ่ง ไม่ว่ามนุษย์แบบไหน ก็ถูกสร้างมาจากวัตถุ มีวัตถุอยู่ก่อนการที่จะสร้างมนุษย์ เช่นตัวอย่างของท่านศาสดาอาดัม(อ)มนุษย์คนแรกที่ได้กล่าวไปแล้ว หรือมนุษย์ทั่วไปก็ถูกสร้างมาจากอสุจิหรือก้อนเลือด
     อีกโองการหนึ่งเกี่ยวกับการสร้างชั้นฟ้าและแผ่นดินในซูเราะฮ์อัลบากอเราะฮ์โองการที่ 117
بَدِيعُ السَّمَاوَاتِ وَ الْأَرْضِ  وَ إِذَا قَضىَ أَمْرًا فَإِنَّمَا يَقُولُ لَهُ كُن فَيَكُون‏
“พระองค์ผู้ทรงเนรมิตชั้นฟ้าและแผ่นดิน และเมื่อพระองค์ทรงกำหนดสิ่งใดแล้ว ก็เพียงประกาศิตแก่สิ่งนั้นว่า จงเป็น แล้วสิ่งนั้นก็จะเป็นขึ้น”
     โองการนี้พูดถึงการสร้างชั้นฟ้าและแผ่นดินด้วยคำว่า “บะดีฮฺ มาจากรากศัพท์ของ อิบดาฮ์” หมายถึงการสร้างโดยไม่มีวัตถุมาก่อนหน้ามัน การสร้างแบบนี้นั้นเป็นลักษณะ “กุนฟายากูน” (เมื่อพระองค์ประกาศิตว่าจงเป็นมันก็จะเป็นขึ้นทันที) โองการนี้หมายถึงการสร้างชั้นฟ้าและแผ่นดินโดยที่ไม่มีวัตถุอยู่ก่อนหน้ามัน ชั้นฟ้าและแผ่นดินถูกสร้างมาเป็นสิ่งแรก ถ้าการสร้างใดที่มีวัตถุอยู่ก่อนหน้ามันหรือสร้างมาจากปฐมวัตถุอื่นนั้นจะใช้คำว่า “คัลกฺ” แต่การสร้างชั้นฟ้าและแผ่นดินในโองการนี้ใช่คำว่า “บาดีฮฺ มาจากรากศัพท์ของ อิบดาอ์” หมายถึงการเนรมิตการบันดาลให้มันเกิดขึ้นเป็นสิ่งแรก ไม่ได้สร้างมาจากวุตถุอื่น  และเช่นเดียวกันบางโอกงการในการสร้างชั้นฟ้าและแผ่นดินใช้คำว่า “คัลก์” ตัวอย่างเช่นในซูเราะฮ์อัลอันอาม โองการที่ 1
الْحَمْدُ لِلَّهِ الَّذِي خَلَقَ السَّمَوَاتِ وَالْأَرْضَ وَجَعَلَ الظُّلُمَاتِ وَالنُّورَ ثُمَّ الَّذِينَ كَفَرُوا بِرَبِّهِمْ يَعْدِلُونَ
“มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิ์ของอัลลอฮ์ผู้ทรงสร้างชั้นฟ้าและแผ่นดิน และทรงทำให้มีแสงสว่างและความมืดแต่แล้วบรรดาผู้ปฏิเสธก็ยังเอาถึงอื่นเทียบเคียงพระผู้อภิบาลของพวกเขา”   
 คำว่า “คัลกฺ” ในโองการลักษณะนี้หมายถึงการสร้างการทำให้เกิดในความหมายรวมความหมายที่หมายถึงการทำให้เกิดขึ้น หมายถึงพระองค์ทรงสร้างชั้นฟ้าและแผ่นดินให้เกิดขึ้น เจาะจงไปที่เนื้อหาของการทำให้มันมี
- ความเป็นเอกเทศและความเป็นเอกะในการสร้างจากของพระผู้เป็นเจ้าทัศนะของอัลกุรอาน
     อัลลอฮ์(ซบ)ผู้สร้างทุกๆสรรพสิ่ง นอกเหนือจากพระองค์สรรพสิ่งทั้งหมดเป็นสิ่งถูกสร้างของพระองค์ ในซูเราะฮ์อัรระอด์ โองการที่ 16
قُلِ اللَّهُ خَالِقُ كلُ‏ِّ شىَ‏ْءٍ وَ هُوَ الْوَاحِدُ الْقَهَّار
“จงกล่าวเถิอัลลอฮ์คือผู้ทรงสร้างทุกสรรพสิ่งและพระองค์คือผู้ทรงหนึ่งเดียวผู้ทรงเดชานุภาพ”
ซูเราะฮ์อัลฆอฟิร โองการที่ 62
ذَالِكُمُ اللَّهُ رَبُّكُمْ خَالِقُ كُلّ‏ِ شىَ‏ْءٍ لَّا إِلَاهَ إِلَّا هُوَ  فَأَنىَ‏ تُؤْفَكُون‏
“พระองค์อัลลอฮ์พระผู้อภิบาลของพวกเจ้าผู้ทรงสร้างทุกๆสรรพสิ่ง ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ดั้งทำไมพวกเจ้าจึงถูกหันเหออกจากพระองค์เล่า”
  โองงการในลักษณะดังกล่าวบ่งบอกว่าอัลลอฮ์คือผู้ทรงสร้างทุกๆสรรพสิ่ง คำว่า “สิ่ง” มีความหมายที่กว้างขว้าง โองการดังกล่าวอธิบายถึงการสร้างของพระองค์ที่ไม่มีขอบเขตจำกัด
       อัลกุรอานอีกจำนวนหนึ่งได้เน้นถึงความเป็นเอกะในการสร้างของอัลลอฮ์(ซบ) และการสร้างของสรรพสิ่งอื่นๆนั้นอยู่ภายใต้การสร้างของพระองค์ อยู่ภายใต้ความประสงค์และการอนุมัติของพระองค์ตัวอย่างเช่นเรื่องราวการสำแดงมุอ์ญิซาต(อำนาจที่เหนือธรรมชาติ)ของท่านศาสดาอีซา(อ) ในซูเราะฮ์มาอิดะฮ์โองการที่ 110
وَ إِذْ تخَْلُقُ مِنَ الطِّينِ كَهَيَْةِ الطَّيرِْ بِإِذْنىِ فَتَنفُخُ فِيهَا فَتَكُونُ طَيرَْا بِإِذْنىِ
“และขณะที่เจ้าได้สร้างขึ้นจากดินดั่งรูปนก ด้วยอนุมัติของข้าเจ้าเป่าไปในรูปนกนั้นมันจึงกลายเป็นนกที่มีชีวิตขึ้นมาด้วยอนุมัติของข้า”
     โองการดังกล่าวอัลลอฮ์(ซบ)ได้อธิบายเพื่อรำลึกถึงมุอ์ญิซาต(สิ่งที่เหนือธรรมชาติ)หนึ่งของท่านศาสดาอีซา(อ) เรื่องราวคือท่านศาสดาอีซา(อ)ได้ปั้นรูปนกขึ้นมาจากดินและได้เป่าไปที่นกนั้นและสุดท้ายรูปปั้นนกนั้นก็มีชีวิตจริงขึ้นมา ในโองการนี้คำว่า “บิอิสนี” “بِإِذْنىِ” (ด้วยอนุมัติของอัลลอฮ์)ถูกกล่าวไว้สองครั้งเพื่อเป็นการเน้นว่าในการสร้างนกขึ้นมาจากดินนั้นถึงแม้ว่าในด้านหนึ่งท่านศาสดาอีซา(อ)ได้สร้างขึ้นมาแต่ทว่าในการสร้างนี้ศาสดาอีซาไม่ได้มีความเป็นเอกเทศในการสร้าง การสร้างนี้เกิดขึ้นจากการอนุมัติของอัลลอฮ์(ซบ) เกิดขึ้นภายใต้ความประสงค์ของพระองค์ อัลกุรอานได้อธิบายในลักษณะที่ว่าพระองค์ทรงในการมอบอำนาจในการสร้างให้แก่ผู้อื่นๆ ซึ่งเป็นการกระทำที่วางอยู่บนความมีฮิกมะฮ์มีวิทยะปัญญาของพระองค์แต่ทว่าการสร้างของพวกเขาเหล่านั้นอยู่ภายใต้การสร้างของพระองค์และไม่มีความเป็นเอกเทศในการสร้างด้วยเหตุนี้มันจึงไม่ขัดกับความเป็นเอกะในการสร้างของพระองค์หรือไม่ได้ขัดกับ “เตาฮีดคอลีกียะฮ์” ของพระองค์    

สถาบันศึกษาศาสนา อัลมะฮ์ดี (อ.)