เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

เตาฮีด 16 (ความเป็นเอกะของพระผู้เป็นเจ้า)

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

เตาฮีด 16 (ความเป็นเอกะของพระผู้เป็นเจ้า)

 

อิรอดะฮ์ พระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า
     “อิรอดะฮ์” (ความประสงค์) นักปรัชญาอิสลามมีทัศนะที่แตกต่างกันอย่างมากในเรื่องนี้ถกเถียงกันว่า “อิรอดะฮ์”(พระประสงค์)ของพระองค์ เป็น”ซาตียะฮ์”(คู่กับพระองค์มาแต่เดิม) หรือว่าเป็น”ฟิอฺลียะฮ์”  “คือ(ถูกรู้จักภายหลังจากที่พระองค์ทรงสร้างสรรพสิ่ง)  และยังถกกันในเรื่องของความเป็น”กะดีม”คือ(มีมาแต่เดิม) หรือว่าเป็น”ฮาดีซ” (เกิดขึ้นมาใหม่) และถกในเรื่องของความเป็น”วาฮิด” (มีอยู่หนึ่งเดียว) หรือ “มุตะอัดดิด” (มีมากมายหลากหลาย)
    - ทัศนะที่แพร่หลายเกี่ยวกับความหมายของ “อิรอดะฮ์” (ความประสงค์) ของอัลลอฮ์(ซบ)นักปราชญาอิสลามได้ให้ความหมายไว้ ๒ ความหมายหลัก
๑ หมายถึง ความรัก ความชอบ ความต้องการ
๒ หมายถึง การทำให้เกิด การตัดสินใจทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด
    นิยามอันที่ ๒ นั้น มีความหมายของนิยามที่ ๑ อยู่ด้วย เพราะการที่จะตัดสินใจทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดแล้วนั้นต้องมีความรัก ความชอบ ความต้องการในสิ่งนั้นด้วย
    ๑- “อิรอดะฮ์” ที่ให้ความหมายว่า ความรัก ความชอบ ความต้องการ ซึ่งบางครั้งในความเป็นจริงมันยังไม่เกิดขึ้นก็ได้ เช่นความรักความชอบของพระองค์ที่จะให้อิมามมะฮ์ดี(อ)ปรากฏกายแต่ปัจจุบันในความเป็นจริงอิมามมะฮ์ดี(อ)ยังไม่ปรากฏ  ตัวอย่างจากอัลกุรอานในซูเราะฮ์อัลกอศอศ โองการที่ 5
وَ نُرِيدُ أَن نَّمُنَّ عَلىَ الَّذِينَ اسْتُضْعِفُواْ فىِ الْأَرْضِ وَ نجَْعَلَهُمْ أَئمَّةً وَ نجَْعَلَهُمُ الْوَارِثِين‏
“และเราปรารถนาที่จะให้ความโปรดปราณแก่บรรดาผู้ถูกกดขี่บนหน้าแผ่นดิน และทำให้พวกเขาเป็นผู้นำ และทำให้พวกเขาเป็นผู้สืบทอด”
    โองการนี้ คำว่า “นูรีดุ มาจากรากศัพท์ของ อิรอดะฮ์” (ความประสงค์) หมายถึงความรักความชอบที่จะให้ผู้ที่ถูกกดขี่นั้นเป็นผู้นำ ผู้ถูกกดขี่หมายถึงบรรดาอิมามอะฮฺลุลเบต(อ) และเป้าหมายของโองการดังกล่าวคือท่านอิมามมะฮ์ดี(อ)ผู้ถูกรอคอย
     คำว่า “มุสตัฏอะฟีน” ไม่ได้หมายถึงบุคคลที่อ่อนแอแต่หมายถึงบุคคลที่เขามีพละพลังกำลังมีความสามารถแต่ถูกบรรดาผู้กดขี่กดดัน กดขี่ข่มเหง ซึ่งในความเป็นจริงเขาไม่ได้ยอมศิโรราบต่อการกดขี่นั้นเขาพยามต่อสู้อยู่ตลอดเวลาที่จะเอาชนะการกดขี่นั้นและทำให้บรรดาผู้กดขี่นั้นเพลี่ยงพล้ำเป้าหมายเพื่อให้ศาสนาแห่งสัจธรรมและความยุติธรรมเกิดขึ้นบนโลก
     โองการดังกล่าวเป็นการแจ้งข่าวดีถึงการปกครองหนึ่งที่จะเกิดขึ้นในวันหนึ่งเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ของโองการดังกล่าวคือการเกิดขึ้นของระบบการปกครองที่ยุติธรรมที่สุดบนหน้าแผ่นดิน การปกครองของสัจธรรมและความยุติธรรมจะปกคลุมทั่วแผ่นดินด้วยการปรากฏของท่านอิมามมะฮ์ดี(อ) ฮาดิษจากท่านอิมามอาลี(อ)มาอธิบายโองการดังกล่าว จากหนังสือตัฟซีรนุรุซซะกอลัยน์ เล่มที่ 4 หน้า 110
هم آل محمد (ص) يبعث اللَّه مهديهم بعد جهدهم، فيعزهم و يذل عدوهم:
“พวกเขาคือวงศ์วานของศาสดามูฮัมหมัด(ศ็อล) หลังจากที่ความยากลำบากความกดดันความกดขี่เกิดขึ้นกับพวกเขาเหล่านั้นอัลลอฮ์(ซบ)จะให้การปรากฏของอิมามมะฮ์ดี(อ)จากพวกเขาเกิดขึ้น และจะทำให้พวกเขาเหล่านั้นมีเกียรติและศัตรูของพวกเขาจะถูกทำให้อัปยศ”  
   และอีกโองการหนึ่งในซูเราะฮ์อัลอันฟาล โองการที่ 67
تُرِيدُونَ عَرَضَ الدُّنْيَا وَ اللَّهُ يُرِيدُ الاَْخِرَةَ  وَ اللَّهُ عَزِيزٌ حَكِيم‏
“พวกเจ้านั้นต้องการสิ่งเล็กน้อยในแห่งโลกนี้ แต่อัลลอฮ์(ซบ)นั้นปรารถนาปรโลกและอัลลอฮ์เป็นผู้ทรงเดชานุภาพผู้ทรงปรีชาญาณ”
    สาเหตุของการประทานโองการนี้คือในยุคเริ่มแรกของอิสลามนั้นเชลยศึกคือสินสงครามบรรดาทหารของอิสลามจึงไม่อยากฆ่าศัตรูมากเพราะต้องการจับเชลยศึกมาครอบครองบางคนออกไปทำสงครามเพื่อต้องการทาสมาครอบครอง การได้สินสงครามก็หมายถึงรางวัลในโลกนี้  โองการนี้จึงถูกประทานลงมาว่าพวกเขาชอบสิ่งเล็กน้อยในโลกนี้ แต่พระองค์มีความชอบต่ออาคิเราะฮ์ชอบโลกหน้า ความประสงค์ของพระองค์ไม่ได้หมายถึงว่าพระองค์มีความต้องการ ไม่ได้หมายถึงพระองค์มีความจำเป็น แต่หมายถึงความรักความชอบซึ่งเป็นสิ่งที่มีอยู่ในอาตมันของพระองค์อยู่แล้ว คู่กับอาตมันของพระองค์มีอยู่หนึ่งเดียวและมีมาแต่เดิม
๒- อิรอดะฮ์ ที่หมายถึงการทำให้เกิด การตัดสินใจทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด  
ในโองการในซูเราะฮ์ยาซีน โองการที่ 82
إِنَّمَا أَمْرُهُ إِذَا أَرَادَ شَيًْا أَن يَقُولَ لَهُ كُن فَيَكُون‏
“แท้จริงกิจการ “อัมรฺ” “أَمْر” ของพระองค์เมื่อพระองค์ทรงประสงค์ พระองค์ก็จะประกาศิตว่าจงเป็น แล้วมันก็จะเป็นขึ้นโดยพลัน”
     คำว่า “อะรอดะ มาจากรากศัพท์ของ อิรอดะฮ์” ความประสงค์ของพระองค์ในโองการนี้คือเมื่อพระองค์ทรงประสงค์พระองค์จะบันดาลให้สิ่งนั้นๆเกิดขึ้นมาเนื่องจากสรรพสิ่งที่ถูกทำให้เกิดมานั้นมีอย่างมากมายหลายสิ่งหลายอย่างและไม่ได้เกิดขึ้นมาในเวลาเดียวกัน เป็นความประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างซึ่งได้ถูกรู้จักภายหลังจากที่พระองค์ทรงสร้าง “อิรอดะฮ์”ในโองการนี้อยู่ในรูปแบบของ “กุนฟายากูน” “كُن فَيَكُون” เมื่อพระองค์ประสงค์พระองค์ก็จะประกาศิตว่าจงเป็นมันก็จะเกิดขึ้นมาทันที บันดาลให้เกิดขึ้นมาเนรมิตให้เกิดขึ้นมาคือตัดสินใจให้เกิดขึ้นมา ตัวอย่างมากมายในรูปแบบที่เมื่อพระองค์ประสงค์พระองค์ก็จะบันดาลให้เกิดขึ้นมา
    ตัวอย่าง:การทำให้น้ำท่วมโลกในยุคศาสดานุฮ์(อ) การฝ่าทะเลแดงในยุคศาสดามูซา(อ) การทำให้ไฟเย็นในยุคของศาสดาอิบรอฮีม(อ) การฝ่าดวงจันทร์ในยุคศาสดามูฮัมมัด(ศ็อล)  ฯลฯ
-  “อิรอดะฮ์” พระประสงค์ของอัลลอฮ์(ซบ)แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท “ตักวีนีและตัชรีอี”    
    - “อิรอดะฮ์ ตักวีนี” ความประสงค์ของอัลลอฮ์(ซบ)ที่มีความสัมพันธ์เฉพาะระหว่างพระองค์กับสรรพสิ่งในการทำให้สรรพสิ่งเกิดขึ้นมา ซึ่งเมื่อพระองค์ประสงค์แล้วสิ่งนั้นมันจะเกิดขึ้นมาอย่างแน่นอนไม่มีใครสามารถขัดขว้างได้ อัลกุรอานได้อธิบายว่าความประสงค์นี้ของพระองค์จะครอบคลุมไปยังทุกสรรพสิ่งและทุกการกระทำที่เกี่ยวข้องกับความประสงค์ของพระองค์โดยไม่มีเงื่อนไขใดๆพระองค์จะทำให้มันเกิดขึ้นมา ในซูเราะฮ์อันนะล์ โองการที่ 40
إِنَّمَا قَوْلُنَا لِشىَ‏ْءٍ إِذَا أَرَدْنَاهُ أَن نَّقُولَ لَهُ كُن فَيَكُون‏
“แท้จริงเมื่อเราประสงค์สิ่งใดแล้วเราเพียงแค่ประกาศิตว่าจงเป็นแล้วมันก็จะเกิดขึ้นมาโดยพลัน”
    แน่นอนว่าการที่พระองค์กล่าวว่า “จงเป็น” นั้นไม่ได้หมายถึงคำพูดเหมือนที่มนุษย์เข้าใจเป็นแค่การเปรียบเทียบ โองการดังกล่าวยังยืนยันว่าแม้แต่วินาทีเดียวการไม่เกิดขึ้นไปตามพระประสงค์ของพระองค์นั้นเป็นไปไม่ได้ เพราะเมื่อพระองค์กล่าวว่าจงเป็นมันก็เป็นขึ้นทันที
    ซูเราะฮ์อัลฟัตฮ์ โองการที่ 11
قُلْ فَمَن يَمْلِكُ لَكُم مِّنَ اللَّهِ شَيًْا إِنْ أَرَادَ بِكُمْ ضَرًّا أَوْ أَرَادَ بِكُمْ نَفْعَا  بَلْ كاَنَ اللَّهُ بِمَا تَعْمَلُونَ خَبِيرَا
“จงกล่าวเถิดมูฮัมมัดใครเล่าจะมีอำนาจอันใดที่จะปกป้องพวกเจ้าจากอัลลอฮ์หากพระองค์ทรงพระสงค์ความทุกข์ให้แก่พวกเจ้าหรือพระองค์ทรงพระสงค์ให้ประโยชน์แก่พวกเจ้าแต่ทว่าพระองค์ทรงตระหนักยิ่งในสิ่งที่พวกเจ้ากระทำ”
    โองการดังกล่าวยืนยันถึงความจริงที่ว่าไม่มีใครสามารถขัดขว้างความประสงค์ของพระองค์ได้ เป็นความประสงค์ที่ไม่มีสิ่งใดมาจำกัด เมื่อพระองค์ประสงค์พระองค์ก็จะให้เกิด และจากความหมายของโองการดังกล่าวก็ไม่ได้หมายถึงพระองค์กระทำสิ่งที่น่ารังเกียจหรือการกดขี่ แต่ทว่าทุกๆความประสงค์การกระทำของพระองค์นั้นวางอยู่บนความมี “ฮิกมะฮ์” มีปรัชญาของเปาหมายมีวิทยะปัญญาซึ่งจะทำความเข้าใจในหมวดของ “อัดล์อิลาฮี” “ความยุติธรรมของพระผู้เป็นเจ้า”
- “อิรอดะฮ์ ตัชรีอี” ความประสงค์ของอัลลอฮ์(ซบ)ที่มีความสัมพันธ์กับการกระทำของมนุษย์ เมื่อพระองค์ประสงค์มันอาจจะเกิดก็ได้หรือไม่เกิดขึ้นก็ได้เนื่องจากมันเกี่ยวข้องกับมนุษย์ และพระองค์ให้ “อิคติยาร” สิทธิ์ที่จะเลือกแก่มนุษย์ขึ้นอยู่ที่ว่าเขาจะทำตามพระประสงค์ความชอบความรักของพระองค์หรือความต้องการของตัวเองและมนุษย์จะได้รับผลตอบแทนหรือการลงโทษตามที่เขาได้เลือกไป
ซูเราะฮ์อัลบากอเราะฮ์ โองการที่ 185
يُرِيدُ اللَّهُ بِكُمُ الْيُسْرَ وَ لَا يُرِيدُ بِكُمُ الْعُسْرَ
“อัลลอฮ์ทรงประสงค์ให้มีความสะดวกแก่พวกเจ้าและไม่ทรงประสงค์ให้มีความยากลำบากแก่พวกเจ้า”
    เนื้อหาก่อนหน้าโองการนี้ได้อธิบายเรื่องบทบัญญัติเกี่ยวกับการถือศีลอดในเดือนรอมฏอนโดยการบอกถึงกรณีที่ได้รับการยกเว้นในการถือศีลอดสำหรับผู้ที่ป่วยผู้ที่อยู่ในการเดินทาง เห็นได้ว่าความประสงค์ของอัลลอฮ์(ซบ)ในโองการดังกล่าวเกี่ยวข้องกับชะรีอัตบทบัญญัติทางศาสนา พระองค์ประสงค์ให้เกิดความสะดวกแก่มนุษย์เพื่อที่มนุษย์จะได้ไม่ต้องยากลำบาก

สถาบันศึกษาศาสนา อัลมะฮ์ดี (อ.)

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม