เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

เตาฮีด 17 (ความเป็นเอกะของพระผู้เป็นเจ้า)

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

เตาฮีด 17 (ความเป็นเอกะของพระผู้เป็นเจ้า)

 

(ความเป็นเอกะ ในการวางบทบัญญัติและการปกครอง)
    ความเป็นเอกะในการวางบทบัญญัติข้อกฎหมายเป็นสาขาหนึ่งของความเป็นเอกะในการอภิบาลของพระองค์ ความสัมพันธ์ของมนุษย์กับสมาชิกในสังคมนั้นจำเป็นจะต้องมีกฎระเบียบกฎหมายเฉพาะมาควบคลุม ความเป็นเอกภาพในการวางบทบัญญัติข้อกฎหมายหรือการปกครองคือการมีความเชื่อความศรัทธาว่าผู้ที่วางบัญญัติข้อกฎหมายและการปกครองคืออัลลอฮ์(ซบ)เพียงผู้เดียว นอกเหนือจากพระองค์แล้วไม่มีผู้ใดได้รับการอนุญาตอย่างเป็นเอกเทศในการวางบทบัญญัติข้อกฎหมายและการปกครองในการจัดระเบียบบริหารวิถีชีวิตของมนุษย์ ด้วยเหตุนี้ผู้ที่มีความเหมาะสมที่สุดในการวางบทบัญญัติกฎหมายต่างๆคืออัลลอฮ์(ซบ)เท่านั้นและผู้ที่ได้รับการอนุญาตจากพระองค์ให้สามารถวางบทบัญญัติข้อกฎหมายและการปกครองซึ่งต้องไม่ชัดกับบทบัญญัติข้อกฎหมายของพระองค์  
    ด้วยเหตุนี้วิชาการเรื่องความเป็นเอกภาพในอิสลามถือว่าผู้ที่มีสิทธิวางบทบัญญัติข้อกฎหมายและการปกครองและการบังคับใช้กฎเกณฑ์ต่างๆอย่างแท้จริงคืออัลลอฮ์(ซบ)บุคคลอื่นไม่มีสิทธ์ใดๆในการวางกฎเกณฑ์ต่างๆเหล่านี้ ยกเว้นบุคคลกลุ่มหนึ่งที่มีความประเสริฐมีความสูงส่งกว่าบุคคลอื่นๆในสังคมซึ่งได้รับการเลือกเป็นพิเศษและได้รับการอนุมัติจากพระองค์ในการบริหารจัดการวิถีชีวิตของมนุษย์และบังคับใช้บทบัญญัติข้อกฎหมายของพระองค์ในสังคม
 - เหตุผลทางสติปัญญาถึงความจำเป็นในความเป็นเอกะในการวางบทบัญญัติและข้อกฎหมายและการปกครอง
1.เป็นที่ชัดเจนว่าบทบัญญัติ  ข้อกฎหมายและการปกครองมีความจำเป็นต่อสังคมเพื่อบริหารจัดระเบียบวิถีชีวิตของสมาชิกในสังคม และอีกด้านหนึ่งการวางบทบัญญัติ  ข้อกฎหมายและการปกครองเป็นสาขาหนึ่งของความเป็นเอกะในการอภิบาลซึ่งผู้อภิบาลที่แท้จริงของมนุษย์ก็คืออัลลอฮ์(ซบ)ซึ่งแน่นอนว่าการวางบทบัญญัติและข้อกฎหมายและการปกครองนั้นเป็นสิทธิของพระองค์ และสิ่งอื่นๆหรือมนุษย์นั้นไม่มีอำนาจในการอภิบาลแบบ “ตักวีนี” คือไม่มีอำนาจอภิบาลสิ่งต่างๆในธรรมชาติได้จึงไม่มีความสามารถอย่างเป็นเอกเทศในการวางบทบัญญัติและข้อกฎหมายได้
2.เป็นที่ชัดเจนว่าผู้ที่สามารถวางบทบัญญัติกฎหมายและการปกครองได้อย่างเหมาะสมและดีที่สุดให้แก่มนุษย์จะต้องเป็นผู้ที่รู้จักแก่นแท้ของความเป็นมนุษย์ดีที่สุดและรู้จักหนทางที่จะนำมนุษย์ไปสู่ความผาสุกความสมบูรณ์ดีที่สุดนั้นก็คืออัลลฮ์(ซบ)เพราะไม่มีผู้ใดที่จะรู้จักมนุษย์ดีไปกว่าผู้ที่สร้างมนุษย์มา และพระองค์คือผู้รอบรู้ในทุกๆสิ่งอย่างสมบูรณ์ ด้วยเหตุผลนี้เป็นที่เพียงพอว่าอัลลอฮ์(ซบ)เท่านั้นคือผู้ที่มีสิทธิที่จะออกบทบัญญัติข้อกฎหมายและการปกครองให้แก่มนุษย์ เช่นเดียวกันการที่พระองค์ให้สิทธิแก่มนุษย์กลุ่มหนึ่งในการวางบางกฎเกณฑ์ที่เป็นที่ยอมรับของสังคมและวางอยู่บนความมีวิทยะปัญญาเพื่อจัดระเบียบสังคมและวิถีชีวิตของมนุษย์ในโลกนี้ให้ถูกต้องและเหมาะสมซึ่งจะต้องอยู่บนกฎเกณฑ์ทางศาสนาของพระองค์
  - ความเป็นเอกะในการวางบทบัญญัติข้อตัดสินกฎหมายและการปกครองการจากทัศนะของอัลกุรอาน   
    - คำว่า “ตัชรีอ์” มีความหมายว่า “การวางบทบัญญัติ” ในอักุรอานได้กล่าวไว้เพียงครั้งเดียวในซูเราะฮ์อัชชูรออ์ โองการที่ 13
شَرَعَ لَكُم مِّنَ الدِّينِ مَا وَصىَ‏ بِهِ نُوحًا وَ الَّذِى أَوْحَيْنَا إِلَيْكَ وَ مَا وَصَّيْنَا بِهِ إِبْرَاهِيمَ وَ مُوسىَ‏ وَ عِيسىَ  أَنْ أَقِيمُواْ الدِّينَ ‏
“อัลลอฮ์(ซบ)ได้ทรงกำหนดศาสนาแก่พวกเจ้าเช่นเดียวกับที่พระองค์ได้ทรงบัญชาแก่นูฮ์ และเราได้วะฮีแก่เจ้าเช่นเดียวกับที่เราได้บัญชาแก่อิบรอฮีม และมูซาและอีซาว่าพวกเจ้าจงดำรงศาสนาไว้ให้มั่นคง”
    ด้วยเหตุนี้จำเป็นที่ต้องทำความเข้าใจคำว่า “ฮุกม์” และ “วิลายัต” คำว่าฮุกม์ ความหมายเดิมคือ “การห้ามปรามการปกป้อง” และเมื่อใช้ในรูปอื่นๆจะให้ความหมาย “การวางบทบัญญัติ” “การตัดสิน” “การบริหารกิจการทางสังคม”  ซึ่งความหมาย “การปกป้องการห้ามปราม” ที่เป็นความหมายเดิมของฮุกม์ครอบคลุมความหมายทั้งสามอยู่ด้วย    ในอัลกุรอานได้กล่าวไว้อย่างชัดแจ้งว่าผู้ที่สามารออกกฎหมายปกครองได้นั้นคืออัลลอฮ์(ซบ)เท่านั้น ในซูเราะฮ์ยูซุฟ โองการที่ 40
إِنِ الْحُكْمُ إِلَّا لِلَّهِ
“การตัดสินไม่ได้เป็นสิทธิของผู้ใดนอกจากอัลลอฮ์”
ซูเราะฮ์อัลกอศอศ โองการที่ 88
كلُ‏ُّ شىَ‏ْءٍ هَالِكٌ إِلَّا وَجْهَهُ  لَهُ الحُْكْمُ وَ إِلَيْهِ تُرْجَعُون‏
“และทุกๆสิ่งจะสูญสิ้นไปนอกจากพระพักตร์ของพระองค์ การตัดสินนั้นมาจากพระองค์และพวกเจ้าจะถูกนำคืนสู่พระองค์”
   โองการทั้งสองได้เน้นการจำกัดอำนาจในการตัดสินเพียงอัลลอฮ์(ซบ) ซึ่งความหมายที่กว้างๆของคำว่า “ฮุกม์” ทำให้เข้าใจพระองค์เท่านั้นที่มีสิทธิและเหมาสมอย่างเป็นเอกเทศในการตัดสินหรือออกกฎหมายปกครองในการจัดระเบียบและบริหารสังคมมนุษย์และตัดสินการงานต่างๆของมนุษย์ ส่วนการที่พระองค์อนุมัติและอนุญาตให้มนุษย์กลุ่มหนึ่งทำหน้าที่แทนพระองค์ในการเป็นผู้ตัดสินปกครองของพระองค์และดูแลบริหารการงานของมนุษย์ก็ไม่ได้ขัดกับความความเป็นเอกะเพราะแหล่งอำนาจที่แท้จริงมาจากอัลลอฮ์องค์เดียว
     คำว่า “” ฮุกม์” ที่ปรากฏในอัลกุรอานพระองค์ได้กล่าวถึงความจำเป็นที่ชาวคัมภีร์ต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ในการตัดสินต่างๆตามคัมภีร์เตารอตและอินญีล และส่วนผู้ที่ฝ่าฟืนเท่ากับเขาคือผู้ปฏิเสธ ผู้อธรรมและผู้ที่ละเมิด  ซึ่งซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮ์ได้ยืนยันไว้ โองการที่ 44 – 45 - 47 ตามลำดับ
وَ مَن لَّمْ يحَْكُم بِمَا أَنزَلَ اللَّهُ فَأُوْلَئكَ هُمُ الْكَافِرُون‏
“และผู้ใดมิได้ตัดสินตามที่อัลลอฮ์ได้ประทานลงมาแล้วชนเหล่านั้นคือผู้ปฏิเสธการศรัทธา”
وَ مَن لَّمْ يحَْكُم بِمَا أَنزَلَ اللَّهُ فَأُوْلَئكَ هُمُ الظَّالِمُون‏
“และผู้ใดมิได้ตัดสินตามที่อัลลอฮ์ได้ประทานลงมาแล้วชนเหล่านั้นคือผู้อธรรม”
وَ مَن لَّمْ يحَْكُم بِمَا أَنزَلَ اللَّهُ فَأُوْلَئكَ هُمُ الْفَاسِقُون‏
“และผู้ใดมิได้ตัดสินตามที่อัลลอฮ์ได้ประทานลงมาแล้วชนเหล่านั้นคือผู้ที่ละเมิด”
     โองการที่ 44 ได้พูดถึงเกี่ยวกับชาวยิว และโองการที่ 47 ได้พูดถึงเกี่ยวกับชาวคริสต์ แต่ทว่าความหมายของการตัดสินในโองการดังกล่าวให้ความหมายที่กว้างและไม่ได้จำกัดอยู่แค่เพียงหมู่ชนใดหมู่ชนหนึ่ง ด้วยเหตุนี้ผู้ใดก็ตามที่ไม่ได้ตัดสินด้วยกฎหมายของพระองค์ก็เท่ากับเขาคือผู้ปฏิเสธ ผู้อธรรมและเป็นผู้ที่ละเมิดเช่นเดียวกัน
    -  ส่วนคำว่า “วิลายัต” ให้ความหมายว่า “อำนาจการปกครอง” และ “มิตร” ซึ่งการใช้ความหมายได้อย่างถูกต้องขึ้นกับสภาพแวดล้อมของประโยคหรือสถานการณ์   
    โองการอีกจำนวนหนึ่งที่พูดถึงเรื่อง “วิลายัต” อำนาจการปกครองซึ่งเป็นสิทธิเฉพาะพระองค์ในซูเราะฮ์อัชชูรออ์โองการที่ 9
أَمِ اتخََّذُواْ مِن دُونِهِ أَوْلِيَاءَ  فَاللَّهُ هُوَ الْوَلىِ‏ُّ وَ هُوَ يحُْىِ الْمَوْتىَ‏ وَ هُوَ عَلىَ‏ كلُ‏ِّ شىَ‏ْءٍ قَدِير
“หรือว่าพวกเขาได้ยึดถือผู้อื่นจากพระองค์เป็นผู้ปกครอง แต่อัลลอฮ์คือผู้ปกครองและพระองค์คือผู้ให้ชีวิตแก่คนตาย และพระองค์คือผู้ทรงอานุภาพเหนือทุกสรรพสิ่ง”
    โองการดังกล่าวบ่งบอกว่าผู้ปกครองที่แท้จริงคืออัลลอฮ์(ซบ) อย่างไรก็ตามการที่พระองค์ได้เลือกและแต่งตั้งให้คนกลุ่มหนึ่งเป็นผู้ตัดสินหรือเป็นผู้ปกครองไม่ได้ขัดกับความเป็นเอกะในอำนาจการครองของพระองค์แต่อย่างไรโองการจำนวนหนึ่งที่ได้กล่าวถึงความเป็นผู้ปกครองของบรรดาศาสดาและตัวแทนของศาสดาซึ่งอัลกุรอานในซูเราะฮ์มาอิดะฮ์ โองการที่ 55 ได้ยืนยัน จากตัฟซีร เนมูนะฮ์ เล่มที่ 4 หน้า 424
إِنَّمَا وَلِيُّكُمُ اللَّهُ وَ رَسُولُهُ وَ الَّذِينَ ءَامَنُواْ الَّذِينَ يُقِيمُونَ الصَّلَوةَ وَ يُؤْتُونَ الزَّكَوةَ وَ هُمْ رَاكِعُون‏
“แท้จริงผู้ปกครองในหมู่พวกเจ้าคืออัลลอฮ์และศาสดาของพระองค์และบรรดาผู้ศรัทธาที่ดำรงไว้ซึ่งการนมาซและบริจาคทานในขณะที่โค้งอย่างผู้นอบน้อม(รุกูอ์)”
    สาเหตุของการประทานโองการดังกล่าวมีฮาดีษรายงานเป็นจำนวนมากรายงานประโยคท “ผู้ศรัทธาที่ดำรงไว้ซึ่งการนมาซและบริจาคทานในขณะที่โค้งอย่างผู้นอบน้อม(รุกูอ์)” คือท่านอาลี อิบนิ อาบีฏอลิบ ซึ่งท่านได้บริจาคแหวนแก่คนยากจนในขณะที่ท่านโค้งรูกูอ์ในนมาซ หรืออย่างน้อยที่สุดบางรายงานบันทึกว่าโองการดังกล่าวถูกประเกี่ยวกับท่านอาลี อิบนิ อาลีฏอลิบ คำว่า “วะลี” มีความหมายว่าผู้ปกครองทั้งทางโลกและทางธรรม จุดสำคัญในโองการดังกล่าวคือคำว่า “วะลี” (ผู้ปกครอง)ซึ่งสาเหตุการประทานยืนยันว่าคือท่านอาลี อิบนิ อาบีฏอลิบ ใช้คำเดียวกับ “วะลี” ของท่านศาสดา และ “วะลี” ของอัลลอฮ์” ซึ่งก็หมายถึงว่าอำนาจการปกครองของท่านอาลี บิน อาบีฏอลิบ คืออำนาจการปกครองของท่านศาสดา อำนาจการปกครองของท่านศาสดาก็คืออำนาจการปกครองของอัลลอฮ์(ซบ) ซึ่งเป็นอำนาจการปกครองที่อัลลอฮ์ได้มอบให้แก่ท่านศาสดามูฮัมหมัด(ศ็อล) ซึ่งเรื่องราวดังกล่าวได้ถูกบันทึกไว้ในตำรับรำพี่น้องซุนนีเป็นจำนวนมากเช่น หนังสือตัฟซีรฏับรี หน้า 165. อิบนิกะซีร ในหนังสืออัลบิดายะฮ์ วัลนิฮายะฮ์ เล่มที่ 7 หน้า 357. อิบนิฮะญัร ในหนังสือ อัศศอวาอิก หน้า 25
    ถึงแม้ว่าผู้ตัดสินที่แท้จริงและผู้มีอำนาจในการปกครองที่แท้จริงคืออัลลอฮ์(ซบ) เนื่องจากว่าการบริหารสังคมและการปกครองนั้นมันมีความสัมพันธ์กับโลกแห่งวัตถุที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ และความเกี่ยวและความสัมพันธ์ทางวัตถุนั้นไม่สามารถเกิดขึ้นโดยตรงได้จากพระองค์ จำเป็นที่จะต้องมีตัวแทนของพระองค์จำนวนหนึ่งที่ได้รับอำนาจนี้ ที่การวางบทบัญญัติและการปกครองของพวกเขานั้นได้รับมาจากอัลลอฮ์(ซบ)

สถาบันศึกษาศาสนา อัลมะฮ์ดี (อ.)

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม