อิสลามเบื้องต้น [บทที่ 7] อุศูลุดดีนข้อที่ 3 “การศรัทธาต่อบรรดารอซูล (ศาสนทูต) ของพระองค์”

อิสลามเบื้องต้น [บทที่ 7] อุศูลุดดีนข้อที่ 3 “การศรัทธาต่อบรรดารอซูล (ศาสนทูต) ของพระองค์”

 

โดย เชคอันศอร เหล็มปาน

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ปรานียิ่งเสมอ

“การศรัทธาต่อบรรดารอซูล (ศาสนทูต) ของพระองค์”

divider

อิสลามเบื้องต้น [บทที่ 7] อุศูลุดดีนข้อที่ 3 “การศรัทธาต่อบรรดารอซูล (ศาสนทูต) ของพระองค์”

การศรัทธาต่อบรรดารอซูล คือการเชื่ออย่างสัตย์จริงและแน่วแน่ว่าอัลลอฮฺตะอาลาได้ส่งรอซูลไปยังทุกประชาชาติเพื่อท าหน้าที่เรียกร้องสู่การภักดีและเคารพบูชาอัลลอฮฺตะอาลาแต่เพียงผู้เดียว และปฏิเสธการกราบไหว้บูชาและเคารพภักดีนอกเหนือจากพระองค์บรรดารอซูลทั้งหมดเป็นศาสนทูตที่ซื่อสัตย์และพวกเขาได้ทำหน้าที่ในการให้ความรู้ทุกอย่างตามที่ได้รับค าสั่งมาจากอัลลอฮฺ ในบรรดารอซูลทั้งหลายมีผู้ที่อัลลอฮฺได้ให้พวกเราได้รับรู้ในชื่อของพวกเขา และมีผู้ที่อัลลอฮฺได้ปกปิดมิให้พวกเราได้รับรู้แต่อย่างใด

อัลลอฮ์ ซ.บ. ทรงประทานศาสดาลงมาประกาศสั่งสอนมากมาย สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ เพราะว่ามนุษย์ทุกคนมีอำนาจฝ่ายต่ำและมีกที่จะทำตามอำนาจนั้น และนอกจากอำนาจฝ่ายต่ำแล้วมนุษย์ยังมีพลังแห่งสติปัญญา และการเลือกสรร ดังนั้นในตัวของมนุษย์จึงมีการต่อสู้กันตลอดระหว่างพลังที่เป็นธรรม กับพลังที่เป็นเท็จ เมื่อมนุษย์อยู่ระหว่างพลังทั้งสอง พลังฝ่ายหนึ่งนำพามนุษย์ไปสู่ความสูงส่ง ส่วนอีกพลังหนึ่งนำพามนุษย์ไปสู่ความตกต่ำ จากจุดนี้เองมนุษย์จึงต้องการผู้นำทางที่มีความเป็นห่วงเป็นใย และรักสัจธรรมความถูกต้อง เพื่อว่าการปฏิบัติตามพวกเขาจะเป็นสาเหตุนำพามนุษย์ไปสู่ความสูงส่ง และไม่หันเหออกไปจากความเ้ป็นจริง

อัลลอฮฺได้ตรัสว่า

وَلَقَدْ بَعَثْنَا فِي كُلِّ أُمَّةٍ رَّسُولًا أَنِ اعْبُدُوا اللَّهَ وَاجْتَنِبُوا الطَّاغُوتَ فَمِنْهُم مَّنْ هَدَى اللَّهُ وَمِنْهُم مَّنْ حَقَّتْ عَلَيْهِ الضَّلَالَةُ فَسِيرُوا فِي الْأَرْضِ فَانظُرُوا كَيْفَ كَانَ عَاقِبَةُ الْمُكَذِّبِينَ

และโดยแน่นอน เราได้ส่งร่อซูลมาในทุกประชาชาติ (โดยบัญชาว่า) “พวกท่าจงเคารพภักดีอัลลอฮ์ และจงหลีกหนีให้ห่างจากพวกเจว็ด” ดังนั้น ในหมู่พวกเขามีผู้ที่อัลลอฮ์ทรงชี้แนะทางให้และในหมู่พวกเขามีการหลงผิดคู่ควรแก่เขาฉะนั้น พวกเจ้าจงตระเวนไปในแผ่นดิน แล้วจงดูว่าบั้นปลายของผู้ปฏิเสธนั้นเป็นเช่นใด!” (อัน-นะห์ลุ : 36)

อัลลอฮ์ ซ.บ. ทรงประทานศาสดาจำนวนแสนกว่าคนพร้อมกับตัวแทนลงมา เพื่อนำทางมนุษย์ไปสู่สัจธรรมและความสูงส่ง ออกห่างจากความเฉไฉและช่วยเหลือให้รอดพ้นจากความตกต่ำและการตกเป็นทาสของอำนาจฝ่ายต่ำ เกี่ยวกับจำนวนของศาสดากล่าวว่า อัลลอฮ์ ซ.บ. ทรงประทานศาสดาลงมาถึง 124,000 ท่าน ๆ แรกคือท่านศาสดาอาดัม อ. ส่วนองค์สุดท้ายคือท่านศาสดามุฮัมมัด ศ. เกี่ยวกับเรื่องนี้ได้มีริวายะฮฺกล่าวไว้มากมาย ซึ่งจะขอกล่าวเพียงริวายะฮฺเดียว โดยรายงานมาจากท่านอิมามริฎอ อ. ซึ่งรับรายงานมาจากบิดาของท่าน จากท่านศาสดา ศ. กล่าวว่า

อัลลอฮ์ ซ.บ. ทรงสร้างศาสดามาทั้งสิ้น 124,000 ท่าน ฉันเป็นศาสดาที่มีเกียรติที่สุด ณ อัลลอฮฺ ซึ่งฉันไม่ได้พูดบนเกียรติยศของฉัน และพระองค์ทรงสร้างตัวแทนของศาสดาอีก 124,000 ท่าน ซึ่งอะลีเป็นตัวแทนที่ประเสริฐและมีเกียรติที่สุด ณ อัลลอฮ์ ซ.บ.

 

อัล-กุรอานกับศาสดา

อัล-กุรอานกล่าวถึงนามของท่านศาสดาไว้ 26 นามด้วยกันตามลำดับต่อไปนี้ ท่านศาสดาอาดัม อ. ศาสดาอิดริซ อ. ศาสดานูฮฺ อ. ศาสดาอิบรอฮีม อ. ศาสดาลูฏ อ. ศาสดาฮูด อ. ศาสดาซอลิฮฺ อ. ศาสดาอิซมาอีล อ. ศาสดาอิสฮาก อ. ศาสดายะอฺกูบ อ. ศาสดายูซุฟ อ. ศาสดาชุอัยบฺ อ. ศาสดามูซา อ. ศาสดาฮารูน อ. ศาสดาดาวูด อ. ศาสดาซุลัยมาน อ. ศาสดาซักรียา อ. ศาสดายะฮฺยา อ. ศาสดายูนุซ อ. ศาสดาอัยยูบ อ. ศาสดาอุซัยรฺ อ. ศาสดาซุลกิฟลิ อ. ศาสดายะซะฮฺ อ. ศาสดาอิลยาซ อ. ศาสดาอีซา อ. ศาสดามุฮัมมัด ศ.

ศาสดาบางท่าน เช่น ศาสดาเคฎรฺ อ. ศาสดาชุมูอีลไม่ได้กล่าวถึงนามของท่าน แต่มีระบุไว้ในอัล-กุรอาน หรือโองการที่ 27 ซูเราะฮฺมุอฺมินกล่าวถึงเรื่องราวของศาสดาบางท่าน แต่ไม่ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนในอัล-กุรอาน

تراند اليوم : اسماء اولي العزم من الرسل ثم اضمنها ملف انجازي اسماء اولي العزم من الرسل (كتاب لغتي الخالدة الصف...

 

บรรดารอซูลที่ถูกยกย่องให้เป็นอุลุลอัซมิ

อัล-กุรอานได้กล่าวถึงศาสดากลุ่มหนึ่งในฐานะของ อูลุลอัซมิ (บรรดารอซูลที่มีจิตใจตั้งมั่น และศาสดาผู้ได้รับบทบัญญัติ) ไว้ เช่น โดยกล่าวว่า

فَاصْبِرْ كَمَا صَبَرَ أُولُو الْعَزْمِ مِنَ الرُّسُلِ

ดังนั้นเจ้าจงอดทนดังเช่นบรรดาผู้ตั้งจิตมั่น (อูลุลอัซมิ) แห่งร่อซูลทั้งหลาย ได้อดทนมาก่อนแล้ว[อัลอะฮฺก็อฟ / 35]

ศาสดาที่เป็นอูลุลอัซมิ หมายถึงศาสดาที่ได้รับบทบัญญัติและคัมภีร์จากอัลลอฮฺ ซ.บ. และตามริวายะฮฺทั้งชีอะฮฺและซุนียฺรายงานตรงกันว่าศาสดาอูลุลอัซมิมี 5 ท่าน ได้แก่ท่านศาสดานูฮฺ อ. ศาสดาอิบรอฮีม อ. ศาสดามูซา อ. ศาสดาอีซา อ. และศาสดามุฮัมมัด ศ.

คัวอย่างริวายะฮฺ ท่านซะมาอะฮฺ บิน มะฮฺรอน เล่าว่า ฉันได้ถามท่านอิมามซอดิก อ. เกี่ยวกับโองการ ดังนั้นเจ้าจงอดทนดังเช่นบรรดาผู้ตั้งจิตมั่น (อูลุลอัซมิ) ว่าหมายถึงใคร

ท่านอิมามซอดิก อ. กล่าวว่า ศาสดาที่เป็นอูลุลอัซมิได้แก่ ศาสดานูฮฺ ศาสดาอิบรอฮีม ศาสดามูซา ศาสดาอีซา และศาสดามุฮัมมัด

ฉันถามว่า ศาสดาเหล่านั้นเป็นอูลุลอัซมิได้อย่างไร

ท่านอิมาม อ. ตอบว่า เป็นเพราะว่าท่านศาสดานูฮฺ อ. ได้ถูกแต่งตั้งลงมาพร้อมกับบทบัญญัติ และบรรดาศาสดาที่ถูกประทานลงมาหลังจากศาสดนูฮฺได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติของท่าน จนกระทั่งถึงสมัยของท่านศาสดาอิบรอฮีม อ. ได้ถูกประทานมาพร้อมกับซุฮุฟโดยละทิ้งบทบัญญัติของศาสดานูฮฺ ซึ่งไม่ได้เกิดจากการหลงลืมบทบัญญัตินั้น แต่เป็นเพราะว่ากาลเวลาได้เปลี่ยนไป ดังนั้น ศาสดาที่ลงมาหลังจากท่านจึงได้ปฏิบัติตามซุฮุฟของท่านศาสดาอิบรอฮีม อ. จนถึงสมัยของท่านศาสดามูซา อ. ซึ่งได้ถูกประทานมาพร้อมกับเตารอต โดยมีบัญชาให้ละเว้นซุฮุฟของศาสดาอิบรอฮีม และศาสดาที่ลงมาหลังจากท่านได้ปฏิบัติตามเตารอตและบทบัญญัติของท่าน จนถึงสมัยของท่านศาสดาอีซา อ. ซึ่งท่านได้นำเอาคัมภีร์อินญิลมาพร้อมกับท่าน โดยมีบัญชาให้ละเว้นคัมภีร์เตารอตของท่านศาสดามูซา และศาสดาที่ลงมาหลังจากท่านได้ปฏิบัติตามคัมถีร์ของท่าน จนถึงสมัยของท่านศาสดามุฮัมมัด อ. ซึ่งท่านได้นำอัล-กุรอานมาพร้อมกับท่าน เป็นการบ่งบอกว่าคัมถีร์อินญิลได้หมดวาระลงแล้ว ฮะลาลของมุฮัมมัดจะฮะลาลจนถึงวันกิยามะฮฺ และฮะรอมของมุฮัมมัดจะรอมจนถึงวันกิยามะฮฺ ศาสดาเหล่านี้ล้วนเป็นอูลุลอัซมิ[อุซูลุลกาฟียฺ เล่มที่ 2 หน้าที่ 17]

ท่านอิมามซอดิก อ. กล่าวว่า ผู้เป็นนายแห่งศาสดาและศาสนทูตทั้งหลายมี 5 ท่าน ล้วนเป็นอูลุลอัซมิ ซึ่งบทบัญญัติและคัมภีร์ของพระองค์จะวนอยู่ที่ศาสดาเหล่านี้ ได้แก่ศาสดานูฮฺ อิบรอฮีม มูซา อีซา และศาสดามุฮัมมัด ศ.[อุซูลุลกาฟียฺ เล่มที่ 2 หน้าที่ 17]

ประกอบกับริวายะฮฺและโองการ ได้บอกว่าในบางยุคสมัยได้มีศาสดาร่วมสมัยอยู่หลายองค์ และบนพื้นฐานของการปฏิบัติตามศาสดาท่านใดท่านหนึ่งที่เป็นอูลุลอัซมิ ในพื้นที่ของท่าน ซึ่งอาจเป็นองค์เดียวหรือเป็นกลุ่มโดยทำหน้าที่ชี้นำประชาชาติในยุคสมัยของนั้น ๆ เช่น โองการที่ 21 ซูเราะฮฺอาลิอิมรอนกล่าวว่า

إِنَّ الَّذِينَ يَكْفُرُونَ بِآيَاتِ اللَّهِ وَيَقْتُلُونَ النَّبِيِّينَ بِغَيْرِ حَقٍّ وَيَقْتُلُونَ الَّذِينَ يَأْمُرُونَ بِالْقِسْطِ مِنَ النَّاسِ فَبَشِّرْهُم بِعَذَابٍ أَلِيمٍ

แท้จริงบรรดาผู้ปฏิเสธโองการทั้งหลายของอัลลอฮฺ และฆ่าบรรดานะบีโดยปราศจากความเป็นธรรม และฆ่าบรรดาผู้ที่สร้างความยุติธรรมจากหมู่ประชาคม ดังนั้น เจ้าจงแจ้งพวกเขา ถึงการลงโทษอันแสนสาหัส

ท่านศาสดา ศ. กล่าวว่า พวกบะนีอิซรออีลได้สังหารบรรดาศาสดาในวันรุ่งขึ้นภายในหนึ่งชั่วโองถึง 43 องค์ หลังจากที่ได้สังหารบรรดาศาสดาแล้ว ผู้ทรงคุณธรรมจากวงศ์วานบะนีอิซรออีลได้ลุกขึ้นต่อต้านและำพยายามเรียกร้องความยุติธรรม แต่ถูกพวกบะนีอิซรออีลไล่สังหาร ปรากฏวาภายในวันนั้นพวกเขาได้สังหารคนดีมีคุณธรรมอีก 112 คน ดังนั้น อัลลอฮฺจึงกล่าวถึงบาปกรรมของพวกเขาพร้อมกับการลงโทษไว้ในโองการข้างต้น[ตัฟซีรซอฟียฺ ภายใต้การอธิบายโองการดังกล่าว เล่มที่ 1 หน้าที่ 51]

ความต่างระหว่างนบีกับร่อซูล

การรู้จักบรรดาศาสนทูตเป็นสิ่งจำเป็น เพราะบางท่านเป็นเพียงศาสนทูตเท่านั้น (นบี) แต่บางท่านมีตำแหน่งเป็นทั้งศาสนทูตและศาสดา (ร่อซูล) ในเวลาเดียวกัน และบางท่านนอกจาก 2 ตำแหน่งแล้วท่านยังได้รับตำแหน่งอิมามอีกต่างหาก เช่น ท่านศาสดาอิบรอฮีม อ. ตอนแรกท่านเป็นบ่าวที่ดีของอัลลอฮฺ ซ.บ. ต่อมาท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นศาสนทูต (นบี) เมื่อมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นศาสดา (ร่อซูล) แต่เมื่อท่านผ่านการทดสอบที่รุนแรงจากอัลลอฮฺ ซ.บ. แล้วท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นเคาะลีล (มิตร) ของอัลลอฮฺ ซ.บ. และหลังจากนั้นท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอิมาม อัล-กุรอานกล่าวถึงการเป็นอิมามของท่านไว้ในซูเราะฮฺบะเกาะเราะฮฺ โองการที่ 114

ท่านอะบูซัร เฆาะฟารียฺเล่าว่า ท่านศาสดา ศ. กล่าวว่า อัลลอฮฺ ทรงประทานศาสนทูตลงมา 124,000 ท่าน จำนวน 303 ท่านเป็นศาสดา (เราะซูล) หมายถึงมีแนวทางและการปกครองเป็นของตนเอง[มัจมะอุลบะยาน เล่มที่ 10 หน้าที่ 476]

เกี่ยวกับฐานันดรของบรรดาศาสนทูต และความแตกต่างระหว่างศาสนทูตกับศาสดาได้กล่าวไว้อย่างมากมาย ซึ่งจะกล่าวเป็นตัวอย่างเพื่อความเข้าใจที่ดีขั้น เช่น

ท่านอิมามซอดิก อ. กล่าวว่า บรรดาศาสนทูตและศาสดาแบ่งออกเป็น 4 ระดับดังนี้

ศาสนทูตที่เป็นศาสนทูตเฉพาะตัวท่าน ไม่มีหน้าที่เผยแผ่หรือเกี่ยวข้องกับประชาชนแต่อย่างใด (หมายถึงอัลลอฮฺ ซ.บ.) ทรงมีบัญชาให้ท่านรู้จักหน้าที่ของท่านและปฏิบัติเช่นนั้น โดยไม่เกี่ยวกับผู้ใด)
ศาสนทูตที่ได้เห็น และได้ยินทางความฝัน เมื่อตื่นขึ้นจะไม่ได้เห็นและไม่ได้ยินสิ่งใด ท่านไม่ได้ถูกแต่งตั้งมาเพื่อประชาชาติใด ท่านมีอิมามและผู้นำ เช่น ท่านศาสดาอิบรอฮีมเป็นอิมามสำหรับศาสดาลูฏ อ.
ศาสนทูตที่ได้ยินและได้เห็นทางความฝัน และได้เห็นมะลาอิกะฮฺพร้อมทั้งได้รับแต่งตั้งมาเพื่อบางกลุ่มชน เช่น ท่านศาสนทูตยูนุซ อ. ดังโองการที่ 147 ซูเราะฮฺอัซซอฟาต กล่าวว่า และเราได้ส่งเขาไปยัง (หมู่บ้านของเขา) มีจำนวนหนึ่งแสนคนหรือเกินกว่านั้น จุดประสงค์ที่ว่าหรือมากกว่านั้นคือ จำนวน ๓๐,๐๐๐ คน ท่านศาสทูตยูนุซ อ. เป็นผู้นำของพวกเขา ท่านได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติของท่านศาสดามูซา อ.
ศาสนทูตที่ได้เห็นวะฮฺยูขณะที่นอนหลับ และได้เห็นเขา เมื่อตื่นขึ้นก็ได้เห็นอีก ซึ่งศาสดาเหล่านั้นมีตำแหน่งเป็นอิมามด้วย เช่น บรรดาศาสดาที่เป็นอูลุลอัซมิ[อุซุลุลกาฟียฺ เล่มที่ 1 หน้าที่ 174]