เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

ซูเราะฮ์ อัลก็อดร์

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

ซูเราะฮ์ อัลก็อดร์

 

ซูเราะฮ์ อัลก็อดร์ (ภาษาอาหรับ: سورة القدر) หรือ อินนา อันซัลนา เป็นซูเราะฮ์ ที่ 97 จัดอยู่ในประเภทซูเราะฮ์มักกียะฮ์และอยู่ในญุซอ์ที่ 30 ของอัลกุรอาน ชื่อของซูเราะฮ์ ว่า อัลก็อดร์ ได้รับมาจากโองการแรกที่กล่าวถึงการประทานของอัลกุรอานในคืนอัลก็อดร์ และความสำคัญของคืนดังกล่าว ซูเราะฮ์อัลก็อดร์ ยังกล่าวถึงความยิ่งใหญ่ ความประเสริฐ และเกียรติของคืนอัลก็อดร์ การลงมาของมวลเทวทูตแห่งเมตตาในคืนนี้

บรรดาชีอะฮ์ได้ยกเหตุผลจากเนื้อหาและสาระสำคัญของซูเราะฮ์นี้ เพื่อบ่งบอกถึงความจำเป็นที่จะต้องมีอิมาม ผู้บริสุทธิ์ในพื้นแผ่นดิน ตราบจนถึงวันกิยามะฮ์ มีรายงานว่า ให้อ่านซูเราะฮ์นี้ในนมาซประจำวัน และนมาซมุสตะฮับ และให้อ่านซูเราะฮ์นี้ จำนวนหนึ่งพันครั้งในคืนอัลก็อดร์ในเดือนรอมฎอน รายงานเกี่ยวกับความประเสริฐของซูเราะฮ์อัลก็อดร์และซูเราะฮ์อัตเตาฮีด ว่า เป็นซูเราะฮ์ที่ดีที่สุด หลังจากซูเราะฮ์อัลฟาติฮะฮ์ที่อ่านในนมาซประจำวัน
คำแนะนำ

การตั้งชื่อ การตั้งชื่อซูเราะฮ์นี้ว่า อัลก็อดร์ เนื่องจากเหตุผลที่อัลลอฮ์ทรงประทานอัลกุรอานในคืนอัลก็อดร์และความสำคัญของคืนดังกล่าวที่กล่าวไว้ในโองการแรกของซูเราะฮ์ และอีกชื่อหนึ่งคือ อินนา อันซัลนา เพราะว่า ซูเราะฮ์นี้ได้เริ่มด้วยประโยคนี้ (1)
การจัดอันดับและสถานที่ประทานลงมา

ซูเราะฮ์อัลก็อดร์ จัดอยู่ในประเภทซูเราะฮ์มักกียะฮ์และในการจัดอันดับจากการประทานให้กับศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) อยู่ในซูเราะฮ์ที่ยี่สิบห้า ซูเราะฮ์นี้ จากการเรียงอันดับซูเราะฮ์ของอัลกุรอานในปัจจุบัน อยู่ในซูเราะฮ์ที่ 97 ในญุซอ์ที่ 30 (2)

นักตัฟซีรบางคนให้ความคิดเห็นว่า เนื่องจากมีรายงานหนึ่งที่กล่าวว่า ซูเราะฮ์นี้ถูกประทานในเมืองมะดีนะฮ์ ขณะที่ศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ ) ฝันว่า เขาเห็นพวกบะนีอุมัยยะฮ์ขึ้นไปบนมิมบัรของเขา และเขารู้สึกเศร้าใจและเสียใจอย่างมาก ด้วยเหตุผลนี้ ซูเราะฮ์อัลก็อดร์ จึงถูกประทานลงมาเพื่อปลอบปะโลมศาสดาแห่งอิสลาม (ศ็อลฯ) (3)
จำนวนโองการและคุณสมบัติอื่นๆ

ซูเราะฮ์อัลก็อดร์ มีทั้งหมด 5 โองการ 30 คำ และ 114 อักษร ในแง่ของปริมาณ ซูเราะฮ์นี้ เป็นหนึ่งจากซูเราะฮ์ มุฟัศศอลาต และเป็นหนึ่งในซูเราะฮ์ที่เล็กของอัลกุรอาน (4)
เนื้อหา

เนื้อหาทั่วไปของซูเราะฮ์อัลก็อดร์ เกี่ยวกับการประทานของอัลกุรอานในคืนก็อดร์ การอธิบายถึงความยิ่งใหญ่ของคืนก็อดร์ (ซึ่งมีความสูงส่งกว่าหนึ่งพันเดือน) การลงมาของมลาอิกะฮ์ (เทวทูต) แห่งเมตตาและรูฮ์ และการกำหนดชะตาชีวิตของมนุษย์ ทั้งยังได้ชี้ให้เห็นถึงความเกียรติของคืนนี้อีกด้วย (5) บรรดานักตัฟซีรได้มีทัศนะว่า ความสูงส่งของคืนก็อดร์มากกว่าหนึ่งพันเดือนจากการกระทำอะมั้ลอิบาดะฮ์ เพราะว่า เป้าหมายของอัลกุรอานและการให้ความสนใจเป็นพิเศษในการใกล้ชิดของประชาชนยังพระผู้เป็นเจ้า พระผู้ทรงสูงส่ง ด้วยเหตุนี้เอง การฟื้นฟูคืนก็อดร์ให้มีชีวิตชีวาด้วยการทำอิบาดะฮ์ จึงมีความประเสริฐมากกว่าการทำอิบาดัตถึงหนึ่งเดือนด้วยกัน (6)
สาเหตุของการประทานลงมา

เกี่ยวกับสาเหตุการประทานลงมาของซูเราะฮ์อัลก็อดร์ รายงานว่า วันหนึ่งศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) ได้เล่าเรื่องราวของชายคนหนึ่งจากกลุ่มชนเผ่าบนีอิสรออีลให้เหล่าอัศฮาบของเขาฟัง ซึ่งชายคนนั้น ได้สวมชุดนักรบในวิถีทางของพระเจ้า เป็นเวลาถึงหนึ่งเดือน เหล่าอัศฮาบต่างรู้สึกประหลาดใจ และหลังจากนั้น อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงประทานซูเราะฮ์อัลก็อดร์ลงมา เพื่อที่จะทำให้รู้ว่า คืนก็อดร์นั้นประเสริฐกว่าการสวมชุดนักรบถึงหนึ่งพันเดือนด้วยกัน (8)
ความสัมพันธ์คืนก็อดร์กับท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ซะฮ์รอ (ซ.)

บางริวายะฮ์ รายงานว่า คืนก็อดร์มีความเกี่ยวพันกับท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (ซ.) ลัยละฮ์ คือ ฟาฏิมะฮ์ ก็อดร์ คือ อัลลอฮ์ และลัยละตุลก็อดรื คือ ฟาฏิมะฮ์ อิมามศอดิก (อ.) กล่าวว่า ผู้ใดก็ตามที่รู้จักฟาฏิมะฮ์อย่างแท้จริงและรู้จักสถานภาพของนาง แน่นอนว่า เขานั้นจะเข้าใจคืนก็อดร์ และฟาฏิมะฮ์ถูกเรียกว่า ฟาฏิมะฮ์ เพราะว่า ประชาชนไม่สามารถที่จะรู้จักนางได้ (9)


การให้เหตุผลด้วยซูเราะฮ์อัลก็อดร์ในการดำรงอยู่ของอิมามมะฮ์ดี (อ.ญ.)‎

‎ในตำราฮะดีษของชีอะฮ์ มีรายงานจากท่านศาสดาแห่งอิสลาม (ศ็อลฯ) อิมามอะลี (อ.) และอิมามบากิร (อ.) ว่า เหล่าเทวทูตแห่งพระผู้เป็นเจ้า จะลงมาจากฟากฟ้าในคืนก็อดร์ เหนือบรรดาตัวแทนภายหลังท่านศาสนทูตของอัลลอฮ์ ซึ่งกล่าวคือ ‎อะลี ( อ.) และบรรดาบุตรทั้งสิบเอ็ดคนของเขา และเขาต้องการให้ชาวชีอะฮ์ได้ใช้ประโยชน์จากซูเราะฮ์อัลก็อดร์ ‎สำหรับการพิสูจน์การดำรงอยู่และการมีชีวิตของอิมามมะฮ์ดี (อ.ญ.) เนื่องจากการลงมาของเหล่าเทวทูต(มะลาอิกะฮ์)ในคืนก็อดร์ เพื่อประกาศชะตากรรมของมนุษย์ในปีหน้านั้น ไม่ได้เฉพาะเจาะจงกับช่วงเวลาของท่านศาสดา ‎‎(ศ็อลฯ) และในทุกๆปี ดังนั้น หลังจากศาสดาแห่งอิสลาม (ศ็อลฯ) เหล่าเทวทูตจึงลงมาเหนือบรรดาผู้สืบทอดของเขา ซึ่งเป็นอิมาม ผู้บริสุทธิ์และเป็นบุคคลที่คล้ายคลึงกับศาสดามากที่สุด [10] ชาวชีอะฮ์ใช้เป็นเหตุผลที่ว่า คืนก็อดร์เป็นนิรันดร์และการลงมาของเหล่าเทวทูต ในค่ำคืนนี้เป็นที่แน่นอน ในทางกลับกัน การลงมานี้ จำเป็นที่จะต้องมีสถานที่ ซึ่งบ่งบอกว่า ในทุกช่วงเวลา จนถึงวันกิยามัตนั้น จะต้องมีฮุจญัต(ข้อพิสูจน์อันชัดแจ้ง [11]‎
ความหมายของคำว่า อัมร์ ในซูเราะฮ์อัลก็อดร์

อัลละมะฮ์ ฏอบาฏอบาอีย์ ได้ให้ความเป็นไปได้สองประการเกี่ยวกับ อัมร์ ในซูเราะฮ์อัลก็อดร์ ประการแรก ‎กล่าวคือ อัมร์ หมายถึง โลกแห่งอัมร์ (พระบัญชา) ในสภาพเช่นนี้ ความหมายของโองการ ก็คือ เหล่าเทวทูตและรูฮ์ เริ่มต้นการลงมาในคืนก็อดร์โดยได้รับอนุญาตจากพระผู้เป็นเจ้าของพวกเขา และการออกคำสั่งจากพระองค์ในทุกประการ ซึ่งมีความเป็นไปได้ คำว่า มิน ถูกใช้สำหรับการเริ่มต้น และในขณะเดียวกัน ก็บ่งบอกถึงการใช้เป็นเหตุผลอีกด้วย ความเป็นไปได้ ประการทีสอง คือ ความหมายของการงาน หมายถึง เหตุการณ์ที่ควรจะเกิดขึ้น ในสภาพนี้ ความหมายของโองการก็คือ เหล่าเทวทูตและรูฮ์ในคืนแห่งก็อดร์ จะบริหารกิจการทั้งหมดและเหตุการณ์ต่างๆ ที่ควรจะเกิดขึ้นในคืนนี้ ในกรณีนี้ คำว่า มิน ในประโยคที่ว่า มิน กุลลิ อัมร์ จึงบ่งบอกถึงเหตุผล [12] อิบนุอะรอบีย์ เขียนในตัฟซีรของเขา ว่า มิน กุลลิ อัมร์ อธิบายถึง การรู้จักการดำรงอยู่และการเป็นอยู่ อาตมัน ตัวตนและคุณลักษณะต่างๆ สิ่งที่เฉพาะเจาะจง กฎเกณฑ์ เงื่อนไข การวางแผนและการพิชิตของทุกสรรพสิ่ง[13]‎
ความหมายของ รูฮ์

‎มีความคิดเห็นอย่างน้อยสามทัศนะที่เกี่ยวกับความหมายของรูฮ์ ในโองการที่สี่ของซูเราะฮ์อัลก็อดร์:‎ ‎บางคนกล่าวว่า ความหมายของรูฮ์ คือ ญิบรออีล (กาเบรียล)‎ ‎บางคนเชื่อว่าตามโองการ "และเป็นเช่นนี้แหละที่เราได้วิวรณ์รูฮ์จากกิจการของเรามายังเจ้า [14] ฉะนั้น รูฮ์ในซูเราะฮ์อัลก็อดร์ จึงหมายถึง วะฮีย์ (คำวิวรณ์)‎ ‎ทัศนะที่สาม คือ รูฮ์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ยิ่งใหญ่กว่าเทวทูตทั้งหลาย ความหมายนี้ถูกกล่าวถึงในฮะดีษจากอิมามซอดิก ‎‎(อ.)[15]‎
ประเด็นทางด้านนิติศาสตร์เกี่ยวกับซูเราะฮ์อัลก็อดร์

ความเป็นเอกภาพของขอบฟ้า

นักวิชาการนิติศาสตร์บางคน เชื่อว่า การเห็นจันทร์เสี้ยวในพื้นที่หนึ่ง เป็นข้อพิสูจน์สำหรับส่วนอื่นๆ ของโลก โดยอ้างถึงโองการ อินนา อันซัลนาฮุ ฟีย์ ลัยละติลก็อดร์ เพราะว่า คืนแห่งก็อดร์มีเพียงคืนเดียว ซึ่งเป็นคืนที่ชะตากรรมของมนุษย์ทั้งหลายจะถูกกำหนดในทุกส่วนของโลกและเป็นที่แน่ชัดว่าไม่อาจกล่าวได้ว่าเป็นคืนอัลก็อดร์มีที่เดียวในโลก และไม่ใช่สถานที่อื่นๆ ดังนั้น คืนอัลก็อดร์จึงเกิดขึ้นทั่วโลกในคืนเดียว แน่นอนว่า ในคคำตอบต่อคำกล่าวอ้างนี้ มีการกล่าวกันว่า โองการนี้เป็นเพียงเกี่ยวกับการอธิบายถึงการประทานของอัลกุรอานในคืนอัลก็อดร์เท่านั้น ‎และไม่มีเหตุผลใดที่บ่งบอกว่า คืนอัลก็อดร์มีหลายคืนหรือหนึ่งเดียว [16]‎
การอ่านซูเราะฮ์ในนมาซวาญิบ

อิมามซอดิก (อ.) กล่าวในริวายะฮ์หนึ่งว่า ผู้ใดก็ตามที่อ่านซูเราะฮ์ อินนา อันซัลนาฮุ ในนมาซที่เป็นวาญิบ เสียงจากฟากฟ้า จะพูดกับเขาว่า: โอ้บ่าวของพระผู้เป็นเจ้า! ขอพระองค์ทรงประทานอภัยสำหรับความผิดบาปทุกประการที่เจ้าได้กระทำ จนถึงขณะนี้ [17]‎ มีบางริวายะฮ์ รายงานว่า อิมาม (อ.) กล่าวว่า ฉันรู้สึกสงสัยว่า ผู้ที่ไม่อ่านซูเราะฮ์อัลก็อดร์ในนมาซของเขา นมาซของเขาจะได้รับการยอมรับได้อย่างไร [18] ในหนังสือนิติศาสตร์บางเล่ม เน้นย้ำว่า ‎ถือเป็นมุสตะฮับที่จะอ่านซูเราะฮ์อัลก็อดร์ในรอกะอัตแรกและซูเราะฮ์อัตเตาฮีดในรอกะอัตที่สองของทุกนมาซ แต่แม้ว่า หลังจากการเริ่มต้นอ่านซูเราะฮ์ที่ไม่ใช่ซูเราะห์ทั้งสองนี้แล้ว ผู้นมาซก็สามารถไม่อ่านมันได้และ อ่านซูเราะฮ์อื่นๆแทนที่และได้รับผลรางวัลเท่ากับการอ่านซูเราะฮ์ทั้งสอง [19]‎
การอ่านซูเราะฮ์อัลก็อดร์ในนมาซมุสตะฮับ

‎ในนมาซที่เป็นมุสตะฮับบางส่วน แนะนำให้อ่านซูเราะฮ์นี้ รวมทั้ง :‎

‎1.การนมาซของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) มีสองรอกะอัต ในแต่ละรอกะอัต ให้อ่านซูเราะฮ์อัลฮัมด์ หนึ่งครั้งและ ซูเราะฮ์อัลก็อดร์ สิบห้าครั้ง [20]‎ 2.การนมาซของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ มีสองรอกะอัต ในรอกะอัตแรก ให้อ่านซูเราะฮ์อัลฮัมด์ หนึ่งครั้งและซูเราะฮ์อัลก็อดร์ ร้อยครั้ง และในรอกะอัตที่สอง ให้อ่านซูเราะฮ์อัลฮัมด์ หนึ่งครั้งและซูเราะฮ์อัตเตาฮีด ร้อยครั้ง ‎ 3.นมาซวะฮ์ชัต: มีสองรอกะอัต ในรอกะอัตแรก ให้อ่านซูเราะฮ์อัลฮัมด์และอายะตุลกุรซีย์ และในรอกะอัตที่สอง ให้อ่านซูเราะฮ์อัลก็อดร์ สิบครั้ง หลังซูเราะฮ์อัลฮัมด์ (22)‎ ‎4.นมาซวันแรกของเดือน มีสองรอกะอัต ในรอกะอัตแรก หลังจากซูเราะฮ์อัลฮัมด์ ให้อ่านซูเราะฮ์อัตเตาฮีด สามสิบครั้ง และในรอกะอัตที่สองให้อ่านซูเราะฮ์อัลก็อดร์ สามสิบครั้ง หลังจากซูเราะฮ์อัลฮัมด์ (23)‎
การอ่านซูเราะฮ์อัลก็อดร์ในเวลาและสถานที่ต่างๆ

‎มีรายงานจากอิมามญะวาด (อ.) กล่าวว่า ใครก็ตามที่อ่านซูเราะฮ์อัลก็อดร์ 76 ครั้งต่อวันในเวลาที่ต่างกัน พระผู้เป็นเจ้าจะทรงสร้างมะลาอิกะฮ์หนึ่งพันองค์ให้แก่เขา ซึ่งจะบันทึกผลรางวัลของเขาเป็นเวลา 360,000 ปี และมะลาอิกะฮ์เหล่านี้ จะขออภัยโทษให้กับเขาภายในสองพันปีเป็นหนึ่งพันเท่า วิธีอ่านซูเราะฮ์อัลก็อดร์ 76 ครั้งในตอนกลางคืน มีดังนี้

1-เจ็ดครั้งในช่วงเช้าตรู่และก่อนนมาซศุบฮ์ เพื่อให้มะลาอิกะฮ์ส่งคำสรรเสริญถึงเขาเป็นเวลาหกวัน 2-สิบครั้งหลังจากการนมาซศุบฮ์ เพื่อเป็นหลักประกันของพระผู้เป็นเจ้า จนถึงค่ำคืนนั้น 3.สิบครั้งในเวลาเที่ยงและก่อนนมาซนาฟิละฮ์ซุฮ์ริ เพื่อพระผู้เป็นเจ้าจะทรงเหลียงมองเขา และเปิดประตูแห่งความเมตตาจากฟากฟ้าให้แก่เขา 4-ยี่สิบเอ็ดครั้งหลังนมาซนาฟิละฮ์ซุฮ์ริ เพื่ออัลลอฮ์จะทรงสร้างบ้าน ซึ่งมีความยาวแปดสิบศอก ‎ในสวรรค์สำหรับเขา และแต่งตั้งมะลาอิกะฮ์เพื่อขออภัยโทษให้แก่เขาจนถึงวันกิยามะฮ์ 5-สิบครั้งหลังจากการนมาซอัศร์ จนกระทั่งผลรางวัลแห่งการงานของสิ่งถูกสร้างทั้งหมด จะถูกบันทึกไว้สำหรับเขา 6-เจ็ดครั้งหลังจากการนมาซอิชาอ์ เพื่อเป็นหลักประกันจากพระผู้เป็น เจ้าจนถึงช่วงเช้า 7- สิบเอ็ดครั้งในการเข้านอน เพื่ออัลลอฮ์จะทรงส่งมะลาอิกะฮ์องค์ใหญ่มาเหนือเขา และขออภัยโทษให้แก่เขาตามจำนวนเส้นผมของเขา จนกระทั่งถึงวันฟื้นคืนชีพ (24) 8-การอ่านซูเราะฮ์อัลก็อดร์ในคืนอัลก็อดร์ และเช่นเดียวกัน อ่านหนึ่งพันครั้งในคืนที่ 23 ของเดือนรอมฎอนอันจำเริญยิ่ง ซึ่งมีผลต่างๆตามการรายงานต่างๆ (25) ในริวายะฮ์ รายงานว่า ใครก็ตามที่อ่านซูเราะฮ์อัลก็อดร์ เจ็ดครั้งใกล้หลุมศพของผู้ศรัทธา พระผู้เป็นเจ้า ผู้ทรงสูงส่ง จะส่งมะลาอิกะฮ์ไปที่นั่น เพื่อสักการะต่อพระองค์ในสถานที่นั้น และสำหรับผู้อ่านและผู้เสียชีวิต จะได้รับรางวัลจากการสักการะของ มะลาอิกะฮ์นั้น และครั้นเมื่อพระผู้เป็นเจ้าทรงนำคนตายออกจากหลุมศพ โดยผ่านมะลาอิกะฮ์องค์นั้น ซึ่งได้ขจัดความน่าสะพรึงกลัวและความหวาดกลัวออกไปจากเขา และนำเขาเข้าสู่สวรรค์ของพระองค์ (26) มัรฮูม ซอดูก เขียนไว้ในหนังสือ มัน ลา ยะฮ์ฎุรุฮุลฟะกีฮ์ โดยรายงานจากอิมามริฎอ (อ.) กล่าวว่า : ไม่มีบ่าวผู้ศรัทธาคนใดไปเยี่ยมหลุมศพของน้องชายผู้ศรัทธาของเขาและอ่านซูเราะฮ์อัลก็อดร์ เจ็ดครั้ง ณ หลุมฝังศพ เว้นแต่อัลลอฮ์จะทรงอภัยโทษให้แก่เขาและเจ้าของหลุมศพนั้นด้วย (27)‎
ผลงานประพันธ์ที่เกี่ยวข้อง

‎ซูเราะฮ์อัลก็อดร์ นอกเหนือจาก มีการอธิบายในตำราตัฟซีรอัลกุรอานทั้งหมดแล้ว บางครั้งมีการอธิบายในสภาพเป็นซูเราะฮ์เดียว และบางครั้งมีการอธิบายหลายซูเราะฮ์ด้วยกัน ซึ่งบางส่วนของผลงานประพันธ์ที่เกี่ยวข้องมีดังนี้ :‎

ตัฟซีรซูเรเยก็อดร์ เขียนโดย ชะฮีดมุรตะฎอ มุเฏาะฮะรีย์ [30]‎ ‎บัร กะรอเนเยก็อดร์ (เสี้ยวหนึ่งจากซูเราะฮ์อัลก็อดร์) เขียนโดย ฮิดายะตุลลอฮ์ ฏอเลฆอนีย์[31]‎ ตัฟซีรซูเรเยก็อดร์ เขียนโดย มุฮัมมัดริฎอ ฮัจญ์ ชะรีฟี คอนซารี [32]‎ ‎ตัฟซีรซูเรเยก็อดร์ โดย อะลี ศะฟาอีย์ ฮาอิรี [33]‎ ‎ตัฟซีรซูเรเยก็อดร์ เขียนโดย อิมามมูซา ซัดร์ [34]‎
ความประเสริฐและคุณลักษณะพิเศษ

‎มีริวายะฮ์ต่างๆรายงานถึงผลรางวัลอันมากมายสำหรับการอ่านซูเราะฮ์อัลก็อดร์ ว่า ซูเราะฮ์อัลก็อดร์และอัตเตาฮีด ‎ถือเป็นซูเราะฮ์ที่ดีที่สุด หลังจากซูเราะฮ์อัลฟาติฮะฮ์ ที่ควรอ่านในนมาซวาญิบ (35) รายงานจากอิมามมุฮัมมัด บากิร ‎‎(อ.) กล่าวว่า ความประเสริฐของความศรัทธาในประโยคที่ว่า อินนา อันซัลนาฮุ และการอธิบายในมัน ก็คือ สำหรับผู้ที่ไม่มีศรัทธาเช่นนั้น เพราะเป็นความสูงส่งของมนุษย์ที่มีสรรพสัตว์ [36]‎

อีกริวายะฮ์หนึ่ง รายงานจากอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า ใครก็ตามอ่านซูเราะฮ์อัลก็อดร์ ในหนึ่งในนมาซที่เป็นวาญิบ ‎เสียงจากฟากฟ้าจะพูดกับเขาว่า : โอ้บ่าวของพระผู้เป็นเจ้า! ขอให้พระองค์ทรงยกโทษบาปทั้งหมดที่เจ้าได้กระทำไปแล้ว กลับมาเริ่มต้นการกระทำใหม่อีกครั้ง (37)‎

‎รายงานจากอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า ซูเราะฮ์นี้เป็นหนึ่งในการกล่าวถึงนามอันยิ่งใหญ่ในอัลกุรอาน[38]‎

 

ที่มา วีกิชีอะฮ์

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม