เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

บทเรียน นบูวัต ตอนที่ 3 (ความเป็นศาสดา)

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

บทเรียน นบูวัต ตอนที่ 3 (ความเป็นศาสดา)

 
ปรัชญาการปรากฏของศาสดาจากทัศนะของอัลกุรอาน
6 มาเพื่อทำให้ข้อพิสูจน์ของพระองค์สำหรับมนุษย์นั้นสมบูรณ์ เพื่อที่มนุษย์จะได้ไม่มีข้ออ้างใดๆ เพราะถ้าหากบรรดาศาสดาไม่ได้ถูกส่งมาชี้นำมนุษย์แล้วไซร้ ก็จะเปิดโอกาสให้ผู้กระทำชั่วและผู้หลงทางอ้างได้ว่า “ถ้าหากพระองค์ส่งศาสดามาให้แก่เรา พวกเราจะไม่หลงทางและทำผิด” เพื่อที่จะปิดประตู้เหล่านี้ ซูเราะฮฺอันนิซาอฺ โองการที่ 165
رُّسُلًا مُّبَشرِِّينَ وَ مُنذِرِينَ لِئَلَّا يَكُونَ لِلنَّاسِ عَلىَ اللَّهِ حُجَّةُ  بَعْدَ الرُّسُلِ
“คือบรรดาศาสดาในฐานะผู้แจ้ข่าวดีและในฐานะผู้ตักเตือนเพื่อว่ามนุษย์จะได้ไม่มีหลักฐานใดๆอ้างแก้ตัวแก่อัลลอฮฺ(ซบ)ได้หลังจากบรรดาศาสดาเหล่านั้น”
   ซึ่งตามภาษาของอัลกุรอานศาสดามาเพื่อ “มุบัชชิร” “คือผู้ตักเตือนในลักษณะของการเสนอรางวัล” และ “มุนศิร” “ผู้ตักเตือนในลักษณะของการข่มขู่” 
7  ถ้าเงื่อนไขพร้อมมีศักยภาพพร้อม สถานการณ์พร้อมและมีความเอื้ออำนวย หลักประกันของสังคมคือการที่ศาสดาสามารถสถาปนารัฐของพระผู้เป็นเจ้าขึ้นมาได้อย่างถูกต้องและสมบูรณ์ แต่ทว่าสิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้จะต้องได้รับความรวมมือจากประชาชนและผู้นำที่มีความสมบูรณ์อย่างบรรดาศาสดาของประชาชาตินั้นๆ เมื่อสามารถสร้างรัฐของศาสดาขึ้นมาได้ ก็สามารถนำบทบัญญัติของพระผู้เป็นเจ้ามาใช้ปกครองได้อย่างสมบูรณ์ รัฐธรรมนูญสูงสุดก็จะเป็นของพระผู้เป็นเจ้า การเมืองเศรษฐกิจ การปกครอง ระบบสังคม ระบบครอบครัว ปัจเจกบุคคล สามารถนำบทบัญญัติของพระองค์มาปฏิบัติใช้ได้อย่างสมบูรณ์ และอีกประโยชน์หนึ่งของการมีรัฐของพระผู้เป็นเจ้าคือคนดีก็สามารถทำความดีได้อย่างเปิดเผย คนชั่วก็ไม่กล้าทำความชั่ว เพราะมีกฎหมายมีการลงโทษ และการลงโทษทางศาสนานั้นเป็นการลงโทษที่เด็ดขาด เป็นการลงโทษที่ตัดปัญหาตั้งแต่ต้นเหตุ
    และเพื่อสามารถจัดตั้งความยุติธรรมให้เกิดขึ้น ซึ่งเป็นเป้าหมายที่สำคัญหนึ่งคือการสร้างความพร้อมสังคมของมนุษย์เพื่อที่จะรองรับความยุติธรรม ซูเราะฮฺอัลฮาดีด โองการที่ 25
لَقَدْ أَرْسَلْنَا رُسُلَنَا بِالْبَيِّنَاتِ وَ أَنزَلْنَا مَعَهُمُ الْكِتَابَ وَ الْمِيزَانَ لِيَقُومَ النَّاسُ بِالْقِسْط
“โดยแน่นอเราได้ส่งบรรดาศาสดาของเราพร้อมด้วยหลักฐานทั้งหลายอันชัดแจ้งและเราได้ประทานคัมภีร์และความยุติธรรมมาพร้อมกับพวกเขาเพื่อมนุษย์จะได้ดำรงอยู่บนความเที่ยงธรรม”
  - เป้าหมายและปรัชญาของการปรากฏของบรรดาศาสดาจากทัศนะของอัลฮาดีษ
    อัลฮาดีษจำนวนหนึ่งได้กล่าวถึงเป้าหมายในการปรากฏของบรรดาศาสดา ซึ่งเบื้องต้นสติปัญญาของมนุษย์สามารถสัมผัสแยกแยะบางความดีความชั่วได้โดยตรงแต่ทว่าในความเป็นจริงยังมีความดีความชั่วในระดับในลึกซึ้งกว่าซึ่งสติปัญญาไม่สามารถรับรู้และแยกแยะได้ บางครั้งเกิดมาจากสติปัญญาที่จำกัดของมนุษย์หรือบางครั้งเพราะมนุษย์ดำเนินชีวิตตามฮาวานัฟซูกิเลสใฝ่ต่ำ หรือตกอยู่ภายใต้การอบรมสั่งสอนที่ไม่ถูกต้องหรือสภาพสังคมสิ่งแวดล้อมทำให้สติปัญญาและจิตวิญญาณของมนุษย์อ่อนแอลง ดังนั้นการปรากฏของศาสดามาเพื่อปลุกสติปัญญาของมนุษย์ให้ตื่นขึ้น ทำให้มนุษย์สามารถใช้สติปัญญาได้อย่างดียิ่งขึ้นเพื่อที่จะให้มนุษย์รู้จักและสามารถแยกแยะความดีความชั่วในระดับที่ลึกซึ้งได้ และเพื่อให้มนุษย์หวนรำลึกถึงความโปรดปราณต่างของอัลลอฮฺ(ซบ) ท่านอิมามอาลี บิน อาบีฏอลิบ(อ) ได้กล่าวในคุฏบะฮฺ(เทศนาธรรม)หนึ่งของท่านจากนะฮฺญุลบาลาเฆาะฮฺ คุฏบะฮฺที่ 1
فَبَعَثَ فِیهِمْ رُسُلَهُ وَ وَاتَرَ إِلَیْهِمْ أَنْبِیَاءَهُ لِیَسْتَأْدُوهُمْ مِیثَاقَ فِطْرَتِهِ وَ یُذَكِّرُوهُمْ مَنْسِیَّ نِعْمَتِهِ وَ یَحْتَجُّوا عَلَیْهِمْ بِالتَّبْلِیغِ وَ یُثِیرُوا لَهُمْ دَفَائِنَ الْعُقُولِ
“อัลลอฮฺ(ซบ)ได้ทรงแต่งตั้งบรรดาศาสดามาในหมู่พวกเขา ซึ่งพระองค์ค่อยๆทยอยส่งศาสดาของพระองค์ไปยังพวกเขาเพื่อให้มนุษย์ปฏิบัติตามพันธะสัญญาแห่งฟิตรัต(มโนธรรม)ของพวกเขา และทำให้พวกเขาหวนรำลึกถึงความโปรดปรานต่างๆที่พวกเขาได้ลืมไป และเพื่อเป็นข้อพิสูจน์ในการเผยแพร่แก่พวกเขา และทรงเปิดเผยขุมทรัพย์แห่งปัญญาแก่พวกเขา” 
ขอขอบคุณ สถาบันศึกษาศาสนา อัลมะฮ์ดี (อ.)

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม