บทเรียน นบูวัต ตอนที่ 8 (ความเป็นศาสดา)

 บทเรียน นบูวัต ตอนที่ 8 (ความเป็นศาสดา)

 
หลักฐานทางสติปัญญาที่พิสูจน์ถึงความบริสุทธิ์ของบรรดาศาสดา
    1 ถ้าหากศาสดาไม่มี “อิศมัต” ความบริสุทธิ์เป้าหมายของการแต่งตั้งศาสดามาก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ หมายถึงการชี้นำมนุษย์ไปสู่ความสมบูรณ์ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ เพราะการปฏิบัติตามที่สมบูรณ์ก็จะไม่เกิดขึ้น ถ้าหากศาสดาเป็นผู้ฝ่าฟื้นและเป็นผู้กระทำบาปแล้วนอกจากจะเป็นสาเหตุให้ความเป็นผู้ชี้นำของท่านสูญเสียไปแล้วยังเป็นสาเหตุส่งเสริมให้ประชาชนทำความความชั่วด้วย การอบรมสั่งสอนตักเตือนมนุษย์ด้วยการพูดอย่างเดียวไม่เพียงพอ แต่ทว่าผู้ตักเตือนผู้ชี้นำจะต้องปฏิบัติสิ่งที่เขาได้สอนประชาชนด้วยจึงจะเกิดประโยชน์สูงสุด 
ในการอบรมสั่งสอนมนุษย์การมีแบบอย่างให้เห็นประจักษ์นั้นมีผลเป็นอย่างมากในการปฏิบัติตามและการพัฒนาของมนุษย์ ถ้าหากศาสดาไม่ได้เป็นผู้บริสุทธิ์หรือเป็นผู้ทำความผิดแล้วนอกจากจะทำให้เป้าหมายในการแต่งตั้งศาสดาบกพร่องแล้วมันยังขัดกับ ฮิกมะฮ์” ปรัชญาในเป้าหมายของพระผู้เป็นเจ้าเช่นกัน ดังนั้นจึงเป็นความจำเป็นที่บรรดาศาสดาต้องเป็นผู้ที่บริสุทธิ์ผุดผ่อง
 2 ถ้าหากศาสดาไม่มี “อิศมัต” ความบริสุทธิ์ การอบรมสั่งสอนของท่านก็จะวางอยู่บนความผิดบ้างถูกบ้าง และไม่สามารถนำมนุษย์ไปสู่ความสมบูรณ์ได้ ตัวอย่างเช่นกรณีการทำสงครามเมื่อจับเชยศึกมาได้ ซึ่งบางครั้งการฆ่าเชลยศึกทั้งหมดมีผลดีกว่า และบางครั้งการให้อภัยเชลยศึกมีผลดีกว่า แต่ถ้าเกิดสมมุติในกรณีที่ต้องฆ่าเชลยแต่ศาสดาให้อภัย และในกรณีที่ต้องให้อภัยแต่ศาสดาได้สั่งฆ่า ก็สามารถนำไปสู่ความเสียหายและปัญหาอื่นๆที่จะตามมา
    - หลักฐานทางทางรายงานอัลกุรอานที่พิสูจน์ถึงความบริสุทธิ์ของบรรดาศาสดา
  อักุรอานไม่ได้อธิบายความบริสุทธิ์ของบรรดาศาสดาไว้อย่างชัดแจ้งและโดยตรง แต่ด้วยการนำโองการอัลกุรอานจำนวนหนึ่งมาพิจารณาพร้อมๆกันก็จะสามารถเข้าใจถึงความบริสุทธิ์ของบรรดาศาสดา
ซูเราะฮฺศอศ โองการที่ 82 83
إِلَّا عِبَادَكَ مِنْهُمُ الْمُخْلَصِينَ   قَالَ فَبِعِزَّتِكَ لَأُغْوِيَنَّهُمْ أَجْمَعِينَ
 “เขา(ไชฏอน)กล่าวว่าฉันขอสาบานด้วยอำนาจของพระองค์ ฉันจะทำให้พวกเขาทั้งหมดหลงทางเว้นแต่บ่าวของพระองค์ผู้ที่ได้รับการขัดเกลาให้บริสุทธิ์ “มุคละศีน”
   จากโองการดังกล่าวคำว่า “มุคละศีน” مُخْلَصِينَ (ผู้ที่ได้รับการขัดเกลาให้บริสุทธิ์) ซึ่งมุคละศีนคือบุคคลที่ไชฏอนมารร้ายยอมรับว่ามันไม่สามารถที่จะหลอกลวงได้ เมื่อไชฏอนไม่สามารถหลอกหลวงพวกเขาให้ทำความผิดบาปได้ก็หมายถึงบุคคลที่ไม่ความผิดบาป 
  ซูเราะฮ์อัศศอฟฟาต โองการที่ 159 160
                     إِلَّا عِبَادَ اللَّهِ الْمُخْلَصِين‏   سُبْحَانَ اللَّهِ عَمَّا يَصِفُونَ  
 “มหาบริสุทธิ์ยิ่งแด่อัลลอฮฺ(ซบ)จากสิ่งที่พวกเขาสาธยายเว้นแต่บ่าวของพระองค์ผู้ที่ได้รับการขัดเกลาให้บริสุทธิ์ “มุคละศีน”
     โองการดังกล่าวพระองค์ยืนยันว่าไม่มีใครอธิบายเกี่ยวกับการกระทำของพระองค์ หรืออธิบายเกี่ยวกับอาตมันของพระองค์ได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์นอกจากปวงบ่าวของพระองค์ผู้เป็น “มุคละศีน” เมื่อมุคละศีนเท่านั้นที่สามารถอรรถาธิบายเรื่องราวต่างๆของพระผู้เป็นเจ้าได้อย่างถูกต้องชี้ให้เห็นว่าความรู้ของพวกเขานั้นเป็นความรู้ที่ไม่มีความผิดพลาดใด “อิศมะตุลอิลมี” ชีอะห์ไม่ได้เชื่อแค่ว่าศาสดาบริสุทธิ์จากบาปเพียงเท่านั้นแต่ยังเชื่ออีกว่าแม้แต่ความรู้ของบรรดาศาสดาก็มีความบริสุทธิ์ หลังจากนั้นพระองค์ก็บอกต่อว่าบรรดา มุคละศีนเหล่านั้นคือใครในซูเราะฮฺศอศ โองการที่ 45 46
وَ اذْكُرْ عِبَادَنَا إِبْرَاهِيمَ وَ إِسْحَاقَ وَ يَعْقُوبَ أُوْلىِ الْأَيْدِى وَ الْأَبْصَرِ
إِنَّا أَخْلَصْنَاهُم بخَِالِصَةٍ ذِكْرَى الدَّار
“จงรำลึกถึงปวงบ่าวของเรา อิบรอฮีม อิสหาก ยะฮ์กูบ บุคคลเล่านี้เป็นผู้ที่มีพลังอำนาจและวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล แท้จริงเราได้ทำให้พวกเขาบริสุทธิ์เพื่อเตือนให้รำลึกถึงปรโลก”
     จากโองการดังกล่าวคำว่า “อัคลัสนา” أَخْلَصْنَا มีรากศัพท์เดียวกับคำว่า “มุคละศีน”  مُخْلَصِينَ ความหมายของ “อัคลัสนา” คือเราได้ทำให้คนกลุ่มหนึ่งนั้นสะอาดบริสุทธิ์ ผู้ที่ถูกทำให้สะอาดบริสุทธิ์เขาก็คือ “กรรม” ซึ่งตามภาษาอาหรับก็ตรงกับความหมายของ “มุคละศูน” คือบุคคลที่ถูกทำให้บริสุทธิ์โดยอัลลอฮฺ(ซบ) โองการนี้หมายถึงศาสดา อิบรอฮีม อิสหาก ยะอฺกูบ และโองการอีกจำนวนหนึ่งก็ได้กล่าวถึงศาสดาอื่นๆไว้อีก   
ซูเราะฮฺอัลมัรยัม โองการที่ 51
وَ اذْكُرْ فىِ الْكِتَابِ مُوسىَ  إِنَّهُ كاَنَ مخُْلَصًا وَ كاَنَ رَسُولًا نَّبِيًّا
“จงรำลึกถึงบันทึกของมูซา(อ) แท้จริงเขาเป็นผู้ได้รับกาคัดเลือกให้บริสุทธิ์ “มุคลัศ” และเขาคือศาสนทูตและศาสดา”
  ซูเราะฮฺยูซุฟ โองการที่ 24 
كَذَالِكَ لِنَصْرِفَ عَنْهُ السُّوءَ وَ الْفَحْشَاءَ  إِنَّهُ مِنْ عِبَادِنَا الْمُخْلَصِين‏
“เช่นนี้แหละพระองค์ได้นำออกจากเขา “ยูซุฟ” ซึ่งความชั่วร้ายและสิ่งไม่ดีงามต่างๆ แท้จริงเขาคือบุคคลหนึ่งจากป่วงบ่าวผู้ได้รับการขัดเกลาให้บริสุทธิ์”
    จากโองการต่างเล่านี้ก็ได้ยืนยันถึงความบริสุทธิ์ของบรรดาศาสดาในการปฏิบัติภารกิจของพวกเขาเหล่านั้น
 
ขอขอบคุณ สถาบันศึกษาศาสนา อัลมะฮ์ดี (อ.)