เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม

บทเรียน นบูวัต ตอนที่ 10 (ความเป็นศาสดา)

0 ทัศนะต่างๆ 00.0 / 5

บทเรียน นบูวัต ตอนที่ 10 (ความเป็นศาสดา)

 
- ข้อสงสัยในความบริสุทธิ์ “อิศมัต” ของบรรดาศาสดา
   1 ความบริสุทธิ์ของบรรดาศาสดาเกิดจากการรับรองและปกป้องจากอัลลอฮฺ(ซบ) ไม่ให้บาปต่างๆเข้าใกล้พวกเขา ถ้าเป็นเช่นนี้ก็หมายความว่าบรรดาศาสดาบริสุทธิ์เพราะถูกบังคับโดยไม่มีเจตนารมณ์เสรีในการเลือกเป็นของท่านเองซึ่งก็หมายถึงไม่ได้มีความประเสริฐใด
    คำตอบคือ การที่บุคคลกลุ่มหนึ่งได้รับการรับรองจากอัลลอฮฺ(ซบ)ในความบริสุทธิ์ของพวกเขานั้นเนื่องจากพวกเขาได้ทำการพัฒนาขัดเกลาตัวเองมาก่อน พัฒนาจนกระทั่งไปถึงระดับหนึ่งที่อัลลอฮฺ(ซบ)ทรงรับรอง และการที่พระองค์ทรงรับรองเพราะพระองค์ทรงรู้ว่าแน่นอนพวกเขาเหล่านั้นสามารถรักษาความบริสุทธิ์ให้คงอยู่ตลอดไปได้ และการรับรองก็ไม่ได้เป็นสาเหตุบังคับให้ต้องเป็นไปแบบนั้น
    ส่วนการได้รับการปกป้อง เบื้องต้นมนุษย์ทุกคนได้รับการปกป้องจากอัลลอฮฺ(ซบ)ให้พ้นจากบาป ให้พ้นจากการล่อลวงของไชฏอนมารร้าย ซึ่งก็หมายความว่าพระองค์ทรงประทานฟิตเราะฮฺ (มโนธรรม) และสติปัญญาให้แก่มนุษย์ถ้ามนุษย์ใช้สติปัญญาก็สามารถป้องกันจากความชั่วได้ อีกทั้งส่งบรรดาศาสดามาชี้นำอบรมสั่งสอนมนุษย์อีก นำบทบัญญัติ “ชารีอัต”(ข้อบังคับทางศาสนา) และบางครั้งพระองค์ให้ความคุ้มครองจากไชฏอน พระองค์เองได้ตรัสไว้อีกว่า พวกเจ้าก็ขอความคุ้มครองจากฉันให้พ้นจากไชฏอนมารร้าย
“اعوذ بالله من الشیطان الرجیم”
“อาอูศุบิลลาฮิมินัชไชฏอนิรรอญีม”
“ข้าพระองค์ของความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ(ซบ)ให้พ้นจากไชฏอนมารร้าย”
 มนุษย์ต้องเมื่อเขาคิดว่ากำลังจะตกอยู่ในการทำบาป โมโห หรือความชั่วอะไรก็แล้วแต่
แต่อย่างไรก็ตามมนุษย์จำเป็นต้องนำตัวเองออกมาจากความชั่วด้วยจะต้องห่างไกลจากบาปด้วย มนุษย์ต้องไม่ทำบาปและด้วยการปฏิบัติสิ่งเหล่านี้เท่ากับมนุษย์กำลังพัฒนาตัวเองอยู่ เมื่อมนุษย์พัฒนาและปกป้องตัวเองให้รอดพ้นปลอดภัยจากการล่อลวงของไชฏอนมารร้าย เมื่อนั้นแล้วพระองค์ก็จะทรงปกป้องเขาคนที่ได้รับการปกป้องมากเพราะเขาพัฒนาตนเองมาก ยิ่งเขาพัฒนาตัวเองมากเท่าไรพระองค์ก็จะทรงยิ่งปกป้องเขามากยิ่งขึ้นเช่นกันจนไปถึงจุดหนึ่งที่พระองค์จะปกป้องเขาอย่างสมบูรณ์ ดังนั้นการที่กล่าวว่าศาสดาถูกบังคับไม่ให้ทำบาปเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เพราะบรรดาศาสดาได้ปกป้องตัวของพวกเขาเองก่อน พวกเขาเป็น “มุคลิศีน” ผู้ที่ขัดเกลาตนเอง ก่อนที่พวกเขาจะเป็น “มุคละศีน” ผู้ที่ได้รับการขัดเกลาให้บริสุทธิ์
  2- ถ้าบรรดาศาสดามีความบริสุทธิ์จริง ทำไมศาสดาต้องกล่าวขออภัยโทษจากอัลลอฮฺ(ซบ) เห็นได้ว่าอัลกุรอานบางโองการที่บ่งบอกถึงความผิดพลาดของศาสดา ศาสดาบางท่านสารภาพว่าไชฏอนมาร้ายได้ล่อลวงท่าน การกระทำดังกล่าวขัดกับความบริสุทธิ์ “อิศมัต” ของบรรดาศาสดาหรือไม่ โองการอัลกุรอานหลายโองการที่แสดงให้เห็นว่าศาสดามีบาปดังนั้นโองการเหล่านี้ขัดกันหรือไม่
    คำตอบคือ มนุษย์มีจิตวิญญาณหลายขั้นหลายระดับด้วยกัน มีระดับทางจิตวิญญาณที่แตกต่างกัน มีสภาวะทางจิตวิญญาณที่ไม่เหมือนกัน และแน่นนอนว่าศาสดามีจิตวิญญาณที่สูงสงกว่ามนุษย์ทั่วไป การที่ศาสดากล่าวขออภัยโทษจากอัลลอฮฺ(ซบ)นั้นไม่ใช่เพราะศาสดาทำความผิดละเมิดคำสั่งที่เป็นที่เป็นชารีอัต(ข้อบังคับทางศาสนา)ของพระองค์ แต่ความหมายหนึ่งเพื่อเป็นการยกระดับจิตวิญญาณให้สูงขึ้นอยู่เสมอ ซึ่งแตกต่างจากมนุษย์ทั่วไปที่กล่าวอภัยโทษเนื่องจากความผิดบาป
   อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วคำว่า “บาป” ในอัลกุรอานบางครั้งให้ความหมายที่เป็นการละเมิดคำสั่งที่เป็นชารีอัต(เป็นข้อบังทางศาสนา) และบางครั้งใช้ในความหมายการละเมิดคำสั่งที่ไม่เป็นชารีอัต(ไม่เป็นข้อบังคับทางศาสนา)ซึ่งกรณีนี้ไม่ขัดกับความบริสุทธิ์ “อิศมัต” หรือใช้เมื่อมนุษย์นึกถึงปมด้อยความอ่อนแอของตัวเองและมาตรฐานของแต่ละคนนั้นแตกต่างกันเช่นอิมามอาลีการกินนูนที่ดีนั้นถือว่าเป็นความอ่อนแอทางจิตวิญญาณ ท่านจึงกินแต่นูนที่แข็ง บางครั้งศาสดาก็มีความสนใจไปยังดุนยาเช่นศาสดาอิบรอฮีมที่รักต่อศาสดาอิสมาอีลเป็นอย่างมากพระองค์ต้องการที่จะให้ตัดความรู้สึกอันนี้จึงสั่งให้กุรบานอิสมาอีล ดังนั้นบรรดาศาสดารู้ว่าสิ่งเหล่านี่เป็นบาปทางจิตใจ มนุษย์ไม่ควรให้ใครนั่งอยู่ในจิตใจนอกจากอัลลอฮฺ(ซบ)และถ้าหากมีสิ่งแปลกปลอมเหล่านี้เกิดขึ้นมาบ้างบรรดาศาสดาก็ถือว่าเป็นบาปทางจิตวิญญาณ 
ซึ่งไม่ได้เป็นบาปทางชารีอัตดังนั้นเพื่อที่จะสลัดสิ่งนี้ออกไป จึงกล่าว “อัสตัฆฟิรุลลอฮะรอบบี” ซึ่งความผิดพลาดของบรรดาศาสดาก็อยู่ในความหมายที่สองหมายถึงการละเมิดที่ไม่ได้เป็นบาป หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ตัรกุลเอาลา” (คือการละทิ้งข้อเสนอที่ดีกว่า) ไม่ได้เป็นบาปแต่อย่างได เป็นแต่เพียงความอ่อนแอเป็นปมด้อยหนึ่งที่ไม่ได้เป็นบาปตามหลักชารีอัต และอีกหนึ่งความหมายหนึ่งการที่บรรดาขออภัยโทษก็เพื่อขจัดความบกพรองเหล่านี้นั้นเอง
 
ขอขอบคุณ สถาบันศึกษาศาสนา อัลมะฮ์ดี (อ.)

กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วย

ความคิดเห็นของผู้ใช้งานทั้งหลาย

ไม่่มีความคิดเห็น
*
*

เว็บไซต์ อิมาม อัลฮะซะนัยน์ (อลัยฮิมัสลาม)เพื่อคุณค่าและสารธรรมอิสลาม